วันสำคัญของคุณแม่เต็มไปด้วยเรื่องน่าประหลาดใจเสมอ เรามาเตรียมพร้อมรับทุกเรื่องที่จะเกิดขึ้นจากคำแนะนำของคุณแม่ ที่ผ่านประสบการณ์การคลอดมาแล้วกันดีกว่า

แน่นอนว่าถึงจะเตรียมตัวมากเท่าไหร่ ก็คงต้องมีสักเรื่องสองเรื่องที่ทำให้ประหลาดใจได้เสมอ แต่หากคุณแม่เตรียมพร้อมมาแล้ว การแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็จะทำได้ง่ายกว่าการไม่ได้เตรียมพร้อมมาเลย

วันนี้เราได้รวบรวมคำแนะนำจากเหล่าคุณแม่ เพื่อการรับมือในวันที่สำคัญที่สุดของการตั้งครรภ์กัน

การคลอดไม่เหมือนกันในแต่ละคน

การคลอดที่เกิดขึ้นในละครนั้นดูเป็นเรื่องง่ายๆ เริ่มด้วยน้ำคร่ำแตก ฉากขับรถอย่างรวดเร็วมาที่โรงพยาบาล ฉากหายใจเข้า-ออกของนักแสดง และทันทีเด็กก็คลอดออกมา ดูง่ายๆ สบายๆ ดีจริงๆ แต่การเตรียมตัวรับมือการคลอดจริงๆ นั้น คุณแม่ควรเริ่มจากการตัดภาพเห็นในทีวีออกไป เพราะเหตุการณ์จริงไม่ง่ายขนาดนั้น คุณแม่บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่ากำลังเจ็บคลอดหลอกหรือเจ็บคลอดจริงกันแน่

  • ถุงน้ำคร่ำแตก : คุณแม่จำนวนไม่น้อยน้ำคร่ำแตก ถือเป็นสัญญาณแรกของการคลอด โดยคุณแม่บางคนน้ำคร่ำ ก็ไหลเหมือนในทีวี บางคนก็แทบแยกไม่ออกเลยว่านี่เป็นน้ำคร่ำ หรือแค่น้ำปัสสาวะที่เล็ดออกมากันแน่ แต่เพื่อยืนยันให้แน่ใจรีบ โทรปรึกษาสูตินารีแพทย์และบอกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะดีกว่า อธิบายถึงสี กลิ่น ลักษณะของน้ำ มีความเป็นไปได้ที่คุณหมอ จะเรียกให้เข้าพบ แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่น้ำคร่ำของคุณแม่ จะไม่แตกจนเมื่อถึงมือแพทย์ในวันคลอด

  • การเจ็บเตือน : เป็นเรื่องยากที่จะแยกระหว่างการเจ็บเตือนและการเจ็บคลอด โดยทั่วไปแล้วการเจ็บคลอดของแท้จะเป็นการเจ็บเป็นช่วงๆ แต่ละช่วงยาว 30-70 วินาที แต่หากไม่แน่ใจ อย่าลืมว่าคุณ สามารถโทรปรึกษาหมอหรือพยาบาลได้ตลอดเวลา

หญิงมีครรภ์กำลังกลั้นอาหาร

การคลอดก็เหมือนการเดินทางครั้งหนึ่ง

ช่วงแรกของการคลอด เมื่อคุณแม่กำลังเจอกับการเจ็บคลอดแต่ยังไม่เริ่มการเบ่งคลอด จะกินเวลายาวนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ช่วงนี้ของการคลอดกินเวลายาวนาน แต่ก็มีวิธีที่จะทำให้คุณแม่ผ่านช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไปได้ง่ายขึ้น:

อาบน้ำหญิงตั้งครรภ์

  • อาบน้ำให้สบายตัว (หากน้ำคร่ำแตกแล้ว ต้องได้รับการยินยอมจากแพทย์ก่อน)

  • เดินเล่นผ่อนคลาย

  • เปลี่ยนท่าบ้าง หากนั่งหรือนอนท่าเดิมแล้วไม่สบายตัว

  • พยายามหายใจเป็นปกติเมื่อเกิดการบีบตัวขึ้น

  • ให้เพื่อนหรือญาติช่วยเอาลูกเทนนิสมากดนวดเบาๆ บริเวณหลังด้านล่างเพื่อลดอาการเจ็บ

  • เปลี่ยนเป็นนั่งบนเก้าอี้โยก หรือ Birthing Ball

  • ฟังเพลงให้ผ่อนคลาย

แต่ที่สำคัญที่สุดคือคุณแม่ต้องอย่าปักใจคิดว่าลูกจะต้องคลอดตามกำหนด และทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามวางแผนเป๊ะๆ บางครั้งอาจจะช้าสักหน่อย แต่ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปเพื่อ ความปลอดภัยของลูก และทีมแพทย์จะช่วยตัดสินใจว่าเมื่อไหร่ จะถึงเวลาที่สมควร

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

หลายโรงพยาบาลจะให้คุณแม่โกนขนให้เรียบร้อยก่อน

นี่เป็นหนึ่งเรื่องที่ว่าที่คุณแม่หลายคนไม่รู้มาก่อน เพราะถ้ารู้ก็คงเตรียมตัว ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่ต้องทำการผ่าคลอด

ระหว่างคลอดคุณแม่จะเหงื่อออกมาก ตะโกน และอาจจะสบถออกมา

คุณแม่จะทำทั้งหมดและลืมเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อลูกน้อย คลอดออกมา แต่คนที่อยู่ในห้องคลอดกับคุณแม่จะไม่ลืมเรื่องนี้ไปอีกเป็นปี เลยทีเดียวเลย

ต้องใช้เวลาสักพักให้ร่างกายฟื้นตัว

หลังจากคลอดแล้วคุณแม่อาจจะพบกับความเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดบางอย่าง เช่น

  • อาการเจ็บหลังคลอด : คุณแม่อาจรู้สึกถึงความเจ็บในช่วงไม่กี่วันหลังคลอด เนื่องจากเกิดการหดตัวของมดลูก และอาจรุนแรงขึ้นเมื่อคุณแม่ให้นมลูกน้อยหรือเมื่อทานยาลดอาการตกเลือด แต่ไม่ต้องกังวลเพราะเป็นเรื่องปกติ และจะหายไปเองภายในไม่กี่วัน

  • อาการตกเลือด : หลังจากการคลอดจะมีอาการคล้ายประจำเดือนในปริมาณมาก อาจมีลิ่มเลือดปน หากเลือดที่ออกมามีกลิ่น มีปริมาณมากกว่า 1 แผ่นอนามัยในเวลา 1 ชั่วโมง หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่าลูกกอล์ฟหรือมีไข้ขึ้นสูง 100.4 องศาฟาเรนไฮต์หรือสูงกว่า ต้องรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที

  • รู้สึกหนาวๆร้อนๆ : หลังคลอดร่างกายจะเริ่มการปรับตัวให้เข้ากับปริมาณฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกหนาวหรือมีเหงื่ออกได้

  • มีปัสสาวะรั่วเล็กน้อย : การมีปัสสาวะรั่วออกมาเล็กน้อยเป็นเรื่องปกติหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุณแม่ที่มีช่วงเวลารอคลอดหรือเจ็บคลอดยาวนานผิดปกติ การรั่วของปัสสาวะนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการไอ จาม หรือหัวเราะ คุณแม่ควรสอบถามคุณหมอว่าเมื่อไหร่ที่จะออกกำลังกายเพื่อกระชับกล้ามเนื้อช่องคลอดได้

  • น้ำหนักที่ยังอยู่ : อาจจะทำให้ตกใจไม่ใช่น้อย เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์ไม่ได้หายไปทั้งหมดเมื่อคลอด โดยน้ำหนักจะหายไปราว 6 กิโลกรัม หรือ 13 ปอนด์ (รวมน้ำหนักของทารก น้ำคร่ำและอื่นๆ) เท่านั้น และหลังจากคลอดแล้ว 1-2 อาทิตย์น้ำหนักจากการบวมน้ำของคุณแม่จึงจะเริ่มลดลง

  • ขายังคงบวม : โดยทั่วไปแล้วขาของคุณแม่จะบวมขึ้นหลังจากคลอด และจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์ หลังการคลอดได้แล้ว โดยร่างกายจะขับของเหลวผ่านปัสสาวะ

หลังจากการรอคอยอันยาวนานจบลง ก็ขึ้นกับคุณแม่ที่จะตอบคำถามว่า เมื่อได้เห็นหน้าของเจ้าตัวเล็ก ตลอดเวลาที่อุ้มท้องมานั้นคุ้มค่าแค่ไหน

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

References:

  1. 1 Signs of labor: Know what to expect. (2016, June 18). Retrieved June 01, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/...

  2. 2 Stages of labor and birth: Baby, it's time! (2016, June 22). Retrieved June 01, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/...

  3. 3 Problems in the week after the birth. Retrieved on 16 June 2017 from, http://www.health.govt.nz/your-health/pregnancy-and-kids/birth-and-after...