Enfa สรุปให้

  • เด็กทารกอายุ 8 เดือน สามารถรับประทานอาหารเสริมตามวัยเด็กทารกได้ ซึ่งให้ควบคู่ไปกับการให้นมตามปกติ โดยเฉลี่ยการให้นมอยู่ที่ 4 – 6 ครั้ง/วัน และให้อาหารเสริมตามวัย 1 – 2 มื้อ/วัน

  • ในช่วงอายุ 8 เดือน คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนการปรุงอาหารให้มีลักษณะเนื้อสัมผัสเป็นเนื้อหยาบได้ เพื่อให้ลูกน้อยได้ลองฝึกเคี้ยวอาหาร จากที่ก่อนหน้า ให้อาหารที่มีเนื้อสัมผัสออกไปทางเหลว หรือข้น

  • ถึงแม้ในช่วงอายุนี้ จะเป็นช่วงที่เริ่มให้อาหารตามวัยเด็กทารก แต่ยังคงให้นมแม่ตามปกติเหมือนช่วงเวลาก่อนหน้านี้ รวมทั้งให้ตามความต้องการของลูกน้อย


เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาหารเด็ก 8 เดือน ควรเป็นแบบไหน
     • ลูก 8 เดือน ควรกินข้าวกี่มื้อ
     • ปริมาณอาหารสำหรับทารก 8 เดือน
     • ตารางอาหารสำหรับเด็กทารก 8 เดือน
     • เมนูเด็ก 8 เดือน
     • ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารสำหรับเด็ก 8 เดือนกับ Enfa Smart Club

อย่างที่คุณแม่ทราบกันดีว่า เมื่อลูกน้อยเข้าสู่อายุ 6 เดือน ก็จะเริ่มสามารถรับประทานอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก (Solid Foods) ได้ การแนะนำอาหารชนิดใหม่ ๆ ให้กับลูกน้อยได้ลองลิ้มรสและสัมผัสอาหารนั้น ๆ จึงเป็นเรื่องใหม่สำหรับลูกน้อย และเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณแม่ที่ต้องเลือกสรรอาหารเช่นกัน

รูปแบบและชนิดของอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก จะปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามช่วงวัย เมื่อลูกน้อยเข้าสู่อายุ 8 เดือน การกินอาหารเสริมตามวัยควรมีความหลากหลาย ทั้งในแง่ของโภชนาการและประเภทของอาหาร

อาหารเด็ก 8 เดือน ควรเป็นแบบไหน ลูก 8 เดือน กินอะไรได้บ้าง


ในช่วงอายุ 8 เดือน ลูกน้อยจะสามารถรับประทานอาหารเสริมตามวัยเด็กทารกได้หลากหลายกว่าเดิมมากขึ้น คุณแม่จึงสามารถเลือกอาหารสำหรับเด็ก 8 เดือน ให้มีความหลากหลายจากเดิมได้ โดยเด็กทารกในช่วงอายุนี้ จะต้องการพลังงานประมาณ 750 – 900 กิโลแคลอรี/วัน ซึ่งแบ่งเป็นพลังงานจากการกินนมแม่ประมาณ 400 – 500 กิโลแคลอรี/วัน และพลังงานที่เหลือจะได้จากการกินอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก

ในช่วงอายุ 8 เดือน ลูกน้อยสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากนมอย่าง ชีส หรือโยเกิร์ต ไข่แดง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถเริ่มรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสในลักษณะหยาบได้ เพื่อฝึกทักษะการเคี้ยว หลังจากที่ช่วงก่อนหน้าเน้นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสออกไปทางค่อนข้างเหลว

สำหรับการให้อาหารเสริมตามวัยเด็กทารก ควรเป็นอาหารที่เตรียมเองในครอบครัวและสามารถหาวัตถุดิบได้ในพื้นที่ หรือท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อให้ได้อาหารที่สดใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอ ประเภทอาหารที่สามารถรับประทานได้ มีดังนี้

          • ไข่: สามารถรับประทานได้ทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด แต่ควรทำให้สุก ไม่ควรเป็นยางมะตูม หรือไข่ลวก สำหรับเด็กทารกวัย 8 เดือนขึ้นไป สามารถเริ่มรับประทานไข่ขาวได้แล้ว

          • ตับ: รับประทานได้ทั้งตับไก่และตับหมู เน้นปรุงอาหารที่สุกก่อนให้ลูกน้อย

          • เนื้อสัตว์ต่าง ๆ: สามารรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู ปลา เป็นต้น เนื้อสัตว์ที่ให้ลูกน้อยรับประทาน ต้องผ่านการปรุงแบบสุกทั้งหมด ไม่ควรปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ

          • ถั่วและธัญพืช: หากให้เด็กทารกรับประทานถั่ว หรือธัญพืช ควรต้มให้สุกและบดให้ละเอียด เพื่อย่อยง่ายและไม่ทำให้ท้องอืด นอกจากนี้ยังสามารถให้ลูกน้อยรับประทานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วได้เช่นกัน เช่น เต้าหู้ เป็นต้น

          • ผักต่าง ๆ: เลือกผักที่หาได้ง่ายตามท้องที่ หรือตลาด เน้นผักหลากหลายชนิด โดยเฉพาะผักใบเขียวและผักสีส้ม เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง แครอท ผักโขม เป็นต้น เน้นปรุงให้สุก

          • ผลไม้: นอกจากผักแล้ว ควรให้ลูกน้อยได้กินผลไม้ร่วมด้วย โดยสามารถเป็นอาหารว่างวันละครั้ง ผลไม้แนะนำ เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า เป็นต้น

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

ลูก 8 เดือนกินข้าวกี่มื้อ


คุณแม่อาจจะสงสัยว่าเด็ก 8 เดือนกินข้าวกี่มื้อ ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะเริ่มเปลี่ยนไปกินอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก (Solids Foods) แล้ว แต่ปริมาณการให้นมกับลูกน้อยยังคงเป็นตามเดิมและตามความต้องการของลูกน้อย โดยเด็กทารกในช่วงอายุ 8 เดือน ต้องการกินนมประมาณ 24 – 36 ออนซ์/วัน หรือประมาณ 4 – 6 ครั้ง/วัน

สำหรับปริมาณอาหารเสริมตามวัยเด็กทารกในช่วงอายุ 8 เดือนนี้ ลูกน้อยจะต้องการอาหารในปริมาณ 4 – 6 ช้อนโต๊ะ/มื้อ ซึ่งควรให้อาหารเสริมตามวัยเด็กทารกประมาณวันละ 1 – 2 มื้อ ควบคู่ไปกับการให้นมแม่ตามปกติ

ปริมาณอาหารสำหรับทารก 8 เดือน


เพื่อให้ลูกน้อยได้รับพลังงานที่เพียงพอจากอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก ปริมาณมื้อที่เด็กทารกวัย 8 เดือน ต้องการ จะอยู่ที่ 1 – 2 มื้อ/วัน และอาหารที่ได้รับควรมีความเข้มข้นของพลังงานประมาณ 0.92 กิโลแคลอรี/กรัม ในกรณีที่ให้อาหารเสริมตามวัยเด็กทารกวันละมื้อ แต่หากให้อาหารเสริมตามวัยเด็กทารกวันละ 2 มื้อ ประมาณความเข้มข้นของพลังงานจากอาหารที่ต้องได้รับ จะอยู่ที่ 0.46 กิโลแคลอรี/กรัม

เราสามารถคำนวณปริมาณพลังงานที่ลูกน้อยต้องจากอาหารเสริมเพิ่มเติมตามวัยเด็กทารกได้ ด้วยการคำนวณจากความจุของกระเพาะอาหารของเด็กทารก ซึ่งโดยปกติแล้ว กระเพาะอาหารของทารกจะมีความจุอย่างน้อย 30 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. สามารถคำนวณและดูผลค่าเฉลี่ยความจุของกระเพาะอาหารได้ ดังนี้

น้ำหนักเด็กทารก x 30 = ความจุของกระเพาะอาหาร (กรัม)

ตารางความจุของกระเพาะอาหารเด็กทารกอายุ 6 – 23 เดือน

อายุ (เดือน)

น้ำหนักเฉลี่ยของทารก (กก.)

ความจุของกระเพาะอาหาร (กรัม)

พลังงานที่ต้องการจากอาหาร (กิโลแคลอรี/วัน)

6 – 8

7.9

237

219

9 – 11

8.8

264

323

12 – 17

9.8

294

451

18 – 23

11.1

333

556

 

เมื่อได้ปริมาณความจุของกระเพาะอาหารลูกน้อยแล้ว เรายังสามารถหาค่าพลังงานที่ลูกน้อยต้องการในแต่ละวันได้อีกด้วย โดยสามารถหาได้ ดังนี้

ผลความจุของกระเพาะอาหาร x ความเข้มข้นของพลังงานอาหารตามช่วงอายุ = พลังงานที่ต้องการจากอาหาร (กิโลแคลอรี)

 สำหรับความเข้มข้นของพลังงานอาหารจะมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุของเด็กทารก และยังขึ้นอยู่กับจำนวนมื้ออาหารที่ให้กับลูกน้อยอีกด้วย โดยสามารถดูได้ตามตารางด้างล่าง

จำนวนมื้อ/วัน

ความเข้มข้นของพลังงาน (กิโลแคลอรี/กรัม) ตามอายุของเด็ก

6 – 8 เดิอน

9 – 11 เดือน

12 – 17 เดือน

18 – 23 เดือน

1

0.92

-

-

-

2

0.46

0.61

0.77

0.83

3

-

0.41

0.51

0.56

 

ทั้งนี้ อาจจะดูเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก หากคุณแม่จะต้องคำนวณประมาณอาหารที่พอดีกับความจุของกระเพาะของเด็กทารก อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความเข้มข้นของพลังงานที่เด็กทารกต้องการ แต่การประมาณการค่าเหล่านี้ จะช่วยให้ลูกน้อยได้รับอาหารที่เพียงพอกับความต้องการในแต่ละช่วงวัย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ตารางอาหารทารก 8 เดือน


การให้อาหารเด็กทารกวัย 8 เดือน ยังคงเน้นการให้นมแม่เป็นหลัก โดยจะให้นมประมาณ 4 – 6 ครั้ง/วัน หรือตามความต้องการของลูกน้อย ประกอบกับการเสริมด้วยอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก 1 – 2 มื้อต่อวัน โดยคุณแม่สามารถแบ่งช่วงเวลาให้นมและอาหารในแต่ละวันได้ดังตารางตัวอย่าง

มื้ออาหาร

ประเภทอาหารที่ให้

มื้อเช้า

- นมแม่ 

- ข้าวบดหรือข้าวโอ๊ตตุ๋นผสมกับไข่บด 

มื้อเสริม หรือมื้อเบรค

- นมแม่ 

- มันต้มญี่ปุ่นหั่นลูกเต๋าหรือบด หรือซุปผักตุ๋น

มื้อเที่ยง

- นมแม่

- ข้าวบดหรือข้าวตุ๋นผสมกับเนื้อสัตว์ หรือถั่ว และผัก

มื้อเสริม หรือมื้อเบรค

- น้ำเปล่า

- ผลไม้บด หรือหั่นเต๋า

มื้อเย็น

- นมแม่

- ข้าวบดหรือข้าวตุ๋นผสมกับเนื้อสัตว์ หรือถั่ว และผัก

- ผลไม้บด หรือหั่นเต๋า

ก่อนนอน

- นมแม่ หรือน้ำเปล่า

 

ตามตารางข้างต้น คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนการให้นมและอาหารเสริมตามวัยเด็กทารก (Solids Foods) ตามความเหมาะสม และความต้องการของลูกน้อยได้ เช่น อาจจะไม่ให้อาหารเสริมตามวัยในช่วงมื้อเช้า แต่ให้ในมื้ออื่น ๆ แทน รวมถึงการให้นมลูก ยังขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกน้อยอีกด้วยเช่นกัน

เมนูเด็ก 8 เดือน ที่ทั้งอร่อยและเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี


การป้อนอาหารเสริมตามวัยเด็กทารกให้กับลูกน้อยในบ้างครั้ง อาจจะดูเป็นเรื่องที่ลูกน้อยไม่ค่อยชอบ บางครั้งถึงกับคายออกมา ทำให้คุณแม่คิดว่าอาหารที่ทำให้กินอาจจะไม่อร่อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปรับเปลี่ยนอาหารจากนมแม่สู่อาหารตามวัยเด็กทารก ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับลูกน้อย ทั้งสัมผัสและรสชาติของอาหารที่ยังไม่คุ้นเคย

เพื่อสร้างความหลากหลายทั้งในแง่ของรสชาติ ความแปลกใหม่ และโภชนาการที่ลูกน้อยวัย 8 เดือนควรได้รับ คุณแม่ควรคัดสรรเมนูอาหารเด็ก 8 เดือน ให้มีความหลากหลาย มีโภชนาการตามที่ลูกน้อยในวัยนี้ต้องการ ซึ่งยังช่วยให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตามเกณฑ์ จนไม่ต้องกังวลว่าจะหาเมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 8 เดือนแบบไหนดี โดยสามารถใช้หลักการในการในการปรุงอาหารตามวัยเด็กทารกอายุ 8 เดือนได้ ดังนี้

          • ใช้ข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 2 ช้อนพูน ต้มกับน้ำซุปหรือน้ำแกงจืดประมาณครึ่งถ้วย

          • สามารถใช้ข้าวตุ๋นข้นปลานกลางแทนข้าวสวยได้ โดยใช้ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ ต้มกับน้ำแกงจืดหรือน้ำซุป 8 ช้อนโต๊ะ

          • หากใช้ปลายข้าว ให้ใช้ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต้มกับน้ำซุปหรือน้ำแกงจืดประมาณ 10 เท่า

          • ใส่ผักใบเขียวหรือเหลืองที่อ่อนนุ่ม กินไม่แรง ประมาณ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ

          • เติมโปรตีนและสารอาหารอื่น ๆ ที่อ่อนนุ่ม บดได้ง่าย เช่น ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน เป็นต้น

          • เหยาะน้ำมันพืชประมาณครึ่งช้อนชาหลังปรุงอาหารเสร็จ เพื่อช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันและเพิ่มความเข้มข้นของพลังงานในอาหาร

Enfa Kitchen สบายท้อง สมองดี

เมนูอาหารแนะนำสำหรับเด็ก 8 เดือน


ข้าวบดไข่แดง – ตำลึง

ข้าวบดไข่แดง - ตำลึง

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวสวยหรือข้าวตุ๋น         4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำซุปหรือน้ำแกงจืด        10 ช้อนโต๊ะ
          - ไข่แดง                         ½ ฟอง
          - ตำลึง                           1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช                      ½ ช้อนชา

วิธีทำ: นำข้าวสวยหรือข้าวตุ๋นต้มกับน้ำซุป สามารถเติมหรือลดน้ำซุปลงได้หากเหลวหรือข้นเกินไป คนให้เข้ากัน หลังจากนั้นใส่ไข่แดง บี้ให้เข้าเนื้อ และใส่ตำลึงบดลงไป คนให้เข้ากัน เมื่อทุกอย่างสุกและเข้าที่แล้ว ตักใส่ชาม เหยาะน้ำมันพืชปิดท้าย

ข้าวบดตับไก่ เต้าหู้ และผักหวาน

ข้าวบดตับไก่ เต้าหู้ และผักหวาน

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวสวยหรือข้าวตุ๋น         4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำซุป                          10 ช้อนโต๊ะ
          - ตับไก่                          ¼ ช้อนโต๊ะ
          - เต้าหู้หลอดไข่ไก่             2 ช้อนโต๊ะ
          - ผักหวาน                       1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช                      ½ ช้อนชา

วิธีทำ: ต้มน้ำซุปให้เดือด ใส่ข้าวลงไป คนให้เข้ากัน จากนั้นนำตับไก่ที่ลวกสุกแล้ว บดให้หยาบ ใส่ลงไปต้มกับข้าว และตามด้วยเต้าหู้หลลอดไข่ไก่ บดให้เข้ากับส่วนผสมอื่น ๆ ในหม้อ จากนั้นตามด้วยผักหวานต้มสุกบด คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ตักขึ้นพัก เหยาะน้ำมันพืชตบท้าย

ข้าวบดปลาทูและฟักทอง

ข้าวบดปลาทูและฟักทอง

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวสวยหรือข้าวตุ๋น         4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำซุป                          10 ช้อนโต๊ะ
          - เนื้อปลาทูนึ่งทอด            1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - ฟักทอง                        1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช                      ½ ช้อนชา

วิธีทำ: ตั้งน้ำซุปให้เดือด นำข้าวลงไปต้มให้เข้าที่ หลังจากนั้นใส่เนื้อปลาทูนึ่งทอดที่ยีเนื้อให้ละเอียดแล้ว ใส่ลงไปต้ม คนให้เข้ากัน และใส่เนื้อฟักทองนึ่งที่บี้แล้ว ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ ในหม้อ คนให้เข้ากัน เมื่อเข้าที่แล้ว ตักใส่ชาม ก่อนเหยาะน้ำมันพืชปิดท้าย

ข้าวตุ๋นแครอท ไก่ และมันหวาน

ข้าวตุ๋นแครอท ไก่ และมันหวาน

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวตุ๋น             4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำซุป              8 – 10 ช้อนโต๊ะ
          - อกไก่ต้ม           1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - แครอท             1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - มันหวาน           1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช          ½ ช้อนชา

วิธีทำ: นำข้าวตุ๋นข้นปลานกลางต้มกับน้ำซุป สามารถลดหรือเพิ่มน้ำซุปได้ตามความต้องการ จากนนั้นใส่อกไก่ต้มสุกที่ยีเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วลงไป ตามด้วยแครอทสุกบดและมันหวานสุกบด ตุ๋นให้เข้ากัน และเหยาะน้ำมันพืชปิดท้าย

โยเกิร์ต กล้วยบด และโอ๊ตมีล

โยเกิร์ต กล้วยบด และโอ๊ตมีล

ส่วนประกอบ:

          - โอ๊ตมีลสุก         4 ช้อนโต๊ะ
          - โยเกิร์ต            4 ช้อนโต๊ะ หรือครึ่งถ้วย
          - กล้วยน้ำว้าสุก    3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ: ปรุงโอ๊ตมีลให้สุก ก่อนจะตักผสมกับโยเกิร์ต และกล้วยน้ำว้าสุกบด ผสมให้เข้ากัน

ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารสำหรับเด็ก 8 เดือนกับ Enfa Smart Club


 ผักสําหรับทารก 8 เดือน ให้ลูกกินอะไรดี

สำหรับเด็กทารกวัย 8 เดือน สามารถรับประทานผักได้หลายชนิด เพื่อให้ลูกน้อยได้สัมผัสรสชาติที่หลากหลายของผักชนิดต่าง ๆ โดยเน้นที่ผักใบเขียวและผักสีส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มันหวาน มันฝรั่ง ผักโขม อโวคาโด ถั่ว เป็นต้น ควรล้างผักให้สะอาด และทำให้สุกก่อนให้ลูกน้อยรับประทาน

 ผลไม้สำหรับเด็ก 8 เดือน ให้ลูกกินอะไรดี

ผลไม้สำหรับเด็ก 8 เดือน ควรเลือกผลไม้ที่มีลักษณะที่นิ่ม เคี้ยวได้ง่าย หรือสามารถบดหรือบี้ได้ เพื่อสะดวกเวลารับประทาน ผลไม้ที่ควรรับประทาน เช่น กล้วย บลูเบอร์รี่ กีวี ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วงสุก สตอเบอร์รี่ สับปะรด มะละกอสุก เมล่อน เป็นต้น ควรล้างให้สะอาด หั่นผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก บด หรือบี้ ก่อนให้ลูกน้อยรับประทาน



บทความแนะนำสำหรับการกินอาหารเสริมตามวัยทารก (Solid Foods)

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก