Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การทำความเข้าใจการทำงานของสมองในเด็กเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ทุกคน เพราะสมองเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ และการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยจากทฤษฎีสมอง 3 ส่วนนั้นอธิบายได้ว่าสมองถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ทำหน้าที่ตั้งแต่การควบคุมการเคลื่อนไหวพื้นฐานไปจนถึงการคิดเชิงวิเคราะห์
วันนี้ Enfa จึงอยากชวนคุณแม่มาทำความเข้าใจเรื่องสมองลูกน้อยกันว่าสมองมีกี่ส่วน ทำหน้าที่อะไร สมอง 3 ส่วนคืออะไร เพื่อจะได้เสริม IQ และ EQ ให้ลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมกันค่ะ
ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน (Triune Brain Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายถึงวิวัฒนาการของสมองมนุษย์ โดยนายแพทย์พอล แมคลีน (Paul MacLean) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งอธิบายว่า สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนซึ่งควบคุมการทำงานในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกัน โดยคุณแม่สามารถใช้ทฤษฎีสมอง 3 ส่วนเป็นเครื่องมือช่วยในการทำความเข้าใจการทำงานของสมอง ตลอดจนวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกได้
ตามหลัก Triune Brain Theory เราสามารถแบ่งส่วนประกอบสมอง 3 ส่วน ซึ่งมีหน้าที่ต่างกันได้ดังนี้
สมองส่วนหน้า (Neo-Cortex)
คือ สมองที่พัฒนาในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระดับสูง ทำหน้าที่คิดวิเคราะห์ ใช้เหตุผล และแก้ปัญหา หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองมนุษย์
สมองส่วนกลาง (Limbic System)
คือ สมองที่พัฒนาขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแรกเริ่ม ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงความทรงจำ หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สมองส่วนท้าย (Reptilian Brain)
คือ สมองส่วนที่เก่าแก่ที่สุด ควบคุมพฤติกรรมพื้นฐาน เช่น การหายใจ การควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และการตอบสนองตามสัญชาตญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองแบบสัตว์เลื้อยคลาน
สมองส่วนหน้า หรือ Neo-Cortex คือสมองส่วนที่ทำให้มนุษย์มีความสามารถในการสื่อสารและประมวลผลข้อมูลระดับสูง สามารถคิดวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผล คิดเชิงนามธรรม สามารถวางแผน แก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาด้านภาษา สมองส่วนหน้าจะอยู่บริเวณหลังกะโหลกหน้าผาก ทำหน้าที่ประมวลผลจากทุกส่วนในสมองแล้วนำมาตัดสินใจที่ส่วนนี้
ส่วนประกอบของสมองส่วนหน้า
สมองส่วนหน้า (Neo-Cortex) ประกอบด้วยหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน โดยส่วนที่สำคัญที่สุดคือ Prefrontal Cortex หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การวางแผน และการควบคุมตนเอง นอกจากนี้ยังมี Motor Cortex ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย และ Sensory Cortex ทำหน้าที่รับข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น การมองเห็น การได้ยิน
ทำไมสมองส่วนหน้าถึงถูกเรียกว่า Human Brain
สมองส่วนหน้าเป็นสมองที่ทำให้เราสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผล สามารถวางแผนล่วงหน้า ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ เป็นสมองส่วนที่มีวิวัฒนาการอย่างมากและพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขั้นสูงเท่านั้นซึ่งก็คือมนุษย์นั่นเอง
สมองส่วนหน้าทําหน้าที่อะไร
สมองส่วนหน้าทำหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการทางความคิดที่ซับซ้อน เช่น การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหา การวางแผน การใช้ภาษา ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลในระดับสูงและมีความซับซ้อน การตอบสนองของสมองส่วนหน้าจึงไม่ใช่การตอบสนองทันทีทันใดหรืออัตโนมัติ
สมองส่วนกลาง หรือ Limbic System คือสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำ มีความสำคัญในการควบคุมปฏิกิริยาทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความสุข หรือความโกรธ
ส่วนประกอบของสมองส่วนกลาง
สมองส่วนกลางประกอบด้วย อมิกดาลา (Amygdala) ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมอารมณ์ เช่น ความกลัวและความโกรธ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างและจัดเก็บความทรงจำระยะยาว และ ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหลั่งฮอร์โมน เป็นต้น
ทำไมสมองส่วนกลางถึงถูกเรียกว่า Mammalian Brain
Mammalian Brain คือชื่อเรียกของสมองส่วนกลางเพราะเป็นสมองที่พัฒนาขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหน้าที่ควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ โดยเฉพาะการสร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูก รวมถึงการเรียนรู้พฤติกรรมซับซ้อนต่างๆ ด้วย
สมองส่วนกลางทําหน้าที่อะไร
สมองส่วนกลางทำหน้าที่หลักคือประมวลผลและควบคุมอารมณ์ เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว พร้อมสร้างและจัดเก็บความทรงจำระยะยาว รวมถึงการควบคุมปฏิกิริยาทางอารมณ์ด้วย
สมองส่วนท้าย หรือ Brain Stem and Cerebellum หรือเรียกอีกอย่างว่า สมองส่วนหลัง คือสมองส่วนที่เก่าแก่ที่สุดในวิวัฒนาการ ซึ่งควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ และการตอบสนองโดยอัตโนมัติ และหน้าที่หลักของสมองส่วนนี้คือสัญชาตญาณการเอาตัวรอด
สมองส่วนท้ายประกอบด้วย
สมองส่วนท้ายประกอบด้วย Brain Stem ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การตอบสนองโดยอัตโนมัติ และ Cerebellum ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว นั่นทำให้เมื่อเราเกิดล้มศีรษะด้านท้ายทอยฟาดพื้นอย่างแรง มักทำให้เดินไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวได้ยาก
ทำไมสมองส่วนท้ายถึงถูกเรียกว่า Reptilian Brain
สาเหตุที่สมองส่วนท้ายถูกเรียกว่า Reptilian Brain หรือสมองแบบสัตว์เลื้อยคลานเพราะก่อนพัฒนามาเป็นมนุษย์มันถูกพบในสัตว์เลื้อยคลานมาก่อน สมองส่วนท้ายเป็นสมองที่เก่าแก่ที่สุดในวิวัฒนาการ ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่อสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยทำความอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก ทำงานในระดับจิตใต้สำนึกที่เราแทบไม่รู้ตัวและยากที่จะควบคุม
สมองส่วนท้ายทําหน้าที่อะไร
สมองส่วนท้ายทำหน้าที่ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกายที่สำคัญต่อการอยู่รอด เช่น การควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ และโดยเฉพาะการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยคุกคามหรือสัญชาตญาณการเอาตัวรอด ซึ่งเป็นการตอบสนองแบบสู้หรือหนี (Fight or Flight Response) ที่ทำตามอารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก ไม่ผ่านการคิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบ ที่สำคัญคือมักมีผลต่อการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตของเรากว่า 90%
บางครั้งเรามักคิดถึงการใช้สมองส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นหลักแต่ในความเป็นจริงแล้วเราใช้สมองทุกส่วนสอดคล้องกันแทบตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ลูกกำลังฝึกขี่จักรยานในสวน เขาจะใช้สมองส่วนหน้า (Neo-cortex) ในการวางแผนว่าจะไปทิศทางใด ควรใช้ความเร็วเท่าไรเพื่อไปให้ถึงจุดหมาาย และต้องทำอย่างไรเมื่อมีสิ่งกีดขวาง พร้อมกับใช้สมองส่วนกลาง (Limbic System) จัดการความกลัวเมื่อรู้สึกว่าขี่เร็วเกินไปจนอาจเกิดอันตรายหรือเริ่มรักษาสมดุลของจักรยานไม่ได้ และใช้สมองส่วนท้าย (Reptilian Brain) ควบคุมการตอบสนองอัตโนมัติเมื่อรถล้มหรือกำลังพุ่งชนสิ่งกีดขวางโดยการทิ้งรถแล้วกระโดดหนี เป็นต้น
ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน ช่วยให้คุณแม่เข้าใจพฤติกรรมลูกและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองให้ลูกได้อย่างเหมาะสม เช่น ให้ลูกฝึกทำกิจกรรมท้าทายความคิด เล่นเกมปริศนา แก้โจทย์ปัญหา ต่อเลโก้ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนหน้าที่ควบคุมการคิดวิเคราะห์ การวางแผน และการแก้ปัญหาซึ่งเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางสติปัญญา หรือ IQ พร้อมกับเสริมโภชนาการที่เหมาะสมให้ลูกรัก
เลือกเอนฟาสูตรที่ใช่ แบรนด์เดียวที่เสริม MFGM มีหลากหลายสูตร ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูก
เพราะเด็กทุกคนต่างกัน
เคยรู้สึกทึ่งมากๆ บ้างไหมคะ เวลาเห็นแม่ๆ ญี่ปุ่นเขาคุยกับลูก แล้วลูกว่าง่ายไม่ต่อต้าน แม่ญี่ปุ่นม...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เด็ก LD หรือ Learning Disorder เกิดจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรม หรือเกิดจากการทำงานของ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ พฤติกรรมลูกดื้อต่อต้าน เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เด็กเริ่มมีคว...
อ่านต่อ