ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

แม้ว่าคนเป็นแม่ทุกคนต้องการจะอยู่บ้านเลี้ยงลูกเอง แต่ด้วยความจำเป็นคุณแม่ต้องกลับไปทำงานและไม่มีญาติมาเลี้ยงลูกให้ขณะตนเองไปทำงาน พี่เลี้ยงเด็กจึงเป็นผู้ช่วยที่ดีของคุณแม่ แน่นอนว่าการหาพี่เลี้ยงเด็กเป็นเรื่องใหญ่ คุณแม่จึงต้องเตรียมหาพี่เลี้ยงตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะกลับไปทำงาน เพื่อให้ลูกได้คุ้นเคยกับพี่เลี้ยงสักพักก่อน เป็นการป้องกันปัญหาลูกงอแงเมื่อต้องอยู่กับคนที่ไม่ใช่คุณแม่ นอกจากคุณสมบัติทั่วไปแล้ว หากพี่เลี้ยงเด็กมีความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ จะเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

คุณสมบัติของพี่เลี้ยงเด็กที่ดี

  • ควรมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เพื่อให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ในระดับหนึ่ง

  • สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อ

  • มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กมาก่อน เพราะพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์จะมีความเข้าใจในธรรมชาติของเด็กมากกว่า พี่เลี้ยงเด็กจะต้องสามารถสื่อสาร รับรู้อารมณ์ ความต้องการของเด็กและตอบสนองได้ถูกต้อง

  • รักเด็ก อ่อนโยน ใจเย็น รักความสะอาด

  • มีมารยาทที่ดี เพราะสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกได้ เช่น พูดเพราะ ไม่ก้าวร้าว เป็นต้น

  • ช่างสังเกต สามารถรายงานพฤติกรรมของลูกให้คุณทราบ และหากลูกมีอาการเจ็บป่วยต้องสามารถดูแลหรือแจ้งคุณแม่อย่างเร็วที่สุด

  • ต้องไว้ใจได้ว่าลับหลังคุณแล้ว เขาจะไม่ได้ทอดทิ้ง หรือแม้แต่ทำร้ายเด็กทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ

  • สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เล่นกับเด็กตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุได้ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะหากพัฒนาการของลูกได้รับการส่งเสริมในระหว่างวัน แทนที่จะรอคุณแม่มาส่งเสริมเองเมื่ออยู่กับลูก จะส่งผลดีกับพัฒนาการลูกมากกว่า

เคล็ดลับการพัฒนาเด็กพี่เลี้ยงทุกคนควรรู้

 

ช่วงที่หาพี่เลี้ยงเด็ก คุณแม่ควรสัมภาษณ์อย่างละเอียดถึงประวัติและสังเกตบุคลิกลักษณะ หรือหากมีโอกาสได้พูดคุยกับนายจ้างเก่า ก็สามารถช่วยให้หาพี่เลี้ยงเด็กที่ดีได้ส่วนหนึ่งค่ะ

ทำไมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงสำคัญ

เหตุผลของการที่พี่เลี้ยงเด็กมีความรู้และสามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกได้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 85% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ปีแรก ดังนั้นการกระตุ้นสมองเด็กด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่เล็กๆ จึงสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สมองของเด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM

เด็กๆ นั้นรู้จักการเล่นตั้งแต่เล็ก และพัฒนาการเล่นมากขึ้นตั้งแต่ตื่นจนหลับ การเล่นจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสอย่างต่อเนื่อง ทำให้เซลล์สมองเชื่อมประสานกันมากขึ้น เยื่อหุ้มใยประสาทหนามากขึ้น เป็นส่วนสำคัญของพัฒนาการด้านต่างๆ เด็กๆ ควรได้ทำกิจกรรมที่เหมาะกับวัยเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ และช่วยพัฒนาสมองของเขา

เพื่อประโยชน์ที่ลูกจะได้รับ คุณแม่จึงควรพูดคุยกับพี่เลี้ยงเด็กถึงกิจกรรมที่สามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาการของลูกในแต่ละวัน

พ่อแม่ควรหาพี่เลี้ยงที่มีอายุอย่างน้อย 20 ปีที่มีวุฒิภาวะและความอดทนในการเลี้ยงเด็ก / ผู้ปกครองควรจัดเตรียมกิจกรรมที่พี่เลี้ยงเด็กควรเล่นกับลูกในแต่ละวันเผื่อฝึกพัฒนาการของลูก / พี่เลี้ยงเด็กเมื่ออยู่ในหน้าที่ไม่ควรเล่นมือถือใกล้ๆลูกของเรา

 

ตัวอย่างกิจกรรมที่พี่เลี้ยงเด็กสามารถนำไปส่งเสริมเด็กได้

กิจกรรม

รายละเอียดกิจกรรม

พัฒนาการที่ได้รับการส่งเสริม

เล่นนอนหงายกันดีกว่า

จับเด็กนอนหงาย ผู้ใหญ่ยิ้ม พูดคุย ร้องเพลงกับเขา โดยห่างจากใบหน้าเด็กประมาณ 20 ซม. จากนั้นผู้ใหญ่ค่อยๆ เลื่อนใบหน้าของตัวเองช้าๆ ไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น จากจมูกของเด็ก เอียงไปหูซ้าย จากจมูกเอียงไปทางหูขวา จากจมูกไปทางคาง จากจมูกไปทางหน้าผาก

การเล่นนี้ช่วยกระตุ้นการมองเห็นของเด็ก เด็กวัยตั้งแต่ 1-2 เดือนขึ้นไปสามารถยิ้มตอบ นำมือทั้งสองข้างเข้าหากัน จ้องมองและกลอกตาตามใบหน้าของคนที่อยู่ตรงหน้าได้

กระตุ้นการเอื้อมคว้า

จับเด็กนอนหงาย...
- ผู้ใหญ่ถือของเล่นตรงหน้าเด็ก
- เอาของเล่นเสี่ยงกรุ๋งกริ๋งใส่มือเด็ก

เด็กสามารถ…
* เอื้อมมือคว้าของเล่นที่อยู่ตรงหน้า หรือขยับขาเตะของเล่นไปมา
* เด็กสนุกกับการปล่อยของตกจากมือ เขย่าของเล่น หรือเอาเข้าปาก กิจกรรมนี้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา

นุ่มบ้าง แข็งบ้าง หยาบบ้าง

ใช้มือเด็กจับกระดาษทราย กระดาษแก้ว กระดาษลูกฟูก สำลี ผ้าแบบต่างๆ ลูกบอล บล็อกไม้ ฯลฯ และสิ่งของที่มีผิวสัมผัสต่างๆ กันให้เขาได้สัมผัส โดยอาจเอาไปสัมผัสที่ผิวลูก ที่แก้ม ที่ฝ่าเท้า

กิจกรรมการเล่นนี้ จะช่วยให้เด็กรู้จักสิ่งของที่มีพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา

นอนคว่ำกัน

จับเด็กนอนคว่ำ ผู้ใหญ่พูดคุย ร้องเพลงกับลูก หรือถือของเล่นสีสดใส มีเสียง เช่น ลูกบอลสีสด กรุ๋งกริ๋ง เป็ดเหลืองบีบโบกไปมาช้าๆ

การเล่นนี้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โดยเด็กสามารถ…
* หันศีรษะไปซ้ายบ้าง ขวาบ้างได้เอง
* หันศีรษะมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว หรือมองตามที่มาของเสียงได้
* ยันตัวขึ้นด้วยท่อนแขน ยกศีรษะ และหน้าอกขึ้นได้
* เริ่มพลิกตัวตะแคงหรือหงายตัวได้

คืบๆ คลานๆ

หาของเล่นที่เขย่าแล้วเกิดเสียง จากนั้นค่อยๆ ขยับของเล่นให้เด็กคืบคลานตาม

กิจกรรมนี้ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของเด็กที่เริ่มคืบได้ หากพบสิ่งที่น่าเล่น น่าค้นคว้า น่าเรียนรู้ เขาก็จะคืบไปหา เพื่อสำรวจ หยิบ จับ หรือคว้าเข้าปากเล่น พัฒนาการด้านความคิดและสติปัญญา สังคม และอารมณ์ก็ดีมากขึ้นด้วย

เล่นเรียกชื่อ

จับเด็กนั่งตัก จากนั้นจับส่วนต่างๆ บนหน้าของเขาพร้อมทั้งเรียกชื่อไปด้วย
* เลือกสัมผัสส่วนต่างๆ บนใบหน้าของเด็กสองส่วน โดยแต่ละครั้งต้องพูด “จมูกของ... (ชื่อเด็ก)” “แก้มของ...(ชื่อเด็ก)” ทำอย่างนี้ซ้ำหลายๆ ครั้ง
* จับมือของเด็กมาจับหน้าผู้ใหญ่บ้างพร้อมพูดนำ “จมูกของ...” “แก้มของ...” จากนั้นให้ถามเด็กว่า “จมูกของ...(ชื่อเด็ก) อยู่ไหน” แล้วจับมือเด็กไปจับจมูก พร้อมกับพูดว่า “อยู่นี่ไง” อย่าลืมพูดซ้ำในแต่ละส่วนของใบหน้า

เด็กจะเริ่มรู้จักชื่อตัวเอง มีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูก

เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและด้านความคิดและสติปัญญา

อ่านหนังสือให้ฟัง

อ่านหนังสือนิทานหรือหนังสือที่มีคำคล้องจองให้เด็กฟังในเวลาที่เด็กดูผ่อนคลาย สบายๆ หรือตอนอาบน้ำ (หนังสือลอยน้ำ) หรือก่อนนอน

กิจกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา สังคมและอารมณ์ ความคิดและสติปัญญาให้เด็ก แม้เด็กจะยังเล็กก็สามารถอ่านหนังสือให้เขาฟังได้ และควรอ่านทุกวัน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการอ่าน

 

อย่างไรก็ตาม แม้พี่เลี้ยงเด็กจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเลี้ยงดูลูกมากขึ้น แต่ลูกก็ยังต้องการความรักและความใกล้ชิดจากคุณพ่อคุณแม่มากกว่าใคร ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาอยู่และเล่นกับลูกให้มากที่สุดนะคะ

กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่