ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

Enfa สรุปให้

  • การนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้มาให้ลูกกินนั้นเป็นเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่อย่างนั้นลูกอาจท้องเสียจากการจัดการน้ำนมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ได้รับสารอาหารในน้ำนมแม่อย่างที่คุณแม่ตั้งใจไว้

  • ก่อนนำนมที่แช่ไว้ให้ลูกรับประทานต้องอุ่นน้ำนมก่อน และควรนำออกมาแช่ไว้ในตู้เย็นธรรมดาประมาณ 1 วัน

  • คุณแม่บางคนมีน้ำนมไม่พอที่จะปั๊มนมทำสต็อกแช่แข็งเก็บไว้ให้ลูกกิน คุณแม่อาจลองพยาบามเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยการปั๊มนมให้ถี่ขึ้น หรือปั๊มนมหลังจากที่ลูกดูดเต้าไปแล้ว แต่หากยังไม่เพียงพอ คุณแม่สามารถเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ให้ลูกกินเสริมน้ำนมแม่ได้

คุณแม่ที่ให้นมลูกทุกคนเมื่อกลับไปทำงานจะปั๊มนม ทำสต็อกน้ำนมไว้เพื่อให้ลูกกินในระหว่างวันที่แม่ไปทำงาน โดยเขียนวันเวลาที่เก็บน้ำนมแม่ไว้แล้วนำไปแช่ช่องฟรีซในตู้เย็น จากนั้นก็ค่อยๆ ทยอยนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้มาให้ลูกกินในช่วงที่คุณแม่ไปทำงาน เพื่อความปลอดภัยของลูกและเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารในน้ำนมแม่ให้มากที่สุด คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้ให้ลูกกิน

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้มาให้ลูกกิน : เรื่องสำคัญที่แม่ต้องใส่ใจ


การนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้มาให้ลูกกินนั้นเป็นเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่อย่างนั้นลูกอาจท้องเสียจากการจัดการน้ำนมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ได้รับสารอาหารในน้ำนมแม่อย่างที่คุณแม่ตั้งใจไว้ ซึ่งการนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้มาให้ลูกกินนั้นทำได้ดังนี้

  • นำนมแม่ที่แช่ก่อนออกมาให้ลูกกินก่อนตามวันที่เขียนไว้ในหน้าถุงเก็บน้ำนม โดยคุณแม่ควรแยกเก็บเป็นมื้อๆ เขียนวันที่และเวลาที่ปั๊มกำกับไว้ จะได้รู้ว่าต้องกินขวดหรือถุงไหนก่อน

  • ในกรณีที่เป็นนมแช่แข็ง ให้เอานมจากช่องแช่แข็งลงมาไว้ช่องตู้เย็นธรรมดาล่วงหน้า 1 คืน เพื่อให้นมละลายไปเอง (ถ้า 1 คืนไม่พอ นมละลายไม่หมด ให้เอาลงมารอไว้นานกว่านั้น) นมที่เอาลงมาไว้ที่ช่องตู้เย็นธรรมดาแล้ว จะเก็บได้อีก 24 ชั่วโมง และไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก

  • เอานมที่ละลายแล้วออกจากตู้เย็นมาวางไว้นอกตู้เย็นให้ค่อยๆ หายเย็นไปเอง โดยส่วนใหญ่มักใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็จะกินได้เลย นมที่วางไว้นอกตู้เย็นนี้อยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมง

  • หากลูกน้อยร้องไห้อยากกินนมเลย แต่นมยังเย็นอยู่ ให้นำขวดนมเย็นนั้นแกว่งในน้ำธรรมดาประมาณ 2-3 นาที ก็ให้ลูกกินได้เลย

 

ปั๊มนมทิ้งไว้ในตู้เย็นต้องเอามาป้อนให้ลูกอย่างไรดี / เมื่อเก็บตุนน้ำนมแม่แล้ว ต้องเก็บรักษาให้ถูกต้อง / การอุ่นนมแม่แช่เย็นด้วยการต้มหรือไปอุ่นในไมโครเวฟจะทำให้สารอาหารที่สำคัญสูญหายไป

 

การอุ่นน้ำนมแม่ก่อนให้ลูกกิน


  • ก่อนอุ่น ให้ละลายน้ำนมแม่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาก่อนล่วงหน้า 1 คืน

  • ถ้าลูกชอบกินนมแบบอุ่นๆ ให้อุ่นขวดนมในหม้อหรือเครื่องอุ่นนม แต่ห้ามอุ่นน้ำนมโดยตรงบนเตาหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายสารอาหารที่อยู่ในนม ลูกจะไม่ได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่มีในน้ำนมแม่อย่างที่ควรจะได้

  • ถ้าลูกชอบกินนมแบบเย็นๆ คุณแม่เพียงแต่เขย่าให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากันแล้วป้อนลูกได้เลย หรือนำมาแช่หรือแกว่งในน้ำธรรมดาก่อนป้อนก็ได้

 

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมเอามาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาจนเป็นอุณหภูมิปกติ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น

  • น้ำนมแม่ที่นำมาอุ่นแล้วและลูกกินไม่หมดให้ทิ้งไป ไม่นำกลับมาแช่เย็นหรือกินในมื้อต่อไปอีก

  • ในกรณีนมที่เก็บมีปริมาณมาก ให้แบ่งออกมาแค่พอใช้ และนมที่เหลือในตู้เย็นยังเก็บได้ต่ออีก 24 ชั่วโมง จึงควรกะปริมาณนมที่นำมาอุ่นหรือละลายให้พอเหมาะกับการกินของลูกในแต่ละมื้อ เพื่อไม่ต้องทิ้งนมหากลูกกินไม่หมด ซึ่งปริมาณนมที่นำมาอุ่นหรือละลายให้พอเหมาะคือ:

    • ปกติเด็กจะกินนม 150 cc. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน
    • ถ้าเด็กหนัก 6 กก. กินนมทุก 2-3 ชั่วโมง เท่ากับกินวันละ 10 มื้อ
    • ปริมาณน้ำนมทั้งหมด 150 x 6 = 900 cc.
    • เด็กกินนม 10 มื้อๆ ละ 90 cc. ฉะนั้นควรอุ่นนมป้อนให้เด็ก ประมาณ 90 cc. ในแต่ละมื้อเพื่อไม่เหลือนมทิ้งถ้ากินไม่หมด

คุณแม่จะเห็นว่า การนำน้ำนมแม่ที่แช่ไว้มาให้ลูกกินเป็นเรื่องสำคัญและมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากน้ำนมแม่นั่นเองค่

 

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

ถ้าน้ำนมแม่ไม่พอทำอย่างไรดี


คุณแม่บางคนมีน้ำนมไม่พอที่จะปั๊มนมทำสต็อกแช่แข็งเก็บไว้ให้ลูกกิน คุณแม่อาจลองพยาบามเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยการปั๊มนมให้ถี่ขึ้น หรือปั๊มนมหลังจากที่ลูกดูดเต้าไปแล้ว แต่หากยังไม่เพียงพอ คุณแม่สามารถเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ให้ลูกกินเสริมน้ำนมแม่ได้ เช่น นมที่มีสารอาหาร MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว ที่พบมากในเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

อีกทั้ง งานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว

รวมทั้งผสมใยอาหารสุขภาพที่ช่วยในการขับถ่ายอย่างเช่น พีดีเอ็กซ์ (PDX) และ กอส (GOS) ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ จึงส่งผลดีต่อระบบการย่อยของลูก ช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้สมดุล อุจจาระเด็กจึงนิ่มลง ขับถ่ายง่าย ช่วยลดอาการท้องผูกที่มักพบในเด็กที่กินนมผงได้

 

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752.
กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่