Enfa สรุปให้

  • เด็กทารกอายุ 9 เดือน จะต้องการพลังงานจากอาหารประมาณ 750 – 900 กิโลแคลอรี/วัน โดยจะได้รับพลังงานจากการนมแม่ประมาณ 400 – 500 กิโลแคลอรี/วัน

  • ในช่วงอายุ 9 เดือน เด็กทารกจะลดการกินนมแม่ลง และจะหันไปกินอาหารตามวัยเด็กทารกมากขึ้น โดนจะเพิ่มมื้ออาหารจากที่ก่อนหน้ากินอาหาร 1 – 2 มื้อ มากินอาหาร 3 มื้อ เหมือนกับผู้ใหญ่ แต่ยังคงกินนมแม่ควบคู่กับการกินอาหารเสริมตามวัย เฉลี่ยนการกินนมประมาณ 3 – 5 ครั้ง/วัน

  • การปรุงอาหารสำหรับเด็กทารก 9 เดือน สามารถปรับเนื้อสัมผัสอาหารให้มีลักษณะหยาบขึ้นได้ จากที่ก่อนหน้าเน้นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสเหลว หรือเหลวข้น โดยการปรุงอาหารไม่จำเป็นต้องบดละเอียดมากนัก เพื่อให้ลูกน้อยได้ลองฝึกเคี้ยว และสัมผัสเนื้อสัมผัสของอาหารนั้น ๆ


เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาหารเด็ก 9 เดือน ควรเป็นแบบไหน
     • ลูก 9 เดือน กินข้าวกี่มื้อ
     • ปริมาณอาหารสำหรับทารก 9 เดือน
     • ตารางอาหารสำหรับเด็กทารก 9 เดือน
     • เมนูเด็ก 9 เดือน
     • คำแนะนำในการเตรียมอาหารเด็ก 9 เดือน
     • ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารสำหรับเด็ก 9 เดือนกับ Enfa Smart Club

อีกไม่กี่เดือนก็จะ 1 ขวบแล้ว! คุณแม่คงเห็นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา อย่างที่ทราบกันดีว่า ในช่วงอายุนี้ ลูกน้อยสามารถรับประทานอาหารตามวัยเด็กทารก (Solid Foods) ได้มากขึ้นจากเดิม และกินอาหารได้หลายชนิดมากขึ้น ดังนั้นการเลือกสรรอาหารให้เด็กในช่วงนี้ จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเพื่อโภชนาการที่ดีต่อร่างกายของลูกน้อย

อาหารเด็ก 9 เดือนควรเป็นแบบไหน


อาหารสำหรับเด็ก 9 เดือน จะเริ่มเน้นไปที่อาหารตามวัยเด็กทารก (Solid Foods) มากขึ้น แต่ยังคงกินนมแม่ตามปกติเหมือนเช่นเดิม ซึ่งเด็กทารกในวัยนี้ต้องการพลังงานจากอาหารประมาณ 750 – 900 กิโลแคลอรี/วัน โดยจะได้รับพลังงานจากการนมแม่ประมาณ 400 – 500 กิโลแคลอรี/วัน

สำหรับเด็กทารก 9 เดือน จะสามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิด การได้ลองกินอาหารชนิดใหม่ ๆ จะช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกการลิ้มรส และรับรู้เนื้อสัมผัสของอาหารนั้น ๆ คุณแม่สามารถเริ่มให้ลูกน้อยได้ลองกินบางเมนูที่มีในมื้อของที่บ้านได้ รวมทั้งเน้นอาหารที่ประกอบไปด้วยสารอาหารเหล่านี้

          • โปรตีนจากเนื้อสัตว์
          • แร่ธาตุสังกะสี
          • ธาตุเหล็ก
          • กรดไขมันโอเมกา – 3
          • วิตามินดี

นอกจากจะต้องคำนึงถึงสารอาหารสำคัญที่ร่างกายของลูกน้อยต้องการแล้ว การปรุงอาหารให้อร่อย มีสีสัน และหน้าตาที่น่ารับประทาน ก็ช่วยให้ลูกน้อยเจริญอาหารได้ดีเช่นกัน รวมทั้งการปรุงอาหารให้มีเนื้อสัมผัสที่หยาบมากขึ้น แต่ยังคงมีลักษณะที่นิ่ม ไม่จำเป็นต้องบดละเอียดมาก เพื่อฝึกการเคี้ยว และเพิ่มพลังงานในอาหารให้กับลูกน้อย จากที่ก่อนหน้า จะเน้นรับประทานอาหารที่มีลักษณะสัมผัสเป็นใส เหลวละเอียด หรือเหลวข้น ตัวอย่างอาหารแนะนำสำหรับเด็ก 9 เดือน เช่น

          • ผลไม้: กล้วย ลูกแพร์ ลูกพีช สาลี่ แตงโต แคนตาลูป สตรอว์เบอร์รี

          • ผัก: บรอกโคลี แครอท ถั่วแขก มันหวาน ตำลึง ผักโขม

          • อาหารจำพวกโปรตีน: ไข่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา เต้าหู้

          • อาหารประเภทไขมันดี: อโวคาโด ปลา น้ำมันมะกอก เนยถั่ว

          • อาหารจำพวกธาตุเหล็ก: ไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ปลา ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

ลูก 9 เดือนกินข้าวกี่มื้อ


เคยสงสัยบ้างไหมคะว่า ทารก 9 เดือนกินข้าวกี่มื้อ? ยังคงกินเท่าเดิมเหมือนช่วงก่อนหน้าหรือไม่ สำหรับเด็กอายุ 9 เดือน จะยังคงกินนมแม่อยู่ แต่จะลดจำนวนการกินนมลงเหลือประมาณ 3 – 5 ครั้ง/วัน กินอาหารตามวัยเด็กทารก 3 มื้อ และสามารถให้ของว่างในมื้อเสริมเพิ่มเติมได้

ปริมาณอาหารทารก 9 เดือน


เด็กทารก 9 เดือน จะต้องการพลังงานจากอาหารในแต่ละวันประมาณ 750 – 900 กิโลแคลอรี/วัน ซึ่งจำนวนพลังงานนี้ ครอบคลุมทั้งจากการให้นมและอาหารตามวัยเด็กทารก เฉลี่ยประมาณนมที่ให้อยู่ที่ 16 – 30 ออนซ์/วัน และกินอาหารตามวัยเด็กทารก 3 มื้อ โดยปริมาณอาหารตามวัยเด็กทารก สามารถใช้หลักการปรุงอาหารต่อมื้อได้ ดังนี้

          • ใช้ข้าวสวย 4 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 2 ช้อนพูน ต้มกับน้ำแกงจืดหรือน้ำซุปประมาณครึ่งถ้วยตวง ต้มให้เปื่อยหรือบดพอหยาบ ๆ

          • ใส่ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่อ่อนนุ่มและกลิ่นไม่แรง 2 ช้อนโต๊ะ

          • ใส่อาหารประเภทโปรตีน เช่น ไข่ เลือด ตับ ปลา ไก่ หมู ประมาณ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ

          • เหยาะน้ำมันพืชประมาณครึ่งช้อนชา

นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถเสริมมื้อว่างให้กับลูกน้อยได้ ด้วยการให้กินของว่างจำพวกผลไม้หั่นหยาบ หรือผลไม้ที่มีลักษณะนิ่ม เคี้ยวได้ง่าย รวมถึงการให้ดื่มน้ำร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรสังเกตความต้องการของลูกน้อยว่า หิวหรือไม่ หรือว่าอิ่มแล้ว ไม่ควรบังคับให้กินอาหารหรือกินนม

ตารางอาหารลูก 9 เดือน


เมื่อลูกน้อยอายุ 9 เดือน จำนวนมื้ออาหารจะเปลี่ยนเป็น 3 มื้อ เหมือนกับผู้ใหญ่นั่นคือ มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น ประกอบกับการให้นมที่ยังคงให้ควบคู่กันไปกับมื้ออาหารปกติประมาณ 3 – 5 ครั้ง/วัน โดยคุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนการให้อาหารได้ตามตัวอย่างตารางด้านล่าง

ช่วงเวลา

ประเภทอาหาร

หลังตื่นนอน

- ให้นมแม่

มื้อเช้า

- อาหารเสริมตามวัย

ก่อนมื้อเที่ยง

- ให้นมแม่

มื้อเที่ยง

- อาหารเสริมตามวัย

ช่วงบ่าย

- ให้นมแม่

ก่อนมื้อเย็น

- ให้นมแม่

มื้อเย็น

- อาหารเสริมตามวัย

ก่อนนอน

- ให้นมแม่

 

อย่างไรก็ตาม เด็กทารกแต่ละคนอาจจะมีกิจวัตรประจำวัน รวมถึงความต้องการในการกินนมที่แตกต่างกันออกไป คุณแม่สามารถปรับเปลี่ยนการให้อาหารและนมในแต่ละมื้อตามความต้องการของลูกน้อย

เมนูเด็ก 9 เดือน ที่ทั้งอร่อยและเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี


เพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่ครบถ้วน นอกจากการเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญสำหรับลูกน้อยแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม คือการปรุงอาหารให้มีรสชาติที่อร่อย และมีสีสันหรือหน้าตาที่น่ารับประทาน ซึ่งจะสามารถช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยรับประทานอาหารได้ดีขึ้น หากคุณแม่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้ลูกน้อยกินดี เรามีเมนูดี ๆ มาฝากกันค่ะ

Enfa Kitchen สบายท้อง สมองดี

เมนูเพิ่มน้ำหนักลูก 9 เดือน

ข้าวต้มไข่ – ตำลึง

ข้าวต้มไข่ – ตำลึง

ภาพ: คู่มืออาหารตามวัยสำรับเด็กทารกและเด็กเล็ก

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวสวย            4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำแกงจืด          10 ช้อนกินข้าว
          - ไข่                   1/3 ฟอง
          - ตำลึง               2 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช          ½ ช้อนชา

วิธีทำ: ต้มน้ำแกงจืดให้เดือด ใส่ข้าวสวยลงไปต้ม คนให้เข้ากัน จากนั้นใส่ไข่ต้มบดหยาบลงไปต้มให้งวด ก่อนจะใส่ตำลึงหันหยาบลงไปต้มให้สุก รอให้ทุกอย่างเข้ากัน ตักเสิร์ฟพร้อมเหยาะน้ำมันพืช

ข้าวต้มปลาและแครอท

ข้าวต้มปลาและแครอท

ภาพ: คู่มืออาหารตามวัยสำรับเด็กทารกและเด็กเล็ก

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวสวย                                    4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำแกงจืด                                  10 ช้อนโต๊ะ
          - เนื้อปลาทะเล (แกะก้างออก)          1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - แครอท                                     2 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช                                  ½ ช้อนชา

วิธีทำ: ตั้งน้ำแกงจืดให้เดือด ใส่เนื้อปลาต้มสุกที่แกะก้างออกแล้วลงไปต้ม หลังจากนั้นใส่แครอทสับหยาบลงไปต้มให้สุก ก่อนจะใส่ข้าวสวยลงไป ต้มให้สุก คนให้เข้ากัน ยกเสิร์ฟพร้อมเหยาะน้ำมันพืชปิดท้าย

ข้าวต้มหมูสับ เลือดหมู และผักหวาน

ข้าวต้มหมูสับ เลือดหมู และผักหวาน

ภาพ: คู่มืออาหารตามวัยสำรับเด็กทารกและเด็กเล็ก

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวสวย            4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำแกงจืด          10 ช้อนโต๊ะ
          - หมูสับ              1 ช้อนโต๊ะ
          - เลือดหมู           ½ ช้อนโต๊ะ
          - ผักหวาน           2 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช          ½ ช้อนชา

วิธีทำ: ต้มน้ำแกงจืดให้เดือด จากนั้นใส่หมูสับหยาบและเลือดหมูหั่นลูกเต๋าลงไปต้มในน้ำแกงจืด รอให้สุก ก่อนจะใส่ข้าวสวยลงไปต้ม คนให้เข้ากัน และใส่ผักหวานหั่นหยาบ รอให้สุก ตักเสิร์ฟพร้อมเหยาะน้ำมันพืชปิดท้าย

ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง

ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง

ส่วนประกอบ:

          - ไข่ไก่               1 ฟอง
          - น้ำซุป              1 ถ้วย
          - แครอท             2 ช้อนโต๊ะ
          - ข้าวสวย            4 ช้อนโต๊ะ
          - หมูสับ              1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ: ตอกไข่ใส่ชาม ตีไข่ให้เข้ากัน ใส่หมูสับ แครอทสับหยาบ และข้าวสวย ตามด้วยน้ำแกงจืด คนให้เข้ากัน นำไปนึ่งให้สุก ยกเสิร์ฟ

ไข้าวโอ๊ตตุ๋นไก่สับและกะหล่ำดอก

ข้าวโอ๊ตตุ๋นไก่สับและกะหล่ำดอก

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวโอ๊ต            4 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำแกงจืด          10 ช้อนโต๊ะ
          - ไก่สับ               1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - กะหล่ำดอก       2 ช้อนโต๊ะ
          - น้ำมันพืช          ½ ช้อนชา

วิธีทำ: ตั้งน้ำแกงจืดให้เดือด ใส่ไก่สับลงไปต้มให้สุก หลังจากนั้นตามด้วยข้าวโอ๊ตและกะหล่ำดอกสับหยาบ ต้มให้สุก เหยาะน้ำมันพืช ตักเสิร์ฟ

เมนูเส้นสำหรับลูกน้อย 9 เดือน

สปาเก็ตตี้ไก่สับในซุปแครอทใส

สปาเก็ตตี้ไก่สับในซุปแครอทใส

ส่วนประกอบ:

          - เส้นสปาเก็ตตี้สุก             60 กรัม
          - น้ำแกงจืด                      10 ช้อนโต๊ะ
          - ไก่สับ                           1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - แครอท                         2 ช้อนโต๊ะ
          - ต้นหอม

วิธีทำ: ตั้งน้ำแกงจืดให้เดือด ใส่ไก่สับ ต้มให้สุก ตามด้วยแครอทหั่นเต๋า หรือหั่นหยาบ รอให้สุก จากนั้นตามด้วยเส้นสปาเก็ตตี้ต้มสุก สามารถตัดเส้นให้สั้นลงเพื่อให้ลูกน้อยเคี้ยวได้ง่ายได้ ต้มให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟ โรยหน้าด้วยพริกไทยและต้นหอม

ซุปมันฝรั่ง ไก่ และเส้นโซเมน

ซุปมันฝรั่ง ไก่ และเส้นโซเมน

ส่วนประกอบ:

          - เส้นโซเมนลวกสุก            60 กรัม
          - น้ำซุป                          10 ช้อนโต๊ะ
          - ไก่                               1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - มันฝรั่ง                         1 ช้อนโต๊ะ
          - แครอท                         1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ: ตั้งน้ำซุปให้เดือด ใส่ไก่สับหรือหั่นขนาดเต๋าลงไปต้มกับน้ำซุปให้สุก จากนั้นใส่มันฝรั่งและแครอทหั่นลูกเต๋าลงไปต้มให้นิ่ม รอให้เข้าที่ ตามด้วยเส้นโซเมนลวกสุกแล้ว ตัดเส้นให้สั้นลงเพื่อให้ลูกเคี้ยวได้สะดวก รอให้เข้ากัน ยกเสิร์ฟ โรยด้วยพริกไทยหรือต้นหอมเพิ่มเติมได้

ซุปมักกะโรนีหมูสับ

ซุปมักกะโรนีหมูสับ

ส่วนประกอบ:

          - เส้นมักกะโรนีต้มสุก         60 กรัม
          - น้ำซุป                          10 ช้อนโต๊ะ
          - หมูสับ                          1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - แครอท                         2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ: ต้มน้ำซุปให้เดือด ใส่หมูสับลงไป ตามด้วยแครอท รอให้สุก และใส่เส้นมักกะโรนีต้มสุก คนให้เข้ากัน รอให้เข้าที ตักเสิร์ฟ สามารถโรยพริกไทย หรือต้นหอมได้

เส้นใหญ่น้ำใสกับปลาแซลมอน

เส้นใหญ่น้ำใสกับปลาแซลมอน

ส่วนประกอบ:

          - เส้นใหญ่           60 กรัม
          - น้ำซุป              10 ช้อนโต๊ะ
          - ปลาแซลมอน     1 ½ ช้อนโต๊ะ
          - แครอท             2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ: นำเส้นใหญ่ไปลวกให้สุก พร้อมตัดเส้นให้มีขนาดเล็ก วางพักไว้ในชาม ต้มน้ำซุปกับปลาแซลมอนให้สุก ใส่แครอทตามท้าย รอให้เดือด ก่อนจะตักราดใส่เส้นใหญ่ที่ลวกไว้ก่อนหน้า โรยต้นหอมหรือพริกไทย

เกี๊ยวน้ำหมูสับและผักรวมมิตร

เกี๊ยวน้ำหมูสับและผักรวมมิตร

ส่วนประกอบ:

          - แผ่นเกี๊ยว
          - น้ำซุป
          - หมูสับ
          - แครอท
          - ข้าวโพด
          - ต้นหอม

วิธีทำ: นำหมูสับมาปรุงรส ผสมกับแครอท ข้าวโพด และต้นหอม จากนั้นตักห่อแผ่นเกี๊ยว ก่อนจะนำไปลวก เมื่อลวกสุกแล้ว ยกเสิร์ฟพร้อมน้ำซุป ตัดเกี๊ยวให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะป้อนให้ลูกน้อย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เมนูลูกเบื่ออาหาร 9 เดือน

ข้าวโอ๊ตและกล้วย

ข้าวโอ๊ตและกล้วย

ส่วนประกอบ:

          - ข้าวโอ๊ต
          - นมแม่
          - กล้วยน้ำว้า

วิธีทำ: นำข้าวโอ๊ตไปต้มให้สุก ก่อนนำมาผสมกับนมแม่ ฝานกล้วยน้ำว้าวางด้านบน สามารถใส่ผลไม้เพิ่มเติมอื่น ๆ ลงไปได้

โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต และผลไม้

โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต และผลไม้

ส่วนประกอบ:

          - โยเกิร์ต ชนิดไม่หวาน
          - ข้าวโอ๊ต
          - กล้วย
          - สตรอว์เบอร์รี

วิธีทำ: นำโยเกิร์ตผสมกับข้าวโอ๊ตที่สุกแล้ว คนให้เข้ากัน วางกล้วยและสตรอว์เบอร์รีหั่นเต๋า หรือฝานบางด้านบน

ไข่คน และขนมปังปิ้ง

ไข่คน และขนมปังปิ้ง

ส่วนประกอบ:

          - ไข่ไก่
          - พริกไทย
          - ต้นหอม
          - ขนมปังโฮลเกรน

วิธีทำ: ตีไข่และเหยาะพริกไทยเล็กน้อยให้เข้ากัน ก่อนจะนำใส่กระทะและคนจนไข่สุก ตักใส่จาน นำขนมปังโฮลเกรนไปปิ้งให้กรอบ ก่อนจะตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำลูกน้อย เสิร์ฟพร้อมไข่คน

ซุปผักใส่เต้าหู้

ซุปผักใส่เต้าหู้

ส่วนประกอบ:

          - เต้าหู้ขาว
          - แครอท
          - ตำลึง
          - น้ำซุป

วิธีทำ: ตั้งน้ำซุปให้เดือด ใส่แครอท เต้าหู้ และตำลึง รอให้สุก ตักเสิร์ฟ สามารถใส่ข้าว ผัก หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ เพิ่มเติมลงไปได้

อโวคาโต และไข่ต้ม

อโวคาโต และไข่ต้ม

ส่วนประกอบ:

          - อโวคาโดสุก
          - ไข่ต้ม

วิธีทำ: หั่นอโวคาโดออกเป็นชิ้นเล็ก ก่อนจะนำไปผสมกับไข่ต้มหั่นหยาบ และโรยพริกไทยเล็กน้อย

เมนูมันฝรั่งทารก 9 เดือน

มันฝรั่งบดและปลาแซลมอนอบ

มันฝรั่งบดและปลาแซลมอนอบ

ส่วนประกอบ:

          - มันฝรั่ง
          - ปลาแซลมอน
          - พริกไทย

วิธีทำ: นำมันฝรั่งไปต้มให้สุก ก่อนจะนำมาบด ปรุงรสด้วยพริกไทยเล็กน้อย นำปลาแซลมอนที่เอาก้างออกแล้ว ไปอบให้สุก ก่อนจะนำมาเสิร์ฟพร้อมมันบด

