Enfa สรุปให้:
ทารกเพศชายวัย 10 เดือน หนักประมาณ 9.2 กิโลกรัม สูงประมาณ 73.3 เซนติเมตร ทารกเพศหญิงวัย 10 เดือน หนักประมาณ 8.5 กิโลกรัม สูงประมาณ 71.5 เซนติเมตร
เด็กวัย 10 เดือนเริ่มที่จะแสดงออกถึงลักษณะนิสัยบางประการได้บ้างแล้ว เช่น เด็กบางคนรักสงบ ชอบอยู่นิ่ง ๆ ขณะที่เด็กบางคนอาจจะรักในการผจญภัย ชอบเล่นสนุก
เด็ก 10 เดือน เริ่มเชื่อมโยงคำและท่าทางต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้ เช่น บ๊ายบาย ส่งจูบ เริ่มแยกการถูกยอมรับ กับไม่ถูกยอมรับออก เริ่มรู้ว่าอันไหนทำแล้วจะถูกดุ อันไหนทำแล้วจะถูกรัก
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ในที่สุดเจ้าตัวเล็กก็ย่างเข้าสู่เดือนที่ 10 แล้ว ถือว่าใกล้จะอายุเต็มขวบเข้าไปทุกทีแล้ว แต่เด็ก 10 เดือน จะมีพัฒนาการอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และคุณพ่อคุณแม่จะช่วยเสริมพัฒนาการลูกได้อย่างไร Enfa พร้อมแล้วที่จะต้อนรับคุณพ่อคุณแม่เข้าสู่โลกของเจ้าตัวเล็กวัย 10 เดือน
ทารก 10 เดือน ถือว่าเป็นช่วงวัยที่ค่อนข้างจะ Big Surprise สำหรับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมากทีเดียวค่ะ เพราะเจ้าตัวเล็กจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากมาย ทั้งทางด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ
เด็กวัย 10 เดือนเริ่มที่จะแสดงออกถึงลักษณะนิสัยบางประการได้บ้างแล้ว เช่น เด็กบางคนรักสงบ ชอบอยู่นิ่ง ๆ ขณะที่เด็กบางคนอาจจะรักในการผจญภัย ชอบเล่นสนุก มากไปกว่านั้น เด็กวัยนี้ยังเริ่มที่จะเกิดการเรียนรู้ว่าตนเองก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว เริ่มจดจำ และคุ้นเคยกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวงได้มากขึ้นด้วย
เมื่อทารกเข้าเดือนที่ 10 ทารกก็จะมีรูปร่างที่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวมากขึ้น และมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ทารกวัย 10 เดือนมีน้ำหนักและส่วนสูงที่เกินหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น
ทารก 10 เดือน น้ำหนักนั้น สามารถแบ่งออกตามเพศโดยกำเนิดได้ดังนี้
• ทารกเพศชายวัย 10 เดือน หนักประมาณ 9.2 กิโลกรัม
• ทารกเพศหญิงวัย 10 เดือน หนักประมาณ 8.5 กิโลกรัม
ส่วนสูงของทารกวัย 10 เดือนนั้น สามารถแบ่งออกตามเพศโดยกำเนิดได้ดังนี้
• ทารกเพศชายวัย 10 เดือน สูงประมาณ 73.3 เซนติเมตร
• ทารกเพศหญิงวัย 10 เดือน สูงประมาณ 71.5 เซนติเมตร
เด็กวัย 10 เดือนนี้ สามารถกินอาหารได้หลากหลายมากค่ะ อีกทั้งคุณพ่อคุณแม่ยังเริ่มที่จะทำเป็นเมนูต่าง ๆ ได้บ้างแล้ว เช่น พาสต้า โจ๊กสำหรับทารก ซุป ข้าวบดกับผักหรือผลไม้
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรจะเปลี่ยนเมนูใหม่ ๆ ทุก ๆ 3-4 วัน เพื่อไม่ให้ลูกเบื่ออาหารได้ง่ายค่ะ
เด็ก 10 เดือน กินอะไรได้บ้าง? ต้อใช้คำว่าเยอะมากค่ะ เด็กวัย 10 เดือนนี่ถือว่าพร้อมสำหรับการกินอาหารที่หลากหลายมาก ๆ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ เด็กเริ่มที่จะกินได้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องคอยบดละเอียดอีกต่อไป สามารถหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีคำให้เด็กสามารถถือกินได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น อะโวคาโด กล้วย บลูเบอร์รี่ ลูกพีช มันฝรั่งต้มสุก มันเทศต้มสุก แครอทต้มสุก ถั่วเขียว พาสต้า เต้าหู้ เนื้อไก่ ไข่ เป็นต้น
