Enfa สรุปให้เรื่องพัฒนาการเด็ก 2 เดือน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• น้ำหนักและส่วนสูงของทารกวัย 2 เดือน
• การกินของลูกน้อยวัย 2 เดือน
• การขับถ่ายของลูกน้อยวัย 2 เดือน
• การนอนหลับของลูกน้อยวัย 2 เดือน
• ทารก 2 เดือน เป็นแบบนี้ ปกติหรือผิดปกติกันแน่?
• พัฒนาการเด็ก 2 เดือน
• กระตุ้นพัฒนาการลูก 2 เดือนยังไงดี
• ของเล่นเสริมพัฒนาการ 2 เดือน
• ตารางเลี้ยงลูก 2 เดือน
• ไขข้อข้องใจเรื่องทารกวัย 2 เดือนกับ Enfa Smart Club
ทารก 2 เดือน ถือเป็นช่วงวัยที่มีความบอบบางสูง จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะ ต้องคอยดูแลทั้งเรื่องการกิน การนอน การขับถ่าย และการเล่น เพื่อดูแลให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทารก 2 เดือนที่สมบูรณ์และสมวัย สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านน้ำหนักและส่วนสูงของทารกวัย 2 เดือนนั้น จะมีความแตกต่างกันไปเล็กน้อยค่ะ เด็กแต่ละคนจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ทารกวัย 2 เดือนมีน้ำหนักและส่วนสูงที่เกินมาตรฐานที่ควรจะเป็น
พอลูกอายุได้ 2 เดือน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะนึกสงสัยกันอยู่ว่า เด็ก 2 เดือนหนักกี่กิโลกรัมกันนะ?
ซึ่งน้ำหนักของทารกวัย 2 เดือนนั้น สามารถแบ่งออกตามเพศโดยกำเนิดได้ดังนี้
ส่วนสูงของทารกวัย 2 เดือนนั้น สามารถแบ่งออกตามเพศโดยกำเนิดได้ดังนี้
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ด้านการกินของทารกแรกเกิดวัย 2 เดือน ยังไม่ควรที่จะกินอาหารชนิดอื่น ๆ ค่ะ เพราะระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารของทารกนั้นยังทำงานได้ไม่เต็มระบบ ดังนั้น แหล่งโภชนาการที่สำคัญที่สุดก็คือ นมแม่ และทารกควรจะได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานสูงสุด 2 ปี
นมแม่ถือเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับทารกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ซึ่งในนมแม่นั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญมากมายหลายชนิด ทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันที่มีส่วนช่วยให้ทารกแข็งแรง ทำให้ทารก 2 เดือนไม่เจ็บป่วยง่ายด้วย
โดยสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่เพื่อพัฒนาการเด็ก 2 เดือน เช่น
เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น ปริมาณนมแม่ต่อออนซ์ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แล้วแบบนี้ ทารก 2 เดือนกินกี่ออนซ์กันนะ?
สำหรับปริมาณนมแม่ในแต่ละวันที่เหมาะสมกับเด็กทารกวัย 2 เดือนนั้น คุณแม่ควรจะต้องให้ทารกกินนมครั้งละ 4-5 ออนซ์ ในทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงค่ะ
พัฒนาการทารก 2 เดือน ในเรื่องของการขับถ่าย ก็ถือเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตและเอาใจใส่อยู่เสมอนะคะ เพราะบางครั้งอุจจาระของทารกก็สามารถที่จะบอกถึงความผิดปกติได้เหมือนกัน
อย่างน้อย ๆ ทารกอาจจะถ่ายวันละ 1-2 ครั้งค่ะ แต่ก็จะไม่ค่อยตายตัว เพราะบางครั้งทารกก็อาจจะขับถ่ายประมาณ 3-4 ครั้ง หรือ 5-6 ครั้งต่อวันก็เป็นไปได้เช่นกันค่ะ
เด็กทารกที่กินนมแม่ จะมีอุจจาระเป็นสีเหลืองเข้มค่ะ ดังนั้น สีอุจจาระของทารกวัย 2 เดือน ก็จะเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองเข้มค่ะ เนื่องจากทารกในวัยนี้จะได้รับอาหารแค่เพียงนมแม่อย่างเดียวเท่านั้น
พอเห็นทารกไม่ถ่ายหลายวัน คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเป็นกังวลว่าทารก 2 เดือนท้องผูก ซึ่งจริง ๆ แล้วบางครั้งทารกก็อาจจะไม่ขับถ่ายเลยหลายวัน แต่ก็ไม่มีอาการผิดปกติอะไร ผ่านไปอีกไม่กี่วันก็กลับมาขับถ่ายได้ปกติ
ตราบเท่าที่อุจจาระของทารกยังนิ่มอยู่ แม้ว่าจะ 2-3 วันถึงจะถ่ายออกมาสักที ก็ยังถือว่าปกติค่ะ อุจจาระที่ผิดปกติของทารกคือ อุจจระที่เป็นก้อนแข็ง แห้ง และเบ่งออกยาก
แต่ถ้าหากทารก 2 เดือนไม่ถ่ายเลยเป็นสัปดาห์ หรือมากกว่า 1 สัปดาห์ อาจจะต้องลองพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยดูค่ะ ว่าลูกน้อยกำลังมีความผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือไม่
การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จช่วยให้พัฒนาการเด็ก 2 เดือนสมบูรณ์และแข็งแรง จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพาลูกน้อยเข้านอนให้เหมาะสม
จริง ๆ แล้วทารกวัย 2 เดือนก็จะมีช่วงเวลานอนไม่ต่างจากทารก 1 เดือนมากนักค่ะ โดยทารกช่วงอายุ 2 เดือน ควรจะนอนให้ได้ประมาณ 15.5-17 ชั่วโมงต่อวัน แบ่งเป็นนอนตอนกลางวัน 7-9 ชั่วโมง และนอนตอนกลางคืนอีก 8-9 ชั่วโมง
ทารก 2 เดือน แน่นอนว่าเวลาส่วนใหญ่ก็หมดไปกับการนอนอยู่แล้วค่ะ แต่บางครั้งทารกก็อาจจะนอนนานเกินไปหน่อย ซึ่งถ้าเป็นตอนกลางคืนก็อาจจะไม่ค่อยน่ากังวลนักค่ะ การที่ทารกนอนกลางคืนได้เพียงพอนั้นถือว่าเป็นข้อดี เพราะทารกจะได้นอนหลับอย่างเต็มอิ่ม คุณพ่อคุณแม่ก็ถือว่าได้พัก เพราะทารกไม่ร้องไห้โยเยรบกวนกลางดึก
แต่ถ้าเป็นตอนกลางวัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยดูให้ลูกน้อยวัย 2 เดือนนอนไม่เกิน 7-9 ชั่วโมงค่ะ เพราะถ้าหากนอนมากเกินไปกว่านั้น อาจจะทำให้เด็กไม่ยอมหลับในตอนกลางคืน หรือหลับยาก อาจส่งผลเสียต่อตารางการนอนหลับของเด็กได้ค่ะ
เด็ก 2 เดือน มีพฤติกรรมและพัฒนาการตามวัยหลายอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต บางอย่างอาจเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการเด็กในวัยนี้ แต่บางอย่างก็อาจจะเป็นสัญญาณความผิดปกติที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือรับการรักษา
ทารก 2 เดือนหายใจครืดคราด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการหวัด เสมหะอุดตัน เป็นโรคภูมิแพ้ กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง กรดไหลย้อน หรือดื่มนมมากจนเกินไป
อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการหายใจครืดคราดของทารก ก็อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อที่ปอด โรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
ดังนั้น หากอาการหายใจครืดคราดของทารกทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวล ควรหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอาการหายใจครืดคราดของทารกค่ะ
ทารก 2 เดือนดูดนิ้ว อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้สึกว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่อยากให้ลูกทำ แต่จริง ๆ แล้วสำหรับเด็กวัยแค่เพียง 2 เดือนนั้น การได้อมหรือดูดนิ้วตัวเองนั้น ถือเป็นความสุขใจอย่างหนึ่งค่ะ แล้วก็ถือเป็นเรื่องปกติด้วย การดูดนิ้วจะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสงบค่ะ และอาการแบบนี้เมื่อโตขึ้นก็จะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล
อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่กลัวว่าลูกจะได้รับสิ่งสกปรกหากว่ามือเปื้อนหรือไม่สะอาด ก็อาจจะทดแทนด้วยการใช้จุกนมปลอมแทนก็ได้นะคะ จุกนมปลอมจะดีกว่าจุกหลอกเพราะสามารถเลิกได้ง่ายกว่า แต่เวลาให้ลูกใช้จุกนมปลอม อย่าลืมทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังใช้งานให้เรียบร้อยด้วยนะคะ เพื่อป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียต่าง ๆ
ทารก 2 เดือนงอแง ถือว่าเป็นเรื่องปกติของทารกวัยนี้ค่ะ บางครั้งเด็กก็อาจจะร้องไห้งอแงเพราะหิว หรือไม่สบายตัว อากาศที่ร้อนไป เย็นไป หรือแมลงสัตว์กัดต่อย กินนมเยอะมากจนเกินไป การนอนคว่ำหน้าลง และอาการไม่สบายตัวต่าง ๆ ก็สามารถให้ทารกร้องไห้งอแงได้
อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการงอแงของทารกวัย 2 เดือน ก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนหัวค่ำหรือกลางคืน แม้ว่าจะให้กินนมแล้ว หรือพยายามแก้ไขหลายวิธีก็แล้ว ทารกก็ยังอแงอยู่ ต้องใช้เวลาปลอบนานกว่าปกติ กรณีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าทารกมีอาการโคลิคค่ะ ซึ่งโคลิคก็ไม่ถือว่าเป็นปัญที่ร้ายแรงนะคะ เมื่อทารกเริ่มโตขึ้นอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเองได้ค่ะ
ทารก 2 เดือนเล่นน้ำลาย อาจเป็นไปได้ทั้ง 2 กรณีค่ะ กล่าวคือโดยหลักแล้วอาการน้ำลายไหลของทารกนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ ไม่นานก็หายไปเอง
แต่บางครั้งอาการน้ำลายไหลยืด ก็อาจเป็นพลพวงมาจากความผิดปกติอื่น ๆ ด้วย เช่น การสบของฟันผิดปกติ ทารกมีแผลในปาก กล้ามเนื้อรอบปากไม่แข็งแรง ทารกติดการใช้จุกหลอก หรืออาจเป็นความผิดปกติของระบบประสาท
หากเป็นกังวลว่าอาจจะเป็นสัญญาณความผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ได้ค่ะ
ทารกอายุ 2 เดือน แม้ว่าจะหมดเวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินและการนอนอยู่ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธว่าทารกวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่มากขึ้นกว่าเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะสังเกตเห็นพัฒนาการทารก 2 เดือน ได้ ดังนี้
• มีพัฒนาการด้านการจดจำ เช่น สามารถจดจำเสียง และใบหน้าคุณแม่ได้อย่างแม่นยำ
• มีการมองเห็นที่ดีขึ้น และเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ปากสำรวจสิ่งต่าง ๆ เช่น ดูดนิ้ว
• การหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ เป็นไปตามการสั่งการของสมอง มากกว่าปฏิกิริยาอัตโนมัติ ลูกสามารถรับประสาทสัมผัสได้มากกว่า 1 อย่าง เช่น ลืมตาไปพร้อม ๆ กับดูดนมแม่
• สามารถเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ ได้ เช่น หากได้ยินเสียงแม่ก็จะหยุดร้องไห้ หรือขณะที่กำลังดูดนิ้วเพลิน ๆ แล้วแม่อุ้มขึ้นเพื่อจะให้นม ลูกก็จะเอานิ้วออกจากปากได้ทันที
• การเคลื่อนไหวแขนขาของลูกนุ่มนวลขึ้น อาจจะมีกระตุกบ้างแต่ก็น้อยลง
• หากจับนอนคว่ำ สามารถยกศีรษะได้ 45 องศาเพียงชั่วครู่
• เมื่อจับนอนหงายเด็ก 2 เดือน จะพยายามยกศีรษะ
• เวลาจับนั่งจะพยายามยกศีรษะขึ้น แต่ยังโยกเยกอยู่
• พยายามคว้าจับสิ่งของ และนำเข้าปาก เช่น คว้ามืออีกข้างได้ ก็เอามาดูดเล่น
• พัฒนาการทารก 2 เดือน กล้ามเนื้อมือแข็งแรงขึ้น สังเกตได้จากการที่ลูกสามารถจับถือของได้นานขึ้น (ประมาณ 2 – 3 นาที)
• การเคลื่อนไหวของลูกจะดีขึ้นตามลำดับ หากได้ออกกำลังแขนขา ซึ่งทำได้ง่าย ๆ เช่น ขณะที่ลูกนอนหงาย ให้คุณแม่จับแขนลูกน้อยอย่างนุ่มนวลแล้วโยกไปทางซ้ายทีขวาที เพื่อให้ลำตัวและศีรษะได้เคลื่อนไหว หรือการจับลูกนอนคว่ำในยามตื่นเพื่อฝึกชันคอให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงเร็วขึ้น
• นอกจากเสียงร้องแล้ว เดือนนี้ลูกยังแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยการส่งเสียงอ้อแอ้ และเคลื่อนไหวร่างกาย แขน ขาร่วมด้วย
• ทารก 2 เดือน มักยิ้มให้กับคนคุ้นเคย และตื่นตัว (อยากคุยด้วย) เวลามีคนคุยด้วย
• สนใจฟังเสียงต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสดีที่คุณแม่จะพูดคุย อ่านนิทาน หรือเปิดเพลงบรรเลงให้ลูกฟังในระหว่างวัน เพื่อช่วยให้ลูกพัฒนาการสื่อสาร และอารมณ์ได้ดีขึ้น
• ลูกน้อยสามารถยิ้ม และส่งรอยยิ้มให้กับคนที่รู้จักได้ เช่น คุณพ่อ คุณแม่ หรือคนในครอบครัว
• ในช่วงอายุนี้ ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้ที่จะแสดงออกอารมณ์ ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็น หงุดหงิด, มีความสุข หรือตื่นเต้น
• เรียนรู้ที่จะสร้างความสุขให้กับตัวเอง เช่น การดูดนิ้ว
• ชอบจ้องมองที่ตัวบุคคลมากกว่าจ้องมองสิ่งของ
• สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้ากันได้ จากการกระทำของคนรอบข้าง เช่น คุณแม่กับนม เพราะคุณแม่มีหน้าที่ป้อนนม หรือคุณพ่อกับของเล่น หากคุณพ่อเล่นกับลูกด้วยของเล่น เป็นต้น
เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทารก 2 เดือนทางด้านภาษา และการเรียนรู้ คุณแม่หมั่นพูดคุย หรืออ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟัง การอ่าน และการพูดคุย จะทำให้ลูกน้อยคุ้นชินกับน้ำเสียงของคนในครอบครัว และยังช่วยในการจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย
การเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นจะต้องรอจนลูกโต หรือมีอายุครบปีก่อนถึงจะเริ่มได้ เพราะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ตอนที่ลูกยังแบเบาะได้เลยค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 เดือน ได้ง่าย ๆ ดังนี้
เสริมสร้างสมาธิ กระตุ้นการเรียนรู้
การฝึกให้เด็กมีสมาธิ ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้และการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กทารก 2 เดือนที่ดี ที่คุณแม่สามารถส่งเสริมลูกให้มีพัฒนาการนี้ได้ตั้งแต่ยังแบเบาะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ลูกมีสมาธิแบบเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เพราะโดยพัฒนาการทารก 2 เดือนแล้ว การที่เขาจะสามารถจ้องวัตถุได้ หรือหันไปหาเสียงที่เขาได้ยิน แค่เพียงนาทีสองนาที นั่นก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสมาธิที่เหมาะสมกับวัยของเขาได้แล้ว สมาธิของเด็กวัยนี้คือการนิ่ง จ้องมองสิ่งที่ตนสนใจได้ชั่วเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของพัฒนาการเด็ก2เดือน
ดังนั้น กิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสมาธิของพัฒนาการเด็ก 2 เดือนนี้จึงเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปที่คุณแม่ทำกับลูกในทุก ๆ วันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกได้ดูดนมแม่ การผสานสายตาระหว่างแม่ลูก ตาจ้องตา เนื้อแนบเนื้อ การร้องเพลงเห่กล่อม หรือแม้กระทั่งการนวดสัมผัส เหล่านี้ล้วนช่วยส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก2เดือนในการเสริมสร้างสมาธิ และปูทางลูกน้อยสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตได้แล้ว สำคัญที่ต้องอยู่ภายใต้บรรยากาศแห่ง “ความสุข” และ “ความสงบ” ด้วยค่ะ
ฝึกสายตา พัฒนาการเอื้อมคว้าด้วยโมบาย
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือน ในด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของลูก ขอแนะนำของเล่นง่าย ๆ ที่ช่วยพัฒนาสายตาและการเอื้อมคว้าให้ลูกอย่าง “โมบาย” พ่อแม่สมัยก่อนใช้โมบายคลาสสิกอย่างปลาตะเพียนสาน มาฝึกพัฒนาการลูก ซึ่งสมัยนี้โมบายปลาตะเพียนสานก็ยังนำมาใช้ได้ดีอยู่ หรือคุณแม่อาจจะใช้โมบายสีสันสดใสรูปต่างๆ มีเสียงดังกรุ๋งกริ๋งอยู่ด้วยแทนก็ได้
เพียงคุณแม่แขวนโมบายไว้ในเหนือเตียงหรือเปลที่ลูกนอนหรือเล่น ซึ่งลูกจะได้มองเห็นและสามารถเอื้อมมือคว้าจับเล่นได้ แล้วชวนลูกพูดคุย ชี้ชวนให้ลูกดูโมบาย บอกศัพท์หรือชื่อของสิ่งที่ลูกเห็น เช่น ปลา ลิง ช้าง ฯลฯ ซ้ำทุกครั้ง เพื่อให้ลูกได้รู้จักและจดจำ คุณแม่ลองค่อยๆ ยกโมบายให้สูงขึ้น แล้วใช้มือแตะโมบายให้แกว่งเพื่อเพิ่มความสนใจของลูกให้มากขึ้น ลูกจะพยายามเอื้อมมือคว้าโมบายดูบ้าง การใช้โมบายจึงมีประโยชน์หลายอย่าง ในการช่วยเสริมพัฒนาการทารก 2 เดือนของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี
กิจกรรมการเล่นแบบนี้ จะทำให้ลูกมีพัฒนาการเด็ก2เดือนที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างชัดเจน เพราะได้ฝึกการใช้สายตาในการมองวัตถุที่เคลื่อนไหว ฝึกการฟังเสียงดนตรีจากโมบาย และการที่ลูกเอื้อมมือจับโมบายนั้น ช่วยให้มือและสายตาของลูกประสานกันดีขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันต่อไปค่ะ
พูดคุยทักทาย ปูพื้นฐานภาษาให้ลูกน้อย
แม้ลูกยังเล็ก แต่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามการส่งเสริมพื้นฐานด้านภาษาและการสื่อสารของเขา เพราะการสื่อสารถือเป็นพัฒนาการทารก 2 เดือนที่สำคัญ คุณแม่จึงควรมีการพูดคุยกับลูก เช่น เรียกชื่อลูก พยักพเยิด ส่งเสียงทักทายลูก เช่น “จ๊ะเอ๋” “สวัสดีจ๊ะ...ลูก” สัมผัสเนื้อตัวลูกในขณะที่พูดคุย และแสดงท่าทางต่าง ๆ ประกอบคำพูดต่าง ๆ ขณะทำกิจกรรรม เช่น “อาบน้ำ...อุ๊ย...หนาวจังลูก” “มากินนมร้อน ๆ กันนะ” เป็นต้น
คุณแม่ควรทำสิ่งเหล่านี้กับลูกตลอดเวลา (ที่ลูกตื่น) อย่าได้ละเลย เพราะเห็นลูกยังพูดไม่ได้นะคะ ลูกพูดไม่ได้ แต่หากเรามองตาเขา จะเห็นว่าเขามองเราอยู่ตลอดเวลา ลูกรับรู้สิ่งที่คุณแม่พูดได้ค่ะ
กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้ลูกได้มีพัฒนาการทางภาษา พร้อมการได้ยินเสียง เขาจะค่อย ๆ เก็บข้อมูลคำศัพท์ที่เขาได้ยินและได้เห็นจากกิริยาประกอบ รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมให้ลูกได้มีพัฒนาการทารก 2 เดือนที่สมวัย
ตอบสนองลูกเมื่อร้องไห้ สร้างลูกฉลาดทางอารมณ์
พัฒนาการทางจิตวิทยาระบุว่า พัฒนาการช่วง 0-1 ปีนั้น เป็นช่วงของการพัฒนาทางด้านการรับรู้เชื่อใจ/ไม่เชื่อใจ (Trust VS. Mistrust) ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ว่าเมื่อทารกร้องเพื่อต้องการสิ่งต่าง ๆ และหากได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงที ทารกจะเกิดความเชื่อใจในพ่อแม่ และพัฒนาการอวัยวะต่าง ๆ ไปอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน หากทารกไม่ได้รับการตอบสนอง หรือได้รับการตอบสนองที่ช้า ทารกจะเกิดความคลางแคลงใจ ซึ่งการใส่ใจพัฒนาการทารก 1-2 เดือน จนถึง 1 ปีนั้นถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างลักษณะนิสัยเพื่อก้าวสู่ช่วงวัยอื่น ๆ ต่อไป
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการตอบสนองที่ดีที่สุดเมื่อลูกร้องไห้คือ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทะนุถนอม ลูกน้อยและคุณแม่สามารถสื่อสารถึงกันได้ทั้งสองฝ่าย คุณแม่ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะทำให้ทารกรู้สึกกังวลน้อยลงเวลาที่เขาต้องการอะไรในคราวต่อไป ทารกจะเรียนรู้ที่จะร้องไห้เท่าที่จำเป็น
การร้องไห้น่ารำคาญน้อยลง เพราะเขารู้แล้วว่าแม่จะต้องมาหาแน่ ๆ การเรียนรู้นี้ถือเป็นพัฒนาการเด็ก 2 เดือน ที่ลูกได้เรียนรู้จากการปฏิบัติของแม่โดยตรง ซึ่งแม่สามารถจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมของทารกเพื่อเขาจะไม่จำเป็นต้องร้องไห้บ่อย ๆ เช่น แม่จะให้ลูกอยู่ใกล้ ๆ ตัวถ้ารู้ว่าเขากำลังง่วงและใกล้หลับ
แม่จะเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อเสียงร้องเพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วตอนทารกยังเล็กและต้องการการดูแลใกล้ชิด หรือเมื่อเสียงร้องแสดงว่าสถานการณ์กำลังอันตรายจริง ๆ แต่การตอบสนองจะช้าลงเมื่อทารกโตขึ้นและเริ่มจะเรียนรู้ที่จะจัดการต่อสิ่งรบกวนได้ด้วยตัวเองค่ะ
แน่นอนค่ะว่าทารกวัย 2 เดือนตัวเล็กจิ๋วนี้ยังไม่สามารถที่จะลุกขึ้นมานั่งเล่นของเล่นอะไรได้มากมาย แต่อย่าลืมว่าเด็กวัยนี้ก็มีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้นและสามารถที่จะตอบสนองต่อของเล่นชิ้นต่าง ๆ ได้แล้ว เพียงแต่ของเล่นเหล่านั้นจะต้องเป็นของเล่นที่มีสีสันและมีเสียง เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้มีประสาทสัมผัสตอบโต้กับเสียงจากของเล่นที่ได้ยิน และเด็กวัยนี้ก็สามารถที่จะเอื้อมมือไปหยิบหรือจับของเล่นได้บ้างนิดหน่อยด้วย
โดยของเล่นเด็ก 2 เดือน ก็ยังคงเป็นรูปแบบเดียวกันกับทารกในวัย 1 เดือนค่ะ ได้แก่ของเล่นจำพวก
สิ่งสำคัญคือ ควรเลือกของเล่นที่มีความปลอดภัย ผลิตจากวัสดุที่ได้มาตรฐาน และเวลาเล่นจะต้องอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่เสมอ เพราะเด็กอาจจะเผลอหยิบของเล่นบางชิ้นเข้าปาก อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ค่ะ
ตารางการเลี้ยงลูกนั้น อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว แต่โดยพื้นฐานสำหรับเด็กทารกวัย 2 เดือนนั้น ก็จะไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่นักค่ะ เน้นสำคัญอยู่ที่กินให้พอ นอนให้พอ เพื่อให้ทารกได้มีพัฒนาการเด็ก 2 เดือนที่แข็งแรงและสมวัย
เป็นเรื่องปกติค่ะที่ทารกวัย 2 เดือนอาจจะไม่ถ่ายเลยเป็นเวลา 1-2 วัน หรือบางครั้งก็อาจนานถึง 3-4 วัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะนวดท้องเบา ๆ หรือพาทารกทำท่าปั่นจักรยาน เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ของทารกเกิดการเคลื่อนไหว อาจช่วยให้ทารกถ่ายออกมาได้
อย่างไรก็ตาม หากทารกไม่ถ่ายเลยมากกว่า 1 สัปดาห์เป็นต้นไป อาจจะต้องหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยและทำการรักษา เพราะบางครั้งลูกอาจจะมีอาการท้องผูก และแพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยในการขับถ่ายให้
การฝึกให้เด็ก 2 เดือนกินนมจากขวดนั้น อาจจะไม่สามารถทำได้ปุบปับค่ะ บางครั้งเด็กก็ติดที่จะกินนมจากเต้านมของแม่ ต้องค่อย ๆ ใช้เวลาสักระยะกว่าที่เจ้าตัวเล็กจะเริ่มชินกับขวนนมค่ะ
แต่วิธีหลัก ๆ ที่จะช่วยได้ก็คือ คุณแม่ต้องพยายามฝึกให้ลูกคุ้นชินกับจุกนมค่ะ โดยอาจจะเลือกจุกนมที่นิ่มเท่าหัวนมจริง ฝึกให้ลูกดูดขวดนมก่อนเวลาหิวนมจริง หรือพยายามให้ลูกได้หยิบจับ เล่นจุกนมบ่อย ๆ ก็อาจจะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับจุกนมได้ง่ายขึ้น และยอมกินนมขวดในที่สุดค่ะ
ในแต่ละวันทารกวัย 2 เดือนควรจะต้องได้กินนมแม่ครั้งละ 4-5 ออนซ์ ในทุก ๆ 3-4 ชั่วโมงค่ะ หากวันไหนทารกเริ่มกินได้น้อยลง หรือกินน้อยลงติดต่อกันตั้วแต่ 1-2 วันขึ้นไป อาจจะต้องหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยดูว่าทารกกำลังมีความผิดปกติอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถกินนมได้ตามปกติหรือเปล่า
ธรรมชาติของพัฒนาการเด็ก 2 เดือนแต่ละคนนั้นย่อมจะมีความแตกต่างกันอยู่แล้วค่ะ เด็กบางคนก็เลี้ยงง่าย ไม่งอแงเลย เด็กบางคนอาจจะร้องงอแงบ่อย
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะต้องระลึกเอาไว้เสมอก็คือ เด็กร้องไห้จะต้องมีสาเหตุ ตรวจดูให้แน่ใจว่าลูกมีไข้ไหม ไม่สบายหรือเปล่า กินนมเยอะจนอึดอัดท้องไหม แมลงสัตว์กัดต่อยไหม อากาศร้อนหรือเย็นเกินไปหรือเปล่า หรือลูกได้รับบาดเจ็บตรงไหนหรือไม่
หากว่าลองพยายามหาสาเหตุแล้วก็ไม่พบสิ่งผิดปกติ และพยายามปลอบลูกให้นิ่งแล้วก็ยังไม่ค่อยได้ผล แถมยังหมดแรงก่อนที่ลูกจะนิ่งเสียอีก คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือเปล่า ตลอดจนอาจจะขอคำแนะนำในการปลอบลูกเวลางอแงด้วย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
Enfa สรุปให้ ทารกสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่แรกคลอด แต่จะยังไม่สามารถมองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างชั...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกแรกเกิดแม้จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินนมและนอนหลับ แต่เด็กวัยนี้ก็พร้อมสำหรับขอ...
อ่านต่อพัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 เดือน ด้านการเรียนรู้ ทารกแรกเกิดวัย 3 เดือนนั้นจะมีประสาทสัมผัสต่อผ...
อ่านต่อ