ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

เมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน ฟันน้ำนมซี่แรกของลูกจะเริ่มขึ้นตามขั้นตอนของพัฒนาการเด็ก ลูกน้อยอาจมีอาการร้องไห้งอแง น้ำลายยืดจากการอาการคันและเจ็บเหงือกบริเวณที่ฟันน้ำนมงอกขึ้นมา คุณแม่จึงต้องเตรียมรับมือเมื่อฟันน้ำนมของลูกขึ้น ทั้งการดูแลสุขภาพของช่องปากและฟัน และการดูแลลูกน้อยเมื่อเกิดอาการเจ็บเหงือกค่ะ

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อาการของลูกก่อนฟันน้ำนมขึ้น

  • น้ำลายไหล

    เมื่อฟันลูกเริ่มขึ้น คุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกมีน้ำลายไหลออกมาตลอดเวลา ประมาณ 1 สัปดาห์ ฟันของลูกก็จะเริ่มงอกออกมาให้เห็น

  • คันเหงือก

    เป็นอาการที่มักจะเกิดก่อนที่ฟันจะขึ้น ลูกจะพยายามหาสิ่งของมาเข้าปากเพื่อจะกัดให้หายคันเหงือก เช่น นิ้วตัวเอง ของเล่น ฯลฯ และมีน้ำลายไหลเยิ้มด้วย อาการคันเหงือกนี้จะหายเมื่อฟันโผล่พ้นจากเหงือกแล้ว

  • เหงือกบวมแดง

    คุณแม่จะสังเกตได้จากเหงือกลูกมีอาการแดงหรือบวมมากกว่าปกติ และสามารถเช็คได้จากการให้ลูกอ้าปากและใช้มือลูบเบา ๆ จะรู้สึกว่าเหงือกแข็งขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากฟันน้ำนมขึ้นแล้ว ควรให้ลูกกินน้ำมากๆ อาจทาเจลบรรเทาอาการเจ็บเหงือก แต่ถ้าเหงือกของลูกบวมแดงมากๆ ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์

     

  • มีผื่นคันบนใบหน้า

    มักเกิดจากการระคายเคืองของผิวหนังจากน้ำลายที่ไหลย้อยออกมา พ่อแม่ควรหมั่นใช้สำลีชุบน้ำ หรือผ้าสะอาดเช็ดบริเวณรอบๆ ปากของลูก

  • ตอนกลางคืนกินนมมากกว่าปกติ

    ในตอนกลางคืนลูกอาจจะรู้สึกปวดเหงือก ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด อยากจะกัดหรือเคี้ยวสิ่งของเพื่อบรรเทาอาการนี้ จึงทำให้อยากกินนมมากกว่าปกติ

ช่วยลูกลดอาการคันหรือเจ็บเหงือกอย่างไรดี

  • ใช้นิ้วสะอาดนวดเหงือกลูกเบาๆ ครั้งละ ประมาณ 2 นาที ลูกอาจต่อต้านบ้างในตอนแรก แต่เขาจะยอมเมื่อเมื่อรู้สึกดีขึ้น

  • หายางกัดแช่เย็นให้ลูกกัดเล่นแก้อาการคันเหงือก หรือหั่นผลไม้หรือผักเป็นแท่งๆ เช่น แตงกวา แคร์รอต ฝรั่ง แอปเปิ้ล ฯลฯ แช่เย็นให้ลูกกัด

  • ประคบด้วยน้ำอุ่น โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น แล้วประคบด้านข้างของใบหน้าที่ปวด ช่วยบรรเทาความปวดลงได้

การดูแลฟันสำหรับฟันน้ำนม

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

เพราะฟันน้ำนมคือรากฐานของฟันแท้ สุขภาพฟันแท้ของเด็กจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลฟันน้ำนมตั้งแต่เริ่มแรก อีกทั้งเด็กจะมีพฤติกรรมการกินที่ดีหรือไม่นั้น สุขภาพของฟันก็ส่งผลต่อเด็กไม่น้อยเช่นกัน เมื่อฟันซี่แรกของลูกเริ่มขึ้น ลูกจะเจ็บระบม และระคายเคืองบริเวณเหงือก ทำให้ลูกมีอาการงอแง น้ำลายไหลยืด และอาจส่งผลให้ลูกกินนมได้น้อยลง

ดังนั้น คุณแม่ควรปลูกฝังให้ลูกเคยชินกับการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากตั้งแต่เล็กๆ เพื่อสุขภาพฟันที่ดี ด้วยการ :

MFGM คือสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่และนมที่เสริม MFGM
  • เช็ดถูภายในช่องปากวันละ 2 ครั้ง โดยใช้ผ้ากอซหรือผ้าสะอาดนุ่มๆ พันนิ้วชี้ ชุบน้ำต้มสุกเช็ดภายในช่องปากให้ทั่ว ทั้งสันเหงือก กระพุ้งแก้ม บนลิ้น และเพดาน การทำความสะอาดเช่นนี้ จะเป็นการนวดเหงือก ช่วยให้ลูกลดความเจ็บปวดลงในช่วงที่ฟันลูกเริ่มขึ้นด้วย เมื่อฟันลูกขึ้นแล้ว คุณแม่ควรทำความสะอาดเช็ดในช่องปากและฟันเหมือนเดิม และพอฟันขึ้นหลายซี่ก็ทำความสะอาด ด้วยแปรงสีฟันนิ่มๆ และใช้ยาสีฟันเสริมฟลูออไรด์ตามคำแนะนำของทันตแพทย์

  • อย่าให้น้ำตาลในนมคาปากลูกนานๆ ก่อนที่เขาจะหลับต้องเอาขวดนมออกจากปากลูก จะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียในปากผลิตกรดที่ทำให้ฟันผุ หลังให้นมจึงต้องเช็ดทำความสะอาดฟันให้ลูกด้วย โดยเฉพาะตอนกลางคืน

  • พาลูกพบทันตแพทย์เด็กคุณแม่บางคนอาจคิดว่าลูกยังเล็ก ไม่ต้องรีบพาไปหาหมอฟัน แต่ที่จริงแล้ว เมื่อฟันซี่แรกขึ้นควรพาลูกไปตรวจสุขภาพในช่องปากกับทันตแพทย์เด็ก และควรไปตามนัดของคุณหมอทุกครั้ง

ด้วยการเตรียมรับมือที่ดีของคุณแม่ จะทำให้การขึ้นของฟันน้ำนมของลูกไม่มีปัญหา และลูกก็จะมีสุขภาพฟันที่ดีตามมาค่ะ

ผู้ปกครองทุกคนจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับฟันน้ำนม

เลือกนมให้ลูกวัยฟันน้ำนมเริ่มขึ้น

ส่วนใหญ่ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มกินอาหารเสริมได้แล้ว แต่นมแม่ก็ยังมีความสำคัญยังคงเป็นอาหารหลักของเด็กอยู่ แต่หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม คุณแม่ก็สามารถเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ให้ลูกกินเสริมได้ เช่น สารอาหาร MFGM ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนมแม่ ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่พบในนมแม่ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ส่งผลดีต่อร่างกายและสมองเด็ก, ดีเอชเอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาว ที่พบมากในเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ถือเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ของเด็ก

ที่สำคัญ งานวิจัยทางคลินิกพบว่า เด็กที่ได้รับ MFGM ร่วมกับดีเอชเอ มีระดับคะแนนพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ได้รับดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เพื่อศึกษาการทำงานของ MFGM พบว่า เมื่อใช้สารอาหาร MFGM ทำงานร่วมกับดีเอชเอ ที่เวลา 21 วัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองมากกว่าการใช้ดีเอชเอ เพียงอย่างเดียว* คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกนมมาเสริมนมแม่ให้ลูกนะคะ

*Reference: NeuroProof report for Mead Johnson Nutrition Veereman-Wauters G, Staelens S, Rombaut R, et al. Milk fat globule membrane (INPULSE) enriched formula milk decreases febrile episodes and may improve behavioral regulation in young children. Nutrition. 2012;28:749-752
กลับไปทำงานหลังคลอดอย่างไร ให้มั่นใจ หายห่วง พบคำตอบได้ที่นี่