Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เวลาพาลูกเข้านอนกลางวัน หรือนอนตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตบ้างไหมคะว่าลูกเรานอนปิดปากสนิทหรือเปล่า บางครั้งอาจจะพบว่าทารกนอนอ้าปากก็ได้นะ แต่ถ้าลูกนอนหายใจทางปากบ่อย ๆ แบบนี้จะเป็นอันตรายหรือเปล่า แล้วคุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีแก้ชอบนอนอ้าปากของลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับ Enfa ได้เลยค่ะ
ทารกแรกเกิดจะหายใจทางจมูกเป็นปกติค่ะ เว้นแต่ว่าโพรงจมูกของลูกถูกอุดกั้น จนหายใจไม่สะดวก จึงจะหายใจทางปาก ซึ่งโดยปกติแล้วทารกจะเริ่มหายใจทางปากได้เมื่ออายุประมาณ 3-4 เดือนค่ะ
ดังนั้น หากทารก 1 เดือนนอนอ้าปาก ก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกน้อยหายใจไม่ออก หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม
เด็กทารกนอนอ้าปาก เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้
คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการนอนหลับของลูกอยู่เสมอ เพื่อดูว่าลูกหายใจลำบากบ้างไหม ทารกนอนอ้าปากทุกครั้งเลยหรือเปล่า หากสังเกตได้ว่าลูกน้อยนอนอ้าปากและหายใจไม่ค่อยออก ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินหายใจ และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
นอนอ้าปากอันตรายไหม? จริง ๆ แล้วเราไม่สามารถฟันธงได้เลยทันทีจนกว่าจะพาลูกไปพบแพทย์นะคะ แต่ให้คุณพ่อคุณแม่คิดในแง่ร้ายเอาไว้ก่อนว่าถ้าลูกนอนอ้าปากบ่อย ๆ นั้นไม่ดีต่อสุขภาพแน่ ๆ เพื่อจะได้เป็นการระแวดระวังเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที
ที่ต้องพูดกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่าเราไม่สามารถทราบได้เลยค่ะว่าทำไมลูกนอนหายใจทางปาก สาเหตุที่ลูกนอนอ้าปากเกิดจากอะไรกันแน่ อาจเป็นสาเหตุที่อันตรายต่อสุขภาพอย่างภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือลูกอาจมีปัญหาความผิดปกติในช่องปากและโพรงจมูกก็ได้ ขณะเดียวกัน ก็อาจเกิดขึ้นเพราะลูกเป็นหวัดโดยทั่วไป หรือแค่ชินกับการนอนอ้าปาก ซึ่งไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่เสี่ยงอันตรายรุนแรงต่อสุขภาพแต่อย่างใด
ดังนั้น หากสังเกตว่าทารกนอนอ้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์อย่างเร็วที่สุดค่ะ เพื่อที่แพทย์จะได้วินิจฉัยดูว่าลูกน้อยมีความผิดปกติอย่างไร สามารถแก้ไข ดูแล และรับมือได้อย่างไรบ้าง
ลูกชอบนอนอ้าปากบ่อย ๆ ลูกชอบอ้าปากตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะอาการแบบนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกมากมาย ดังนี้
ลูกนอนอ้าปาก คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือได้ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่ได้ลองทุกวิธีแล้ว แต่ลูกก็ยังนอนอ้าปากอยู่เหมือนเดิม ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะลูกอาจจะมีปัญหากับโพรงจมูกที่จำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาอย่างเหมาะสม
ลูกนอนอ้าปากหายใจแรง ลูกนอนกรน ลูกนอนอ้าปากบ่อย ๆ หากคุณพ่อคุณแม่พบเห็นลูกมีอาการเช่นนี้เมื่อไหร่ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดว่าลูกนอนกรน หายใจทางปากเพราะอะไร สาเหตุใดที่ทำให้ลูกนอนอ้าปาก และจะได้ทำการรักษาและแก้ไขอย่างถูกวิธี ป้องกันความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกในระยะยาว
ทารกนอนอ้าปาก บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ค่ะ โดยหนึ่งในอาการภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ หายใจติดขัด หายใจไม่ออก มีน้ำมูกไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลให้ลูกหายใจทางจมูกไม่ได้ จึงต้องหายใจทางปากแทน
โดยอาการภูมิแพ้ในเด็ก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดคือ ลูกได้รับสารก่อภูมิแพ้ผ่านทางน้ำนมแม่ และทำให้มีอาการภูมิแพ้ตามมา
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกได้ ดังนี้
พาลูกไปตรวจหาสารภูมิแพ้ หากพบว่าลูกแพ้สิ่งใด ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกแพ้อาหารชนิดไหน คุณแม่จะต้องงดอาหารชนิดนั้นจนกว่าลูกจะหย่านม เพราะสารก่อภูมิแพ้บางอย่างสามารถส่งผ่านทางน้ำนมแม่ไปยังลูกได้
หากคุณแม่ให้ลูกน้อยกินนมแม่อยู่แล้ว ก็จะแนะนำให้กินนมแม่ต่อไป เพื่อให้ลูกได้รับสารภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ* โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (eHP) ซึ่งมีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และโพรไบโอติกส์ แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส จีจี (LGG) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง รวมถึงลดโอกาสในการเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
*แนวทางเวชปฎิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว พ.ศ. 2555
คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสังเกตดูอาการผิดปกติของลูกอยู่เสมอ เพราะลูกอาจมีอาการภูมิแพ้ปรากฎให้เห็นขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ หากคุณพ่อคุณแม่ตรวจพบสัญญาณอาการแพ้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และพาลูกเข้าสู่กระบวนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อย
แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ละเลย เด็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภูมิแพ้ลูกโซ่ ซึ่งภูมิแพ้ลูกโซ่ก็คือเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็เสี่ยงที่จะเกิดภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ตามมาได้เมื่ออายุมากขึ้น
หรือถ้าหากมีเวลาว่าง ๆ ควรพาลูกไปตรวจสารก่อภูมิแพ้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ เพื่อจะได้ป้องกันและทำการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง เอาชนะได้ทุกอุปสรรค ไม่สะดุดทุกอาการแพ้
Enfa สรุปให้ ลูก 1 ขวบ ท้องเสีย ไม่มีไข้ อาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารหรือเปลี่ยนนม อาการแพ้อาหารบาง...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Hypoallergenic คือคำอธิบายคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดโอกาสในการกระตุ้นอากา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นภูมิแพ้อากาศ เป็นผื่นที่เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังต่อสิ่งกระต...
อ่านต่อ