แล้วเด็ก 10 เดือน กินข้าวกี่มื้อกันล่ะ? เด็ก 10 เดือนควรได้กินข้าว 3 มื้อต่อวันค่ะ และยังสามารถเสริมด้วยมื้อว่างได้อีก 2 มื้อ เพื่อให้เด็กได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม ควรเน้นอาหารที่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันดี อย่างเพียงพอในแต่ละวันด้วยนะคะ
เด็กวัย 10 เดือน ก็ยังสามารถที่จะกินนมแม่และนมผงควบคู่ไปกับมื้ออาหารต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยเด็ก 10 เดือนควรได้รับนมประมาณ 24 - 30 ออนซ์ต่อวัน ประมาณ 3 - 4 ครั้งต่อวัน
ช่วง 2-3 ปีแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการของเด็ก และการให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ เด็กต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อการเจริญเติบโตในทุกๆ ด้าน และนมมีบทบาทสำคัญในช่วงนี้ MFGM เป็นหนึ่งในสารอาหารที่มีคุณค่าที่พบในน้ำนมแม่ มีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็ก โดยเฉพาะพัฒนาการ 3 ด้านที่สำคัญ คือ สมอง ภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่าย MFGM ช่วยพัฒนา IQ และ EQ ของเด็ก รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดโอกาสที่จะติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนในเด็ก | ![]() |
ทารกวัย 10 เดือน แน่นอนค่ะว่าสามารถกินอาหารอื่น ๆ ควบคู่ไปกับนมแม่และนมผง อัตราความถี่ในการอุจจาระก็อาจจะเพิ่มมากขึ้น ลักษณะอุจจาระ รวมถึงสีของอุจจาระ ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามอาหารที่กิน จากที่เมื่อก่อนจะเป็นอุจจาระจากการกินนมแม่แค่เพียงอย่างเดียว
สุขภาพของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกันค่ะ ดังนั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องยากที่จะเจาะจงว่าเด็กวัย 10 เดือนจะขับถ่ายวันละกี่ครั้ง อาจจะเป็น 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง หรือ 4-6 ครั้งต่อวันก็ได้เช่นกันค่ะ
อุจจาระปกติควรจะเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้ม แต่ในช่วงวัย 10 เดือนนี้ คุณแม่อาจะเริ่มสังเกตว่าสีอุจจาระของลูกบางครั้งก็เปลี่ยนไป โดยบางครั้งอาจมีสีเขียวออกมาด้วย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้และไม่ใช่เรื่องผิดปกตินะคะ เพราะเด็กวัยนี้เริ่มกินอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนมแม่ได้มากขึ้นแล้ว สีของอุจจาระ อาจแปรเปลี่ยนไปตามผักและผลไม้ที่ทารกกินเข้าไปได้ค่ะ
แต่ถ้าหากทารกมีอุจจาระสีดำ อุจจาระสีแดง อุจจาระสีขาว และอุจจาระสีเทา ถือว่าเป็นสัญญาณอันตราย ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ
การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และแข็งแรง จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพาลูกน้อยเข้านอนให้เหมาะสม
เด็กวัย 10 เดือน ควรจะนอนให้ได้ประมาณ 13 - 15 ชั่วโมงต่อวัน แบ่งเป็นนอนตอนกลางวัน 3 - 4 ชั่วโมง โดยให้เด็กได้นอนงีบ 2 ครั้งต่อวัน คือช่วงสายและช่วงบ่าย และนอนตอนกลางคืนอีก 11 - 12 ชั่วโมง
พัฒนาการทารก 10 เดือนนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าลูกมีพัฒนการที่เพิ่มขึ้น ลูกวัย 10 เดือนเริ่มแสดงความเป็นตัวเองให้เห็นชัดเจน เพราะเขาเรียนรู้แล้วว่า ตัวเขาก็เป็นคนคนหนึ่งเช่นเดียวกับสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านที่ทำอะไรๆ ได้เหมือนกัน... มาดูพัฒนาการของลูกน้อยเดือนนี้กันค่ะ
• การแสดงอารมณ์ของลูกค่อนข้างโดดเด่นและชัดเจน เริ่มแสดงความเป็นตัวเองให้ใคร ๆ เห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะดีใจ โมโห โกรธเกรี้ยว หรือปฏิเสธ
• ลูกเริ่มตระหนักถึง “การยอมรับ” และ “ไม่ยอมรับ” จากคนอื่น ๆ รู้ว่าถ้าทำแบบนี้แม่ไม่ชอบ ทำแบบนี้จะได้รับคำชมเชย ซึ่งลูกยังต้องการการยอมรับจากสังคมเวลาทำอะไรใหม่ ๆ ได้ก็จะชอบแสดงออกเพื่อให้คนปรบมือให้ แต่ถ้าไม่มีใครสนใจ เขาก็จะเรียกร้องความสนใจทันที
• หากที่ผ่านมาลูกได้รับความรักและเวลาในการเอาใจใส่ดูแลจากคุณพ่อคุณแม่เต็มที่ เขาจะแสดงออกซึ่งสิ่งที่เขาได้รับกับตุ๊กตาตัวโปรด
• ลูกชอบเลียนแบบท่าทางที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่นหากที่ผ่านมาคุณแม่กอดหอมลูกแล้วบอกว่า รักจัง ๆ ลูกก็จะทำแบบที่เวลาเราบอกว่า รักกันทำยังไง หรือถ้าอยู่ในอารมณ์เศร้า ก็ทำหน้าเบ้ เป็นต้น
• เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงคำต่าง ๆ กับท่าทางได้บ้างแล้ว เช่น ส่ายหัวหรือสั่นหัวกับคำว่า “ไม่” โบกมือ หมายถึง “บ๊ายบาย” การเอามือแตะปาก หมายถึง “ส่งจูบ” เป็นต้น
• วัยนี้เป็นนักเลียนแบบ และเขาพร้อมจะพูดตามเราได้ หากเราพูดเป็นคำ ๆ ช้า ๆ และชัด ๆ ให้เขาฟังบ่อย ๆ
• ลูกสามารถกะระยะความสูง-ต่ำ ได้ดีกว่าเดือนก่อน จึงทำให้กล้าที่จะปีนลงจากเก้าอี้หรือเตียงเอง
• ลูกเริ่มแยกลักษณะของมือทั้งสองข้าง เช่น มือซ้ายถือของ ส่วนมือขวาใช้จับสัมผัส ซึ่งการที่ลูกใช้มือซ้ายน้อยลงจะไปเพิ่มทักษะและความชำนาญมือขวามากขึ้น ทำให้คุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกถนัดใช้มือข้างไหน
• เมื่อลูกเริ่มตระหนักในความเป็นตัวเองมากขึ้น เราก็สามารถที่จะสอนให้ลูกรู้จักอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของลูกเรียกว่าอะไร เช่น นี่ปาก...นี่จมูก ...นี่หู...นี่ตา ฯลฯ โดยชี้ที่ปากของลูกและบอกว่า นี่ปากของหนู อันนี้ปากของแม่ ค่อย ๆ สอน อีกหน่อยลูกจะจำได้เอง
• วัยนี้เรียนรู้จากการเลียนแบบ เช่น เวลาที่แม่ตักอาหารป้อน ลูกก็จะใช้ช้อนในมือตักอาหารป้อนคุณแม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าคุณแม่ค่อย ๆ เคี้ยวและกลืน ลูกก็จะจ้องมองปากของคุณแม่เพื่อดูว่าเคี้ยวยังไง นี่จึงเป็นโอกาสดีที่จะสอนให้เขาเลียนแบบสิ่งที่อยากให้เขาทำ เช่น สอนทำท่าบ๊ายบาย ธุจ้า ฯลฯ
• สนใจทดลองทำอะไรหลายๆ อย่าง เช่น ยกแก้วน้ำขึ้นมาเท แล้วคอยดูเวลาแม่เช็ดทำความสะอาดอย่างสนใจ พอเอาแก้วมาวางใหม่ ลูกก็จะเทแบบเดิมอีก เป็นการเรียนรู้ซ้ำ ๆ เพื่อดูผลของการกระทำ
• สนใจการเคลื่อนที่ของวัตถุมาก เช่น ถ้าสนใจลูกบอลที่กลิ้งอยู่ ก็จะสนใจมองและเล่นอยู่นานทีเดียว
• เดือนนี้พัฒนาการด้านร่างกายไม่ค่อยโดดเด่นนัก ส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะทบทวนทักษะที่เคยทำมาให้คล่องแคล่วและมั่นคงมากขึ้น เช่น นั่งได้ดีและสามารถเอี้ยวตัวไปหยิบของที่อยู่ด้านหลังได้โดยไม่ล้ม คลานขึ้นบันได ปีนขึ้นลงเก้าอี้ เกาะเดิน รวมไปถึงการหยิบ จับ เขย่า บีบ และถือสิ่งของต่าง ๆ
• คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกก้าวเดินได้เร็วขึ้นโดยการจับมือลูกไว้ทั้งสองข้าง (เป็นหลักยึดให้ลูก) ค่อยๆ หัดให้ลูกก้าวเท้าเดิน ไม่แนะนำให้ใช้รถหัดเดิน เพราะนอกจากไม่ช่วยพัฒนาการเดินแล้วยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อีก
• การที่เด็กได้เคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมอง ด้วย เพราะสมองจะทำงานได้ดีเมื่อประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ชิมรส และได้สัมผัสได้ทำงาน
การกระตุ้นพัฒนาการนั้นถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แข็งแรง และสมวัย คุณพ่อคุณแม่สามารถเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ทุกวัน ดังนี้
• จริงอยู่ค่ะที่เด็ดยังพูดไม่เป็นประสา แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้อพบยายามพูดกับลูกในทุก ๆ วัน พูดด้วยกันบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยพูดและเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ
• เสริมทักษะการเคลื่อนไหวด้วยเสียงเพลง เปิดเพลงหรือทำจังหวะต่าง ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนไหวตามจังหวะ ช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวดีขึ้นค่ะ
• ลองเอาของเล่นลูกไปซ่อน แล้วรับบทบาทสมมุติช่วยลูกหาของเล่น ว่าของเล่นชิ้นนี้อยู่ตรงไหนน้า ตรงนี้หรือเปล่าน้า เป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยได้ใช้ความคิดและการสังเกต
• ปล่อยให้ลูกมีอิสระในการเล่น คุณพ่อคุณแม่แค่คอยดูไม่ให้เกิดอันตรายเท่านั้นพอ เพื่อให้เด็กได้เริ่มใช้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องรู้สึกว่าถูกควบคุมให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแบบเดิม ๆ ทุกวัน
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 10 เดือน ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเสริมพัฒนาทักษะให้กับเด็กได้หลายด้าน ตั้งแต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ภาษา การสื่อสาร ตลอดจนอารมณ์และสังคม โดยของเล่นที่เหมาะกับเด็ก 10 เดือนก็มีด้วยกันหลายอย่างค่ะ เช่น
• ของเล่นที่มีการโต้ตอบ เช่น ของเล่นที่กดปุ่มแล้วจะมีเสียงพูดหรือเสียงดนตรี หนังสือนิทานแบบมีเสียง จะช่วยให้เด็กสนุกและผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งยังเป็นการฝึกพูดโต้ตอบไปในตัวด้วย
• ของเล่นที่มีการเคลื่อนไหว เช่น รถไขลาน รถบังคับ ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเคลื่อนไหวตาม ทำให้เด็กได้ออกกำลังกายมากขึ้น
• ของเล่นที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ตัวต่อ การต่อบล็อก จะช่วยกระตุ้นทักษะความคิดให้กับเจ้าตัวเล็กได้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังคือเรื่องของความไวค่ะ เพราะเผลอแป๊บเดียว ลูกอาจจะคว้าเอาของเล่นเข้าปากได้ โดยเฉพาะของเล่นชิ้นเล็ก ๆ ที่หากเด็กคว้าเข้าปาก อาจจะส่งผลเสียได้ ควรติดตามดูอย่างใกล้ชิดในเวลาที่ลูกเล่นของเล่นนะคะ
แม้ว่าเด็กจำเป็นจะต้องได้รับนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน แต่ก็ไม่ใช่แม่ทุกคนที่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะแม่บางคนอาจมีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล ซึ่งแพทย์ก็อาจจะแนะนำให้สลับนมแม่กับนมผง ดังนั้น เด็กบางคนจึงอาจกินนมผงมาตั้งแต่ช่วง 6 เดือนแรกแล้วค่ะ
ดังนั้น เด็ก 10 เดือนก็สามารถที่จะกินนมผงได้เช่นเดียวกันค่ะ โดยคุณแม่สามารถที่จะสลับให้นมแม่กับนมผงได้เช่นกันค่ะ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอในแต่ละวัน
ไม่มีผลไม้เฉพาะสำหรับเด็ก 10 เดือนหรอกค่ะ เด็กวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถแนะนำให้ลูกได้ลองกินผลไม้ชนิดใหม่ ๆ ได้ทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก เบอร์รีต่าง ๆ อะโวคาโด พีช แพร์ แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น เป็นต้น
แต่อาจจะต้องยกเว้นผลไม้บางอย่างที่แข็งเกินไป เพราะเด็กวัย 10 เดือนยังไม่สามารถเคี้ยวได้ละเอียดมากนัก จำพวก มะม่วงดิบ เกาลัด เป็นต้น หรือผลไม้ที่เป็นเม็ดและเสี่ยงต่อการติดคอ เช่น น้อยหน่า ทุเรียน สละ ระกำ ก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงให้ดีค่ะ
เด็ก 10 เดือน ยังไม่ยอมนั่ง หรือยังต้องคอยให้พ่อแม่ประคองลุกขึ้นนั่ง อันนี้ถือว่าเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติค่ะ เพราะช่วงเวลาที่เด็กจะเริ่มลุกขึ้นนั่งเองนั้นจะอยู่ระหว่างเดือนที่ 6-8 แต่ถ้าเข้าเดือนที่ 10 แล้วลูกยังไม่สามารถลุกขึ้นนั่งเองได้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ
เด็กควรจะคลานได้คล่อง หรือเริ่มคลานในช่วงเดือนที่ 10 ค่ะ แต่ถ้าหากเด็กยังไม่เริ่มคลาน ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติเสียทีเดียว บางทีลูกอาจจะเพิ่งมาเริ่มคลานเอาในเดือนที่ 10 ดังนั้นจึงอาจจะคลานได้ไม่คล่องนัก
แต่ถ้าพ้นจากวัย 10 เดือนไปแล้ว และยังไม่ยอมคลาน ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติใด ๆ ต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของลูกหรือไม่
วุ่นเส้นเป็นอาหารที่นิ่ม เด็ก 10 เดือนสามารถที่จะกินได้ค่ะ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดคอหรือสำลัก อาจจะต้องตัดวุ้นเส้นให้สั้นลงหน่อย เพื่อที่ลูกจะสามารถกินได้ง่ายขึ้นค่ะ
การเลี้ยงลูกวัย 10 เดือนนั้น เน้นกินให้อิ่ม นอนอย่างเพียงพอ และเสริมพัฒนาการให้กับลูกในทุก ๆ วัน ก็เพียงพอที่จะช่วยให้ลูกได้เติบโตอย่างสมวัยแล้วค่ะ โดยตารางเลี้ยงลูกวัย 10 เดือนเบื้องต้นนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้
• ให้ลูกได้กินอาหารครบทั้ง 3 มื้อ เสริมด้วยอาหารว่างอีก 2 มื้อ และอาหารในทุกมื้อควรจะครบสารอาหารทั้ง 5 หมู่
• เด็กวัย 10 เดือน ยังควรได้รับนมแม่และนมผงควบคู่ไปกับมื้ออาหารต่าง ๆ โดยเด็ก 10 เดือนควรได้รับนมประมาณ 24-30 ออนซ์ต่อวัน ประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน
• คอยดูแลให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ลูกน้อยวัย 10 เดือน ควรจะนอนให้ได้ประมาณ 13-15 ชั่วโมงต่อวัน แบ่งเป็นนอนตอนกลางวัน 3-4 ชั่วโมง ให้เด็กได้นอนงีบ 2 ครั้งต่อวัน คือช่วงสายและช่วงบ่าย และนอนตอนกลางคืนอีก 11-12 ชั่วโมง
Enfa สรุปให้: ทารกเพศชายวัย 6 เดือน หนักประมาณ 7.9 กิโลกรัม สูงประมาณ 67.6 เซนติเมตร ทารกเพศหญิ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้: ทารกเพศชายวัย 7 เดือน หนักประมาณ 8.3 กิโลกรัม สูงประมาณ 69.2 เซนติเมตร ทารกเพศหญิ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้: ทารกเพศชายวัย 10 เดือน หนักประมาณ 9.2 กิโลกรัม สูงประมาณ 73.3 เซนติเมตร ทารกเพศหญ...
อ่านต่อ