ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
รับมืออาการไอในเด็กกับสารพัดวิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย รับมืออย่างไรเมื่อลูกไอไม่หยุด

Enfa สรุปให้:

  • วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย ทำได้ไม่ยาก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มหรือจิบน้ำบ่อยๆ หากลูกมีน้ำมูก ควรล้างจมูกให้ลูก เพื่อให้ลูกหายใจง่ายขึ้น และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนให้ยาแก้ไอเด็กกับลูก
  • หากอาการไอไม่หยุดของลูกน้อยเกิดจากภูมิแพ้ ควรพาลูกไปทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ เพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ออกไปจากสภาพแวดล้อมของลูก
  • อาการไอในเด็กโดยมากมักเกิดจากการเป็นหวัด สามารถดีขึ้นได้เองตามลำดับ แต่ถ้าลูกมีอาการไอติดต่อกันตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • สาเหตุที่ลูกไอไม่หยุด
     • วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย
     • อาการลูกไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ไม่มีไข้
     • ลูกไอตอนกลางคืนบ่อย ๆ ทำยังไงดี 
     • ลูกไอแบบไหน ควรไปหาหมอ 
     • ไขข้อข้องใจเรื่องการไอของลูกน้อยกับ Enfa Smart Club

อาการไอ เป็นอีกหนึ่งอาการทางสุขภาพที่สามารถพบได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ แต่อาจจะพบในเด็กในง่ายกว่า เพราะภูมิคุ้มกันของเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นหวัดและไอได้ง่ายมาก

วันนี้ Enfa จะมาแนะนำวิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อยกันค่ะ มาดูกันสิว่าถ้าเจ้าตัวเล็กไอไม่หยุดสักที คุณพ่อคุณแม่จะรับมือได้อย่างไรบ้างนะ

อาการไอเกิดจากอะไร รู้ถึงสาเหตุที่ลูกไอไม่หยุด

ปัญหาลูกไอไม่หยุด หรือทารกไอ ไอแล้วก็ไออีก ไอไม่หยุดสักที เรื่องไอ ๆ เช่นนี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

          1. การติดเชื้อ เช่น โรคหวัด หรือไข้หวัด ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้มักนำไปสู่อาการไอ ตั้งแต่ไอเล็กน้อย ไอปานกลาง ไปจนถึงไอหนักมาก หรือบางครั้งก็มีอาการไอแห้งร่วมด้วย ซึ่งเด็กบางคนอาจเป็นหวัดเรื้อรัง และทำให้มีอาการไอบ่อยได้

          2. อาการกรดไหลย้อน บางครั้งอาการไอในเด็ก ก็อาจมีสาเหตุมาจากอาการกรดไหลย้อน เนื่องจากมีภาวะน้ำกรดไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดลม ซึ่งอาการนี้หากไม่ปรับพฤติกรรมการกิน ก็อาจจะเป็นได้บ่อย ๆ และทำให้ลูกมีอาการไอเรื่อย ๆ

          3. โรคหอบหืด บางครั้งอาการไอไม่หยุด ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคหอบหืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกมีอาการไอควบคู่ไปกับอาการหายใจลำบาก หายใจไม่ออก เหนื่อยหอบง่ายเวลาออกกำลังกาย หรือเวลาที่วิ่งเล่น

          4. โรคไอกรน เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองที่เยื่อบุของทางเดินหายใจ และส่งผลให้เกิดอาการไอ จาม น้ำมูกไหล ซึ่งไอกรนถือเป็นโรคติดต่อ แต่รักษาได้ด้วยการฉีดวัคซีน

          5. อาการภูมิแพ้ อาการไอเป็นหนึ่งในลักษณะอาการของโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ซึ่งหากลูกต้องพบเจอกับสารก่อภูมิแพ้เป็นประจำ ก็มีโอกาสที่ลูกจะไอบ่อยและลูกไอไม่หยุด

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย

วิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย ทำได้ง่ายๆ ค่ะ ก่อนอื่นอย่าเพิ่งตระหนกจนเกินไป อาการไอในเด็ก มักจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็ดีขึ้นเอง วิธีแก้แบบง่าย ๆ ที่สามารถใช้บรรเทาอาการในเด็กได้มีดังนี้

1. ดื่มหรือจิบน้ำบ่อย ๆ 

หากลูกน้อยมีอายุมากกว่า 6 เดือน ก็สามารถให้ลูกดื่มน้ำได้ การดื่มหรือจิบน้ำบ่อย ๆ จะเพิ่มความชุ่มคอ ช่วยขับเสมหะในคอได้ง่ายขึ้น โดยน้ำที่ดื่มควรมีอุณหภูมิน้ำที่อุ่น นอกจากนี้ ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวเพื่อความชุ่มคอได้เช่นกัน

ในกรณีที่ลูกน้อยมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรให้ลูกดื่มนมแม่หรือนมสำหรับเด็กทารกเท่านั้น โดยอาจจะให้ดื่มบ่อยขึ้นในช่วงที่มีอาการไอ ไม่ควรให้ลูกน้อยที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ดื่มน้ำ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่พร้อมสำหรับการย่อยอาหารชนิดอื่นนอกเหนือจากนมแม่

2. ใช้เครื่องทำความชื้น

เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นของอากาศภายในห้อง ช่วยให้เด็กหายใจสะดวกขึ้น และทำให้อาการไอลดลง

3. ปรับระดับหมอนให้สูงขึ้น

หากพบว่าลูกน้อยมีอาการไอช่วงกลางคืน การปรับระดับหมอนให้สูงขึ้นเล็กน้อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการไอของลูกน้อยลงได้ เป็นวิธีแก้ลูกไอตอนกลางคืนที่ทำได้ง่ายและเห็นผลค่อนข้างเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปรับระดับหมอนให้สูงขึ้น หากลูกน้อยยังอายุไม่ถึง 12 เดือน

4. ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก

การใช้ลูกยางดูดน้ำมูกที่คงค้างในจมูก และล้างจมูกให้ลูก เป็นอีกวิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อย จะช่วยให้ลูกหายใจได้สะดวกขึ้น รวมทั้งยังช่วยป้องกันน้ำมูกไหลลงคอได้อีกด้วย แต่ไม่ควรทำบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับรูจมูกของลูกน้อย ทั้งนี้คุณ

5. กำจัดสารก่ออาการแพ้

สารก่ออาการแพ้ต่าง ๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยมีอาการไอ น้ำมูกไหล หรือมีอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง เชื้อรา ควันบุหรี่ ละอองเกสรดอกไม้ ควรกำจัดสารก่ออาการแพ้เหล่านี้ ออกจากที่พักอาศัย

6. ใช้ยาแก้ไอเด็กหรือยาอมแก้ไอ

การใช้ยาแก้ไอเด็กหรือยาอมแพ้ไอในเด็กนั้น ควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อป้องกันอาการและผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

ลูกไอไม่หยุด เป็นเพราะภูมิแพ้หรือเปล่า?

อาการไอเป็นอีกหนึ่งลักษณะอาการของโรคภูมิแพ้ หากพบว่าลูกมีอาการไอบ่อย ใช้วิธีไหนแล้วก็ไม่ดีขึ้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าอาการไอที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอาการของภูมิแพ้หรือไม่ 

โดยหากพบว่าลูกเป็นภูมิแพ้ คุณแม่สามารถดูแลอาการภูมิแพ้ของลูกได้ ดังนี้ 

           1. หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้ หากรู้แล้วว่าสิ่งใดเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภูมิแพ้ ยิ่งง่ายต่อการป้องกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นในพื้นที่บริเวณบ้าน คุณแม่สามารถที่จะระมัดระวังสารก่อภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าสถานที่อื่นข้างนอก

          2. พกยาที่จำเป็นไว้เสมอ แม้ว่าจะพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ใกล้ตัวแล้ว แต่ในบางครั้งก็อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันที่นอกเหนือการควบคุม การพกยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ไว้เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ทันท่วงที

          3. หากลูกมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน การกินนมแม่ดีที่สุดสำหรับลูก เพราะสารอาหารในนมแม่มีบทบาทช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง เสริมการเจริญเติบโตของลูกน้อย หากลูกได้กินนมแม่อย่างเพียงพอ ก็จะช่วยให้ระบบภูมิต้านทานแข็งแรง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภูมิแพ้

          4. สำหรับคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์อาจแนะนำ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต

*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หน้า 33

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เด็ก

ลูกไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ไม่มีไข้ เกิดจากอะไรได้บ้างและควรดูแลยังไง

ทารกไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ไม่มีไข้ ลักษณะอาการไอเช่นนี้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

     • การติดเชื้อ เช่น โรคหวัด หรือไข้หวัด

     • อาการกรดไหลย้อน

     • โรคหอบหืด

     • อาการภูมิแพ้

     • เด็กกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไป แล้วสิ่งแปลกปลอมนั้นไปติดอยู่ในหลอดอาหาร ก็อาจทำให้เกิดอาการไอได้

     • ปัญหาสภาพอากาศย่ำแย่ เช่น มีฝุ่นมาก มีควันมาก หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 หนาแน่น มลภาวะทางอากาศเช่นนี้สามารถส่งผลให้เด็ก ๆ มีอาการไอ และมีปัญหาด้านการหายใจได้ง่ายมาก

ถ้าหากลูกมีอาการไอแห้ง แบบที่ไม่มีเสมหะ และไม่มีไข้ร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ ดังนี้

     • เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ วิธีนี้ก็จะช่วยเพิ่มความชื้นของอากาศภายในห้อง ทำให้เด็กสามารถหายใจสะดวกขึ้น และทำให้อาการไอลดลง

     • ให้ลูกแช่น้ำอุ่น หรือเปิดน้ำอุ่นไว้ในห้องน้ำแล้วปิดประตูไว้ ให้ลูกนั่งอยู่ในห้องน้ำประมาณ 20 นาที ไอน้ำจะช่วยให้เด็ก ๆ หายใจได้ดีขึ้น ช่วยให้อาการไอดีขึ้นได้

     • ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ หรือดื่มน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และบรรเทาอาการเจ็บคอ ช่วยให้อาการไอดีขึ้นได้เหมือนกัน

ลูกไอ มีเสมหะ วิธีแก้อย่างไร เกิดจากอะไร

อาการไอมีเสมหะมักเกิดจากการอักเสบในปอด ทำให้ร่างกายเราสร้างเสมหะเพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอม โดยมักจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มโรค ได้แก่ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ หอบหืด และการได้รับมลพิษหรือสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ 

วิธีแก้ง่ายๆเมื่อลูกไอมีเสมหะ

ลูกไอมีเสมหะ วิธีแก้อย่างไร? คำถามนี้คงผุดขึ้นมาแน่นอนเมื่อลูกน้อยของคุณแม่เกิดอาการไอมีเสมหะ วิธีแกไขเบื้องต้นง่ายๆ คือ 

  • ให้ลูกน้อยของคุณดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ช่วยขับเสมหะออกได้ง่าย
  • ใช้น้ำเกลือล้างจมูก ช่วยชะล้างสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ทำความสะอาดบ้าน กำจัดสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เพราะอาการไอมีเสมหะมักสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
  • หนุนหมอนให้สูงขึ้น ช่วยเปิดทางเดินหายใจ ให้หายใจสะดวกขึ้น แต่ควรระวังไม่ควรให้เด็กต่ำกว่า 12 เดือน หนุนหมอน
  • รับประทานยาแก้ไอ้ ร่วมกับยาระลายเสมหะ ทั้งนี้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ก่อนให้ลูกน้อยรับประทานยา เพราะการซื้อยามาให้เด็กรับประทานเองถือเป็นเรื่องอันตรายมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

วิธีแก้ลูกไอตอนกลางคืน เมื่อลูกไอตอนกลางคืนบ่อย ๆ

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะพบว่าลููกไอ มีเสมหะตอนกลางคืนเป็นประจำ จนเกิดความกังวลว่าอาจจะเป็นอันตรายรุนแรงหรือเปล่า ซึ่งถ้าหากลูกชอบไอตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้วิธีบรรเทาอาการไอตามปกติได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

     • ในกรณีที่ลูกน้อยมีอายุมากกว่า 6 เดือน เพิ่มปริมาณการดื่มหรือจิบน้ำ โดยเฉพาะน้ำอุ่น เพื่อช่วยให้ชุ่มคอและขับเสมหะ หากลูกน้อยมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรดื่มนมแม่หรือนมผงสำหรับเด็กทารกแต่เพียงอย่างเดียว โดยให้นมในช่วงที่มีอาการไอ 

     • เปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศเ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกขึ้น

     • หากลูกมีอายุ 12 เดือนขึ้นไป สามารถปรับระดับหมอนของลูกน้อยให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยบรรเทาอาการไอของลูกน้อยได้

ลูกไอแบบไหนควรไปหาหมอ


ปกติแล้วอาการไอมักจะดีขึ้นได้เองตามลำดับ การดูแลเบื้องต้นอย่างการดื่มน้ำ หรือการเปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ ก็สามารถช่วยให้อาการไอดีขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม หากลองใช้ทุกวิธีแล้ว อาการไอของลูกไม่ดีขึ้นเลยหรือมีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่า 1-2 สัปดาห์ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันทีค่ะ มากไปกว่านั้น หากลูกมีอาการไอดังต่อไปนี้ ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์เช่นกัน

     • ลูกอายุน้อยกว่า 1 ปี มีอาการไอไม่หยุด และมีปัญหาด้านการหายใจ หรือหายไม่ออก
     • ลูกอายุน้อยกว่า 4 เดือน มีอาการไอ และมีไข้สูง
     • มีอาการเกี่ยวกับการติดเชื้อในปอด เช่น อกบุ๋มเวลาหายใจ หายใจเหนื่อยหอบ
     • ลูกหายใจมีเสียงหวีด
     • ลูกหายใจเข้าลึก ๆ ไม่ได้เพราะเจ็บหน้าอก
     • ลูกไอออกมาเป็นเลือด
     • ลูกไอและอาเจียนออกมาพร้อม ๆ กัน
     • เวลาไอลูกมีอาการตัวแดง หรือตัวเป็นสีม่วง
     • ลูกมีอาการไอ และมีน้ำลายไหลยืด ไม่สามารถกลืนอาหารได้
     • ลูกมีอาการไอ และได้รับการวินิจฉัยว่าระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องมาตั้งแต่คลอด

ไขข้อข้องใจเรื่องวิธีบรรเทาอาการไอของลูกน้อยกับ Enfa Smart Club


ลูกไอแห้ง ๆ กินยาอะไรได้บ้าง?

ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน เป็นตัวยาที่สามารถช่วยบรรเทาอาการไอให้ดีขึ้นได้ แต่ยานี้ควรได้รับการอนุญาตจากแพทย์ และไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี

มากไปกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรไปซื้อยาแก้ไอมาให้ลูกเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ เพราะตัวยาบางชนิดอาจเป็นอันตรายกับเด็กได้ค่ะ

ลูกไอไม่หายสักที ควรทำยังไง?

หากลูกไอไม่หยุดสักที หรือไอติดต่อกันนานเกินกว่า 1-2 สัปดาห์ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา เพราะบางครั้งลูกอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มากกว่าแค่ไข้หวัด เช่น โรคหอบหืด ไอกรน หรือเป็นภูมิแพ้

ลูก 4 ขวบ ไอมาก อันตรายไหม?

อาการไอเป็นอาการทางสุขภาพโดยทั่วไปค่ะ และโดยมากแล้วมักจะหายเองได้ แต่ถ้าลูกวัย 4 ขวบมีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่า 1-2 สัปดาห์ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา เพราะบางครั้งลูกอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มากกว่าแค่ไข้หวัด เช่น โรคหอบหืด ไอกรน หรือเป็นภูมิแพ้



บทความแนะนำสำหรับสุขภาพลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

ISOfix คืออะไร จำเป็นสำหรับการติดตั้งคาร์ซีทแค่ไหน
โรคซาง คืออะไร โรคซางมีจริงไหม ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ลูกมีน้ำมูกแต่ไม่มีไข้ อย่าชะล่าใจ อาจเป็นสัญญาณภูมิแพ้
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner