Enfa สรุปให้
อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 5 – 5.1 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 140 กรัม มีขนาดเท่ากับผลทับทิมหรือหอมใหญ่
อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ระบบอวัยวะภายในต่าง ๆ ของทารกเริ่มทำงานขึ้นบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงปอดที่พร้อมจะลำเลียงออกซิเจนในไม่ช้า
อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ คุณแม่สามารถสัมผัสการดิ้นของทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น เริ่มรู้สึกถึงการมีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตในครรภ์ โดยให้ความรู้สึกเหมือนผีเสื้อกำลังกระพือปีก หรือกำลังถูกเตะที่ท้องเบา ๆ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ท้อง 17 สัปดาห์ คุณแม่กำลังก้าวเข้าสู่สัปดาห์แรกของเดือนที่ 5 ในการตั้งครรภ์ค่ะ อีกไม่นานคุณแม่ก็จะผ่านครึ่งทางของการตั้งครรภ์ และเริ่มเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังก่อนถึงกำหนดคลอด
แต่ก่อนจะไปถึงตอนนั้น เรามาดูกันว่าอายุครรภ์ 17 สัปดาห์คุณแม่จะพบกับการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ทารกในครรภ์ตอนนี้มีพัฒนาการสำคัญอย่างไร แล้วท้อง 17 สัปดาห์ ลูกอยู่ตรงไหนกันนะ
การตั้งครรภ์ในระยะนี้คุณแม่จะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงใด ๆ เป็นพิเศษค่ะ แต่เนื่องจากขนาดครรภ์ที่เริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้คุณแม่ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตมากขึ้น จะลุก จะนั่ง ก็ต้องคอยระวัง อาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดใจเล็กน้อยที่เริ่มทำอะไรไม่กระฉับกระเฉงเหมือนก่อนตั้งครรภ์
ทารกอายุครรภ์ 17 สัปดาห์ เจริญเติบโตอยู่ในมดลูก และมีพัฒนาการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยคุณแม่สามารถอัลตราซาวนด์เห็นทารกในครรภ์และเพศของทารกได้อย่างชัดเจน
ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือนกันนะ? สำหรับแม่ท้อง 17 สัปดาห์ จะเท่ากับอายุครรภ์ 4 เดือน กับอีก 1 สัปดาห์ค่ะ
ทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์ ระบบอวัยวะภายในต่าง ๆ เริ่มทำงานขึ้นบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงปอดที่พร้อมจะลำเลียงออกซิเจนในไม่ช้า
คุณแม่สามารถสัมผัสถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ได้แล้วในระยะนี้ค่ะ คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อขยับปีกอยู่ในท้อง หรือเหมือนมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ กำลังเตะหรือต่อยที่ท้องเบา ๆ จนรู้สึกได้อย่างชัดเจน
การอัลตราซาวนด์ท้องอายุครรภ์ 17 สัปดาห์ สามารถมองเห็นเพศของลูกได้อย่างชัดเจนแล้วค่ะ
ทารกในระยะนี้จะมีความยาวประมาณ 5 – 5.1 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 140 กรัม มีขนาดเท่ากับผลทับทิมหรือหอมใหญ่ค่ะ
การพัฒนาของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของทารกในช่วงอายุครรภ์ 17 สัปดาห์ มีดังนี้
• ทารกเริ่มขมวดคิ้วได้ แขนขาสมบูรณ์มากขึ้น สามารถขยับข้อต่อต่าง ๆ
• ทารกเริ่มมีผิวหนังและกล้ามเนื้อ ต่อมเหงื่อก็เริ่มสร้างขึ้นแล้วในสัปดาห์นี้
• หลอดลมฝอยเริ่มแตกแขนงออกจากหลอดลมและแผ่ออกไปทั่วปอด เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงอากาศ ทำให้ปอดของทารกพร้อมจะสูดเอาออกซิเจนเข้าไปได้แล้ว
• สัปดาห์นี้ระบบทางเดินโลหิต และทางเดินปัสสาวะของทารกใกล้จะเสร็จสมบูรณ์
• ทารกในครรภ์เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ เช่น ดูดหรือกลืนของเหลวได้สะอึกได้รวมทั้งสามารถกะพริบหนังตาได้
ในช่วงนี้คุณแม่จะเริ่มมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ขณะที่หน้าท้องก็เริ่มขยายตัวออกมาเรื่อย ๆ ภายในร่างกายของคุณแม่ก็จะมีการสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก
ดังนั้น การตรวจเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยแพทย์จะตรวจให้กับคุณแม่นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปฝากครรภ์เพื่อเช็คดูอาการของโรคต่างๆ ที่สามารถส่งต่อมายังทารกในครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน, HIV, โรคไวรัสตับอักเสบบี, ธาลัสซีเมีย เป็นต้น
มากไปกว่านั้น ในระยะนี้คุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกว่ามีอาการตาแห้ง แนะนำลองใช้ยาหยอดตาเพื่อเติมความชุ่มชื่นให้กับดวงตา โดยเฉพาะคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ ช่วงนี้อาจจะรู้สึกตาแห้งง่ายขึ้นกว่าเดิม
แม่ท้อง 17 สัปดาห์ ควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชต่าง ๆ ด้วย มากไปกว่านั้น ยังจำเป็นจะต้องเน้นกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ดังนี้
• ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น
• ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กพบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น
• โฟเลต ช่วยในการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับระบบประสาทของทารกในครรภ์ โฟเลตพบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
• แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันของแม่และทารกให้แข็งแรง แคลเซียมพบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น
• ไอโอดีน ช่วยให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายปกติ ลดความเสี่ยงของโรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ ไอโอดีนพบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น
• โคลีน ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น
• โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา รวมถึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดด้วย โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่สามารถเสริมสุขภาพด้วยการดื่มนมค่ะ โดยสามารถเลือกนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นจำหรับคนท้อง เช่น มีแคลเซียมสูง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โฟลิก โคลีน เป็นต้น
ซึ่งการดื่มนมก็จะช่วยให้คุณแม่ยังได้รับสารอาหารจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม แม้ว่าในวันนั้นอาจจะกินอาหารได้น้อยลง
อาการคนท้อง 17 สัปดาห์ที่สามารถพบได้โดยทั่วไป มีดังนี้
• คุณแม่เริ่มมีอาการปวดสะโพกหรือปวดหลังเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและกล้ามเนื้อที่ยืดออกอาจส่งผลต่อการรับน้ำหนักของอวัยวะช่วงหลังและอวัยวะส่วนล่าง
• คุณแม่อาจมีรอยแตกลายเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์ และรอยนี้จะหายไปหลังคลอดลูก แต่ถ้าคุณแม่อยากบำรุงให้รอยแตกลายหายเร็วขึ้นหลัวคลอด ก็สามารถใช้ครีมป้องกันรอยแตกลายได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย
• คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแปลบหรือปวดหน่วงที่บริเวณท้องน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการขยายตัวของเส้นเอ็นที่อยู่รอบ ๆ มดลูก
• เมื่อทารกโตขึ้น คุณแม่จึงอาจรู้สึกว่ามีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
• ฮอร์โมนในร่างกายช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น มีจุดสีน้ำตาลบนใบหน้าหรือที่เรียกว่า "หน้ากากการตั้งครรภ์" หรือ Mask of pregnancy หรือก็คือ ฝ้า ในภาษาชาวบ้านนี่แหละค่ะ ซึ่งอาการนี้มักจะหายไปหลังคลอดค่ะ
• เต้านมที่ขยายตัว ยังคงขยายตัวต่อไปเพื่อรองรับการผลิตน้ำนมสำหรับใช้หลังคลอด
การอัลตราซาวนด์ในช่วงนี้ จะสามารถมองเห็นพัฒนาการของทารกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
• การเคลื่อนไหวของทารก: ทารกในสัปดาห์นี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น เพราะมดลูกมีการขยายตัว ทำให้ทารกมีพื้นที่ในการยืดและงอแขนขามากขึ้น
• ลักษณะใบหน้า: กล้ามเนื้อใบหน้าของทารกพัฒนามากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงอาจมองเห็นเค้าโครงหน้าและการแสดงสีหน้าของทารกได้ในช่วงนี้
• การเต้นของหัวใจ: การอัลตราซาวนด์ในระยะนี้สามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจทารกที่ชัดเจนมากขึ้น
• การสังเกตอวัยวะ: สามารถมองเห็นอวัยวะของทารกได้ในหลายมุม อาจนำข้อมูลมาประเมินเบื้องต้นว่าทารกมีการเจริญเติบโตที่สมวัยหรือไม่
• การยืนยันเพศ: หากยังไม่ทราบเพศลูก และต้องการที่จะรู้ว่าได้ลูกผู้หญิงหรือลูกผู้ชาย การอัลตราซาวนด์ในสัปดาห์นี้จะสามารถเห็นเพศลูกได้อย่างชัดเจน
อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ คุณแม่อาจพบกับอาการต่าง ๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องปกติของคนท้องหรือเปล่า หรือเป็นสัญญาณอันตรายไหม ซึ่งขอแนะนำว่าคุณแม่ควรจะหมั่นสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอว่ามีอาการใด ๆ ที่ผิดแปลกไปจากเดิมหรือไม่
และหากมีอาการใด ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นสัญญาณอันตราย หรือไม่แน่ใจว่าอาการแบบนี้ผิดปกติไหม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ
ท้องได้ 4 เดือนแล้ว หน้าท้องของคุณแม่ควรที่จะนูนออกมาชัดเจน แต่ถ้าท้องเล็กมาก หรือแทบไม่นูนออกมาเลย ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียวนะคะ เพราะการเปลี่ยนแปลงของหน้าท้องยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น
• คุณแม่ตั้งครรภ์ครั้งแรก หน้าท้องจึงมักไม่ขยายใหญ่สำหรับท้องแรก
• คุณแม่ออกกำลังกายกายมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ทำให้มีผนังหน้าท้องที่หน้า เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ หน้าท้องจึงไม่นูนออกมาง่าย ๆ
• คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุยังน้อย
• คุณแม่มีสรีระที่เล็ก ขนาดหน้าท้องจึงไม่ขยายใหญ่เกินกว่าสรีระของคุณแม่
อย่างไรก็ตาม หากตรวจอัลตราซาวนด์แล้วพบว่าทารกยังมีการเจริญเติบโตตามปกติ หัวใจเต้นตามปกติ ก็ไม่มีอะไรต้องเป็นกังวลค่ะ
คุณแม่ส่วนใหญ่สามารถรู้สึกถึงการดิ้นของลูกได้อย่างชัดเจนในสัปดาห์นี้ แต่ถ้าไม่รู้สึกเลย ก็ยังเร็วไปที่จะสรุปว่าผิดปกติค่ะ เพราะผนังหน้าท้องของคุณแม่อาจจะหนาจนสัมผัสการดิ้นของทารกได้ยาก หรือช่วงที่ทารกดิ้นอาจทำกิจกรรมอย่างอื่นที่มีการเคลื่อนไหว จึงทำให้ไม่รู้สึก
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ยังไม่ต้องคิดมากค่ะ เพราะตราบที่อัลตราซาวนด์แล้วพบว่าทารกยังมีหัวใจเต้นตามปกติ ทารกสามารถเคลื่อนไหวตามปกติ ก็ยังไม่มีอะไรต้องกังวล และอาจจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นมากขึ้นในสัปดาห์ถัดไปก็ได้ค่ะ
อาการปวดท้องน้อยในสัปดาห์นี้ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ อาจมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเพื่อรองรับมดลูกที่กำลังขยายตัว
แต่ถ้าหากมีอาการปวดท้องน้อยติดต่อกันหลายวันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือปวดมากจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการแท้ง หรือภาวะความเสี่ยงอื่น ๆ ในขณะตั้งครรภ์ได้
อาการท้องแข็งมักจะพบได้ในไตรมาสสามของการตั้งครรภ์ หรือเริ่มสังเกตเห็นได้เมื่อมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการท้องแข็งนั้น อาจมีสาเหตุมากจากสาเหตุเหล่านี้
• ทารกในครรภ์ดิ้นแรงหรือโก่งตัว
• มดลูกเกิดการบีบรัดตัวขึ้นเองโดยหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้
• การกินอาหารมากเกินไป หรือรู้สึกอิ่มมากจนเกินไป
โดยทั่วไปแล้วอาการท้องแข็งนั้นจะพบในช่วงไตรมาสที่สาม หรือช่วงใกล้คลอด มักไม่พบในช่วงไตรมาสสองของการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการท้องแข็งเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาสสอง ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้ค่ะ
คุณแม่อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ควรใส่ใจดูแลตนเองเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด
ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) คือ ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ที่สามารถพบได้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคามจะมีเลือดออกทางช่องคลอดในขณะที่ปากมดลูกยังไม่เปิด
ซึ่งเลือดที่ไหลออกมานั้นอาจเป็นเลือดสีสด มูกเลือด หรือเลือดสีน้ำตาลก็ได้ ภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
• โครโมโซมผิดปกติ
•
ทารกพิการตั้งแต่ในครรภ์
• มดลูกและโพรงมดลูกผิดปกติ
• การได้รับยาหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
•
มีประวัติการแท้งบุตรมาก่อน
• ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก
• แม่ท้องมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ภาวะแท้งคุกคาม จำเป็นจะต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะถือว่าเป็นภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ และเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้
ดังนั้น หากมีเลือดออกในขณะตั้งครรภ์ ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าอาการเลือดออกนั้นมีที่มาจากอะไรกันแน่ ในกรณีที่เป็นสัญญาณของความผิดปกติ แพทย์จะได้ทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
เมื่อมีอายุครรภ์ครบ 4 เดือน หรือตั้งท้องได้ 4 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรหาเวลาไปรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์
อีกทั้งภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนยังสามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ช่วยลดอันตรายจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ในกรณีที่คุณแม่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
อาการปวดท้องในขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
• กินอาหารมากเกินไป
•
การขยายตัวของมดลูกและเส้นเอ็นที่อยู่รอบ ๆ มดลูก
• มีอาการท้องผูก
ท้องอืด
• มีอาการกรดไหลย้อน
อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดท้องไม่ดีขึ้นเลย หรือปวดท้องติดต่อกันตั้งแต่ 1-3 วันขึ้นไป ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม
ช่วงเวลา 1,000 วันแรก คือช่วงเวลาที่นับตั้งแต่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงวันเกิดครบ 2 ขวบของลูกน้อย ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่คุณแม่จะต้องใส่ใจกับการดูแลตนเองและลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในท้องจนกระทั่งลืมตาออกมาดูโลก
หมั่นฟูมฟักทั้งโภชนาการที่มีประโยชน์ ปลูกฝังอารมณ์ สภาพจิตใจ ความรัก ความอบอุ่น รวมทั้งการเสริมสร้างพัฒนาการด้วยการเล่น การพูดคุย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ สมวัย และมีสุขภาพที่ดี พร้อมสำหรับการเจริญเติบโตในทุก ๆ วัน
โดยช่วงเวลา 1,000 วันของลูกน้อย สามารถแยกออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่
• ช่วงที่ 1: ตั้งครรภ์ (270 วัน)
• ช่วงที่
2: วัยแรกเกิด – 6 เดือน (180 วัน)
• ช่วงที่ 3: วัย 6 เดือน – 2 ปี (550 วัน)
การอัลตราซาวนด์คนท้อง 17 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะสามารถมองเห็นเพศลูกได้อย่างชัดเจนแล้วค่ะ
แม่ท้อง 17 สัปดาห์ ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และต้องกินอาหารที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่มากับอาหาร มากไปกว่านั้น ยังควรเน้นสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ ได้แก่
• ดีเอชเอ พบได้มากในอาหารจำพวก ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น
• ธาตุเหล็ก พบได้มากในอาหารจำพวก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น
• โฟเลต พบได้มากในอาหารจำพวก ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น
• แคลเซียม พบได้มากในอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น
• ไอโอดีน พบในอาหารทะเลทุกชนิด เกลือไอโอดีน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา เป็นต้น
• โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น
• โอเมก้า 3 พบได้มากในอาหารจำพวกปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอริ่ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วพีแคน ถั่วเฮเซลนัท เป็นต้น
อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ มดลูกและทารกมีการขยายตัวใหญ่ขึ้น จึงส่งผลให้ขนาดท้องของคุณแม่ในสัปดาห์นี้ขยายใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจนค่ะ
เลือดออกขณะตั้งครรภ์ ให้สันนิษฐานว่าอันตรายไว้ก่อนค่ะ และรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด ถ้าหากผลการตรวจครรภ์ออกมาว่าทุกอย่างเป็นปกติ ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลค่ะ
แต่คุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ หรือคิดว่าไม่เป็นไร คนท้องควรมองถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเอาไว้ก่อน เพื่อที่ว่าถ้าหากเป็นสัญญาณอันตรายจริง ๆ จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
โปรดงดการใช้เหตุผลว่าคนอื่นเขาบอกมาว่าปกติ หรือกระทู้นี้บอกว่าไม่อันตราย เพราะคุณแม่จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาการเลือดออกนั้นเกิดจากสาเหตุใด หากไม่ได้มาเข้ารับการตรวจกับแพทย์โดยตรง
Enfa สรุปให้ อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 5 – 5.1 นิ้ว มีน้ำหนักประมา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ทารกจะมีขนาดยาวประมาณ 5.6 นิ้ว หนักประมาณ 190 - 1...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ ทารกจะมีความยาวประมาณ 7 นิ้ว หนักประมาณ 300 - 310...
อ่านต่อ