ช่วง 3 ขวบปีแรกเป็นช่วงเวลาสำคัญของพัฒนาการเด็ก เพราะเป็นช่วงวัยที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด การเรียนรู้จดจำ และทักษะชีวิตจำเป็นที่จะต้องติดตัวเด็กคนหนึ่งไปจนโต ต้องส่งเสริมอย่างตรงจุดตั้งแต่ช่วงวัย 0-3 ปี โดยเฉพาะทักษะการคิดเป็น คิดดี ทำดี สามารถพึ่งพาตัวเองเป็น และเอาตัวรอดในสังคมได้อย่างมีความสุข

สิ่งสำคัญคือการเข้าใจพัฒนาการตามวัยและพื้นอารมณ์ที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่แรกเกิด เมื่อพ่อแม่เข้าใจและปรับวิธีการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมในทุกด้าน ทั้งอาหารที่ครบถ้วนโภชนาการ ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ให้ความรักและผูกพัน ให้ลูกรู้สึกว่า ‘แม่มีอยู่จริง’ ก็เท่ากับได้สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้ลูก แม้ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงใดในอนาคตลูกเราก็สามารถรับมือและอยู่รอดได้ทุกสถานการณ์

วัยป่วนเด็ก 2-3 ขวบ

วัย 2-3 ขวบเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะปลูกฝังรากฐานที่แข็งแรงให้ลูกในทุกด้าน โดยเฉพาะสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การกระตุ้น ส่งเสริม และช่วยฝึกฝนพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะการที่จะให้ลูกเราเติบโตเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะเข้าสังคม สามารถเริ่มฝึกและสร้างได้ตั้งแต่วัยนี้

พัฒนาการลูก 2-3 ขวบ : นักตั้งคำถาม ชอบท้าท้าย

  • วิ่งได้คล่อง

  • ชี้อวัยวะของร่างกายได้

  • มือและนิ้วมือทำงานประสานกันได้ดี

  • ชอบวิ่ง กระโดด ปีนป่าย

  • โยนและเตะลูกบอลได้

  • สามารถเริ่มบอกรูปร่างและสีของสิ่งของได้

  • เรียนรู้ผ่านการตั้งคำถามบ่อยๆ

  • ชอบท้าท้ายความสามารถของตัวเอง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

วัยป่วน Terrible Two แม่รับมือได้

เมื่อเข้าสู่วัย 2-3 ขวบ เจ้าหนูวัยป่วนจะอยากแสดงตัวตน ทดสอบความสามารถที่ตัวเองทำได้ และชอบท้าท้ายคำสั่ง ในช่วงวัยนี้การฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเองอย่างเหมาะสมจึงสำคัญไม่แพ้การส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ

สังเกตเมื่อเข้าลูกวัย Terrible Two

  • มักจะเดินหนี ชอบทำอะไรด้วยตัวเอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นอิสระจากพ่อแม่

  • แสดงความไม่พอใจเมื่อถูกบังคับ

  • ช่างเลือก ไม่พอใจอะไรง่ายๆ

  • เริ่มมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ เช่น หวงของ หรือแย่งของ

  • เรียกร้องและหวังผลต่อการตอบสนอง

  • ร้องกรี๊ด แสดงอาการเอาแต่ใจตัวเอง

  • ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ เช่น ขว้างปาสิ่งของเมื่อเกิดอารมณ์โกรธ

5 วิธีรับมือ Terrible two อย่างได้ผล

  • 1. เข้าใจที่มาของการปฏิเสธและสอนด้วยเหตุผล

    หากลูกงอแง แม่ไม่ควรใช้อารมณ์ สอนด้วยเหตุผลควบคู่กับการตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกอย่างเหมาะสม เมื่อลูกเรียนรู้ว่าวิธีนี้ไม่ได้ผล เขาก็จะค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรม

  • 2. สะท้อนอารมณ์ลูก

    แม่ต้องแสดงออกให้รู้ว่ายอมรับและเข้าใจอารมณ์ของลูก และสอนให้เขาเรียนรู้ว่า หนูกำลังรู้สึกอะไร เช่น โกรธ โมโห จากนั้นบอกวิธีการและขอบเขตที่สามารถแสดงออกได้ เช่น โกรธ โมโหได้ แต่ตีคนอื่นไม่ได้ เป็นต้น

  • 3. ไม่เอาแต่ห้ามอย่างเดียว

    ไม่เอาแต่ห้ามอย่างเดียว หากแน่ใจว่าสิ่งที่ลูกทำไม่มีอันตราย คุณแม่สามารถเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ได้ลองผิดลองถูก สร้างประสบการณ์ด้วยตัวเองบ้าง

  • 4. เรียนรู้เรื่องความเป็นเจ้าของ

    เช่น ของเล่นชิ้นไหนเป็นของใคร อยากเล่นต้องทำอย่างไร หรือสร้างกฎกติกาที่ตกลงร่วมกัน ให้เขามีส่วนร่วม เขาก็จะค่อยๆ เข้าใจและเรียนรู้ที่จะทำตามได้มากขึ้น

  • 5. ทำซ้ำๆ และสม่ำเสมอ

    ความสม่ำเสมอจะช่วยทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่เคยชิน จนติดเป็นนิสัย สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น และมีพัฒนาการตามวัยที่ดีขึ้น

Tips เตรียมลูกพร้อมเข้าอนุบาล

เมื่อถึงวัยที่ลูกต้องไปโรงเรียนอนุบาล เรื่องสำคัญไม่ใช่แค่การเลือกโรงเรียนเท่านั้น แต่ต้องเตรียมลูกให้พร้อมทั้งกายและใจ ที่สำคัญพร้อมที่จะปรับตัวกับสังคมใหม่และเพื่อนใหม่เป็นครั้งแรกด้วย

  • ร่างกายต้องพร้อม

    กินอาหารที่มีประโยชน์ ได้สารอาหารครบถ้วน นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย พร้อมต่อการเรียนรู้ที่โรงเรียน

  • ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง

    เช่น กินข้าวได้ด้วยตนเอง บอกว่าปวดปัสสาวะหรืออุจจาระกับคุณครูได้

  • ฝึกให้รู้จักอดทนรอคอย

    เพราะเวลาที่ลูกอยู่โรงเรียน อาจลูกจะไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการทันทีเหมือนตอนอยู่บ้าน

  • ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม

    เน้นการเปิดโอกาสให้ลูกมีโอกาสทำอะไรด้วยตัวเอง หรือได้เล่นกับเพื่อนที่หลากหลาย เรียนรู้การเล่นด้วยกัน เช่น แบ่งของเล่นให้เพื่อน เคารพกติกาที่มีร่วมกัน

10 กิจกรรมแสนง่ายๆ แต่ดีต่อพัฒนาการรอบด้าน

ลูกวัย 2-3 ขวบ นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย และการอยู่ร่วมกับคนอื่นแล้ว เรื่องของสมาธิจดจ่อ การสื่อสารที่ชัดเจน การช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำไปใช้แก้ปัญหาในอนาคต ทักษะเหล่านี้จะติดตัวลูกไปจนโต หากเริ่มฝึกกันตั้งแต่ตอนนี้

  • เล่นกีฬา = พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่

    • ปีนป่าย ห้อยโหน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (โดยมีพ่อแม่ดูแลเรื่องความปลอดภัย)

    • ไถหรือปั่นจักรยานสามล้อ ได้ทั้งการทรงตัว สมาธิ และความแข็งแรงของแขนขา

  • ทำงานศิลปะ = ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก เสริมความคิดสร้างสรรค์

    • แปะงานศิลปะ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ควบคู่กับการใช้มือสัมผัสทำประสานกัน

    • ช่วยพ่อแม่ประดิษฐ์ตุ๊กตาหุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ ได้จินตนาการ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก

  • คำถาม คำตอบ = รู้จักตัวตนและเข้าใจผู้อื่น

    • ชวนลูกตั้งถามและตอบทุกคำถามของลูก ต่อยอดทักษะการคิดและการสื่อสาร

    • บทบาทสมมติ เรียนรู้การแสดงอารมณ์และค้นหาตัวตน

  • สนุกเรียนรู้ = พัฒนาทักษะชีวิต

    • งานบ้านเรื่องสนุก ได้พัฒนาการรอบได้

    • เล่นดิน เล่นทราย (Free Play)

  • พบปะและมีกิจกรรมร่วมกับผู้คน =พัฒนาการด้านสังคม

    • การได้พบปะผู้คน หรือมีกิจกรรมร่วมกับผู้คน โดยพ่อแม่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตัว

    • เรียนรู้ขอบเขตที่เหมาะสม

กิจกรรมที่ส่งเสริม 4 ทักษะพื้นฐานจำเป็นให้ลูก

  • เล่นเกมหาของ

    ใช้ของเล่น หรือของใช้ที่ลูกคุ้นเคยมาใส่กล่อง แล้วกำหนดโจทย์ให้ลูกหาของตามภาพ หรือ ตามสีที่กำหนด แม่ลูกสามารถสลับกันเล่นและสลับกันตั้งโจทย์ได้

  • วาดรูปจากนิทาน

    ระหว่างเล่านิทานให้ลูกฟัง ชวนให้ลูกตั้งคำถามและฟังนิทานด้วยความจดจ่อมากขึ้น และให้ชี้รูปสิ่งที่ชอบมากที่สุดในเรื่อง โดยไม่ต้องชี้นำลูก ช่วยฝึกให้ลูกมีความคิดสร้างสรรค์ ใช้จินตนาการอย่างอิสระ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช