ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ท้อง 7 สัปดาห์ อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ท้อง 7 สัปดาห์ อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

 

Enfa สรุปให้

  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ขนาดตัวอ่อนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 0.51 นิ้ว หรือมีขนาดเท่ากับผลบลูเบอร์รี
  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ตัวอ่อนเริ่มมีการสร้างหูชั้นในเพื่อปูพื้นฐานการได้ยิน เริ่มสร้างองค์ประกอบของดวงตา แขนขาเริ่มงอก เซลล์สมองและหัวใจเริ่มมีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ สมองของทารกเริ่มมีการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีเซลล์ใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 100 เซลล์ในทุก ๆ 1 นาทีเลยทีเดียว

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ท้อง 7 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
     • พัฒนาการเด็กในครรภ์สัปดาห์ที่ 7
     • การเปลี่ยนแปลงร่างกายคุณแม่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์
     • อาหาร 7 สัปดาห์ ต้องกินอะไรบ้าง
     • ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ได้หรือยัง
     • ท้อง 7 สัปดาห์ มีเลือดออกสีแดง อันตรายไหม
     • ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์
     • ไขข้อข้องใจเมื่อตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club

อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ คุณแม่ได้ตั้งครรภ์จนเกือบจะครบ 2 เดือนแล้วค่ะ แต่คนท้อง 7 สัปดาห์มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษบ้างไหม อาการคนท้อง 7 สัปดาห์เป็นอย่างไร แล้วทารกในครรภ์ 7 สัปดาห์จะเริ่มอัลตราซาวนด์เห็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้นหรือยังนะ

ท้อง 7 สัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในสัปดาห์นี้


ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่มักจะรู้ตัวกันแล้วค่ะว่ากำลังตั้งครรภ์ หรือเริ่มมีสัญญาณของการตั้งครรภ์ปรากฎให้เห็นมากขึ้น โดยคุณแม่หลายคนจะเริ่มมีอาการแพ้ท้องมากขึ้น และบางคนเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย

ขณะเดียวกันคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง อาจพบว่าน้ำหนักลดลง เพราะกินอะไรไม่ค่อยได้ ส่วนทารกจะเริ่มมีการสร้างอวัยวะสำคัญ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น หู ดวงตา แขน ขา เป็นต้น

ท้อง 7 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ หากนับเป็นเดือน จะเท่ากับมีอายุครรภ์ได้ 1 เดือน กับอีก 3 สัปดาห์ค่ะ อีกเพียงอึดใจเดียวก็จะมีอายุครรภ์ครบ 2 เดือน

ท้อง 7 สัปดาห์ มีอาการยังไง อาการคนท้อง 7 สัปดาห์ เป็นแบบไหน

แม่ท้อง 7 สัปดาห์หลายคน จะเริ่มมีอาการคนท้องที่แสดงออกมาชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

          • มีอาการแพ้ท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าหรือตื่นนอน มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย

          • มีปัญหาเรื่องการรับรสชาติอาหาร หรือการรับรสเปลี่ยนไป อาหารบางอย่างที่เคยชอบ ตอนนี้เริ่มไม่ชอบ ไม่อยากได้กลิ่น

          • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัวมากขึ้น จึงเกิดการกดทับอวัยวะแถบเชิงกราน และมีการไหลเวียนเลือดสู่บริเวณอุ้งเชิงกรานมากขึ้นด้วย ส่งผลให้คุณแม่หลายคนปัสสาวะถี่กว่าปกติ

          • เป็นสิว ซึ่งโดยปกติสิวก็เกิดจากฮอร์โมนที่ไม่ปกติอยู่แล้ว ดังนั้น ช่วงที่ตั้งครรภ์และเป็นระยะที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายที่พุ่งสูงขึ้นขนาดนี้ คุณแม่หลายคนจึงพบกับปัญหาสิวบุกหน้า

          • อารมณ์แปรปรวน ความผันผวนของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์และจิตใจของคุณแม่ ส่งผลให้โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้าได้ง่าย

          • เต้านมเริ่มใหญ่ขึ้น ระดับฮอร์โมนในร่างกายส่งผลต่อการขยายตัวของเต้านม มากไปกว่านั้น กระบวนการสร้างน้ำนมก็เริ่มสร้างขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ ไม่ได้สร้างหลังจากคลอดลูกแต่อย่างใด คุณแม่จึงอาจสังเกตได้ว่าขนาดหน้าอกเริ่มเปลี่ยนไป หรือจับแล้วเจ็บที่หน้าอก

          • ท้องผูก ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการทำงานที่ช้าลงของลำไส้ มากไปกว่านั้น มดลูกที่เริ่มขยายตัว อาจส่งผลต่ออวัยวะใกล้เคียง จึงก่อให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะมีอาการดังกล่าวค่ะ บางคนมีอาการมาก บางคนมีอาการน้อย และบางคนไม่มีอาการใด ๆ เลย ซึ่งคนที่มีอาการน้อยหรือไม่มีเลย ถือว่าเป็นโชคดีที่หาได้ยากค่ะ

พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์สัปดาห์ที่ 7 เป็นอย่างไร


อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ทารกเริ่มมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองและหัวใจที่เริ่มมีการสร้างระบบที่ซับซ้อนขึ้น และเริ่มสร้างอวัยวะสำคัญอย่างไต ข้อต่อแขนและขาไปพร้อม ๆ กัน

ท้อง 7 สัปดาห์ ขนาดทารก มีขนาดเท่าไหนกันนะ?

ท้อง 7 สัปดาห์ ขนาดตัวอ่อนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 0.51 นิ้ว หรือมีขนาดเท่ากับผลบลูเบอร์รีเท่านั้นเองค่ะ

อวัยวะและระบบต่าง ๆ

ตัวอ่อนอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ เริ่มเข้าสู่กระบวนการสร้างระบบอวัยวะสำคัญ ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมให้อวัยวะเหล่านั้นกลายเป็นอวัยวะที่สมบูรณ์และสามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น

          • เริ่มผลิตฮอร์โมนอินซูลินสำหรับช่วยในการย่อยอาหาร ขณะที่ลำไส้เองก็เริ่มก่อตัวเป็นโพรงเพื่อที่จะส่งถ่ายเลือดและออกซิเจนรวมทั้งสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายของทารกในครรภ์

          • สร้างหูชั้นในของทารกจะเริ่มสร้างขึ้นเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ แต่จะยังไม่ใช่ใบหูแบบที่เรารู้จักกันค่ะ เพราะในระยะนี้ทารกเพิ่งจะเริ่มสร้างระบบการได้ยินขึ้นมาก่อนค่ะ

          • แขนและขาเริ่มงอก เริ่มมีการสร้างกระดูกอ่อนที่จะพัฒนาไปเป็นกระดูกแขนและขา

          • สมองของทารกเริ่มมีการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยอาจมีเซลล์ใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 100 เซลล์ในทุก ๆ 1 นาที

          • ตัวอ่อนในครรภ์เริ่มมีดวงตาเล็ก ๆ งอกออกมา ซึ่งจะพัฒนากลายมาเป็นดวงตาที่สมบูรณ์ต่อไป ขณะที่องค์ประกอบสำคัญที่ของดวงตา ได้แก่ กระจกตา ม่านตา รูม่านตา เลนส์ และเรตินา ก็จะเริ่มพัฒนาขึ้นในสัปดาห์นี้

เข้าใจการเปลี่ยนแปลงร่างกายของคุณแม่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์


ร่างกายของคุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์ ความเปลี่ยนแปลงนั้นส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับอาการแพ้ท้อง หรือมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเต้านมที่สามารถจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน นอกเหนือไปจากนั้น ก็จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มากนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักหรือขนาดท้อง

ท้อง 7 สัปดาห์ ท้องใหญ่มากไหม

แม้ว่าอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ มดลูกจะเริ่มมีการขยายตัวขึ้นก็จริง แต่ตัวอ่อนในครรภ์ยังมีขนาดแค่เพียงผลบลูเบอร์รีเท่านั้นเองค่ะ ดังนั้น จึงจะยังไม่มีการขยายตัวของหน้าท้องเกิดขึ้นในช่วงนี้แน่นอน ขนาดท้องของคุณแม่ยังจะมีขนาดเท่าเดิมเหมือนที่เคยเป็นมาค่ะ

อาหารคนท้อง 7 สัปดาห์ ต้องกินอะไรบ้าง


แม่ท้อง 7 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่

          • ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น

          • ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

          • โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

          • แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

          • ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น

          • โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น

          • โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม บางวันคุณแม่อาจกินอาหารได้น้อย หรือมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ได้รับอาหารได้ไม่ตรงตามที่ต้องการในแต่ละวัน หรือมีอาการแพ้อาหาร เป็นต้น คุณแม่สามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ

โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง

Enfamama TAP No. 1

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ ได้หรือยัง


เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ อัลตราซาวนด์ท้องสามารถทำได้แล้วค่ะ และโดยทั่วไปแล้วการอัลตราซาวนด์ในอายุครรภ์ 7 สัปดาห์นี้มักจะเป็นการอัลตราซาวนด์ครั้งแรก ๆ เพื่อตรวจดูว่ามีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่

โดยรูปอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ที่ได้นั้น จะสามารถมองเห็นตัวอ่อนขนาดเล็ก เริ่มเห็นอัตราการเต้นของหัวใจได้บ้างแล้วค่ะ

จริงหรือไม่? อัลตราซาวนด์ตอนท้อง 7 สัปดาห์ ไม่เห็นตัวอ่อน

การอัลตราซาวนด์เมื่ออายุครรภ์ 7 สัปดาห์นั้น สามารถมองเห็นตัวอ่อนได้แล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่มาอัลตราซาวนด์ในระยะนี้ แต่ไม่พบตัวอ่อน กรณีนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

          • การนับอายุครรภ์คลาดเคลื่อน ตั้งท้องจริง แต่อายุครรภ์ยังไม่ถึง 7 สัปดาห์ จึงอาจยังเร็วไปที่จะมองเห็นตัวอ่อนค่ะ

          • เนื่องจากขนาดตัวอ่อนยังมีขนาดเล็กอยู่มาก จึงทำให้อัลตราซาวนด์แล้วยังไม่พบ รอให้อายุครรภ์สัก 8-9 สัปดาห์ขึ้นไป หรือรอนัดแพทย์อีกครั้งแล้วแล้วค่อยมาตรวจอีกครั้งอาจจะพบก็ได้ค่ะ

          • อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่ท้องลม หรือทารกแท้งหลุดออกไปนานแล้ว หรือเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกค่ะ

โดยแพทย์จะไม่วินิจฉัยทันทีจากการอัลตราซาวนด์เพียงครั้งเดียว แต่จะมีการติดตามผลในครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าหากตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังไม่พบตัวอ่อน หรือถุงตั้งครรภ์ไม่โตขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่มีภาวะท้องลม หรือมีการแท้งบุตรไปก่อนแล้วค่ะ

อัลตราซาวนด์ท้อง 7 สัปดาห์ ไม่เห็นถุงตั้งครรภ์ ปกติหรือไม่

การอัลตราซาวนด์เมื่ออายุครรภ์ 7 สัปดาห์แล้วยังไม่พบถุงตั้งครรภ์ เป็นความก้ำกึ่งระหว่างปกติและไม่ปกติค่ะ

เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามีการนับอายุครรภ์คลาดเคลื่อน หรือคุณแม่ตั้งท้องจริงนั่นแหละค่ะ เพียงแต่ว่าอายุครรภ์จริงยังไม่ถึง 7 สัปดาห์ จึงยังมองไม่เห็นถุงตั้งครรภ์

หรือในกรณีที่อันตรายจริง ๆ อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูก การอัลตราซาวนด์จึงไม่สามารถพบเห็นถุงตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม หากตรวจอัลตราซาวนด์ในครั้งนี้แล้วยังไม่พบถุงตั้งครรภ์ แพทย์จะยังไม่วินิจฉัยทันทีจากการอัลตราซาวนด์แค่ครั้งเดียว แต่จะแนะนำให้รอตรวจในครั้งถัดไปค่ะ  และถ้าหากพบ ก็จะมีการวัดขนาดถุงตั้งครรภ์และเริ่มคำนวณอายุครรภ์จริงกันใหม่อีกครั้งค่ะ

ท้อง 7 สัปดาห์ มีเลือดออกสีแดง แบบนี้อันตรายหรือไม่?


ท้อง 7 สัปดาห์ มีเลือดออก เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยค่ะ แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและะอัลตราซาวนด์ว่าเลือดสีน้ำตาลที่ไหลออกมานี้เกิดจากอะไร เพราะอาจเป็นไปได้หลายกรณี เช่น

          • เป็นเลือดออกที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์

          • อาจเป็นเพียงเลือดเก่าที่คั่งค้างอยู่ภายในช่องคลอด และเพิ่งไหลออกมา ซึ่งโดยมากจะไม่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์

          • เกิดจากการแท้ง

          • อาจเป็นสัญญาณของภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งมักจะมีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดแม้ว่าปากมดลูกยังปิดอยู่ โดยเลือดนั้นอาจมีสีน้ำตาล หรือสีแดงสดก็ได้ค่ะ

ดังนั้น หากมีเลือดออก แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์ทันทีจะดีที่สุดค่ะ เพราะจะไม่มีทางทราบได้เลยว่าอาการเลือดออกนั้นเกิดจากอะไร

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์


คุณแม่อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด มากไปกว่านั้น หากยังไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ ให้รีบไปฝากครรภ์ทันที เพื่อจะได้เข้าสู่กระบวนการตรวจครรภ์และติดตามการตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งคลอด

ฝากครรภ์และตรวจสุขภาพ

การฝากครรภ์และการตรวจสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดค่ะ เพราะกระบวนการนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และช่วยป้องกันความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ ตลอดจนสามารถที่จะติดตามการตั้งครรภ์ของคุณแม่ได้อย่างใกล้ชิดในกรณีที่คุณแม่อาจตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การฉีดวัคซีนสำหรับคนท้องนั้นโดยมากแล้วสามารถทำได้และปลอดภัยค่ะ ซึ่งการเข้ารับวัคซีนตามที่แพทย์แนะนำก็จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในขณะตั้งครรภ์ได้ โดยวัคซีนที่แม่ท้องควรได้รับ มีดังนี้

          • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์

          • วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เป็นการเสริมภูมิคุ้มกันให้แม่และทารก เนื่องจากโรคเหล่านี้สามารถติดเชื้อถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้

          • วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ซึ่งอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด หรือเสี่ยงต่อการตกเลือดได้

น้ำหนักช่วงตั้งครรภ์

ขณะตั้งครรภ์น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ในช่วงอายุครรภ์ 7 สัปดาห์นี้ คุณแม่จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักมากนักค่ะ โดยน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นมาเพียง 1-2 กิโลกรัมเท่านั้น หรือคุณแม่บางคนอาจมีน้ำหนักลดลงในระยะนี้เพราะมีปัญหาแพ้ท้องรุนแรง ทำให้กินอาหารได้น้อยลงกว่าปกติ

มากไปกว่านั้น ในแต่ละไตรมาสคุณแม่ควรจะดูแลน้ำหนักของตนให้สัมพันธ์กับอายุครรภ์ด้วย เพราะน้ำหนักตัวของแม่ที่มากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลต่อขนาดของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดด้วย

ข้อควรระวัง

ในช่วงอายุครรภ์ 7 สัปดาห์นี้ หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้อง ให้ทยอยบรรเทาอาการแพ้ท้องเท่าที่จะสามารถทำได้

แต่ถ้าหากอาการแพ้ท้องรุนแรงจนกระทั่งเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น แพ้ท้องหนักมากจนนอนไม่หลับ แพ้ท้องจนไม่สามารถกินอะไรได้เลย หรือมีอาการหน้ามืด เป็นลมระหว่างวันบ่อย ๆ คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาค่ะ เพราะถ้าหากปล่อยเอาไว้อาจจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์และสุขภาพของคุณแม่ก็จะแย่ลงด้วย

มากไปกว่านั้น ยังต้องสังเกตอาการต่าง ๆ ในขณะตั้งครรภ์ให้ดี หากมีอาการปวดท้องรุนแรง หรือมีเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามีการท้องนอกมดลูก มีการแท้ง หรือมีภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้น

ไขข้อข้องใจเมื่อตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club


ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ ปวดท้องหน่วง ๆ แบบนี้ปกติไหม?

คุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์แล้วมีอาการปวดท้องหน่วง ๆ ถือเป็นอาการปกติของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกค่ะ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการไหลเวียนเลือดลงสู่อวัยวะเชิงกรานมากขึ้น หรือเกิดจากการขยายตัวของมดลูกทำให้เส้นเอ็นต่าง ๆ ในท้องนั้น มีการยืดออก ก็เป็นไปได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาการปวดนั้นเกิดจากการแท้ง หรือเกิดจากการท้องนอกมดลูกก็ได้ค่ะ ดังนั้น หากมีอาการปวดท้องติดต่อกันนาน ๆ คุณแม่ควรหาเวลาไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดท้องหน่วง ๆ

ท้อง 7 สัปดาห์ ปวดท้องจี๊ด ๆ หมายความว่าอย่างไร?

อาการปวดท้องจี๊ด ๆ อาจเป็นผลมาจากการขยายตัวของมดลูก หรืออาจเกิดจากการแท้ง หรือท้องนอกมดลูกก็ได้ค่ะ หากอาการปวดท้องจี๊ด ๆ นี้เกิดขึ้นบ่อยและหลายวัน คุณแม่ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการปวดท้อง

ทำอย่างไร เมื่อท้อง 7 สัปดาห์ มีเลือดออก?

หากมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะโดยมากแล้วอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์มักจะเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น การแท้ง การท้องนอกมดลูก ภาวะแท้งคุกคาม เป็นต้น

ยังมีพอมีหวังไหม ถ้าท้อง 7 สัปดาห์ ไม่เห็นหัวใจ?

ทารกในระยะนี้เริ่มสร้างหัวใจและเริ่มมีสัญญาณการเต้นของหัวใจจริง แต่โดยมากแล้วอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์จะสามารถตรวจพบได้ชัดเจนเมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 8-9 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ ดังนั้น จึงถือว่ายังมีหวังที่จะตรวจพบหัวใจและอัตราการเต้นหัวใจในการอัลตราซาวนด์ครั้งต่อไปค่ะ

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ หิวบ่อยมาก ควรทำยังไง?

หากคุณแม่หิวบ่อยมาก ควรเริ่มปรับพฤติกรรมการกินค่ะ เพราะการกินตามใจปาก หิวเมื่อไหร่ก็กิน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าเป็นผลดี คุณแม่ควรเปลี่ยนลักษณะนิสัยการกิน ดังนี้

          • ฝึกกินอาหารให้ตรงเวลา

          • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดทุกครั้ง จะช่วยให้อิ่มได้นานขึ้น

          • แบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ ประมาณ 5-6 มื้อ

          • เน้นอาหารที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยให้อิ่มได้นานขึ้น ไม่หิวบ่อย

          • ควรเตรียมของว่างเพื่อสุขภาพเอาไว้เผื่อเวลาหิว เพราะอย่างน้อยกินของที่ดีต่อสุขภาพ ก็ยังดีกว่าเลือกกินของว่างที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพค่ะ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

แม่ท้องต้องรู้ กินยังไงให้ลงลูก กินยังไงให้ลูกแข็งแรง
คนท้องกินอะไรลูกฉลาด บำรุงครรภ์ยังไงให้ลูกน้อยสมองดี
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner