ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
c-section-wound-care

แผลผ่าคลอด ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้หายเร็วและลดรอย

 

  • ปกติแล้วแพทย์จะแนะนำให้มีการคลอดตามธรรมชาติเพราะเป็นผลดีต่อแม่และเด็กมากกว่า เว้นเสียแต่ว่ามีปัจจัยนอกเหนือการควบคุม เช่น ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ ขนาดตัว/ศีรษะของทารกใหญ่กว่าปกติ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งแพทย์เล็งเห็นแล้วว่า ไม่เป็นผลดีหากจะทำการคลอดโดยธรรมชาติ ก็จะวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอด ซึ่งการผ่าคลอดนั้นจะด้วยอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือผ่าคลอดแนวนอน และผ่าคลอดแนวตั้ง
  • แผลผ่าคลอดแนวนอน แพทย์จะทำการกรีดในแนวนอนบริเวณเหนือหัวหน่าว การผ่าคลอดในแนวนอนนี้มักทำกันเป็นปกติในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้มีภาวะคลอดฉุกเฉิน และมักเป็นวิธีผ่าคลอดที่คุณแม่นิยม เพราะสามารถปิดซ่อนรอยแผลได้ง่าย เจ็บปวดน้อย และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • แผลผ่าคลอดแนวตั้ง แพทย์จะทำการกรีดในแนวเส้นตรงจากสะดือลงไปที่บริเวณหัวหน่าว การผ่าในแนวตั้งนี้มักทำในกรณีที่ฉุกเฉิน เนื่องจากสามารถลงมือได้เร็วกว่าการผ่าคลอดแนวนอน จึงมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาชีวิตของแม่และเด็กในกรณีที่ฉุกเฉินได้ อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดในแนวตั้งจะมีความเจ็บปวดมากกว่า และใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนานกว่า

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • แผลผ่าคลอดคืออะไร
     • แผลผ่าตัดคลอดมีกี่แบบ
     • แผลผ่าคลอดกี่วันหาย
     • แผลผ่าคลอดอักเสบ
     • คันแผลผ่าหลังคลอด 
     • รอยแผลผ่าหลังคลอด ดูแลยังไงให้เนียนสวย
     • วิธีเลือกครีมทาแผลผ่าคลอด
     • ปัญหาแผลผ่าหลังคลอดที่ควรระวัง
     • ไขข้องใจเกี่ยวกับปัญหาแผลผ่าคลอดกับ Enfa Smart Club

การคลอดลูก เป็นหนึ่งในความกังวลอันดันต้น ๆ ของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางท่านอาจเริ่มเป็นกังวลตั้งแต่ก่อนหรือเริ่มตั้งครรภ์ และอาจปริวิตกมากขึ้นในช่วงใกล้คลอด ซึ่งนอกเหนือไปจากความกังวลในเรื่องของความเจ็บปวด การคลอดยาก หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ แล้วนั้น

แผลผ่าคลอดและรอยแผล ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านมีความกังวล กลัวว่าจะทำให้สูญเสียความมั่นใจในรูปร่างไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแผลที่มาจากการคลอดธรรมชาติ หรือ แผลผ่าคลอด ต่างก็เป็นรอยตำหนิแห่งการกำเนิดที่สามารถลดทอนความมั่นใจทั้งได้สิ้น

แผลผ่าคลอด ร่องรอยที่ติดอยู่บนร่างกายคุณแม่หลังการให้กำเนิด


แม้คุณแม่จะสามารถมีส่วนในการตัดสินใจได้ว่าต้องการผ่าคลอด หรือคลอดแบบธรรมชาติ แต่ผลการวินิจฉัยหลัก ๆ แล้วจะมาจากแพทย์ที่ประเมินแล้วว่า การคลอดแบบใดดีต่อแม่และเด็กมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าการคลอดทั้งสองแบบก็ยังสร้างความกังวลและทิ้งบาดแผลให้กับคุณแม่อยู่ดี

ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์มักจะเห็นสมควรให้มีการคลอดตามธรรมชาติเพราะเป็นผลดีต่อแม่และเด็กมากกว่า แต่ก็ใช่ว่าแม่ทุกคนจะได้รับสิทธิ์นั้นเสมอไป เพราะในบางกรณีที่มีปัจจัยนอกเหนือการควบคุม

เช่น ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ ขนาดตัว/ศีรษะของทารกใหญ่กว่าปกติ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งแพทย์เล็งเห็นแล้วว่า ไม่เป็นผลดีหากจะทำการคลอดโดยธรรมชาติ ก็จะวินิจฉัยให้มีการผ่าคลอดเพื่อความปลอดภัยของแม่และเด็ก

ซึ่งนอกจากความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญแล้ว การคลอดด้วยวิธีผ่าตัด ก็มักจะทิ้ง แผลผ่าคลอด เป็นตำหนิต่างหน้าเอาไว้ด้วย ซึ่งรอยแผลนี้นี่แหละจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งความกังวล ความไม่มั่นใจของคุณแม่หลังคลอด

ทำความรู้จักแผลผ่าคลอด

แผลผ่าคลอดยาวกี่เซน ? แผลผ่าคลอดเย็บกี่ชั้น ? เหล่านี้เป็นหนึ่งในกลุ่มคำถามยอดฮิตสำหรับคุณแม่ที่เป็นกังวลในเรื่องของการผ่าคลอด ซึ่งแน่นอนว่ารอยแผลนั้นจะต้องใหญ่มากพอที่จะสามารถเอาศีรษะและลำตัวของทารกออกมาได้ โดยจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร และจะมีการเย็บปิดแผลประมาณ 5 ชั้น เริ่มตั้งแต่เย็บปิดแผลมดลูก เยื่อบุช่องท้อง ชั้นกล้ามเนื้อ ชั้นไขมัน และชั้นผิวหน้าท้อง

แผลผ่าคลอดมีกี่แบบกันนะ?

แผลหลังผ่าคลอดโดยหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • แผลผ่าคลอดแนวนอน แพทย์จะทำการกรีดในแนวนอนบริเวณเหนือหัวหน่าว การผ่าคลอดในแนวนอนนี้มักทำกันเป็นปกติในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้มีภาวะคลอดฉุกเฉิน และมักเป็นวิธีผ่าคลอดที่คุณแม่นิยม เพราะสามารถปิดซ่อนรอยแผลได้ง่าย เจ็บปวดน้อย และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
  • แผลผ่าคลอดแนวตั้ง แพทย์จะทำการกรีดในแนวเส้นตรงจากสะดือลงไปที่บริเวณหัวหน่าว การผ่าในแนวตั้งนี้มักทำในกรณีที่ฉุกเฉิน เนื่องจากสามารถลงมือได้เร็วกว่าการผ่าคลอดแนวนอน จึงมีส่วนช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาชีวิตของแม่และเด็กในกรณีที่ฉุกเฉินได้ อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดในแนวตั้งจะมีความเจ็บปวดมากกว่า และใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนานกว่า

แผลผ่าคลอดกี่วันหาย?

หลังจากคลอดลูกเรียบร้อยแล้ว แผลผ่าคลอดจะค่อย ๆ สมานตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ส่วน แผลผ่าคลอดกี่วันหายเจ็บ นั้น คงไม่สามารถบอกเป็นจำนวนวันที่ชัดเจนได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังคลอดของแต่ละบุคคลด้วย รวมถึงการปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ การทำความสะอาดแผลอย่างถูกต้อง การหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระเทือน ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้แผลสมานตัวได้ดีขึ้น และมีโอกาสหายเร็วขึ้น

แต่โดยทั่วไปแล้ว หลังจากผ่านไป 5-7 วัน แพทย์ก็จะนัดมาตัดไหมที่เย็บแผลไว้ออก และหลังจากนั้น 1-2 เดือน แผลก็ควรที่จะต้องสมานกันสนิท เหลือไว้เพียงรอยแผลเป็น ส่วนอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ก็ควรจะเบาลงหรือหายสนิท

แผลผ่าคลอดไหมละลายกี่วันหาย?

แม่ๆผ่าคลอดที่เย็บด้วยไหมละลาย คงมีข้อสงสัยว่าแผลไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ซึ่งไหมละลายจะใช้ระยะเวลาในการละลายภายในร่างกายของคุณแม่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นไหมที่ใช้ ซึ่งอาจใช้เวลาเร็วสุดตั้งแต่ง 5-10 วัน จนถึง 3-12 สัปดาห์ หรือในบางชนิดอาจใช้เวลานานถึง 4-6 เดือนขึ้นไป หรืออาจใช้เวลาในการละลายนานถึง 1 ปีก็มีค่ะ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแผลผ่าคลอดในยุคนี้มันจะใช้เวลาละลายสมานแผลอยู่เกิน 2 สัปดาห์ แต่อาการปวดอาจคงค้างอยู่นานได้ถึง 2 เดือน 

อาการแผลผ่าคลอดอักเสบ แม่ผ่าคลอดควรระวัง

แผลหลังผ่าคลอดจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อให้ปากแผลปิดและสมานตัวกันอย่างสนิท โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง เพราะแผลผ่าตัดที่สกปรกมักเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบตามมาทีหลังได้ โดยสัญญาณของแผลผ่าคลอดอักเสบสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

หากมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น นั่นอาจเป็นสัญญาณของการอักเสบและติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • มีของเหลวหรือหนองไหลออกมาจากแผลผ่าคลอด
  • แผลผ่าคลอดมีเลือดซึม หรือแผลปริเป็นหนอง
  • มีอาการปวดที่บริเวณแผลผ่าคลอด
  • แผลหลังผ่าคลอดมีอาการบวม แดง
  • แผลผ่าคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • ไม่สบายท้อง
  • มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ
  • มีอาการปวดที่ขา หรือขาบวม

อาการคันแผลผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดควรเตรียมตัวรับมือ

อาการคันแผลผ่าคลอดเกิดจากอะไร?

คุณแม่หลายท่านที่ผ่าตัดคลอดมักจะพบกับอาการคันแผลผ่าคลอดจนรู้สึกรำคาญใจอยู่บ่อยครั้ง หรือบางครั้งก็แอบคิดมากไปว่ามีอะไรผิดปกติกับแผลหรือเปล่า แต่จริง ๆ แล้วอาการคันแผลผ่าตัดนั้นเป็นเรื่องที่ปกติมาก และสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วอาการคันแผลหลังผ่าคลอดนั้น มักจะมาจากการที่ต้องโกนขนบริเวณหัวหน่าวก่อนทำการผ่าคลอด เมื่อคลอดลูกเสร็จแล้ว ขนที่หัวหน่าวก็จะค่อย ๆ งอกกลับมา ขนใหม่ที่กำลังงอกขึ้นมานี้จึงทำให้รู้สึกคันยุกยิก

อย่างไรก็ตาม หากผ่านการผ่าคลอดมาสักพักแล้ว และขนบริเวณหัวหน่าวก็ขึ้นแล้ว แต่ยังคงรู้สึกว่าอาการคันไม่ได้ลดลงไปเลย นั่นอาจเป็นเพราะรักษาแผลผิดวิธี หรือใช้ยาทาแผลผิดประเภท หรือผิวหนังอาจแพ้ส่วนผสมในยาทาแผล

คันแผลผ่าคลอดมาก คุณแม่ควรควรทำยังไงดี?

แม้อาการคันแผลผ่าคลอดจะน่ารำคาญใจจนเกินจะทนไหว แต่จงจำเอาไว้ว่า ควรหลีกเลี่ยงการเกาแผลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อและการอักเสบของแผล อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจสามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการคันแผลได้

  • ใช้ครีมยาประเภททาที่มีสรรพคุณช่วยป้องกันการติดเชื้อ
  • ใช้ครีมยาที่มีสรรพคุณป้องกันอาการคัน
  • ประคบเย็นโดยนำผ้าขนหนูหรือผ้าสะอาดมาห่อน้ำแข็ง แล้วประคบที่บริเวณแผลประมาณ 5-10 นาที

อย่างไรก็ตาม หากอาการคันไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเลยแม้แต่น้อย ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

รอยแผลผ่าคลอด ดูแลยังไงให้เนียนสวย ไม่ทิ้งรอย

ร่างกายของคุณแม่แต่ละท่านนั้นมีความแตกต่างกัน บางคนเป็นแผลนาน บางคนแผลหายเร็ว บางคนแผลทิ้งรอยไว้ใหญ่และมองเห็นได้ชัด ขระที่คุณแม่บางท่านมีเพียงรอยแผลขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็น แต่ถึงแม้จะมีพื้นฐานสภาพร่างกายที่แตกต่างกันไป แต่คุณแม่ทุกท่านก็สามารถดูแลแผลผ่าคลอดได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • รักษาความสะอาดแผล การดูแลแผลให้สะอาดอยู่เสมอไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบเท่านั้น แต่ยังลดความเสี่ยงที่จะทำให้แผลแย่ลงจนกลายเป็นรอยแผลที่ยากต่อการรักษา
  • หลีกเลี่ยงการขยับตัวบ่อย การก้ม การงอตัว การพลิกตัวไปมาบ่อย ๆ นอกจากจะทำให้แผลสมานตัวช้าแล้ว ก็จะยิ่งทำให้แผลมีอาการแย่ลง เสี่ยงที่จะทิ้งรอยแผลใหญ่ได้ ควรลดการเคลื่อนไหวลง พักผ่อนให้มาก ๆ จนกระทั่งแผลเริ่มดีขึ้นจึงค่อยกลับมาทำกิจวัตรประจำวันตามเดิม
  • ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน แม้ว่าจะคลอดลูกแล้ว คุณแม่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าขาดน้ำ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ดีต่อการผลิตน้ำนม มากไปกว่านั้น ร่างกายที่แข็งแรงเร็ว ก็จะทำให้การฟื้นตัวหลังคลอดดีขึ้นด้วย รอยแผลและอาการเจ็บปวดจากการผ่าตัดก็มีแนวโน้มที่จะทุเลาลง
  • งดสวมเสื้อผ้ารัดรูป หลังผ่าคลอดพยายามหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดรูป แต่ควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่มีขนาดหลวม เพื่อลดการเสียดสีของเนื้อผ้ากับแผล เพราะการเสียดสีบ่อย ๆ เสี่ยงที่จะทำให้แผลหายช้า หรืออาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้

วิธีเลือกครีมทาแผลผ่าคลอด

อีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่หลังผ่าคลอดนิยมก็คือการทาครีมยา หรือครีมที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผลผ่าตัด หรือมีส่วนช่วยลดเลือนรอยแผลเป็น แต่ แผลผ่าคลอดทายาอะไรดี ล่ะ เพราะครีมยาที่มีวางขายอยู่ตามร้านยาชั้นนำทั่วไปก็มีอยู่หลากหลายชนิด ต่อให้ดูจนครบก็คงจะเลือกลำบากอยู่ดี ดังนั้น คุณแม่อาจใช้เทคนิคเหล่านี้ในการเลือกซื้อครีมทาแผลผ่าคลอดได้

  • ครีมหรือเจลที่มีส่วนผสมของซิลิโคน ซิลิโคนในที่นี้ไม่ใช่ซิลิโคนสำหรับการทำศัลยกรรม แต่เป็นเจลหรือครีมซิลิโคน หรือแผ่นแปะซิลิโคน ซึ่งมีส่วนช่วยลดรอยแผลเป็นสำหรับแผลที่เพิ่งเกิดใหม่ ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยบรรเทาไม่ให้แผลเกิดอาการบวม นูนแดง
  • อ่านฉลากก่อนเสมอ เพื่อดูว่ามีส่วนผสมใด หรือสารตัวใดที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผิวหนังหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่มีปัญหาผิวแพ้ง่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้วยิ่งต้องระวัง
  • ครีมยาตามแพทย์สั่ง เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจสูงสุด สามารถสอบถามจากแพทย์ได้ว่าควรใช้ครีมยาชนิดใดถึงจะดี หรืออาจให้แพทย์สั่งจ่ายครีมยาให้โดยตรง เพื่อลดความเสี่ยงหรืออาการแพ้ครีมยาที่อาจทำให้แผลแย่ลง

ปัญหาแผลผ่าคลอดอื่นๆ ที่คุณแม่อาจพบได้

นอกเหนือไปจากปัญหาเรื่องรอยแผลหลังผ่าคลอด แผลผ่าคลอดอักเสบแล้ว ก็ยังมีข้อข้องใจเกี่ยวกับแผลผ่าคลอดอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ ดังนี้

อาการเจ็บแผลผ่าคลอดข้างใน

ช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าคลอด คุณแม่จะรู้สึกปวดที่บริเวณแผล หรือรู้สึกเหมือนเป็นตะคริว แต่หลังจากนั้นอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นไปตามลำดับ และหลังจากผ่าคลอดไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ ร่างกายควรจะต้องอยู่ในระยะที่ฟื้นตัวเป็นปกติหรือเกือบเป็นปกติ อาการปวดต่าง ๆ ควรจะทุเลาลงหรือหายปวด แต่สำหรับผู้ที่ยังคงมีอาการปวดอยู่ อาจจะต้องหาเวลาไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยถึงความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน หรือแผลติดเชื้อ หรืออาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

อาการแผลผ่าคลอดเป็นก้อนแข็ง หรือแผลผ่าคลอดแข็งเป็นไต

แผลเป็นชนิดที่เป็นรอยนูน หรือเป็นก้อนแข็ง ๆ หรือแข็งเป็นไต มักไม่ได้แสดงถึงความผิดปกติใด รอยแผลนั้นอาจเกิดจากการที่รอยแผลเป็นมีการสร้างเนื้อเยื่อมากเกินไป จนทำให้เนื้อเยื่อขยายตัวนูนและจับตัวเป็นก้อนแข็ง ซึ่งถ้าหากก้อนแข็งเหล่านั้นเพียงแค่ลดทอนความมั่นใจในรูปลักษณ์ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าก้อนแข็งนั้นทำให้รู้สึกปวด หรือเจ็บทุกครั้งเมื่อสัมผัสหรือกด ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

แผลผ่าคลอดเป็นคีลอยด์

แผลผ่าคลอดนูน เป็นคีลอยด์ เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาซ่อมแซมบริเวณรอยแผลนั้นมากจนผิดปกติ และขยายใหญ่จนเกิดรอยแผลเป็นที่นูนหรือหนา ซึ่งโดยมากแล้วแผลที่เป็นคีลอยด์ก็ไม่ได้ส่งผลเสียใด ๆ นอกจากเรื่องของความมั่นใจในรูปลักษณ์ แต่ถ้าคีย์ลอยด์ทำให้รู้สึกปวด หรือเจ็บทุกครั้งเมื่อสัมผัสหรือกด หรือมีขนาดใหญ่จนเกินไป ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

แผลผ่าคลอดเป็นพังผืด

แผลผ่าตัดที่กลายเป็นพังผืดนั้น เกิดจากการที่ร่างกายทำการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเมื่อเกิดแผลจนกลายเป็นพังผืด ซึ่งสามารถพบได้ในผู้หญิงที่ผ่านการผ่าคลอด ยิ่งถ้าผ่านการผ่าคลอดมาหลายครั้ง ก็มีแนวโน้มที่ร่างกายจะสร้างพังผืดขึ้นมาอีกตามจำนวนครั้งที่มีการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม แผลผ่าคลอดที่เป็นพังผืดก็ไม่ได้อันตรายไปเสียทีเดียว เพียงแต่ก็มีโอกาสพัฒนากลายเป็นพังผืดในอุ้งเชิงกราน ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย หรือปวดท้องน้อยชนิดเรื้อรัง ดังนั้น หากมีแผลพังผืดและมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย ควรหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

ไขข้องใจเกี่ยวกับปัญหาแผลผ่าคลอดกับ Enfa Smart Club


แผลผ่าคลอดกี่วันตัดไหม?

โดยปกติแล้วแพทย์หรือพยาบาลจะนัดให้คุณแม่กลับมา ตัดไหมแผลผ่าคลอด ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเมื่อมีการผ่าคลอดผ่านไปแล้วประมาณ 5-7 วัน หรือ 2 สัปดาห์

แผลผ่าคลอดเย็บด้วยไหมละลาย ดูแลอย่างไร?

การเย็บแผลผ่าคลอดด้วยไหมละลาย ฟังดูเป็นอะไรที่สะดวก เพราะไม่ต้องเสียเวลากลับมาตัดไหมเหมือนกับการเย็บแผลที่ใช้ไหมธรรมดา อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าการดูแลแผลหลังผ่าคลอดจะเปลี่ยนไปจากแผลผ่าตัดที่ใช้ไหมธรรมดา เพราะไม่ว่าจะใช้ไหมแบบใดในการเย็บแผล ก็ยังจำเป็นต้องรักษาความสะอาดของแผล ไม่เกาหรือแกะแผล เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่จะนำไปสู่การอักเสบและทำให้แผลแย่ลง

เจ็บแผลผ่าคลอดหลังจากยกของหนัก

หลังผ่าคลอดคุณแม่จำเป็นที่จะต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และแผลสมานตัวได้ดีขึ้น กิจวัตรประจำวันใดที่ต้องมีการขยับหรือเคลื่อนไหวตัวมากเป็นสิ่งที่ควรงด หรือรอให้คุณแม่ฟื้นตัวหลังคลอดอย่างสมบูรณ์เสียก่อน โดยทั่วไปหลังจากผ่าคลอดผ่านไปแล้ว 6 สัปดาห์ ร่างกายของคุณแม่มักจะอยู่ในช่วงที่ฟื้นฟูได้เกือบหรือสมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์แล้ว

เจ็บแผลผ่าคลอดขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม?

ไม่มีการระบุเวลาที่แน่ชัดว่าอาการเจ็บแผลผ่าคลอดจะหายสนิทเมื่อใด แต่ระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ถือว่านานพอที่คุณแม่จะฟื้นฟูร่างกายจนกลับมาเป็นปกติหรือเกือบปกติ ดังนั้น อาการปวดแผลผ่าตัดควรที่จะทุเลาลงตามลำดับจนกระทั่งหายสนิท แต่ถ้าผ่านมานานแล้วและยังมีอาการปวดแผลอยู่ หรือมีอาการปวดแผลเมื่อตั้งครรภ์ใหม่อีกครั้ง ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา

เจ็บแผลผ่าคลอดหลายปี อันตรายหรือไม่ เกิดจากอะไร?

หลังจากผ่านไป ระยะเดือนหรือหลายปี อาการปวดแผลควรที่จะทุเลาลงจนหายเป็นปกติ ดังนั้น อาการปวดดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่ามาจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการผ่าคลอดที่ผ่านมา ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลหลาย ๆ ด้านประกอบกัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา

เจ็บแผลผ่าคลอดด้านซ้าย อันตรายหรือไม่ เกิดจากอะไร?

หากคุณแม่เพิ่งผ่านการผ่าคลอดมาไม่นาน การเจ็บแผลผ่าคลอดด้านซ้ายอาจเกิดจากลักษณะการเย็บแผลที่มีการดึงรั้งบริเวณมุมแผล ซึ่งจะค่อยๆ ทุเลาลงเอง และเริ่มหายเป็นปกติหลังจากผ่านไป 1-2 เดือน หากคุณแม่มีอาการปวดแผลอย่างรุนแรง ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูสภาพแผล หรือรับประทานยาแก้ปวดภายใต้คำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

ทั้งนี้ หากอาการเจ็บแผลผ่าคลอดของคุณแม่มาพร้อมกับอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุโดยตรงและรับการรักษาต่อไป

แผลผ่าคลอดไม่สวย คุณแม่จะไปศัลยกรรมดีไหม?

แน่นอนว่าไม่มีใครที่อยากจะมีรอยแผลเป็นบนเรือนร่าง ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังด้านในหรือนอกร่มผ้าก็ตาม การมีผิวพรรณที่ปราศจากริ้วรอยต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่สำหรับแม่ที่ผ่านการผ่าคลอด คงเป็นเรื่องยากที่จะมองข้ามรอยแผลเป็นนั้นได้ แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาช่วยในการลบเลือนรอยแผลเป็น ทั้งการเลเซอร์ การฉีดสเตียรอยด์ หรือการศัลยกรรมที่เรียกว่า การผ่าตัดรอยแผลเป็น (Scar revision)

ซึ่งแพทย์จะทำการตัดเอาแผลเป็นทั้งหมดออก จากนั้นจึงทำการเย็บแผลใหม่เพื่อไม่ให้เห็นรอยตะขาบเดิม แต่ทั้งนี้ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนเสมอเพื่อทำการประเมินความเสี่ยงว่าแผลเป็นจะจางหรือเลือนหายไปจริง ๆ หรือเสี่ยงที่จะมีรอยแผลเป็นใหญ่กว่าเดิม รวมถึงความเจ็บปวดในการผ่าตัดที่อาจจะปวดจนทนไม่ไหวในบางราย

แผลผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม?

มีความเชื่อแบบผิด ๆ อยู่หลายอย่างว่า หลังผ่าตัดหรือหลังผ่าคลอด ควรงดกินข้าวเหนียว งดกินไข่ งดกินเนื้อสัตว์ เพราะถ้ากินจะทำให้แผลอักเสบและหายช้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เคยมีผลวิจัยออกมาเลยกว่าการห้ามกินข้าวเหนียวหรือไข่จะทำให้แผลหายเร็ว

ในทางกลับกันอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตอย่างข้าวเหนียว หรือโปรตีนจากไข่และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เป็นกลุ่มสารอาหารที่ควรจะต้องกินให้มาก ๆ ด้วยซ้ำ เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และฟื้นฟูบาดแผลจากการผ่าตัดให้หายเร็วขึ้น ส่วนเรื่องการอักเสบหรือติดเชื้อนั้น ควรจะเป็นเรื่องของการดูแลทำความสะอาดแผลต่างหาก เพราะต่อให้งดกินข้าวเหนียว แต่ไม่ดูแลแผลให้ดี สุดท้ายก็เสี่ยงที่แผลจะติดเชื้ออยู่เหมือนเดิม



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

ปัญหาท้องลาย...ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเจอ
สิ่งอันตรายใกล้ตัวคุณแม่ท้องมากๆ อย่ามองข้ามเด็ดขาด
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner