หลังจากการดูดนมครั้งแรกที่ทุลักทุเลได้ผ่านพ้นไป คุณแม่อาจกังวลใจว่าน้ำนมสีเหลืองที่ไหลแค่ซึมๆ หลังคลอดนั้นมีปริมาณน้อยนิด ลูกจะไม่อิ่มหรือไม่ แต่แท้ที่จริงแล้ว นมปริมาณเท่านั้นเพียงพอต่อกระเพาะเล็กจิ๋วของลูกในวันแรกๆ และหลังจากนั้นปริมาณนมแม่จะปรับเพิ่มตามกระเพาะของลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นทุกวัน

Did mom know? แม่รู้ไหมกระเพาะลูกใหญ่แค่ไหน

  • ทารกอายุ 1 วัน จุประมาณ 5-7 ซีซี หรือใหญ่เท่าลูกเชอรี่

  • ทารกอายุ 3 วัน จุประมาณ 22-27 ซีซี หรือใหญ่เท่าผลวอลนัท

  • ทารกอายุครบ 1 สัปดาห์ จุประมาณ 45-60 ซีซี หรือใหญ่เท่าผลแอปริคอท

  • ทารกอายุ 1 เดือน จุประมาณ 80-150 ซีซี หรือใหญ่เท่าไข่ไก่

  • หลังจาก 6 เดือนที่เริ่มกินอาหารเสริมแล้ว ลูกจะกินนมลดลงเหลือ 570 ซีซี

น้ำนมแม่พอไหม ดูได้จากอะไร

  • น้ำหนักตัวลูกขึ้นตามเกณฑ์ ประมาณวันละ 20 กรัม

  • ปัสสาวะเกิน 6 ครั้ง และอุจจาระเกิน 2 ครั้ง ในแต่ละวัน (แต่อาจไม่อุจจาระเลยก็ได้)

  • ตอนที่ลูกกินนมแม่ ได้ยินเสียงกลืนน้ำนม

  • หลังจากเข้าเต้า ลูกเรอ หรือสะอึก

  • ในช่วงแรก ลูกจะหิวนมบ่อย เพราะกระเพาะเขาเล็กกินนมได้ทีละน้อย คุณแม่สามารถให้นมได้บ่อยเท่าที่ลูกร้อง อาจจะทุกครึ่งถึง 1 ชั่วโมง

  • ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก เด็กบางคนอาจจะต้องเข้าเต้าวันละ 10-12 ครั้ง แล้วค่อยๆ ลดลง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อุ้มเข้าเต้าแบบนี้ ลูกกินสบาย น้ำนมไหลพุ่ง

  • Cradle Hold: นอนขวางบนตัก ท่านี้สบายสุด

    อุ้มลูกนอนตะแคงบนตัก ตัวลูกขนานเป็นแนวราบ ใช้แขนข้างเดียวกับเต้านมที่ให้ลูกประคองตัวลูกไว้ บริเวณคอและหัวของลูกจะสูงกว่าลำตัวเล็กน้อย มืออีกข้างประคองเต้านมไว้

  • Lying Down: นอนตะแคงให้นม

    ท่านี้ช่วยให้แม่ได้เอนหลังพักผ่อนด้วยได้

    คุณแม่กับลูกจะนอนตะแคงหันหน้าเข้าหากัน ให้ตัวลูกอยู่สูงกว่าตัวของคุณแม่เล็กน้อย สามารถเอาหมอนแบนๆ หรือผ้าห่มพับมาให้วางหนุนลูกได้

  • Football Hold: อุ้มลูกเข้าข้างลำตัว

    ท่านี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ท่านี้ลำตัวของลูกจะแนบไปกับลำตัวด้านข้างของแม่ อาจจะทุลักทุเลหน่อย แต่ท่านี้ทำให้ลูกงับหัวนมได้ลึกถึงลานนม

  • อุ้มลูกให้คางชิดเต้านมส่วนล่างก่อน

    แล้วค่อยประคองหัวลูกให้เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย ไม่ใช่โน้มตัวแม่เข้าหาลูก แล้วให้ริมฝีปากล่างของลูกงับมิดถึงลานนม เวลาดูดริมฝีปากล่างจะบานออกเหมือนปากปลา แก้มลูกจะป่องทั้งสองข้าง

อาหารบำรุงน้ำนมแม่

  • กินผลไม้อย่างน้อยวันละ 2 ถ้วย

    USDA หรือ กระทรวงเกษตรฯ ของสหรัฐอเมริกา แนะนำให้กินผลไม้ที่มีโพแทสเซียมและวิตามินเอ อย่าง กล้วย มะละกอ มะม่วง ส้ม อินทผลัม ลูกพรุน แคนตาลูป และเมลอน

  • กินผักอย่างน้อยวันละ 3 ถ้วย

    เพื่อร่างกายจะได้รับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังช่วยเพิ่มน้ำนมได้อีกด้วย เช่น ผักโขม แคร์รอต ฟักทอง มะเขือเทศ ส่วนผักไทยๆ ที่ช่วยเพิ่มน้ำนม ได้แก่ มะรุม ตำลึง หัวปลี ใบกะเพรา ขิง กุยช่าย

  • กินโปรตีนเพิ่มขึ้นอีกวันละ 25 กรัม

    คุณแม่ต้องได้รับโปรตีน 65 กรัมต่อวันเป็นอย่างต่

  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น

    ระหว่างการให้นมลูก คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มากหรือให้ได้อย่างน้อยวันละ 2.7 ลิตร

อาหารของแม่สำคัญต่อการสร้างน้ำนมค่ะ คุณแม่จึงควรให้ความสำคัญกับการกินอาหารคุณภาพในช่วงให้นมลูกนะคะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : รศ.ดร.นพ. ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล