Enfa สรุปให้

  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรกินขนมใด ๆ ที่มีการปรุงรส แต่งกลิ่นหรือสี เพราะการบริโภคสารปรุงรสเหล่านี้ตั้งแต่ยังเล็ก สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวใด

  • เด็กที่เริ่มกินอาหารตามวัย ก็ไม่ควรกินอาหารที่มีการปรุงรส ข้าวบด เนื้อสัตว์บด ผักบด ผลไม้บด ธัญพืชบด หรือต้มสุก ถือว่าเหมาะสำหรับเด็กทารกวัย 6 เดือน - 1 ปี

  • เด็กที่กินขนมก่อนวัยอันควร และเด็กที่กินขนมมากเกินความจำเป็น อาจเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวานในเด็ก ไขมันอุดตัน หรือโรคหัวใจได้

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • ขนมเด็ก คืออะไร แบบไหนที่เรียกว่าขนมเด็ก
         • ขนมเด็กเล็ก จำเป็นไหม เด็กเริ่มกินขนมได้ตอนกี่ขวบ
         • ขนมสำหรับเด็กแต่ละวัย เป็นอย่างไร
         • ดูแลลูกให้กินขนมอย่างไรไม่ให้เสียสุขภาพ

    เมื่อลูกเริ่มกินอาหารตามวัย คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็พลอยนึกไปว่า พอลูกเริ่มกินข้าว เริ่มกินอาหารบดได้ งั้นก็คงจะสามารถกินขนมเด็กได้แล้วเหมือนกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นี่คือความคิดที่ผิด และเด็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ยังไม่ควรกินขนมหรืออาหารใด ๆ ที่มีการปรุงรสหรือแต่งกลิ่นและเลียนสีสังเคราะห์

    ขนมเด็ก คืออะไร แบบไหนที่เรียกว่าขนมสำหรับเด็ก


    ขนมของเด็ก อาจจะเป็นได้ทั้งคุกกี้ พาย ขนมสอดไส้ มันฝรั่งทอด เค้ก โดนัต ขนมกรุบกรอบ รวมถึงขนมที่มีรสหวาน ขนมเคลือบน้ำตาล ลูกอม อมยิ้มต่าง ๆ ซึ่งมักเป็นของว่างหรือขนมที่เด็ก ๆ ชอบกันเป็นชีวิตจิตใจ

    ขนมเด็กเล็ก จำเป็นไหม คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกงดขนมได้หรือไม่


    เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรกินขนมจำพวกขนมกรุบกรอบ ขนมปรุงรส ขนมที่เคลือบน้ำตาล เพราะไม่ได้ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กแต่อย่างใดค่ะ ทั้งยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาวจากการสะสมไขมันและน้ำตาลเกินพิกัด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    ลูกน้อยเริ่มกินขนมได้ตั้งแต่เมื่อไหร่

    ขนมเด็กทารก ที่บอกว่าทารกกินได้ คุณพ่อคุณแม่ควรระวังให้ดี เพราะสำหรับเด็กทารกที่อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ขนมหรือของว่างควรจะมีแค่ผักหรือผลไม้ต้มสุก หรือบดให้นิ่มแล้วเท่านั้น ส่วนพวกขนมอบกรอบ ขนมเคลือบน้ำตาล ขนมที่แต่งกลิ่นและเลียนแบบรสชาติ ควรหลีกเลี่ยงทั้งหมดจนกว่าลูกจะมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปจึงสามารถกินได้

    อย่างไรก็ตาม แม้ขนมเด็กจะปลอดภัยสำหรับเด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นจะต้องจำกัดปริมาณการบริโภคอย่างเหมาะสม เพราะถ้าหากปล่อยให้ลูกกินขนมเกินพอดี จะมีปัญหาต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น ฟันผุ น้ำหนักเกิน โรคอ้วน ไขมันอุดตัน ความดันโลหิตสูง เบาหวานในเด็ก เป็นต้น

    วิธีการเลือกขนมสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัยและความต้องการของลูก


    เด็กในช่วงวัยต่างกัน ควรได้รับขนมเด็กที่แตกต่างกัน เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่พอเพียงต่อการเจริญเติบโต และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและพิถีพิถันในการเลือกขนมมาเป็นของว่างให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพเรื้อรังในระยะยาว

    ขนมสำหรับเด็ก 6 เดือน

    เด็ก 6 เดือนแม้จะเริ่มให้อาหารตามวัยได้แล้ว แต่ก็ยังต้องกินนมแม่เป็นหลักอยู่ค่ะ ดังนั้น ขนมเด็ก 6 เดือนนี่ถือว่าไม่จำเป็นแต่อย่างใด และเด็กวัย 6 เดือน ก็ยังไม่ควรจะได้กินอาหารที่มีการปรุงรส แต่งกลิ่น หรือสีสังเคราะห์ เพราะไม่ใช่อาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกได้อีกด้วย 

    ขนมสำหรับเด็ก 7 เดือน

    เด็กวัย 7 เริ่มกินอาหารตามวัยได้หลากหลายขึ้น แต่ยังไม่จำเป็นจะต้องกินขนม หรือของว่างที่มีการใส่น้ำตาล มีการปรุงรส หรือแต่งกลิ่นเพื่อเลียนแบบรสชาติต่าง ๆ

    ขนมเด็ก 7 เดือน ยังไม่ควรให้เด็กในวัยนี้ค่ะ เพราะไม่ใช่อาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกได้

    ขนมสำหรับเด็ก 8 เดือน

    เด็ก 8 เดือนเริ่มกินอาหารตามวัยที่มีรสสัมผัสที่หลากหลายได้มากขึ้น ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ผักและผลไม้ไม่จำเป็นต้องบดให้ละเอียด แค่เพียงต้มสุกให้นิ่ม หรือบดพอหยาบก็เพียงพอแล้ว

    อย่างไรก็ตาม ขนมเด็ก 8 เดือน ยังไม่มีความจำเป็นและไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของลูก เด็กวัยนี้ควรได้กินอาหารตามวัยที่ประกอบไปด้วยผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืช ที่ต้มสุกจนนิ่มก็ถือว่าเพียงพอแล้วค่ะ

    ขนมสำหรับเด็ก 9 เดือน

    เด็กวัย 9 เดือน สามารถกินอาหารได้ 2 มื้อแล้วค่ะ แถมยังกินอาหารในปริมาณที่มากขึ้นและหลากหลายขึ้นด้วย แต่ขนมเด็ก 9 เดือน ยังไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กวัยนี้ เพราะยังไม่ควรกินอาหารที่มีการปรุงแต่งรสชาติ เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ค่ะ

    ขนมสำหรับเด็ก 10 เดือน 

    เด็ก 10 เดือน นมแม่จะไม่ใช่อาหารหลักอีกต่อไป เพราะเด็กวัยนี้สามารถกินอาหารครบ 3 มื้อได้เหมือนผู้ใหญ่แล้วค่ะ อย่างไรก็ตาม ขนมหรือของว่างสำหรับเด็กวัยนี้ ยังไม่ควรมีการปรุงแต่งรสชาติใด ๆ ทั้งสิ้นค่ะ ควรเป็นธัญพืชต้มสุก หรือผลไม้เนื้อนิ่มเท่านั้น

    ขนมสำหรับเด็ก 11 เดือน

    เด็กวัย 11 เดือน สามารถกินข้าวได้ 3 มื้อเหมือนกับผู้ใหญ่ และส่วนมากก็เริ่มหย่านมกันแล้ว นมแม่จึงเป็นเพียงอาหารเสริม ไม่ใช่อาหารหลักอีกต่อไป

    ส่วนขนมสำหรับเด็กวัย 11 เดือน ยังไม่ควรกินขนมใด ๆ ที่นอกเหนือไปจากผักหรือผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสที่นิ่มค่ะ ขนมที่มีการปรุงแต่งรสชาติ มีส่วนผสมของน้ำตาล ยังไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้

    ขนมสำหรับเด็ก 1 ขวบ ขึ้นไป

    ลูกอายุครบ 1 ขวบแล้ว แบบนี้ก็น่าจะกินขนมได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นขนมเด็ก 1 ขวบ ก็ยังไม่ควรให้เด็กได้กินค่ะ เพราะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรกินอาหารที่มีการปรุงแต่งรสชาติ ไม่ควรกินอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งอาจมีผลต่อพัฒนาการของเด็กได้

    ขนมสำหรับเด็ก 2 ขวบ ขึ้นไป

    เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถที่จะกินขนมที่มีการปรุงรสชาติได้ค่ะ เช่น บราวนี่ เค้ก โดนัท ป๊อบคอร์น ขนมกรุบกรอบต่าง ๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดปริมาณให้เด็กบริโภคได้แต่น้อย เป็นเพียงของว่างมื้อเล็ก ๆ เท่านั้น

    ไม่ควรให้ลูกได้กินบ่อยหรือกินเป็นประจำ เนื่องจากเด็กจะได้รับโซเดียมและน้ำตาลในปริมาณที่เกินความเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานในเด็ก ปัญหาสุขภาพช่องปาก เป็นต้น

    ขนมสำหรับเด็กอนุบาล

    ขนมเด็กอนุบาล ไม่ว่าจะเป็นมันฝรั่งทอด ขนมกรุบกรอบที่มีการปรุงรส ขนมเคลือบน้ำตาล เบเกอร์รีต่าง ๆ เด็ก ๆ สามารถกินได้ค่ะ

    แต่...ควรให้เด็กได้บริโภคแต่น้อย เพราะขนมเหล่านี้มักมีปริมาณโซเดียมและน้ำตาลสูง หากกินเข้าไปมาก ๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็ก ทำให้เด็กไม่แข็งแรง และเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังเช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือด เป็นต้น

    ขนมสำหรับเด็กแพ้นมวัว กรณีที่ลูกน้อยมีอาการแพ้นมวัว

    สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว คุณพ่อคุณแม่จะต้องตัดอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวออกไปให้หมด ไม่ว่าจะมีส่วนผสมมากหรือน้อย ทางตรงหรือทางอ้อม ก็ถือว่าเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกทั้งสิ้นค่ะ โดยเฉพาะอาหารจำพวกเบเกอรี ทั้งเค้ก บราวนี คุกกี้ มักใช้ส่วนผสมที่ทำมาจากนมวัว ควรจะต้องหลีกเลี่ยงให้ดี หรือเลือกเบเกอรีที่ใช้ส่วนผสมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมวัวในการปรุง

    หากคุณแม่และคุณพ่อยังไม่แน่ใจว่า ลูกน้อยมีอาการแพ้นมวัวหรือไม่ ก็สามารถสังเกตอาการแพ้นมวัว 14 อาการ ได้ดังนี้ 

    1. ร้องงอแงผิดปกติหลังกินนม หงุดหงิดเมื่อถึงเวลาให้นม
    2. แหวะนมหรืออาเจียน
    3. มีผื่นแดง
    4. ถ่ายมีมูกเลือด
    5. ผิวแห้งและอาจจะเป็นขุย
    6. คันบริเวณผิวหนัง
    7. บวมริมฝีปาก ใบหน้า หรือรอบดวงตา
    8. เรอบ่อยกว่าปกติ
    9. ท้องเสีย
    10. ท้องผูก
    11. ปวดท้อง ไม่สบายท้อง
    12. คัดจมูก หายใจมีเสียงวี้ด
    13. บางรายน้ำหนักตัวไม่ปกติ
    14. ความอยากอาหารลดลง

    แบบทดสอบความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้

    ขนมที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก vs ขนมที่เด็กๆ ชอบ บาลานซ์ยังไงไม่ให้ลูกงอแง


    เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถกินขนมได้ค่ะ แต่...ควรจะต้องคอยระวังให้ลูกกินขนมแต่พอดี ไม่บริโภคมากเกินไปจนกระทั่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยสามารถดูแลเรื่องอาหารการกินของลูกให้เหมาะสมได้ดังนี้

    • ให้ลูกได้กินอาหารครบทั้ง 3 มื้อ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่มีอาการหิวระหว่างวัน และต้องการที่จะกินขนมแทนข้าว

    • เพิ่มผลไม้สด หรือธัญพืชลงในมื้ออาหาร เพื่อเป็นทางเลือกของว่างที่ดีต่อสุขภาพ

    • เวลาเลือกขนมให้ลูก อ่านฉลากโภชนาการก่อนทุกครั้ง พยายามเลือกขนมที่มีการใส่สารปรุงรสในปริมาณที่น้อยลงมาหน่อย เพื่อลดความเสี่ยงของการบริโภคโซเดียม น้ำตาล และไขมันเกินพิกัด

    • พยายามไม่ซื้อขนมติดบ้าน เพราะถ้าลูกยิ่งเห็น ก็จะยิ่งอยากกิน หรือถ้าหากซื้อติดบ้าน ก็ควรจำกัดปริมาณให้น้อยลง

    • พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็นว่าขนมที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้สด ผลไม้อบแห้ง ก็อร่อยได้เหมือนกัน

    • ไม่จำเป็นต้องห้ามลูกกินขนม เพราะจะทำให้ลูกงอแงจนเสียสุขภาพจิตเปล่า และถึงห้ามที่บ้าน แต่เมื่อลูกอยู่ที่โรงเรียน ก็หนีไม่พ้นขนมสำหรับเด็กอยู่ดี แต่เปลี่ยนจากการห้าม มาเป็นการจำกัดปริมาณการกินขนม เช่น กินได้แค่วันละครั้ง หรือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

    คุณแม่ทราบกันหรือไม่ว่า กว่า 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง

    เด็กมักจะมีอาการไม่สบายท้องเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นท้องผูก ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นต้น ซึ่งอาการไม่สบายท้องเหล่านี้ จะทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้และการทำกิจกรรมในแต่ละวัน

    ดั้งนั้น เพื่อการเรียนรู้แบบไม่สะดุด นมแม่ถือเป็นสารอาหารล้ำค่า ที่ไม่เพียงจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด แต่ยังดีต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

    อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแนะนำโภชนาการที่เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของลูกน้อย

    โดยโภชนาการที่เหมาะสมอาจมีคุณสมบัติ มีโปรตีนผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) โปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน มีโมเลกุลขนาดเล็ก ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มคงตัว ไม่แข็ง ขับถ่ายได้ง่าย



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย