ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน

