Enfa สรุปให้

  • อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดตัวยาวประมาณ 3.4 นิ้ว หนักประมาณ 42 กรัม มีขนาดเท่ากับผลลูกพีช

  • อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ทารกเพศชายจะเริ่มพัฒนาต่อมลูกหมาก ส่วนเพศหญิงรังไข่จะเคลื่อนตัวจากท้องน้อยเข้าสู่บริเวณอุ้งเชิงกราน

  • อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของทารกเริ่มทำงานเชื่อมโยงกันมากขึ้น ต่อมไทรอยด์เริ่มผลิตฮอร์โมน ตับเริ่มสร้างน้ำดี ม้ามเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 14 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
     • พัฒนาการเด็กในครรภ์สัปดาห์ที่ 14
     • การเปลี่ยนแปลงร่างกายคุณแม่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์
     • อาหารคนท้อง 14 สัปดาห์ ควรกินอะไรบ้าง
     • อาการคนท้อง 14 สัปดาห์ เป็นแบบไหน
     • ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ ต้องอัลตราซาวนด์หรือไม่
     • ท้อง 14 สัปดาห์ มีอาการแบบนี้ ปกติหรือไม่
     • ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์
     • ไขข้อข้องใจเมื่อตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club

ท้อง 14 สัปดาห์ ตอนนี้คุณแม่อยู่ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์แล้วค่ะ ซึ่งในช่วงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์นี้ทั้งร่างกายของคุณและลูกน้อยของคุณกำลังได้รับการเปลี่ยนแปลงมากมายจนคุณแม่เองก็ตั้งตัวไม่ทัน

มาดูกันว่าในช่วงนี้ทารกมีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้าง แล้วคุณแม่จะมีขนาดหน้าท้องใหญ่แค่ไหนกันนะ

ท้อง 14 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในสัปดาห์นี้


เมื่ออายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มดลูกขยายตัวจนทำให้หน้าท้องของคุณแม่ยื่นออกมาจนเห็นได้ชัดว่าตั้งครรภ์ ขณะที่อาการแพ้ท้องนั้นก็ไม่เหลือแล้ว คุณแม่หลายคนจึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นในช่วงนี้ ทั้งยังมีความต้องการทางเพศสูงขึ้นด้วยค่ะ

ท้อง 14 สัปดาห์ ลูกอยู่ตรงไหน

ทารกอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ เจริญเติบโตอยู่ในมดลูก และมีพัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยคุณแม่สามารถอัลตราซาวนด์และเห็นทารกในครรภ์ที่มีขนาดตัวใหญ่ขึ้นได้อย่างชัดเจน

ท้อง 14 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือนกันนะ? สำหรับแม่ท้อง 14 สัปดาห์ จะมีอายุครรภ์เท่ากับ 3 เดือน 2 สัปดาห์ค่ะ

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 14 สัปดาห์ เป็นอย่างไร


ทารกอายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ถือว่าเริ่มมีลักษณะและรูปร่างคล้ายกับทารกแรกเกิด เพราะมีคาง หน้าผาก และจมูกที่มีรูปร่างชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของทารก ก็เริ่มทำหน้าที่เชื่อมโยงกันมากขึ้นแล้วด้วยค่ะ

ท้อง 14 สัปดาห์ ลูกดิ้นยัง

ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ ลูกดิ้นไปดิ้นมา พลิกตัว กลับตัวได้แล้วค่ะ แต่ในช่วงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์นี้ คุณแม่จะยังไม่สามารถรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวนี้ เนื่องจากการดิ้นอาจจะยังไม่กระทบผนังมดลูก หรือหากกระทบผนังมดลูกก็อาจจะยังไม่แรงพอที่จะทำให้คุณแม่สามารถจับความรู้สึกได้

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ รู้เพศ หรือยัง

การอัลตราซาวนด์อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ อาจสามารถตรวจพบเพศลูกได้บ้างแล้ว แต่ก็ไม่เสมอไปค่ะ เพราะอวัยวะเพศของลูกยังมีรูปร่างที่ยากเกินกว่าจะชี้ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย

มากไปกว่านั้น ท้อง 14 สัปดาห์ก็ยังเร็วไปที่จะตรวจพบเพศลูก โดยมากมักจะรอจนกระทั่งอายุครรภ์ 18-21 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะมีพบเพศของลูกอย่างชัดเจน

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ขนาดทารก มีขนาดประมาณไหนนะ

ท้อง 14 สัปดาห์ ขนาดทารกจะยาวประมาณ 3.4 นิ้ว หนักประมาณ 42 กรัม มีขนาดเท่ากับผลลูกพีชค่ะ

อวัยวะและระบบอื่น ๆ

การพัฒนาของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของทารกในช่วงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มีดังนี้

          • รูปร่างหน้าตาของทารกจะเริ่มมีความคล้ายเด็กมากขึ้น มีคาง หน้าผาก และจมูกชัดเจนขึ้น

          • แขนขาทารกเริ่มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจน

          • ไตเริ่มทำงาน ขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะปัสสาวะออกมาในน้ำคร่ำ แล้วทารกก็กลืนน้ำคร่ำลงไป ดูดซึมในลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด แล้วไตเริ่มทำหน้าที่กลั่นกรองออกมาเป็นน้ำปัสสาวะเป็นวงจรไปเรื่อยๆ

          • ส่วนของน้ำคร่ำเองก็จะมีการหมุนเวียน ดูดซึมขับถ่ายของเสียทำความสะอาดขึ้นมาใหม่โดยรกทุก 3 ชั่วโมง

          • ต่อมไทรอยด์เริ่มผลิตฮอร์โมน

          • ตับเริ่มสร้างน้ำดี

          • ม้ามเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

          • ทารกจะเริ่มมีขนอ่อนขึ้นตามลำตัว เรียกว่า “ลานูโก้” (Lanugo) ซึ่งจะคอยสะสมความอบอุ่นจนทารกสามารถสร้างไขมันได้อย่างเพียงพอขนนี้จะหลุดร่วงไปหลังคลอดโดยมีขนชุดใหม่ขึ้นทดแทน

          • ทารกเพศชายจะเริ่มพัฒนาต่อมลูกหมาก ส่วนเพศหญิงรังไข่จะเคลื่อนตัวจากท้องน้อยเข้าสู่บริเวณอุ้งเชิงกราน

          • ทารกสามารถหันศีรษะและทำหน้าผากย่นเพื่อตอบสนองต่อการสัมผัสได้

เข้าใจการเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์


คุณแม่หลายคนเริ่มมีหน้าท้องนูนออกมาอย่างชัดเจนในช่วงนี้ค่ะ แต่ถ้าหากท้อง 14 สัปดาห์ ท้องไม่โต ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติเสียทีเดียวค่ะ เพราะไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะหน้าท้องโตทั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

มากไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของหน้าท้องยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น

          • คุณแม่ตั้งครรภ์ครั้งแรก หน้าท้องจึงมักไม่ขยายใหญ่

          • คุณแม่ออกกำลังกายกายมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ทำให้มีผนังหน้าท้องที่หน้า เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ หน้าท้องจึงไม่นูนออกมาง่าย ๆ

          • คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุยังน้อย

          • คุณแม่มีสรีระที่เล็ก ขนาดหน้าท้องจึงไม่ขยายใหญ่เกินกว่าสรีระของคุณแม่

อาหารคนท้อง 14 สัปดาห์ ต้องกินอะไรบ้างนะ


แม่ท้อง 14 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่สามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ

โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น

ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง

Enfamama TAP No. 1

อาการคนท้อง 14 สัปดาห์ อาการแพ้ท้องยังมีอยู่ไหมนะ


ท้อง 14 สัปดาห์ อาการแพ้ท้องส่วนมากแทบจะไม่มีเหลือแล้ว หรืออาจจะมีอยู่บ้างแต่ก็ทุเลาลงมาก แต่จะรู้สึกสดชื่น รู้สึกมีพลังมากขึ้น ทั้งยังรู้สึกว่ามีความต้องการทางเพศสูงขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีคุณแม่หลายคนที่อาจจะยังแพ้ท้องอยู่ ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ เพราะร่างกายของแม่แต่ละคนแตกต่างกัน บางคนอาจจะแพ้ท้องนาน หรือบางคนไม่แพ้ท้องเลยก็มี และตราบเท่าที่ไปตรวจครรภ์แล้วทารกในครรภ์ยังปกติ ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลค่ะ

ส่วนอาการคนท้องที่อาจพบได้ในช่วงนี้ เช่น

          • คุณเริ่มเกิดเส้นกลางลำตัวสีเข้ม ซึ่งจะขยายจากสะดือไปยังบริเวณหัวเหน่า และเส้นนี้จะชัดขึ้นเรื่อย ๆ และหายไปหลังคลอด

          • อาการแพ้ท้องจะหายไป ทำให้คุณแม่รู้สึกมีเรี่ยวแรงมีพลังมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่าน ๆ มา และยังมีอารมณ์ทางเพศสูงกว่าเดิมด้วย

          • หน้าอกขยายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ ต้องไปตรวจอัลตราซาวนด์หรือไม่


ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ยังถือเป็นเรื่องจำเป็นถ้าหากแพทย์ได้ทำการนัดให้คุณแม่เข้ามาทำการตรวจครรภ์

โดยในสัปดาห์นี้ นอกจากจะตรวจดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แล้ว แพทย์ยังจะทำการอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม เพื่อหาความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรม รวมถึงการตรวจเลือด และตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายด้วย

ท้อง 14 สัปดาห์ แล้วมีอาการแบบนี้ ปกติหรือไม่?


อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่อาจพบกับอาการต่าง ๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้องหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณอันตรายไหม โดยแนะนำว่าคุณแม่ควรจะหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอว่ามีอาการใด ๆ ที่ผิดแปลกไปจากเดิมหรือไม่

และหากมีอาการใด ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นสัญญาณอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้ผิดปกติไหม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ

ท้อง 14 สัปดาห์ ท้องแข็ง เกิดจากอะไร

อาการท้องแข็งมักจะพบได้ในไตรมาสสามของการตั้งครรภ์ หรือเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการท้องแข็งนั้น อาจมีสาเหตุมากจากปัจจัยเหล่านี้

          • ทารกในครรภ์ดิ้นแรงหรือโก่งตัว

          • มดลูกเกิดการบีบรัดตัวขึ้นเองโดยหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้

          • การกินอาหารมากเกินไป หรือรู้สึกอิ่มมากจนเกินไป

ท้อง 14 สัปดาห์ มีเลือดออก อันตรายหรือไม่

หากมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะอายุครรภ์เท่าไหร่ก็ตาม ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยว่าอาการเลือดออกนั้นเกิดจากสาเหตุใด เพราะอาจจะเป็นเลือดที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ตามปกติ หรือเกิดจากภาวะความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การแท้ง ภาวะแท้งคุกคาม

ดังนั้น อย่ารอรีหรือมัวแต่ชะล่าใจนะคะ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาการเลือดออกตอนท้องนี้มีสาเหตุมาจากอะไรจนกว่าจะได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ค่ะ

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์


คุณแม่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด

การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

ช่วงอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ แพทย์จะทำการอัลตราซาวนด์ท้องเพื่อตรวจหาความเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางโครโมโซมและพันธุกรรม เพื่อหาความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรม และภาวะอื่น ๆ

คุณแม่จึงอาจจะได้รับการตรวจวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารก (NT: Nuchal Translucency) เพื่อดูว่าทารกมีความเสี่ยงของดาวน์ซินโดรมหรือไม่ รวมถึงการตรวจเลือด และตรวจวัดระดับฮอร์โมนในร่างกายด้วย

ซึ่งการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมนี้ถือว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะต้องยอมรับกันในความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ทุกครอบครัวที่จะมีความพร้อมในการเลี้ยงดูและดูแลเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม ซึ่งในกรณีที่มีความเสี่ยงต่อภาวะดาวน์ซินโดรมสูง แพทย์อาจแนะนำหรือปรึกษาให้ยุติการตั้งครรภ์

รู้จักกับภาวะแท้งคุกคาม

ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) คือ ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ที่สามารถพบได้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคามจะมีเลือดออกทางช่องคลอดในขณะที่ปากมดลูกยังไม่เปิด

ซึ่งเลือดที่ไหลออกมานั้นอาจเป็นเลือดสีสด มูกเลือด หรือเลือดสีน้ำตาลก็ได้ ทั้งนี้ ภาวะแท้งคุกคาม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

          • โครโมโซมผิดปกติ
          • ทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์
          • มดลูกและโพรงมดลูกผิดปกติ
          • การได้รับยาหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
          • มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน
          • ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
          • แม่ท้องมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ภาวะแท้งคุกคาม จำเป็นจะต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะถือว่าเป็นภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ และเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้

ดังนั้น หากมีเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าอาการเลือดออกนั้นมีที่มาจากอะไรกันแน่ ในกรณีที่เป็นสัญญาณของความผิดปกติ แพทย์จะได้ทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

กิจกรรมที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยง

คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมประเภทที่ต้องมีการตอบโต้กันไปมา เช่น การชกมวย รักบี้ ฟุตบอล หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม เช่น ขี่ม้า ปีนเขา

เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลกระทบต่อครรภ์ โดยหากมีการกระทบกระเทือนรุนแรง อาจทำให้เกิดการแท้ง หรือทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้ค่ะ

1,000 วันแรก คืออะไร และสำคัญอย่างไร

ช่วงเวลา 1,000 วันแรก คือช่วงเวลาที่นับตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงวันเกิดครบ 2 ขวบของลูกน้อย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่คุณแม่จะต้องใส่ใจกับการดูแลตนเองและลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้องจนกระทั่งลืมตาออกมาดูโลก

หมั่นฟูมฟักทั้งโภชนาการที่มีประโยชน์ ปลูกฝังอารมณ์ สภาพจิตใจ ความรัก ความอบอุ่น รวมทั้งการเสริมสร้างพัฒนาการด้วยการเล่น การพูดคุย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ สมวัย และมีสุขภาพที่ดี พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตในทุก ๆ วัน

โดยช่วงเวลา 1,000 วันของลูกน้อย สามารถแยกออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่

          • ช่วงที่ 1: ตั้งครรภ์ (270 วัน)
          • ช่วงที่ 2: วัยแรกเกิด – 6 เดือน (180 วัน)
          • ช่วงที่ 3: วัย 6 เดือน – 2 ปี (550 วัน)

ยาบำรุงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ยาบำรุงคนท้อง ดีที่สุดคือควรจะได้รับการจ่ายยาโดยตรงจากแพทย์ ไม่ควรไปหาซื้อสมุนไพรบำรุงครรภ์ต่าง ๆ นานามากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของแม่และเด็กได้ เนื่องจากสมุนไพรส่วนมากยังไม่ผ่านการรับรองความปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร

สำหรับยาบำรุงครรภ์ที่แพทย์อาจแนะนำหรือสั่งจ่ายยาให้คุณแม่เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • กรดโฟลิก
          • ธาตุเหล็ก
          • แคลเซียม
          • ไอโอดีน
          • วิตามินซี
          • วิตามินบีรวม (บี1 บี2 บี3 บี6 บี12)
          • วิตามินอี
          • โอเมก้า 3

ไขข้อข้องใจเมื่อท้อง 14 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club


 ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ ควรกินอาหารแบบไหน?

แม่ท้อง 14 สัปดาห์ ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และต้องกินอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่มากับอาหาร มากไปกว่านั้น ยังควรเน้นสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ ดังนี้

          • ดีเอชเอ พบได้มากในอาหารจำพวก ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก พบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต พบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม พบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้

อย่างไรก็ตาม นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่สามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ

โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น

ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง

 ท้อง 14 สัปดาห์ ท้องใหญ่ ขนาดไหน?

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ มดลูกจะขยายตัวจนทำให้หน้าท้องของคุณแม่ยื่นออกมาจนเห็นได้ชัดว่าตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่หน้าท้องนูนออกมาในช่วงนี้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณแม่มีสรีระเล็กเป็นทุนเดิม หรือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก หรือตั้งครรภ์ตอนอายุน้อย กรณีเหล่านี้พบว่าหน้าท้องมักไม่นูนออกมาจนเห็นได้ชัด

 ท้อง 14 สัปดาห์ แน่นท้อง เกิดจากอะไร?

อาการแน่นท้อง อาจเป็นผลมาจากการขยายตัวของมดลูก บางครั้งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดบ้างเล็กน้อย หรืออาจเกิดจากการกินอาหารมากจนเกินไป หรืออาจมีสาเหตุมาจากอาการท้องอืด แน่นท้อง ก็เป็นไปได้เช่นกันค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากอาการแน่นท้องนี้ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวจนนอนไม่หลับ หรือกินอาหารได้น้อยลงกว่าปกติ และมีอาการแน่นท้องติดต่อกันหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 สมุดสีชมพูคืออะไร?

สมุดสีชมพู หรือบางครั้งอาจเรียกว่าสมุดฝากครรภ์ หรือชื่อเต็ม ๆ คือสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เป็นสมุดเล่มสีชมพูที่คุณแม่ได้รับในวันแรกที่ไปฝากครรภ์

โดยจะบันทึกรายละเอียดการตั้งครรภ์ของคุณแม่ ตั้งแต่โรคประจำตัว อายุ น้ำหนัก และผลการตรวจเลือด และข้อมูลบันทึกการเจริญเติบโตของลูกน้อยในแต่ละเดือน รวมถึงข้อมูลการฉีดวัคซีนลูกน้อยด้วย

มากไปกว่านั้น สมุดสีชมพูยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ประกอบด้วยค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์