พื้นฐานของสมองและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ของลูก คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องการ เพื่อต่อยอดไปสู่พัฒนาการด้านสติปัญญา ตลอดจนพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และด้านอื่นอย่างรอบด้านต่อไป ซึ่งควรสร้างให้เกิดขึ้นทันทีตั้งแต่ในครรภ์ เพราะมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าสมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 85% ในช่วงตั้งครรภ์ ถึง 3 ปีแรก

280 วันแห่งความรักจากแม่สู่ลูก

280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ คือ เวลาเฉลี่ยของการตั้งครรภ์ ช่วงเวลาดีๆ นี้เองที่คุณแม่สามารถมอบพลังวิเศษให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในท้อง พลังนั้นประกอบไปด้วยการคิดดี โภชนาการที่ดี เอาใจใส่อย่างดี อารมณ์ดี และเลือกทำแต่สิ่งดีๆ สิ่งเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานดีๆ ไหลผ่านรกเข้าสู่ร่างกาย สมองและจิตใจของลูกในท้อง

เพราะทุกช่วงเวลาของการเป็นแม่นั้น ‘มหัศจรรย์’

หัวใจเต้นตึกตัก รัวราวกับกลองชุด และยิ้มแก้มปริ น้ำตาไหลด้วยความดีใจ เมื่อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ปรากฏให้เห็นแถบสีแดงขึ้นสองขีด เวลานั้นจากผู้หญิงธรรมดา ก็ได้กลายเป็น ‘แม่’ ตั้งแต่วินาทีแรกที่รู้ว่า ‘ตั้งครรภ์’ และตั้งใจมั่นที่จะดูแลตัวเอง เพื่อลูกน้อยในท้องให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตมาเป็นเด็กสุขภาพแข็งแรง สมองดี จิตใจดี อารมณ์แจ่มใส และเป็นคนเป็นที่รักของผู้คน

แต่เราเข้าใจว่า คำว่า ‘ดีที่สุด’ นั้น ส่งผลให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อาจเกิดความวิตกกังวล ไหนจะร่างกาย และอารมณ์ของตัวเองที่เปลี่ยนไป ไหนจะเรื่องของลูกน้อยในท้อง ทั้งหมดคือ สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องเผชิญตลอด 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เส้นทางของคนเป็นแม่ยังอีกยาวไกล แต่เชื่อเถอะว่า ‘ครั้งแรก’ ที่เกิดขึ้นระหว่างแม่กับลูกน้อยในท้องนั้น คือ สิ่งมหัศจรรย์ที่สุด ที่มีเพียงแม่ท้องเท่านั้นที่จะรู้และสัมผัสได้ด้วยตัวเอง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

รักแรกของแม่

รักของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นความรักที่เต็มไปด้วยความสุขและความกังวล รักก็รัก ห่วงก็ห่วง อีกใจก็กังวล ไหนจะร่างกายที่เปลี่ยน ไหนจะพัฒนาการของลูกในท้องอีก สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น ‘ภาวะปกติ’ ที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอ แล้วก็จะผ่านไป กลับไปเป็นแม่สวยสดใสเหมือนเดิมหลังคลอด

ร่างกายแม่ท้อง มีอะไรบ้างนะที่เปลี่ยนไป

  • น้ำหนักลดและเพิ่ม

    คุณแม่บางคนน้ำหนักจะลดลงในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก เพราะเกิดอาการแพ้ท้อง แต่หลังจากอาการแพ้ท้องหายไป น้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นแตกต่างกัน เช่น 12.5-18 กิโลกรัม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ผอม 11.5-16 กิโลกรัม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวในเกณฑ์ปกติ 7-11.5 กิโลกรัม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักเกิน และ 5-9 กิโลกรัมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อ้วน ซึ่งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นไปนั้น อาจจะลดลงในช่วงแรกหลังคลอดประมาณ 5 กิโลกรัม และอาจจะลดลงอีกประมาณ 5-10 กิโลกรัม ในช่วงให้นมลูก

  • ท้องผูก ผายลมบ่อย และเรอบ่อย

    ยิ่งอายุครรภ์มากเท่าไหร่ ยิ่งท้องผูก ผายลมและเรอบ่อยมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมดลูกขยายตัวเพิ่มมากขึ้น รองรับลูกที่เติบโตทุกวัน จนทำให้ไปเบียดอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง โดยเฉพาะกระเพาะอาหาร ส่งผลให้คุณแม่ท้องต้องพบกับ 3 อาการชวนเขินอายคนข้างๆ

  • ใต้ท้องแขน ต้นขา และท้องแตกลาย

    เกิดจากผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ขยายอย่างรวดเร็ว ผู้ช่วยในเวลานี้ก็คือ การชโลมน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นหลังอาบน้ำเป็นประจำเช้าเย็น ช่วยให้ผิวชุ่มชื่นขึ้น

  • ลานนม รักแร้ คอ และขาหนีบคล้ำขึ้น

    เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์ บวกกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น แต่รับรองว่ารอยคล้ำจะค่อยๆ จางลงหลังคลอดอย่างแน่นอน

  • มือและเท้าบวม

    เป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ร่างกายกักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อ ทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเคมีในกระแสเลือดที่เปลี่ยนไปจึงทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวในปริมาณที่มากขึ้น แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นหลังคลอด

  • หน้าอกและหัวนมขยายใหญ่ขึ้น

    เนื่องจากมีเนื้อเยื่อไขมันและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเต้านมเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต่อมและท่อน้ำนม โดยเฉลี่ยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมได้ถึง 1-2 ไซส์ และจะคงอยู่ไปจนถึงหลังการให้นมลูก

  • อารมณ์ขึ้นง่ายลงยาก

    เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวเศร้า เป็นเรื่องปกติเพราะฮอร์โมนแม่ท้องมีการเปลี่ยนแปลง

3 วิธีคลายกังวล ได้ผลแบบด่วนๆ

  • 1. ฝึกโยค

    สำหรับแม่ท้อง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงยืดหยุ่น และความทนทานของกล้ามเนื้อที่จำเป็นสำหรับการคลอด ทั้งยังช่วยลดความเครียด คลายความกังวล ลดอาการปวดหลัง ปวดหัว คลื่นไส้ หายใจตื้นได้อีกด้วย

  • 2. ฝึกหายใจ

    ทำจิตใจให้สงบและผ่อนคลาย ด้วยการหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ

  • 3. ลูบหน้าท้องเบาๆ

    นอกจากจะช่วยให้แม่ผ่อนคลาย ลูกในท้องก็ยังรับรู้และผ่อนคลายตามไปด้วยได้

ช่วงแรกๆ คุณแม่อาจกังวล แต่ไม่นานความรู้สึกนี้จะค่อยๆ ลดลง แล้วความสุขที่ได้เป็น “แม่” จะเข้ามาแทนที่ค่ะ

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย : รศ.ดร.นพ. ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล