Enfa สรุปให้
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดยาวประมาณ 1.6 - 2 นิ้ว หนักประมาณ 7 กรัม มีขนาดเท่ากับผลมะนาว หรือผลมะเดื่อ
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหว ขยับแขนขามากขึ้นแล้ว แต่คุณแม่จะยังไม่สามารถรู้สึกว่าลูกดิ้นในระยะนี้
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องลดลง และเริ่มพบกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายมากขึ้น เช่น ผมร่วง ผมแห้ง ผมมัน ผิวแห้ง เล็บเปราะ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่ใกล้จะสิ้นสุดการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกเข้าไปทุกทีแล้วค่ะ โดยแม่ท้อง 11 สัปดาห์นี้ แม่ท้องหลายคนยังคงต้องสาละวนอยู่กับอาการแพ้ท้องไม่รู้จบอยู่เช่นเดิม
แต่คุณแม่อีกหลายคนเริ่มมีอาการแพ้ท้องลดลงไปบ้างแล้ว นอกจากอาการแพ้ท้องที่ลดลง คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ ยังมีอาการอย่างอื่นอีกบ้างไหมนะ?
อายุ 11 สัปดาห์ ขณะนี้คุณกำลังเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 แล้ว ดังนั้น คุณแม่ครรภ์หลายๆ คน จึงเริ่มรู้สึกว่าอาการคลื่นไส้และความเหนื่อยล้าค่อย ๆ ลดลง สวนทางกับมดลูกที่เริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ขณะนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน กับอีก 3 สัปดาห์แล้วค่ะ อีกแค่เพียงไม่กี่วัน คุณแม่ก็จะตั้งครรภ์ครบ 3 เดือน และสิ้นสุดการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
ทารกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ขณะนี้กำลังเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ อยู่ภายในมดลูก ถ้าหากอัลตราซาวนด์ในช่วงนี้ก็จะพบว่านิ้วมือและนิ้วเท้าของทารกไม่ได้เป็นพังผืดอีกต่อไปแล้ว
ทารกในครรภ์ 11 สัปดาห์ เริ่มมีการเคลื่อนไหว ขยับแขนขามากขึ้น แต่คุณแม่จะยังไม่สามารถรู้สึกได้ระยะนี้ ขณะที่ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของทารกเริ่มพัฒนาและเติบโตอย่างเต็มที่และพร้อมที่จะเข้าสู่การตั้งครรภ์ในไตรมาสสอง
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ขนาดทารกจะยาวประมาณ 1.6 - 2 นิ้ว หนักประมาณ 7 กรัม มีขนาดเท่ากับผลมะนาว หรือผลมะเดื่อ
ทารกในครรภ์ 11 สัปดาห์ มีการเคลื่อนไหวและขยับไปมาได้แล้วจริงค่ะ ซึ่งสามารถมองเห็นผ่านการอัลตราซาวนด์ได้ แต่ตัวคุณแม่เองนั้นจะยังไม่สามารถสัมผัสกับการดิ้นของทารกในครรภ์ได้ค่ะ ต้องรอถึงไตรมาสสองจึงจะเริ่มสัมผัสลูกดิ้นได้ค่ะ
ทารกอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ อยู่ระหว่างกระบวนการสร้างระบบสืบพันธุ์ จึงยังไม่สามารถรู้เพศของทารกได้ในระยะนี้ค่ะ และการตรวจเพศลูกจะพบได้เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12-15 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ
การพัฒนาของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของทารกในช่วงอายุครรภ์ 11 สัปดาห์ มีดังนี้
• ศีรษะและใบหน้าของทารกมีขนาดใหญ่มากขึ้น และเริ่มมีเค้าโครงของใบหน้าทารกมากขึ้นด้วย
• หู ตา จมูก ปาก อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อกลายเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างสมบูรณ์
• ร่างกายของทารกมีขนาดใหญ่ขึ้น ยาวขึ้น และเริ่มมีการเหยียดตัวตรงขึ้นเล็กน้อย
• นิ้วมือและนิ้วเท้า ไม่ได้ติดกันเป็นพังผืดอีกต่อไปแล้ว เริ่มกลายเป็นนิ้วมือและนิ้วเท้าเล็ก ๆ
• อวัยวะเพศอยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ แต่ยังไม่สามารถระบุเพศของทารกได้ในตอนนี้
• ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น มีการขยับแขน ขยับขา แต่การเคลื่อนไหวนั้นสามารถพบได้จากการอัลตราซาวนด์ คุณแม่ยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นในตอนนี้
ใกล้จะสิ้นสุดไตรมาสแรกแล้ว ท้อง 11 ใหญ่แค่ไหนกันนะ?
ขนาดครรภ์ของคุณแม่ในสัปดาห์นี้ยังไม่ได้นูนโค้งออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนค่ะ แต่คุณแม่ก็สามารถรู้สึกได้ว่าหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้นจากการที่เริ่มรู้สึกอึดอัดเวลาสวมเสื้อผ้าและกางเกง
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3 บางคนอาจเริ่มสังเกตเห็นความโค้งนูนเล็กน้อยของหน้าท้องค่ะ
แม่ท้อง 11 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่
• ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น
• ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น
• โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
• แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น
• ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น
• โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น
• โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่สามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น
ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลงก็ตาม
คนท้อง 11 สัปดาห์ อาการทั่วไปที่สามารถพบได้ในช่วงนี้ นอกเหนือจากอาการแพ้ท้องที่อาจจะยังคงรุนแรงอยู่ในคุณแม่หลายคน และคุณแม่หลายคนเริ่มมีอาการทุเลาลงบ้างแล้ว นั่นก็คือความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ดังนี้
• รู้สึกอึดอัดมากขึ้น เพราะหน้าท้องเริ่มขยาย ใส่เสื้อผ้า ใส่กางเกงตัวเดิมแล้วรู้สึกแน่น
• ผมมันมากขึ้น หรือผมแห้งมากขึ้น หรือผมร่วงมากขึ้น อันเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
• เล็บยาวเร็วขึ้น แต่ก็เปราะง่าย หักง่าย
• อ่อนเพลียง่าย เพราะร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก
• มีตกขาวมากขึ้น เพราะมีการไหลเวียนเลือดไปที่ช่องคลอดมากขึ้น และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณแม่หลายคนมีอาการตกขาวออกมามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่พบกับอาการคนท้องค่ะ และการไม่มีอาการใด ๆ เลยในขณะตั้งครรภ์ ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ ตราบเท่าที่ไปตรวจครรภ์และแพทย์ให้การยืนยันว่าสภาวะการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปกติ และทารกเจริญเติบโตตามปกติ
ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ในช่วงนี้แพทย์จะทำการวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก (NT:Nuchal Translucency) เพื่อดูว่าทารกมีความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรมหรือไม่
ตลอดจนทำการตรวจเลือด และตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกายว่าสูงหรือต่ำเกินไปไหม เพื่อประเมินความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ และความเสี่ยงของทารกต่อภาวะโครโมโซมบกพร่อง
ในกรณีที่ทารกเสี่ยงต่อความบกพร่องรุนแรง แพทย์อาจปรึกษากับคุณแม่ว่าต้องการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือต้องการที่จะดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไป เพราะไม่ใช่ทุกครอบครัวที่มีความพร้อมในการดูแลทารกที่เกิดมาพร้อมภาวะบกพร่องบางประการ
การอัลตราซาวนด์ในอายุครรภ์ 11 สัปดาห์แล้วไม่พบหัวใจของทารก ไม่พบการเต้นหัวใจของทารก มีโอกาสสูงค่ะที่อาจจะเกิดการแท้งหรือมีภาวะท้องลม
แต่...แพทย์จะไม่วินิจฉัยจากการอัลตราซาวนด์แค่เพียงครั้งเดียวค่ะ จำเป็นจะต้องมีการติดตามตรวจอัลตราซาวนด์ในครั้งถัดไปเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวินิจฉัย และดูว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิมไหม หรือตรวจอัลตราซาวนด์อีกครั้งแล้วพบหัวใจของทารกไหม
เพราะกรณีที่ตรวจไม่พบหัวใจเด็กนั้น อาจเป็นไปได้ว่ามีการนับอายุครรภ์ผิดพลาดและไม่ตรงกับอายุครรภ์จริงก็เป็นไปได้ค่ะ
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ คุณแม่อาจพบกับอาการต่าง ๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้องหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณอันตรายไหม ซึ่งเราขอแนะนำว่าคุณแม่ควรจะหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอว่ามีอาการใด ๆ ที่ผิดแปลกไปจากเดิมหรือไม่
และหากมีอาการใด ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นสัญญาณอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้ผิดปกติไหม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ
หากมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะอายุครรภ์เท่าไหร่ก็ตาม ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยว่าอาการเลือดออกนั้นเกิดจากสาเหตุใด
เพราะอาจจะเป็นเลือดที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ หรือเกิดจากภาวะความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การแท้ง การท้องนอกมดลูก ภาวะแท้งคุกคาม