แพนเค้กมันฝรั่งผสมปลาและผัก

แพนเค้กมันฝรั่งผสมปลาและผัก

ส่วนประกอบ:

          - มันฝรั่ง
          - เนื้อปลาไม่มีก้าง
          - แตงกวา
          - แครอท
          - ไข่ไก่

วิธีทำ: นำมันฝรั่ง แตงกวา และแครอทมาหั่นหยาบ ก่อนจะนำมาผสมกับไข่ไก่ และใส่เนื้อปลาที่เอาก้างออกแล้ว ลงไปผสมให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยพริกไทยและเกลือเล็กน้อย ตั้งกระทะให้ร้อน ทาน้ำมัน จากนั้นตักส่วนผสมลงไปในกระทะ พลิกแพนเค้กไปมาจนสุก ตักเสิร์ฟ

มันฝรั่งอบกระเทียม

มันฝรั่งอบกระเทียม

ส่วนประกอบ:

          - มันฝรั่ง
          - กระเทียม
          - เนยจืด
          - พาร์สลีย์
          - เลมอน

วิธีทำ: นำมันฝรั่งหั่นขนาดลูกเต๋า และนำไปต้ม ใส่เกลือเล็กน้อย ต้มให้มันฝรั่งให้ไม่ต้องสุกมาก เทน้ำออก จากนั้นตั้งกระทะ ใส่เนยจืดลงไป รอให้ละลาย ตามด้วยกระเทียม ปรุงรสด้วยพริกไทย เกลือ เลมอน และพาร์สลีย์สับหยาบ คนให้เข้ากัน และนำไปคลุกกับมันฝรั่งที่ต้มไว้ก่อนหน้า คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนจะนำไปอบอีกรอบ รอจนสุก

คำแนะนำในการเตรียมอาหารให้ลูกน้อยวัย 9 เดือน


เพื่อให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนและหลากหลายในทุก ๆ มื้อ ควรปรุงอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นให้ลูกน้อยรับประทานอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง ผงชูรส และผงปรุงรส ไม่ควรปรุงอาหารให้มีรสหวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด เพราะไม่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย

นอกจากนี้ ยังควรจัดอาหารให้สมวัยตามช่วงอายุ เลือกวัตถุดิบสด ใหม่ และหาได้ง่ายในพื้นที่ รวมทั้งให้นมแม่ควบคู่กันไปพร้อมกับการให้อาหารตามวัยเด็กทารก

ไขข้อข้องใจเรื่องอาหารสำหรับเด็ก 8 เดือนกับ Enfa Smart Club


 ทําข้าวให้ลูก 9 เดือน ควรระวังอะไรบ้าง

สำหรับการทำอาหารให้ลูกน้อยวัย 9 เดือน ควรหลีกเลี่ยงการปรุงอาหารรสจัด เน้นให้ลูกน้อยรับประทานอาหารรสธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติม นอกจากนี้ ในช่วงอายุ 9 เดือน จะสามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิดมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในเด็กบางรายอาจจะพบอาการแพ้อาหารได้ ดังนั้นคุณแม่ควรเฝ้าระวังอาการแพ้อาหารของลูกน้อย หากพบว่าลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร เช่น มีผื่นแดง จาม ไอ มีน้ำมูก ท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรักษาอาการต่อไป

 ผักสําหรับทารก 9 เดือน ให้ลูกกินอะไรดี

ผักที่ลูกน้อยควรรับประทานในช่วงวัย 9 เดือนนั้น คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้ลองกินผักหลากหลายชนิด สลับหมุนเวียนกันไป เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้ลองสัมผัสรสชาติและเนื้อสัมผัสของผักชนิดต่าง ๆ ผักที่แนะนำสำหรับเด็ก 9 เดือน เช่น บรอกโคลี ถั่ว กะหล่ำดอก ผักโขม ถั่วแขก แครอท หน่อไม้ฝรั่ง อโวคาโด กะหล่ำปลี ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น



บทความแนะนำสำหรับการกินอาหารเสริมตามวัยทารก (Solid Foods)

MFGM เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก