อีกสเต็ปของลูกวัยหัดพูด เขาเริ่มที่จะปฏิเสธการทำสิ่งต่างๆ ถ้าคุณแม่ยังฝืนคำว่าไม่ของเขา คงไม่ต้องสงสัยว่าเหตุการณ์ต่อมา จะเป็นยังไง เขาก็จะตอบสนองด้วยการร้องไห้ลั่นบ้าน ลงไปนอนดิ้นกับพื้นให้คุณแม่ต้องสวมบทคุณแม่สุดโหดแทบทุกวี่ทุกวัน คุณแม่ก็เหนื่อยใจที่จะต้องหาวิธีรับมือกับคำว่า “ไม่” ให้ประนีประนอมที่สุด เอนฟามีคำแนะนำดีๆ มาฝากให้กันค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

“ไม่ๆๆๆ!” เป็นเรื่องธรรมดามากๆ ในงานวิจัยล่าสุดของ Child Development บอกมาว่าเด็กในวัย 2-3 ขวบจะเถียงกับพ่อแม่ มากถึง 20-25 ครั้งต่อชั่วโมง! อย่าเพิ่งบอกว่าลูกของเราดื้อหรือไม่เชื่อฟัง จอห์น ซาร์เจนท์ จิตแพทย์ด้านเด็กและศาสตราจารย์ด้าน psychiatry and behavioral sciences ที่ Baylor College of Medicine ในฮูสตันบอกว่า “เด็กๆ ในอายุขนาดนี้รู้ว่าเขามีตัวตน และการเถียงกับคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นวิธีเพิ่มความมั่นใจในตัวเองได้” ให้คุณแม่นึกไว้ว่าเขารู้สึกว่าโลกนี้กว้างใหญ่และเขารู้สึกว่า ต้องพึ่งพาคนอื่นๆ รู้สึกไม่มีบทบาทมีอำนาจ การพูดว่าไม่เลยเป็นอีกวิธีที่เขาจะรู้สึกว่าควบคุมอะไรในบ้านได้บ้าง

ดูว่าเราพูดอะไรกับลูกบ้าง: กลับมาถามตัวเองว่าเราพูดว่าไม่กับลูกกี่ครั้ง ไม่ได้แปลว่าคุณแม่ต้องเห็นด้วยกับทุกสิ่งที่ลูกทำ แต่การใช้คำที่สร้างพฤติกรรมแง่ลบ เช่น อย่าทำ! หยุด! ให้เปลี่ยนเป็น “เราอ่านนิทาน 2 เรื่องแล้ว เราไปนอนกันดีก่อนนะคะลูก แล้วอีกเรื่องหนึ่งไว้อ่านต่อพรุ่งนี้นะ แม่สัญญา เกี่ยวก้อยๆๆ”

พยายามถามให้ลูกตอบความคิดเห็น: ถ้าถึงเวลานอน แทนที่คุณแม่ จะออกคำสั่งไปนอน เราถามความเห็นลูกว่าเขาอยากทำอะไรก่อน หนูจะใส่ชุดนอนหรือแปรงฟันก่อนดี ถ้าจะเก็บของเล่น ถามว่าเก็บรถหรือ เก็บตุ๊กตาก่อนดี เพราะสุดท้ายคือให้ทำกิจกรรมที่ควรจะทำอยู่ดี

ให้ลูกเป็นผู้ช่วยคนเก่ง: หลายครั้งที่ลูกพูดว่าไม่ เพราะเขาไม่ อยากทำในสิ่งที่คุณแม่บอก คุณแม่อาจจะลองพูดชมเชยเขาไว้ก่อนว่า “คนเก่งคนไหนจะช่วยแม่เอาของเล่นไปเก็บนะ...ไหนช่วยหน่อยสิคะ” พอลูกทำแล้วก็ปรบมือให้กำลังใจและชมว่าเขาเก่งมากๆ

น้ำเสียงต้องไปในทางบวก: เด็กๆ เองก็คงไม่อยากให้ใครมาบังคับสั่งนู่นนี่ตลอดเวลา อย่าวิ่ง อย่ายืนบนเก้าอี้ ตำหนิว่าเขา อยู่ตลอด แองจี้ ที.เครเนอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการพัฒนามนุษย์และครอบครัวบอกว่า “บอกให้เด็กๆ ทำอะไรดีกว่าสั่งห้าม พวกเขา แทนที่จะบอกว่าอย่าวิ่ง ให้พูดว่า เดินนะคะ น้ำเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก พูดด้วยเสียงหนักแน่นมั่นคงให้เขาทำอะไร เขาจะเชื่อมากกว่าการตะโกน

บอกเหตุผลกับเขา: ถึงเด็กๆ จะเอาแต่พูดว่าไม่กับร้องไห้โยเย ปล่อยให้เขาร้องไปก่อน แต่ถ้าเขาเริ่มนิ่งเข้ามากอดคุณแม่ ก็ใช้โอกาสนั้น สอนเลยว่าที่เราไม่ให้เขาทำสิ่งนั้น เขาอาจไม่เข้าใจแต่ก็ยังเป็นโมเมนท์ ที่เขาเก็บไปคิดขึ้นมาว่าเพราะอะไรแม่ถึงไม่ให้เขาเล่นซนแบบนั้น

ให้เขาลองทำตาม: ลูกวัย 2-3 ขวบเป็นวัยที่ชอบทำตามผู้ใหญ่มาก ถ้าเราอยากให้เขาทำอะไร เราทำให้เขาดูก่อนแล้วชวนเขามาทำตาม อยากให้เขากินผลไม้ เราก็ลองกินให้เขาดูก่อนแล้วทำท่าหวาน อร่อยมาก เด็กๆ น่าจะอยากชิมบ้าง

เปลี่ยนอารมณ์ให้สนุกไปด้วยกัน: ลองดูเวลาที่ลูกกำลังเล่นของเล่นเพลินๆ แล้วคุณแม่บอกว่าไปอาบน้ำเดี๋ยวนี้ เด็กจะตอบทันที ว่าไม่เอา! แล้วร้องไห้เลย ดังนั้นให้คุณแม่ค่อยๆ หันเหความสนใจชวนไปเล่นน้องเป็ดน้อยในห้องน้ำ แล้วคุณแม่ก็เล่านิทานเป็ดน้อย หรือหาอะไรสนุกๆ มาเล่นไม่ให้การอาบน้ำเป็นเวลาที่น่าเบื่อ

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ A+ Genius Baby