dha icon

 

Enfa สรุปให้:

  • DHA คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน

  • ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสร้าง DHA เองได้ จะต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ซึ่ง DHA จะพบมากในนมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก และสามารถพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิดที่มีไขมันสูงอย่าง ปลาสวาย ปลาช่อน เป็นต้น

  • ทารกจะได้รับ DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด ทารกจะสะสม DHA ไว้ในสมองมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองเติบโตอย่างรวดเร็ว จากนั้นทารกจะได้รับ DHA จากการกินนมแม่หลังคลอดต่อเนื่องไป

 

DHA คือ สารอาหารสำหรับสมอง


DHA คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน

 

ร่างกายสร้าง DHA เองไม่ได้


ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จะไม่สามารถสร้าง DHA เองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น DHA มีมากในนมแม่ ในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย ปลาทู และสาหร่ายทะเลบางชนิด และมีมากในปลาน้ำจืดที่มีไขมันสูง เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน

 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ทารกต้องการ DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์


ทารกในครรภ์มีเอ็นไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันโอเมก้า 3 ให้เป็น DHA ไม่เพียงพอ นั่นจึงทำให้ทารกในครรภ์ได้รับ DHA ผ่านทางสายสะดือโดยตรง และทารกจะสะสม DHA ไว้ในสมองมากเป็นพิเศษในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด เนื่องจากในช่วงนี้อัตราการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากนั้นทารกจะได้รับ DHA จากการกินนมแม่ช่วงหลังคลอด

จะเห็นว่าเด็กได้รับ DHA ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จากอาหารที่แม่ทานเข้าไป ต่อเนื่องจนถึงหลังคลอดที่สารอาหารถูกส่งผ่านจากน้ำนมแม่ องค์กรนานาชาติ FAO/WHO แนะนำให้แม่ตั้งครรภ์ และแม่ให้นมบุตรรับประทาน DHA ในปริมาณ 200 มก./วัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูก

 

จริงมั้ย หากแม่ที่ได้รับ DHA สูง ลูกจะได้รับ DHA สูงไปด้วย


DHA เป็นสารอาหารบำรุงสมองที่พบในนมแม่ ซึ่ง DHA ในนมแม่ได้มาจากอาหารที่แม่รับประทาน ดังนั้นถ้าแม่ทานอาหารที่มี DHA สูง เช่น ปลาที่มี DHA สูง นม หรืออาหารเสริมที่มี DHA ปริมาณ DHA ในน้ำนมแม่ก็จะสูงด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างเซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์ของลูก

 

DHA ส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้


เมื่อ DHA ผ่านเข้าไปในสมองจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้ จากผลการวิจัยพบว่าเด็กที่ได้รับ DHA จะมีพัฒนาการของสมองและสายตา ความสามารถในการจำ และการแก้ปัญหาดีกว่าเด็กที่ไม่ได้รับ DHA 

ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ถึง 1 ขวบปีแรก จอประสาทตาจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และ DHA เป็นโครงสร้างสำคัญของจอประสาทตา ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น

มีงานวิจัยทางการแพทย์รองรับว่า DHA และ ARA ในปริมาณ DHA 17 มก. และ ARA 34 มก. /100 กิโลแคลอรี ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณที่องค์กร FAO/WHO แนะนำ ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา1 การมองเห็น2 ระดับสติปัญญา3 และทักษะทางภาษา4

 

 



บทความแนะนำเรื่องน้ำนมแม่