Enfa สรุปให้

  • อาการแพ้โปรตีนนมวัว เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และต่อต้านกลุ่มโปรตีนในนมวัว ทำให้เมื่อเด็กดื่มนมวัวเข้าไปแล้วมีอาการแพ้ตามมา

  • เด็กที่แพ้โปรตีนนมวัว จะต้องงดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด และคุณแม่ก็ต้องงดนมวัวและอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวได้

  • การแพ้โปรตีนนมวัว ไม่ได้เกิดจากการดื่มนมวัวโดยตรงเท่านั้น เพราะถ้าแม่ดื่มนมวัวหรือกินอาหารที่ทำมาจากนมวัว เด็กก็จะได้รับโปรตีนนมวัวผ่านทางนมแม่เช่นกัน

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร
         • เด็กแพ้นมวัว ควรกินอะไรดี
         • เด็กแพ้นมวัว ดื่มนมอะไรได้บ้าง
         • แนะนำเมนูสำหรับเด็กแพ้ถั่ว

    แพ้นมวัว จัดว่าเป็นอาการแพ้อาหารที่พบได้บ่อยมาก และสามารถพบได้ตั้งแต่ในเด็กแรกเกิด ซึ่งอาการแพ้นมวัวในเด็กนี้ ไม่ได้หมายถึงเด็กที่ดื่มนมวัวแล้วมีอาการแพ้เท่านั้น แต่เด็กที่ดื่มมแม่ และแม่ดื่มมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัว ลูกน้อยก็จะได้รับโปรตีนในวัวผ่านทางนมแม่ด้วยเช่นกัน 

    อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว


    อาการแพ้นมวัว หรือจริง ๆ แล้ว ก็คือ อาการแพ้โปรตีนนมวัว เพราะเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ และต่อต้านกลุ่มโปรตีนในนมวัว ทำให้เมื่อเด็กดื่มนมวัว หรือกินนมแม่ แต่แม่ดื่มมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว ลูกน้อยก็จะได้รับโปรตีนในวัวผ่านทางนมแม่ และมีอาการแพ้ตามมา 

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัว เมื่อพบอาการดังต่อไปนี้หลังจากที่ลูกดื่มนมวัว หรือนมแม่ 

    • มีผื่นภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ 

    • มีผื่นลมพิษ 

    • ริมฝีปากบวม หรือมีผื่นขึ้นรอบปาก 

    • ใบหน้าบวม 

    • คัดจมูก 

    • น้ำมูกไหล 

    • ปวดท้อง  

    • คลื่นไส้ หรืออาเจียน 

    • มีอาการหอบ หายใจไม่ออก หายใจไม่สะดวก 

    เด็กแพ้นมวัว สามารถกินอะไรได้บ้าง มีอาหารประเภทไหนที่ควรหลีกเลี่ยง


    เด็กแพ้นมวัว ควรหลีกเลี่ยงอาหารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

    • นมวัว 

    • นมจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เช่น นมแพะ นมแกะ นมควาย 

    • นมผงสูตรต่าง ๆ ที่ไม่ได้ทำมาเพื่อเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว 

    • ผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต 

    • อาหารที่ทำมาจากวัตถุดิบซึ่งมีส่วนผสมของนมวัว เช่น ช็อคโกแลต โกโก้ ชานม เค้ก คุกกี้ พาย บราวนี่ พุดดิ้ง 

    อย่างไรก็ตาม แม้ลูกจะต้องหลีกเลี่ยงนมวัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร เพราะลูกยังสามารถได้รับแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นจากอาหารชนิดอื่น ๆ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ

    นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว สามารถดื่มอะไรทดแทนได้บ้าง


    สำหรับเด็กที่แพ้นมวัว แน่นอนแล้วว่าไม่สามารถที่จะดื่มนมวัวได้อีกต่อไปจนกว่าจะรักษาอาการแพ้โปรตีนนมวัวให้หายขาดเสียก่อน  

    อย่างไรก็ตาม เด็กยังสามารถดื่มนมชนิดอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น:

    • นมแม่ ถ้าหากยังอยู่ในช่วงกินนมแม่ คุณแม่สามารถให้นมลูกต่อไปได้เลย แต่คุณแม่จะต้องงดดื่มนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว 

    • นมสูตรเฉพาะสำหรับเด็กที่แพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต 

    • นมจากพืชอื่น ๆ เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมข้าวโพด เป็นต้น  

    10 เมนูแนะนำสำหรับเด็กแพ้นมวัว


    หากลูกมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว คุณพ่อคุณแม่จะต้องระวังไม่ให้ลูกดื่มนมวัวหรือกินอาหารที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากนมวัว มากไปกว่านั้น หากลูกน้อยยังกินนมแม่อยู่ คุณแม่ก็จำเป็นจะต้องงดดื่มนมและอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์นมวัวด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยได้รับโปรตีนนมวัวผ่านทางนมแม่

    และถ้าหากลูกเริ่มกินอาหารตามวัย (Solid Foods) แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถปรุงเมนูแสนอร่อยแบบไม่ต้องใช้นมวัวได้ ดังนี้

    1. ไข่ต้มบด 

     

    วัตถุดิบ: 

    • ไข่ต้มสุก 

    • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    วิธีทำ: ต้มไข่ให้สุกแล้วบดผสมกับนมแม่ บดให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตักเสิร์ฟ 

     

    2. ไข่บดผัก 

    วัตถุดิบ: 

    • ไข่ต้มสุก 

    • แคร์รอต 

    • ถั่วลันเตา 

    วิธีทำ: ต้มไข่ให้สุก ต้มผักให้สุก จากนั้นนำมาบดเข้าด้วยกันให้เป็นเนื้อเนียน เสร็จแล้วป้อนลูกได้เลยค่ะ 

     

    3. ถั่วลูกไก่บด 

    วัตถุดิบ: 

    น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    • ถั่วลูกไก่ 

    วิธีทำ: นำถั่วลูกไก่ไปปั่นในเครื่องปั่น เติมน้ำสะอาดหรือเติมน้ำนมแม่ลงไปผสมด้วย เมื่อเข้ากันดีแล้ว ตักเสิร์ฟค่ะ 

     

    4. โจ๊กหลายสหาย 

    วัตถุดิบ: 

    • ข้าวกล้องหุงสุก 

    • ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก 

    • เผือกหั่นชิ้นเล็ก 

    • น้ำซุปไก่ 

    • เนื้อปลานิลทอด 

    วิธีทำ: หุงข้าวกล้อง พร้อมกับเผือก ฟักทอง ลงไปต้มในน้ำซุปไก่ เมื่อทุกอย่างสุกแล้ว ตักขึ้นใส่ชาม ยีเนื้อปลาทูโรยหน้า ก็ตักป้อนลูกได้เลย 

     

    5. ข้าวต้มฟักทอง 

    วัตถุดิบ: 

    • ฟักทองต้มสุกจนนิ่ม 

    • ข้าวสวยหุงสุก 

    • น้ำสะอาด หรือนมแม่ 

    วิธีทำ: ต้มน้ำหรือนมแม่ให้เดือด จากนั้นใส่ข้าวสวยกับฟักทองลงไป คนเรื่อย ๆ จนฟักทองสุก ยกขึ้น และตักเสิร์ฟได้เลย 

      

    6. ข้าวบดไข่ใส่ฟักทอง 

    วัตถุดิบ: 

    • ข้าวสวยหุงสุก 

    • ฟักทองต้มสุก 

    • ไข่แดงต้มสุก 

    • เต้าหู้ไข่ลวกให้สุก 

    วิธีทำ: นำส่วนผสมทุกอย่างที่ต้มจนสุกแล้ว มาบดผสมให้เข้ากัน แล้วตักเสิร์ให้ลูกได้เลยค่ะ 

      

    7. ไข่ตุ๋น 

    วัตถุดิบ: 

    • ไข่ไก่ 

    • เห็ดต้มสุก 

    • อกไก่ต้มสุก 

    • ผักชีหั่นฝอยเล็ก 

    • น้ำซุป 

    วิธีทำ: ผสมไข่กับน้ำซุป จากนั้นหั่นส่วนผสมต่าง ๆ เป็นชิ้นเล็ก ๆ วางรองไปที่ถ้วย กรองไข่ด้วยกระชอนเพื่อให้เนื้อเนียนสวย แล้วนำไปนึ่งจนสุก พร้อมเสิร์ฟ 

     

    8. ข้าวบดผักรวม 

    วัตถุดิบ: 

    • ข้าวสวยหุงสุก 

    • ตำลึง 

    • ปวยเล้ง 

    วิธีทำ: นำผักมาหั่นและสับให้ละเอียด จากนั้นนำไปต้มกับข้าวให้สุก เคี่ยวจนเข้ากัน ตักเสิร์ฟ 

     

    9. ซุปครีมแคร์รอต 

    วัตถุดิบ: 

    • แคร์รอต 

    • บรอกโคลี 

    • เนื้ออกไก่ 

    • นมแม่หรือนมผงชง 

    • น้ำสะอาด 

    วิธีทำ: ตั้งน้ำและเติมนมลงไปต้มให้เดือด จากนั้นหั่นส่วนผสมทุกอย่างเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปต้มด้วยกันจนสุก เสร็จแล้วตักเสิร์ฟ 

     

    10. ไข่คน 

     

    วัตถุดิบ: 

    • ไข่ 

    • นมแม่ 

    วิธีทำ: ผสมไข่กับนมแม่แล้วตีเข้าด้วยกัน จากนั้นเทลงในกระทะ แล้วกวนไข่จนสุกได้ที่ ตักขึ้นพักให้อุ่น แล้วเสิร์ฟได้เลย 



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย