ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
pregnancy-cramps

คนท้องเป็นตะคริวบ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อลูกในครรภ์ไหมนะ

Enfa สรุปให้

  • อาการตะคริว ถือเป็นอาการปกติที่พบได้ในคนท้อง และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสองและสาม
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินแคลเซียมให้เพียงพอ การขาดแคลเซียมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดตะคริวได้
  • อาการตะคริว ไม่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ การพักผ่อน การเปลี่ยนอริยาบถ ช่วยให้อาการตะคริวดีขึ้นได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ทำไมคนท้องถึงเป็นตะคริว
     • วิธีบรรเทาและป้องกันอาการตะคริวขณะตั้งท้อง
     • ไขข้อข้องใจเรื่องคนท้องเป็นตะคริวกับ Enfa Smart Club

อาการตะคริวในขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นอาการที่แม่ท้องหลายต่อหลายคนพบได้บ่อย ๆ ทั้งในช่วงไตรมาสแรกไปจนถึงไตรมาสสุดท้าย แต่ว่า...คนท้องเป็นตะคริวนี่จะอันตรายไหม เป็นตะคริวตอนท้องบ่อย ๆ จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหรือเปล่านะ 

คนท้องเป็นตะคริว ทำไมถึงเป็นบ่อย


ตะคริวคนท้อง เกิดขึ้นได้จนแทบจะเป็นปกติในช่วงตั้งครรภ์เลยค่ะ ซึ่งอาการตะคริวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็เนื่องมาจากร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ตลอดทั้ง 9 เดือน 

  • ช่วงไตรมาสแรกนั้น อาการตะคริวมักจะมีสาเหตุมาจากร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่ฝังตัวลงในมดลูก แต่อาการตะคริวในไตรมาสนี้จะไม่รุนแรงค่ะ จะมีอาการเพียงเล็กน้อย และเกิดขึ้นไม่นานก็ค่อย ๆ ดีขึ้น 
  • พอมาถึงไตรมาสสอง ระยะนี้มดลูกจะเริ่มมีการหดตัวเกิดขึ้น ในทุก ๆ ครั้งที่มดลูกหดตัว ก็จะส่งผลให้เป็นตะคริวได้ มากไปกว่านั้น ขนาดของมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นก็เริ่มรบกวนการไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกัน 
  • ในไตรมาสสาม ช่วงนี้คุณแม่จะมีขนาดครรภ์ที่ใหญ่ และน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้อวัยวะช่วงล่างตั้งแต่สะโพกลงไปถึงเท้าต้องแบกรับน้ำหนักมาก ส่งผลให้ระบบหมุนเวียนโลหิตที่ตึงแน่นเกินไปบริเวณขาจนเป็นตะคริว ระยะนี้คุณแม่จึงเป็นตะคริวได้ง่ายมาก การนั่ง การยืน หรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ยิ่งทำให้เป็นตะคริวได้ง่าย 

สาเหตุที่คนท้องเป็นตะคริวเกิดจากอะไรได้บ้าง

คนท้องเป็นตะคริว เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ 

ตะคริวคนท้องจะมีโอกาสหายไปหรือไม่

ตะคริวคนท้องมีโอกาสหายไปค่ะ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก อย่าลืมว่ายิ่งอายุครรภ์มากขึ้น ขนาดครรภ์ก็จะใหญ่ตามไปด้วย น้ำหนักตัวก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้อวัยวะส่วนล่าสงต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ขนาดของทารกและมดลูกที่ใหญ่ขึ้นก็เริ่มรบกวนการไหลเวียนของเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ค่อยดี ระยะนี้อาการตะคริวจึงมาเยือนคุณแม่ได้บ่อย ๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะฟันธงว่าอาการตะคริวคนท้องจะไม่กลับมาอีก 

คนท้องตะคริวกินขาบ่อย มีวิธีบรรเทาและป้องกันอาการตะคริวระหว่างตั้งครรภ์อย่างไรบ้างนะ


หากคุณแม่เป็นตะคริวบ่อย ๆ อย่าเพิ่งวิตกกังวลจนเกินไปนะคะ อาการตะคริวคนท้องเป็นเรื่องปกติค่ะ เป็นได้ ก็ดีขึ้นได้ เมื่อคุณแม่เกิดอาการตะคริวขึ้นมา สามารถบรรเทาตะคริวได้ ดังนี้ 

  • พยายามนั่งพัก หรือเปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ ไม่ยืนหรือนั่งนานจนเกินไป 
  • นอนราบลงกับพื้น เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น 
  • การแช่ตัวในน้ำอุ่น หรือแช่เท้าในน้ำอุ่น ช่วยให้อาการตะคริวดีขึ้นได้ 

นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของตะคริวที่รุนแรงในขณะตั้งครรภ์ได้ ดังนี้ 

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะถ้าดื่มน้ำน้อย เซลล์กล้ามเนื้อจะขาดน้ำ เสี่ยงต่อการเกิดตะคริว 
  • กินแคลเซียมให้เพียงพอ การขาดแคลเซียมเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นตะคริว 
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ 
  • หมั่นยืนเส้นยืดสาย เหยียดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงเกินไป ก่อให้เกิดตะคริวได้ 

คนท้องเป็นตะคริวต้องกินอะไร ถึงจะช่วยได้

คนท้องจะเป็นจะต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ หลากหลาย ให้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ ผะก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ นม และผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อให้ร่างกายของแม่และทารกในครรภ์สมบูรณ์และแข็งแรง 

มากไปกว่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงของการเป็นตะคริวคุณแม่ต้องกินแคลเซียมให้เพียงพอ เพราะอย่าลืมว่าทารกในครรภ์จะดึงเอาแคลเซียมจากแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟันด้วยเช่นกัน  

หากคุณแม่กินแคลเซียมน้อย ก็จะเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ และเป็นตะคริวได้ง่าย ดังนั้น จึงควรหมั่นเติมแคลเซียมให้ร่างกายอยู่เสมอ โดยแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต ชีส เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งฝอย เป็นต้น 

มากไปกว่านั้น ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในทุก ๆ วันด้วยนะคะ เพื่อให้เซลล์กล้ามเนื้อมีสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ลดความเสี่ยงของตะคริวได้ 

คนท้องเป็นตะคริวแบบไหนที่ควรเฝ้าระวัง

ตะคริว มักจะเป็น ๆ หาย ๆ และเกิดขึ้นได้บ่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าการเป็นตะคริวแบบถี่จนเกินไปจะเป็นเรื่องปกตินะคะ เพราะในกรณีที่คุณแม่มีอาการตะคริวอย่างต่อเนื่อง และตะคริวค่อนข้างมีอาการรุนแรง ใช้เวลานานกว่าอาการจะดีขึ้น ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะความผิดปกติใด ๆ หรือเปล่า เนื่องจากบางครั้งอาการตะคริวอาจหมายถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการแท้งได้ด้วยเหมือนกัน 

รวมถึงหากคุณแม่มีอาการตะคริวและมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจดูว่าการตั้งครรภ์ยังเป็นปกติดีไหม มีการแท้งเกิดขึ้นหรือเปล่า เพื่อจะได้รับการดูแลรักษาต่อไป 

ไขข้อข้องใจเรื่องคนท้องเป็นตะคริวกับ Enfa Smart Club


ทำไมคนท้องเป็นตะคริวตอนกลางคืน?

ตะคริวตอนกลางคืน อาจมีสาเหตุมาจากขนาดของมดลูกและทารกในครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้น และไปกดทับหลอดเลือดต่าง ๆ ในระบบไหลเวียนโลหิต จึงทำให้เกิดตะคริวขึ้นมาได้ 

หรือถ้าหากคุณแม่อยู่ในภาวะขาดแคลเซียม ก็เสี่ยงที่จะเกิดตะคริวขึ้นได้บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งตอนกล่งวันและกลางคืน 

คนท้องเป็นตะคริวตอนกี่เดือน?

คนท้องสามารถเป็นตะคริวได้ทุกช่วงของการตั้งครรภ์ค่ะ เพียงแต่ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสอง อาการตะคริวจะไม่ค่อยรุนแรงเท่าไหร่ แต่ถ้าเข้าไตรมาสสาม ขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวที่มากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวได้บ่อยขึ้นได้ค่ะ 

คนท้องตะคริวกินท้องอันตรายไหม?

หากคุณแม่มีอาการตะคริวเกิดขึ้นบริเวณท้อง แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจะดีกว่าค่ะ เพราะอาจเกิดจากลูกดิ้น หรือเกิดจากการขยายตัวของมดลูก หรืออาจจะเป้นการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจมีการแท้งเกิดขึ้น 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

เคล็ดไม่ลับ วิธีรับมืออาการ มือบวม-เท้าบวม ขณะตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์/พัฒนาการเด็ก/เคล็ดลับคุณแม่/อาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์
อาการเจ็บท้องคลอด อันไหนเจ็บท้องจริง อันไหนเจ็บท้องหลอก
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner