Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยต้องบ๊ายบายขวดนม การหาวิธีเลิกขวดนมให้กับลูก มักกลายเป็นเรื่องหนักใจที่คุณแม่หลายบ้านกำลังเจออยู่ “ลูก 3 ขวบยังไม่เลิกขวด” “ลูกควรเลิกขวดตอนกี่ขวบ” หรือแม้แต่ “ลูก 5 ขวบยังไม่เลิกขวด” ล้วนเป็นคำถามที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้สึกหนักใจ แต่อย่าเพิ่งกังวลไปนะคะ เพราะจริง ๆ แล้วนี่เป็นเรื่องธรรมดาที่พบได้บ่อยในบ้านที่มีเด็กเล็ก
ใช่ค่ะ ขวดนมมักเป็นของที่เด็กหลายคนรักและผูกพัน ตั้งแต่ใช้ปลอบใจยามง่วงนอน ไปจนถึงทำให้การกินนมกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทั้งคุณแม่และลูก แต่ในขณะเดียวกัน หากปล่อยให้ติดขวดไปจนถึง 3 ขวบ หรือแม้แต่ 5 ขวบ อาจเริ่มมีผลกระทบที่เราไม่ทันคิด ทั้งสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการกิน และพัฒนาการพูด
ไม่ต้องห่วงค่ะ การเลิกขวดไม่ได้ยากหรือดราม่าเสมอไป ขึ้นอยู่กับวิธีการและจังหวะเวลาที่เหมาะสม แต่ละบ้านอาจมีสูตรสำเร็จที่แตกต่างกัน บทความนี้ จะมาช่วยคุณแม่คลายทุกความกังวลใจเกี่ยวกับการติดขวดนมของลูกน้อย พร้อมทั้งแนะนำเทคนิคเลิกขวดง่ายๆ รวมถึงวิธีจัดการเมื่อเลิกขวดแล้วน้ำหนักลูกลด หรือเลือกโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้ลูกเติบโตสมวัย
บ้างก็ว่าให้เลิกขวดก่อนอายุ 1 ขวบ บ้างว่า 2 ขวบ หรือ 3 ขวบก็ยังไม่สาย สรุปแล้วลูกควรเลิกขวดตอนกี่ขวบถึงจะดีเมื่อการกินที่ดีส่งผลต่อการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ของลูก
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ควรฝึกให้ลูกใช้แก้วแทนการใช้ขวดนมก่อนอายุ 18 เดือน (ขวบครึ่ง) เนื่องจากพบว่าการดูดนมจากขวดนมหลังอายุ 18 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ‘สุขภาพในช่องปาก’ ตามมาโดยเฉพาะเรื่อง ‘ฟันผุ’ บางสถาบันอาจอนุโลมให้ได้ถึง 2 ขวบครึ่ง แต่ไม่แนะนำให้เกิน 3 ขวบ เพราะเด็กจะมีพฤติกรรมติดขวดจนเลิกยาก และส่งผลเสียระยะยาว
โดยผลการศึกษาพบว่า หากไม่เลิกขวดนมหลังอายุ 2 ปีนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดโรคซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) อีกด้วย เนื่องจาก เด็กที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไป ควรรับประทานอาหารมื้อหลัก 3 มื้อซึ่งประกอบด้วย สารอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน รวมถึงสารอาหารรองอย่างวิตามินและแร่ธาตุ โดยมี ‘นม’ เป็นอาหารที่เสริมจากอาหารมื้อหลัก โดยเฉพาะนมแม่ที่มีประโยชน์ในแง่ของสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ภูมิคุ้มกันและสมอง
เด็กที่ไม่ยอมเลิกขวดนมนั้นมักมีแนวโน้มจะดื่มนมในปริมาณที่มากต่อวันจนกระทบต่อการรับประทานอาหารมื้อหลัก เป็นเหตุให้ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ และปลูกฝังพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีให้แก่เด็กอีกด้วย เราจึงพบทั้งเด็กไม่เลิกขวดนมที่มีน้ำหนักส่วนสูงตกเกณฑ์ และเกินเกณฑ์จนเป็น ‘โรคอ้วน’ ได้
เด็กในวัย 1-2 ปี เป็นช่วงที่มีพัฒนาการด้านการเคี้ยวและดูดที่พร้อมจะใช้แก้วหรือหลอดได้แล้ว หากช้าเกินไป เด็กอาจเกิดพฤติกรรมติดขวด เช่น ติดขวดเวลานอน ต้องถือขวดเข้าเตียง ทำให้เสี่ยงฟันผุจากนมที่ตกค้าง หรือดื่มนมมากจนไม่สนใจอาหารหลัก อีกทั้งยังเป็นวัยที่เด็กกำลังฝึกทักษะการใช้มือและการควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก การได้จับแก้วหรือหลอดจะช่วยฝึกทักษะเหล่านี้ได้เช่นกัน
แน่นอนว่า เด็กแต่ละคนมีจังหวะพัฒนาการไม่เท่ากัน บางคนอาจเลิกขวดได้ง่ายในวัย 1 ขวบครึ่ง บางคนอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ขวบกว่า หรือแม้กระทั่ง 3 ขวบ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมในบ้าน การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ หรือการได้เห็นพี่ๆ หรือเพื่อนๆ ดื่มนมจากแก้ว ก็มีส่วนกระตุ้นให้เด็กอยากทำตาม
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรเริ่มถอนขวด ได้ตั้งแต่ลูกอายุประมาณ 1 ขวบ หรืออย่างช้าควรเลิกก่อน 2 ขวบ เพื่อพัฒนานิสัยการกินที่ดี แต่ถ้าลูกยังเลิกขวดไม่สำเร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว อาจต้องใช้เทคนิคอื่น ๆ หรือความพยายามเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันผลเสียระยะยาว
หลายบ้านอาจตกอยู่ในสถานการณ์ ลูก 3 ขวบยังไม่เลิกขวด แถมลูกติดขวดเวลานอนอีกด้วย เรื่องนี้ยิ่งกลายเป็นความกังวลมากขึ้นเมื่อคนรอบข้างเริ่มทักเรื่องสุขอนามัยในช่องปาก รวมทั้งนิสัยติดขวดไปจนโต ถ้าอย่างนั้น ลูก 3 ขวบยังไม่เลิกขวด ได้ไหม และจะจัดการอย่างไรให้ลูกเลิกขวดนมดี
การติดขวดนมของเด็กจนถึงอายุ 3 ขวบ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และพฤติกรรมของลูกมากกว่าที่คิด ดังนี้
หากลูก 5 ขวบแล้วยังต้องดูดขวดนม เรียกได้ว่าเกินวัยที่ควรเลิกมานานแล้ว (เพราะทั่วไปควรเลิกก่อน 2-3 ขวบ) ในกรณีนี้อาจถือเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นผลต่อสุขภาพช่องปาก ทักษะการกิน และพัฒนาการทางสังคมของเด็ก
หากลูกมีปัญหาฟันที่เริ่มผุหรือกัดฟันผิดปกติ ควรพาไปพบทันตแพทย์สำหรับเด็ก (Pedodontist) เพื่อประเมินสภาพฟัน และรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก บางครั้งอาจต้องมีการปรับโครงสร้างฟัน หรือเรียนรู้วิธีป้องกันการเคี้ยวข้างเดียว
ลูก 5 ขวบยังไม่เลิกขวด ถือว่าล่าช้ามาก ควรรีบแก้ไขก่อนจะเข้าสู่วัยเรียน เพราะนอกจากปัญหาฟันแล้ว ยังเสี่ยงต่อความมั่นใจและพฤติกรรมติดขวดที่ยากจะแก้ในอนาคต
วิธีเลิกขวดนม เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่หลายคนอยากรู้ว่า มีวิธีให้ลูกเลิกขวดนมอย่างไรให้ได้ผล โดยเฉพาะ วิธีเลิกขวดมื้อดึก ซึ่งเป็นมื้อที่ลูกมักติดขวดมากที่สุดเพราะช่วยให้หลับง่าย ลองมาดูเทคนิคที่ใช้กันบ่อย และสามารถปรับให้เหมาะกับลูกได้กันค่ะ
ค่อยเป็นค่อยไป
ขวดนม อาจต้อง “เลิกขวดหักดิบ” หรือปรึกษานักพฤติกรรมบำบัดเด็ก หากลูกมีปัญหาด้านอารมณ์ ร้องไห้โวยวายรุนแรงเมื่อลองค่อย ๆ ลดก็ยังไม่ได้ผล
จะเห็นได้ว่า วิธีให้ลูกเลิกขวดมีหลายแนวทาง แต่หัวใจคือ ความสม่ำเสมอ ความอดทน และการไม่ให้ลูกกลับไปใช้ขวดเมื่อร้องไห้งอแง คุณแม่ต้องยืนหยัดตามข้อตกลงเสมอ เพื่อให้ลูกปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเลิกขวดนมได้ในที่สุด
การเลือกใช้วิธี เลิกขวดหักดิบ หรือ การหยุดใช้ขวดทันทีในวันใดวันหนึ่งของคุณพ่อคุณแม่ อาจเป็นเพราะลูกอายุเยอะแล้ว (เช่น 4-5 ขวบ) หรือต้องการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว
ข้อดีของเลิกขวดหักดิบ
ข้อเสียของเลิกขวดหักดิบ
เคล็ดลับหากเลือกหักดิบ
เลิกขวดหักดิบอาจได้ผลไว แต่ต้องเตรียมทั้งด้านจิตใจและสภาพแวดล้อม หากคุณแม่ไม่พร้อมรับมือความวุ่นวายในช่วงแรก อาจเลือกวิธีลดขวดแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้
คุณแม่บางคนพบว่าพอ ลูกเลิกขวด น้ำหนักลด ทำไงดี นี่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เพราะเด็กคุ้นชินกับการดูดนมขวดปริมาณมากมานาน พอเปลี่ยนมาเป็นแก้วหรือหลอด อาจกินได้น้อยลงชั่วคราว
สาเหตุที่ลูกน้ำหนักลดหลังเลิกขวดนมนั้นเป็นไปได้หลายเหตุผล คือ
แต่ถ้าคุณแม่สังเกตแล้วว่า ลูกน้ำหนักลดมากเกิน หรือมีปัญหาเบื่ออาหารเรื้อรัง ควรปรึกษากุมารแพทย์หรือนักโภชนาการเด็ก ซึ่งอาจต้องตรวจสุขภาพโดยรวม หรือหาสาเหตุอื่นที่อาจทำให้ลูกกินได้น้อยควบคู่กันไปด้วย
เมื่อถึงวันแรกที่คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจว่า “ต้องเลิกขวดแล้ว” ไม่ว่าจะค่อยเป็นค่อยไป หรือหักดิบ อาจทำให้รู้สึกตื่นเต้น และกังวลมาก เรามีคำแนะนำเพื่อเตรียมตัวและจัดการกับอารมณ์ในวันแรกนี้
เตรียมลูกล่วงหน้า
คุยกับลูกก่อนวันจริงสัก 2-3 วัน บอกว่า “อีกไม่กี่วันหนูจะเป็นเด็กโตแล้ว เราจะไม่ได้ใช้ขวดนะ แต่จะใช้แก้วสวย ๆ ลายน่ารักแทน” หรืออาจจัดกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น ให้ลูกวาดรูป “แก้วในฝัน” หรือเลือกแก้วที่อยากใช้ร่วมกัน
เตรียมอุปกรณ์
หากใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป สามารถวางแก้วหรือหลอดไว้ในจุดที่ลูกหยิบจับง่าย มีหลายอันเพื่อป้องกันทำหล่นแล้วเลอะ แต่ถ้าเป็นการหักดิบ ควรเก็บขวดทั้งหมดในที่ที่ลูกหาไม่เจอ แต่เตรียมของทดแทนเป็นแก้วลายการ์ตูน, ตุ๊กตาปลอบใจ ฯลฯ
สร้างบรรยากาศบวก
ในวันแรกของการเลิกขวดนม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรแสดงสีหน้ากังวลหรือโกรธเมื่อเห็นลูกงอแง เพราะวันนี้เป็นวันที่ลูกต้องเจอความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ควรให้กำลังใจด้วยคำพูดอ่อนโยน หรือชมเชยลูกทันทีเมื่อเขาพยายามดื่มนมจากแก้วได้ แม้จะดื่มน้อยก็ตาม
ก่อนนอน คือ นาทีทอง
ในคืนแรกมักเป็นช่วงที่เด็กจะเรียกร้องขวดมากที่สุด คุณแม่อาจต้องใช้เทคนิคปลอบโยนอื่น เช่น กอด, ร้องเพลง, เล่านิทาน, ตบก้นเบา ๆ จนลูกเคลิ้มหลับ แต่ถ้าลูกร้องหนักมาก ควรใช้ท่าทีประนีประนอม เช่น “ถ้าหนูหิวนม เดี๋ยวแม่เทใส่แก้วเล็ก ๆ ให้ดื่มเนอะ”
ให้เวลาลูกปรับตัว
วันแรกอาจผ่านไปด้วยเสียงร้องไห้มาก ลูกอาจกินนมน้อยลงหรือไม่ยอมกินเลย คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าเพิ่งคืนขวดทันที ควรอดทนและลองต่ออีก 2-3 วันเพื่อให้เด็กเห็นว่าเราจริงจัง ถ้าเด็กยังไม่ปรับตัวจริง ๆ ค่อยประเมินว่าควรเปลี่ยนวิธีไปใช้วิธีไหนต่อไป
ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี
เพราะในนมแม่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
ตามหลักแล้ว การฝึกลูกกินผักผลไม้นั้น คุณแม่ส่วนใหญ่ควรทำตั้งแต่ลูกอายุครบ 6 เดือน ซึ่งลูกกินอาหาร...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