มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า สมองของเด็กพัฒนาสูงสุดในช่วง 3 ขวบปีแรก ถ้าลูกได้สารอาหารสำคัญครบถ้วนในการพัฒนาสมองในช่วงที่สำคัญอย่างมากนี้ สมองของลูกจะเติบโต และทำงานได้เต็มที่ทั้งระบบ โดยเฉพาะสารอาหารอย่าง MFGM ซึ่งพบในนมแม่ จะทำหน้าที่ช่วยสร้างปลอกไขมันหุ้มเส้นใยสมอง (myelin sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งเซลล์สมองมีการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างเซลล์ได้มากและรวดเร็วเท่าไหร่ การทำงานสมองของเด็กก็จะทำได้ดีมากขึ้นตามลำดับ

  • งานวิจัยพบว่า DHA และ ARA ซึ่งมีอยู่ในนมแม่จะช่วยให้สมองเด็กพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับระดับไอคิวที่สูงขึ้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

  • มีงานวิจัยรองรับว่า MFGM ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมองให้เพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อของเซลล์สมองเมื่อทำงานร่วมกับ DHA

  • งานวิจัยในเด็กยังพบว่า กลุ่มเด็กที่ได้รับนมซึ่งเสริม MFGM จะมีระดับคะแนนทางด้านสติปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เสริม1

นอกจากนี้ MFGM ยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของลูกให้แข็งแรงได้ เพราะมีการศึกษาพบว่าโปรตีนบางชนิดใน MFGM มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้ เช่น มีการศึกษาพบว่า MFGM ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน2 รวมทั้งลดการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและภูมิแพ้ในเด็ก3 เมื่อลูกมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น ลดการเจ็บป่วยหรือการเกิดภูมิแพ้ได้

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

สิ่งที่แม่ต้องรู้เกี่ยวกับน้ำนมแม่

  • 6 เดือน

    คือเป็นระยะเวลาอย่างน้อยที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำให้แม่ให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง

  • โคลอสตรัม น้ำนมสีเหลือง วัคซีนแรกของลูก

    ช่วงเวลาทองหลังคลอด คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้รับน้ำนมเหลืองหรือโคลอสตรัม ที่เป็นน้ำนมที่มีคุณค่าสูงสุด เนื่องจากมีสารอาหารที่จะช่วยพัฒนาสมอง อย่าง MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบในน้ำนมแม่ อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันหลายชนิด และกรดไขมัน DHA ที่มีงานวิจัยพบว่าเมื่อสารอาหารสองตัวนี้ทำงานร่วมกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อเซลล์สมองของเด็ก เมื่อสมองเด็กมีการเชื่อมต่อได้มาก จะส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ อีกทั้ง MFGM ในนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ นับว่าลูกได้รับวัคซีนแรกจากน้ำนมแม่เลยทีเดียว

  • น้ำนมแม่มีสองส่วน สองประโยชน์

    น้ำนมแม่ส่วนหน้า - จะมีความใสมากกว่า มีปริมาณไขมันต่ำกว่า ส่วนประกอบหลัก คือ น้ำตาลแล็คโตสเป็นส่วนที่ทารกต้องการในการใช้เป็นพลังงานถึง 40% แล็คโตสยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็กด้วย ทั้งยังช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ดีขึ้น

    น้ำนมแม่ส่วนหลัง - จะมีความขุ่นข้นมากกว่า เป็นน้ำนมช่วงสุดท้ายก่อนที่เต้านมจะเริ่มผลิตน้ำนมใหม่ ถึงจะมีปริมาณไม่มาก แต่ก็มีไขมันมากกว่า และยังมีสารอาหารอื่นๆ ทั้งหมดที่พบได้ในนมแม่ด้วย เช่น โปรตีน MFGM ดีเอชเอ เป็นต้น ส่วนนี้ช่วยเพิ่มน้ำหนักของลูกได้

สำหรับแม่สายปั๊ม (นม)

  • สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มนมให้ลูกกินมื้อต่อมื้อ อาจจะไม่ต้องทำสต็อกนม คือ หลังจากปั๊มแล้วก็ให้ลูกกินได้ทันที หากกินไม่หมดในครั้งเดียว สามารถเก็บไว้ให้ลูกกินในมื้อถัดไป โดยเก็บในตู้เย็นได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง

  • ระยะเวลาการปั๊มนมเพื่อทำสต็อกควรปั๊มห่างกันทุก 3 ชั่วโมง

  • หลังปั๊มด้วยเครื่องปั๊มนมเรียบร้อย ให้บีบด้วยมือต่ออีกสักพัก จะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม ทำให้น้ำนมมาเพิ่ม

  • หลังจากปั๊มนมแล้วให้เทนมลงในถุง พร้อมเขียนวันที่ที่ปั๊มทุกครั้ง เว้นพื้นที่ในถุงที่เป็นอากาศไว้ 1 นิ้ว

  • นมแม่ที่อยู่ในกระเป๋าเก็บความเย็น อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 24 ชั่วโมง

  • นมแม่ที่แช่ช่องเย็น อุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 8 วัน

  • นมแม่ที่แช่ช่องแข็ง อุณหภูมิ -19 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นาน 6-12 เดือน

ทางเลือกที่สองของคุณแม่

สำหรับคุณแม่ที่พยายามแล้วมีน้ำนมเพียงพอให้ลูกกินได้อย่างต่อเนื่อง ก็ถือว่าเป็นโชคดีของลูก แต่คุณแม่บางคนพยายามอย่างสุดกำลังและความสามารถแล้ว น้ำนมก็ยังมาน้อย หรือคุณแม่มีเหตุผลที่ไม่สามารถให้นมลูกได้ ก็ไม่ต้องเครียดหรือวิตกกังวลมากจนเกินไป คุณแม่สามารถมีทางเลือกที่สองสำหรับการให้นมลูก นั่นก็คือ ปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกนมผสมที่มีส่วนประกอบของ MFGM และ DHA ที่ใกล้เคียงนมแม่ ช่วยให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง สมองดี จิตใจแจ่มใสได้เช่นกัน

การดูแลลูกด้วยอาหารที่ดี การเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัย พร้อมกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกมี 4 ทักษะจำเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องของสติปัญญา การมีสมาธิจดจ่อ การใช้ภาษาและทักษะการเคลื่อนไหว ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

อ้างอิง
1 www.bbc.com/news/health 31925449,https://edition.cnn.com/2015/03/18/health/breastfeeding-iq-income/index.html
2 Timby N et al.Pediatr Gastroenterol Nutr.2013;60:384-389
3 Birch EE et al.J Nutr.2010;156 (6):902-906