ดังนั้น อย่ารอรีหรือมัวแต่ชะล่าใจนะคะ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาการเลือดออกตอนท้องนี้มีสาเหตุมาจากอะไรจนกว่าจะได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ค่ะ
อาการปวดท้องน้อยในระยะนี้ อาจมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของมดลูก แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องน้อยติดต่อกันหลายวันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือปวดมากจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการแท้ง หรือภาวะความเสี่ยงอื่น ๆ ในขณะตั้งครรภ์ได้
คุณแม่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด
แม่ท้อง 11 สัปดาห์ ควรระมัดระวังเรื่องของความเครียด เพราะยิ่งคุณแม่มีความเครียดเกิดขึ้นเป็นประจำ สารชีวเคมีในร่างกายจะทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์อีกด้วย
มากไปกว่านั้น คุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะกินแคลเซียมให้เพียงพอ เพราะทารกในครรภ์เริ่มมีการสร้างกระดูกและมวลกล้ามเนื้อแล้ว หากคุณแม่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ และทารกดึงเอาแคลเซียมไปใช้จนหมด คุณแม่จะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน หรือมีปัญหากระดูกเปราะได้ค่ะ
ช่วงอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ แพทย์อาจขอให้มีการตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม เพื่อหาความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรม และภาวะอื่น ๆ
คุณแม่จึงอาจจะได้รับการตรวจวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก (NT:Nuchal Translucency) เพื่อดูว่าทารกมีความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรมหรือไม่ รวมถึงการตรวจเลือด และตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายด้วย
ช่วงเวลา 1,000 วันแรก คือช่วงเวลาที่นับตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงวันเกิดครบ 2 ขวบของลูกน้อย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่คุณแม่จะต้องใส่ใจกับการดูแลตนเองและลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้องจนกระทั่งลืมตาออกมาดูโลก
หมั่นฟูมฟักทั้งโภชนาการที่มีประโยชน์ ปลูกฝังอารมณ์ สภาพจิตใจ ความรัก ความอบอุ่น รวมทั้งการเสริมสร้างพัฒนาการด้วยการเล่น การพูดคุย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ สมวัย และมีสุขภาพที่ดี พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตในทุก ๆ วัน
โดยช่วงเวลา 1,000 วันของลูกน้อย สามารถแยกออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่
• ช่วงที่ 1: ตั้งครรภ์ (270 วัน)
• ช่วงที่ 2: วัยแรกเกิด – 6 เดือน (180 วัน)
• ช่วงที่ 3: วัย 6 เดือน – 2 ปี (550 วัน)
ขนาดท้อง 11 สัปดาห์ ยังไม่ได้ใหญ่ตู้มค่ะ แต่เริ่มนูนออกมาเล็กน้อย โดยคุณแม่จะรู้สึกว่าช่วงนี้ร่างกายเริ่มมีน้ำมีนวลขึ้น ใส่เสื้อผ้าแล้วอึดอัด ใส่กางเกงแล้วแน่นคับ เพราะหน้าท้องเริ่มขยายมากขึ้นแล้วค่ะ
ท้อง 11 สัปดาห์ ขนาดท้องยังไม่โต ไม่ต้องกังวลไปเลยค่ะ เพราะถือเป็นเรื่องปกติมาก ไม่ใช่แม่ทุกคนที่ตั้งครรภ์แล้วจะมีท้องใหญ่ตั้งแต่อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ มากไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของหน้าท้องยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น
• สรีระของแม่ตั้งครรภ์
• การตั้งครรภ์ครั้งแรก
• การตั้งครรภ์ตอนอายุน้อย
• มีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่หนา หน้าท้องจึงไม่ขยายมากนัก
อาการแพ้ท้องส่วนใหญ่จะเริ่มทุเลาลงในช่วงนี้ค่ะ แต่...ก็ไม่เสมอไปค่ะ เพราะร่างกายแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน แม่หลายคนอาจยังมีอาการแพ้ท้องรุนแรงอยู่ แม่หลายคนเริ่มไม่แพ้ท้องแล้ว หรือแม่บางคนไม่เคยแพ้ท้องเลยก็มีค่ะ
ซึ่งจะมีอาการแพ้ท้องหรือไม่มี ก็ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ ตราบเท่าที่ตรวจครรภ์กับแพทย์แล้วพบว่าทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตตามปกติ คุณแม่ก็สบายใจได้
อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ขนาดทารกจะยาวประมาณ 1.6 - 2 นิ้ว หรือยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตรค่ะ
Enfa สรุปให้ อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 5 – 5.1 นิ้ว มีน้ำหนักประมา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดยาวประมาณ 5.6 นิ้ว หนักประมาณ 190 - 1...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 7 นิ้ว หนักประมาณ 300 - 310...
อ่านต่อ