หยุดให้ลูกกินนมแม่เมื่อไหร่ดีนะ? เป็นคำถามที่พบบ่อยสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่ายิ่ง ลูกกินนมแม่ นานเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะติดกินนมจากคุณแม่มากเท่านั้น ดังนั้นในบทความนี้เราจึงมีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ช่วยให้ลูกน้อยหย่านมได้ง่ายขึ้น พร้อมด้วย เมนูอาหารทารกอายุ 8-9 เดือน ที่คุณแม่มือสามารถทำได้ง่ายมาฝากกันค่ะ
การกินนมแม่ มีความสำคัญอย่างไร
การที่คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจะสร้างความผูกพันระหว่างแม่ลูกมากมาย อาจเพราะในระหว่างให้นมนั้นตาของคุณแม่และลูกน้อยก็จ้องกัน มือน้อย ๆ ของลูกก็จับมือของคุณแม่ ยิ่งทำให้สานสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกแนบแน่นกว่าเดิม
นอกจากนี้ การกินนมแม่ ยังหมายถึง การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกอีกด้วย โดย องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารที่เหมาะสมมากมาย ที่จะทำให้ลูกมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้น
เพราะฉะนั้นหากต้องการให้ลูกหยุดกินนมแม่ เลยทันทีอาจดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก และเมื่อเวลาที่ลูกหยุดดูดนมแม่นั้นก็ดูน่าสงสารเสียเหลือเกิน ระยะเวลาที่ควรให้ลูกหย่านมทั้งนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมของคุณแม่แต่ละท่าน แต่โดยส่วนมากแล้วก็จะอยู่ในช่วงอายุ 2-3 ขวบ ส่วนวิธีที่ทำให้ลูกหย่านมแม่ได้นั้นก็มีหลายวิธี ซึ่งก็แล้วแต่เด็กแต่ละคนด้วยนะคะ บางคนใช้วิธีนี้ได้ บางคนใช้ไม่ได้ลองปรับเปลี่ยนกันดูนะคะ
ขั้นตอนในการหย่านมลูก
- ลดเวลาในการดูดนมของลูก
ระหว่างนมแม่ กับนมขวด ถ้าเป็นนมแม่-ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน ให้ลดเวลาในการดูดนมลงข้างละ 2-3 นาที เมื่อดูดน้อยลง น้ำนมก็จะสร้างน้อยลง ทำให้ไม่คัดเต้านม แล้วตามด้วยการให้ดื่มนมจากถ้วยแทน ถ้าลูกไม่ยอมดื่มนมจากถ้วย ให้หัดดื่มน้ำเปล่า หรือ น้ำผลไม้ก่อนก็ได้ - หัดให้ลูกดื่มน้ำจากถ้วย
คุณแม่ควรเริ่มหัดให้ลูกดื่มน้ำจากถ้วย ตั้งแต่อายุประมาณ 8-9 เดือน โดยน้ำจากถ้วยนับเป็นเมนูอาหารทารกอายุ 8-9 เดือนเมนูแรก ๆ ที่คุณสามารถหัดให้ลูกกินได้ อาจจะเริ่มน้อย ๆ ครั้งละ 1-2 ออนซ์ โดย ทำท่าการดื่มน้ำจากถ้วย ให้ลูกดูว่าจะดื่มน้ำจากถ้วยอย่างไร เพื่อให้ลูกได้เลียนแบบ คุณแม่อาจจะต้องให้เวลาในการอุ้ม หรือปลอบโยนเขามากขึ้น ในตอนที่เขาทำท่าจะร้องหานมแม่อีกในขณะที่คุณพยายามให้เขาได้ลองดื่มนมจากถ้วย อาจจะใช้ถ้วยหัดดื่มที่มีฝาปิด และ มีปากเล็กที่ทำให้เด็กดื่มได้ง่าย และไม่หกเลอะเทอะ โดยลองให้ดื่มน้ำเปล่าจากถ้วย วันละมื้อไปเรื่อย ๆ ใน 1-2 อาทิตย์ จนเด็กดื่มเป็นไม่หกมาก จึงค่อยใส่นม หรือน้ำผลไม้
- เริ่มต้นสร้างความคุ้นเคยด้วยการปั๊มนมแม่ใส่ขวด
ในกรณีที่คุณแม่ต้องการให้ลูกน้อยเลิกนมแม่ ในตอนที่ลูกยังอายุได้ไม่กี่เดือน (ก่อน 9 เดือน) เนื่องจากความจำเป็นบางประการ เช่น ต้อง กลับไปทำงานหรือ มีน้ำนมแม่ไม่พอ ก็ให้ใช้วิธีปั๊มนมแม่ใส่ขวด เพราะลูกคุ้นเคยกับกลิ่นและรสชาติของนมแม่ จะยอมรับได้ง่ายกว่าการเปลี่ยน เป็นนมขวดที่มีแต่นมผสมเลย และ ในเวลาต่อมาอาจจะให้นมแม่ผสมกับน้ำนมผสมที่ใช้ เพื่อให้เด็กได้นมในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเพียงพอกับที่เขาต้องการ
- ลดปริมาณและความถี่ในการดื่มนม
สำหรับการเลิกนมขวด ต้องค่อยเป็นค่อยไปเช่นเดียวกัน ก่อนให้เลิกนมขวดควรพยายามให้ลูกลองดื่มนมจากแก้วก่อน โดยลองเริ่มที่มื้อกลางวันก่อน เพราะตอนเช้าเด็กเพิ่งตื่น มักจะหิวไม่อยากลองอะไรใหม่ ๆ เมื่อเด็กทำท่าสนใจดื่มจากถ้วย ในตอนมื้อเที่ยงก็ให้ลองเริ่มให้ดื่มจากถ้วยในมื้ออื่น ๆ ด้วย โดยเหลือมื้อก่อนนอน เป็นช่วงสุดท้าย เพราะเด็กส่วนใหญ่จะยังต้องการดูดนม ในตอนที่ตนเองเริ่มง่วง เพื่อให้ได้ความสบายใจ และสามารถเข้านอนได้ ส่วนมื้อก่อนนอนก็ให้ ค่อย ๆ ลดปริมาณนมในขวดลงทีละ 1 ออนซ์ ทุก 3-4 วัน จนกระทั่งเลิกได้ในที่สุดวิธีการหย่านม ยังมีอีกหลายอย่างขึ้นอยู่กับคุณแม่เองด้วยค่ะ ว่าต้องการให้ลูกน้อยเลิกกินนมแม่เพราะอะไร แต่เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งคุณแม่ทุกคนก็ต้องให้ลูกหย่านมอยู่ดีค่ะ พยายามหาวิธีที่จะทำให้ลูกน้อยไม่รู้สึกว่าเราไม่รักแล้วนะคะ เพราะมีเด็กหลายคนที่คิดว่าคุณแม่ไม่รักแล้ว เลยไม่ยอมให้กินนมแม่อีก ให้รู้จักยกเหตุผลมาคุยกับลูกดีกว่า พูดบอกลูกบ่อย ๆ ว่าเพราะอะไรลูกจะเข้าใจได้เอง ทั้งหมดเป็นเพียงคำแนะนำและเกณฑ์คร่าว ๆ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ แก่คุณพ่อคุณแม่ ในการนำไปปรับใช้กับลูกน้อยของคุณนะคะ
เคล็ดลับในการดูแลลูกรัก หลังการหย่านม
คุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะกังวลว่า หากหย่านมแล้ว ลูก ๆ จะมีร่างกายที่แข็งแรง หรือมีภูมิต้านทานที่เพียงพอหรือไม่ แต่คุณแม่สามารถมั่นใจได้ว่าหากช่วงที่ ลูกกินนมแม่ ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เช่น การได้รับสาร ดีเอชเอ (DHA) 100 มิลลิกรัม ต่อวัน ก็จะทำให้ร่างกายของลูกก็จะสามารถสร้างภูมิต้านทานที่ดีขึ้นมาได้
สำหรับเมนูอาหารทารกอายุ 8-9 เดือน คุณประโยชน์ครบถ้วนที่คุณแม่มือใหม่สามารถเตรียมได้ง่ายๆ มีดังนี้
เต้าหู้หมูบด
วัตถุดิบ
- หมูสับ 1ถ้วย (เลือกแบบมันน้อย)
- เต้าหู้ถั่วเหลือง 1 หลอด
- แคร์รอตหั่นเต๋า 1 ช้อนโต๊ะ
- ถั่วลันเตา 1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
- หมูสับบด เติมรสด้วยซีอิ๊วขาว ปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ
- ต้มน้ำเดือดจากนั้นใส่เต้าหู้กับหมูสับปั้นก้อนลงไปต้มให้สุก จากนั้นตักขึ้นมาพักไว้
- ต้มแคร์รอต ถั่วลันเตา 10 นาที ให้ผักนิ่มๆ
- นำหมูสับมาวางบนเต้าหู้ที่ต้มแล้ว พร้อมเสิร์ฟ
โยเกิร์ตฟักทอง
วัตถุดิบ
- ลูกพรุนอบแห้ง 5 ผล
- โยเกิร์ตรสธรรมชาติ 1/4 ถ้วย
- ฟักทอง 1/2 ถ้วย
- นมแม่หรือนมที่ลูกดื่ม
วิธีทำ
- ปอกเปลีอกฟักทอง แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปนึ่งไฟแรง 10 นาที
- ใส่ลุกพรุนลงในหม้อนึ่งฟักทอง และนึ่งต่อไปอีก 3 นาที เพื่อให้ลูกพรุนโดนไอน้ำและพองตัวนิ่มขึ้น
- นำโยเกิร์ตลูกพรุนและฟักทองปั่นรวมกันหากหนืดมากให้เติมนมแม่ 2 ออนซ์
- ใส่นมแล้วพร้อมเสิร์ฟ หากเหลือแช่ตู้เย็น 3 วัน แช่ช่องเเข็งอยู่ได้ 4 เดือน
แซลมอนหมกไข่ (อายุ 1 ขวบบวก)
วัตถุดิบ
- ปลาแซลมอน
- ไข่ไก่
- ใบแมงลัก
- โชยุ 2 หยด (ใช้ตราเด็กสมบูรณ์แบบไม่ใส่สารกันบูด ไม่ใส่ผงชูรส และไม่แต่งกลิ่น)
วิธีทำ
- ตีไข่ให้แตก
- ใส่แซลมอนสับ
- ปรุงรสด้วยโชยุ 2 หยดเอากลิ่นนิด ๆ
- ห่อใบตองนำไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุก
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Enfa Smart Club วันนี้ เราพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลพัฒนาการและโภชนาการลูกน้อยจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด โปรโมชั่นดีๆ เฉพาะสมาชิกเท่านั้น
References