ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
การกระตุ้น พัฒนาการลูกน้อย เดือนที่ 10

การกระตุ้น พัฒนาการลูกน้อย เดือนที่ 10

พัฒนาการลูกน้อยวัย 10 เดือน

  • ด้านการเรียนรู้

การเล่นคือการเรียนรู้ของลูกน้อย

สำหรับทารกในวัย 1เดือนนั้น การให้ลูกได้เล่นและสัมผัสประสบการณ์ต่างๆเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นการกระตุ้นพัมนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ การเล่นเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็กให้เกิดการรับส่งข้อมูลผ่านประสาทสมอง ซึ่งเป็นการสร้างเส้นใยประสาท จุดเชื่อมต่อเส้นใยประสาทและเพิ่มการสร้างไขมันก่อหุ้มเส้นใยประสาทให้สามารถเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น ทำให้กลไกการทำงานในร่างกายเติบดตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ 

นอกจากนี้แล้วนั้น ผลวิจัยยังค้นพบว่าเด็กที่เล่นน้อยนั้นจะมีขนาดสมองที่เล็กกว่า 20-30 เท่าของเด็กปกติ ส่งผลให้เด็กที่ “ขาดการเล่น” นั้นกลายเป็นเด็กที่เซื่องซึม ร่าเริงน้อยลง ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถอยู่ในกลุ่มเล่นกับเพื่อนๆ ขาดทักษะและความสามารถ ขาดความมั่นใจในตัวเอง กลายเป็นเด็กขี้อาย ดังนั้นถ้าคุณแม่ไม่อยากให้ลูกเป็นแบบนี้ คุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกเล่นอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัย 

เด็กวัยนี้จะสนุกกับการได้คลานสำรวจโลก ของเล่นที่เหมาะกับเขาคือ ลูกบอลที่กลิ้งไปมาได้ หนังสือผ้าที่มีผิวสัมผัสและสีสันที่หลากหลาย เป็นต้น

  • ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

เคล็ดลับช่วยลูก...ตั้งไข่

พัฒนาการสำคัญอย่างหนึ่งของลูกวัย 9-11 เดือน คือ การตั้งไข่ ซึ่งคือการเริ่มทำท่าโก้งโค้งยืดตัวขึ้นยืน และเมื่อทำได้สักพักเขาก็จะเข้าไปหาที่เกาะยืนต่อไป เพราะยังยืนเองตามลำพังไม่ได้

อย่างไรก็ตาม การได้ลองทำการยืนด้วยตนเอง จะทำให้เขาได้เรียนรู้และลองแล้วลองอีก อีกหลายครั้ง กว่าจะรู้วิธีการที่จะขึ้นมาจากท่านั่ง เป็นเกาะยืน และเริ่มตั้งไข่ ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมในการเดินที่จะตามมาในไม่ช้าไม่นาน

ที่สำคัญ ลูกจะเรียนรู้ว่าพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์แบบไหน ที่จะรองรับน้ำหนักเขาได้ และเขาจะเรียนรู้การหย่อนตัวนั่ง ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยลูกหัดหย่อนก้นลงนั่ง จากท่ายืนโดยการก้มตัวลง (งอส่วนลำตัวด้านบน กับสะโพก) โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย และวางน้ำหนักไปทางก้น เพื่อที่จะได้นั่งลงได้ โดยไม่หงายหลัง หรือเจ็บตัว

ดังนั้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมลูกได้คือ ให้กำลังใจลูกอย่างสม่ำเสมอ จัดพื้นที่ให้ปลอดภัยสำหรับลูก เฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนควรมั่นคงสำหรับการเกาะยืนของลูก ปิดเหลี่ยมมุมต่างๆ ให้ดี และคอยดูแลลูกอยู่ใกล้ๆ ค่ะ

  • ด้านภาษาและการสื่อสาร

เลียนเสียงแม่ เพื่อลูกพัฒนาการสื่อสาร

ในวัยนี้ลูกมีความสามารถในการออกเสียงมากขึ้น ลูกจะเรียนรู้การเลียนเสียงของคุณแม่ ถ้าคุณแม่เลือกคำพูดต่างๆ มาใช้คุยกับลูกบ่อยๆ ลูกน้อยก็จะเกิดความเคยชินและเลียนเสียงคุณแม่ได้ในที่สุด

 การเลียนเสียงของลูกน้อยจากการได้ยินและเห็นปากของคุณแม่ สามารถทำได้ทุกเวลา โดยคุณแม่อาจอุ้มเจ้าตัวน้อยให้มองหน้า แล้วเลือกทำเสียงให้ลูกได้ยินเป็นคำๆ เช่น พ่อ แม่ ตา ยาย เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการง่ายๆ ไม่นานลูกก็สามารถเลียนเสียงของคุณแม่ได้แล้ว และหากลูกทำได้ คุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะแสดงความดีใจด้วยการหัวเราะหรือยิ้มให้เขาด้วยนะคะ

แต่ที่สำคัญ คุณแม่ต้องตระหนักว่า การเลียนเสียงนี้ไม่ได้คาดหวังให้ลูกพูดได้ แต่จุดประสงค์ก็คือต้องการกระตุ้นให้ลูกได้เปล่งเสียงออกมา  การฝึกหัดการออกเสียงบ่อยๆ ก็จะช่วยทำให้ลูกสามารถพูดได้เร็วขึ้น เพราะการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาของเด็กส่วนใหญ่ ได้มาจากสิ่งแวดล้อมในบ้าน ถ้าคุณแม่พูดกับลูกบ่อยๆ ก็จะทำให้เขาเข้าใจความหมายของคำนั้นได้ เด็กบางคนพูดไม่ได้ แต่อาจแสดงให้คุณแม่เห็นว่าเขาเข้าใจภาษาที่พูด โดยสามารถตอบสนองคำพูดได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อคุณแม่สั่งให้ทำอะไร ลูกก็ทำตามได้ ทั้งๆ ที่ยังพูดไม่ได้เลยค่ะ

  • ด้านอารมณ์และสังคม

ดนตรีและเสียงเพลง สร้างอารมณ์สุนทรีย์ให้กับลูก

คุณแม่สามารถใช้เพลงและดนตรีในการสร้างพื้นฐานอารมมณ์ดีให้แก้เด็ก 

  • เลือกเพลงที่ดีในการกล่อมลูก : เพลงดีๆที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยให้ลูกอารมณ์เย็น อารมณ์ดี เช่น ให้ลูกฟังเพลงคลาสสิก เพลงไทยพื้นบ้าน เป็นต้น 
  • เปิดเพลงบรรเลง เล่นเครื่องดนตรีให้ลูกฟัง : เลือกเครื่องดนตรี หรือของเล่นเครื่องดนตรีที่ดูสนุกสนาน อย่างเช้น แซค กลองไซโลโฟน หรือหากลูกมีอาการหงุดหงิดงอแงทดลองเล่นดนตรีอย่างนุ่มนวล เพื่อให้ลุกรู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น 

และสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าลืมให้ลูกฟังดนตรีบ่อยๆนะคะ 

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

บทความที่แนะนำ

โภชนาการลูกน้อย อาหารสำหรับเด็ก 10 เดือน

EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

  • Register bar

Leaving page banner

 

Leaving page banner