ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แผลผ่าคลอดไหมละลาย

แผลผ่าคลอด ไหมละลายตอนไหน ต้องกลับมาตัดไหมด้วยรึเปล่า

Enfa สรุปให้

  • แผลผ่าคลอดจะต่างจากแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุทั่วไป การเย็บปิดแผลจึงต้องใช้เส้นไหมที่แตกต่างกันตามประเภทของบาดแผล
  • แผลผ่าคลอดเป็นแผลที่ไม่ต้องตัดไหม และต้องการความสวยงามของบาดแผล จึงเลือกใช้ไหมละลายที่สามารถสลายได้ภายในร่างกายมนุษย์ และไม่เกิดการดึงรั้งที่ผิวหนัง
  • ระยะเวลาในการละลายของเส้นไหมละลาย จะขึ้นอยู่กับชนิดของไหมและวัสดุที่ใช้ ไหมละลายบางชนิดอาจใช้เวลาตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไปกว่าที่จะละลายจนหมด บางชนิดอาจใช้เวลานาน 4-5 เดือน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • แผลผ่าคลอดไหมละลาย ต่างจากแผลทั่วไปอย่างไร
     • ไหมละลาย มีลักษณะอย่างไร
     • ไหมละลายเย็บแผลกี่วันจึงจะละลายหมด
     • ผ่าคลอด ไหมละลายไม่หมด ควรทำอย่างไร

เมื่อทำการผ่าคลอดเอาทารกออกมาได้สำเร็จ แพทย์จะเย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ซึ่งนิยมใช้สำหรับแผลผ่าตัด และไม่จำเป็นต้องมาตัดไหมหลังคลอด แต่แผลผ่าคลอด ไหมละลาย ภายในกี่วัน? แล้วถ้าไหมหลุดก่อนที่จะละลาย หรือไหมละลายไม่หมด จะเป็นอันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลแผลผ่าคลอดกับไหมละลายอย่างไรดี บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบค่ะ 

แผลผ่าคลอดไหมละลาย ต่างจากแผลทั่วไปอย่างไร


แผลผ่าคลอดจะนิยมใช้ไหมละลาย ซึ่งแตกต่างจากการเย็บผิวหนังทั่วไปที่จะใช้ไหมไม่ละลาย นั่นเป็นเพราะว่าเวลาที่เย็บปิดแผลผ่าคลอดนั้น จะต้องมีการเย็บติดเป็นชั้น ๆ แพทย์จึงต้องผูกปมไหมไว้ใต้ผิวหนังทุกชั้น ถ้าหากใช้ไหมที่ไม่ละลายในการเย็บปิดแผล ก็ไม่สามารถที่จะตัดไหมออกมาได้ การใช้ไหมละลายจึงตอบโจทย์สำหรับแผลผ่าคลอดที่ไม่ต้องการการตัดไหมค่ะ 

และที่สำคัญก็คือ แผลผ่าคลอด เป็นแผลที่ต้องทำให้สวยงาม เพื่อจะได้ไม่ไปลดทอนความมั่นใจของคุณแม่หลังคลอด การเย็บด้วยไหมละลาย สามารถเย็บปิดแผลได้สวยกว่า เพราะไม่ต้องมีการดึงรั้งมาก ด้วยเหตุนี้ ไหมละลายจึงเหมาะที่จะใช้งานกับแผลผ่าคลอดมากกว่าไหมธรรมดาค่ะ 

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

ไหมละลายผ่าคลอด มีลักษณะอย่างไร


ไหมละลาย คือ เส้นไหมที่สามารถละลายหรือสลายตัวได้เองตามธรรมชาติภายในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งไหมละลายที่มาจากเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ 

ซึ่งเส้นใยธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะทำมาจากคอลลาเจนของลำไส้แกะ หรือลำไส้วัว 

ส่วนเส้นไหมสังเคราะห์ จะผลิตจากทำจากสารที่แตกต่างกันไป เช่น Polyglycolic acid (Dexon), Polyglycan (Vicryl) เป็นต้น ซึ่งสารเหล่านี้จัดว่าเป็นสารโพลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติภายในร่างกายของมนุษย์ค่ะ 

ไหมละลายเย็บแผลกี่วันจึงจะละลายหมด


แล้วหลังผ่าคลอด ไหมละลายกี่วัน? 

ไหมละลายจะใช้ระยะเวลาในการละลายภายในร่างกายของคุณแม่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของเส้นไหมที่ใช้ ซึ่งอาจใช้เวลาเร็วสุด 5-10 วัน หรืออาจใช้เวลาในการละลาย 3-12 สัปดาห์ หรือใช้เวลา 4-6 เดือนขึ้นไป หรืออาจใช้เวลาในการละลายนานถึง 1 ปีก็มีค่ะ  

ไหมละลายหลุดเป็นอะไรไหม 

ไหมละลายนั้นสามารถที่จะหลุดและคลายปมได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่แพทย์จะได้ไม่ต้องมาทำการตัดไหมนั่นเอง ดังนั้น หากไหมละลายหลุด ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรค่ะ 

แต่ถ้าไหมหลุดหรือละลายไปแล้ว แต่แผลยังเปิดอยู่ ไม่ปิดสนิท กรณีนี้ควรจะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าผิดปกติไหม แผลอักเสบหรือเปล่า หรืออาจจะต้องมีการเย็บแผลใหม่อีกครั้ง หากจำเป็น 

ผ่าคลอดไหมละลาย ต้องไปตัดไหมหรือไม่ 

แผลผ่าคลอดจะต้องมีการเย็บปิดหลายชั้น ดังนั้น แพทย์จึงใช้ไหมละลาย เพราะไม่สามารถจะมาตัดไหมทีละชั้น ๆ ได้ และหลังคลอดประมาณ 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป ไหมก็จะเริ่มละลายไปเอง คุณแม่ไม่ต้องกลับมาพบแพทย์เพื่อทำการตัดไหมค่ะ 

ผ่าคลอด ไหมละลายไม่หมด ควรทำอย่างไร


หากไหมยังละลายไม่หมด คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เส้นไหมละลายมีหลายชนิด และทำจากวัสดุที่ต่างกัน ระยะเวลาในการละลายภายในร่างกายของคุณแม่จึงใช้เวลาแตกต่างกันไป ไหมบางชนิดอาจละลายภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ไหมบางชนิดอาจใช้เวลานานกว่านั้น โดยเฉพาะไหมละลายที่อยู่บนผิวหนังชั้นนอกสุด จะใช้เวลาในการละลายนานกว่าไหมละลายที่อยู่ภายในร่างกายค่ะ

ไหมละลายดึงออกเองได้ไหม

ไหมละลายไม่จำเป็นต้องดึงหรือตัดออกค่ะ สามารถที่จะสลายได้เองภายในร่างกายของคุณแม่ แต่ไหมส่วนที่เย็บอยู่ภายนอกผิวหนัง อาจจะใช้เวลาสักหน่อยกว่าที่จะละลายจนหมด คุณแม่ไม่ต้องรีบไปดึงไหมออกด้วยตัวเองค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

บทความที่แนะนำ

ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ ขับรถหลังผ่าคลอดอันตรายไหม
ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานแค่ไหน
ผ่าคลอดทําหมันมีอะไรกับแฟนได้ตอนไหน
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner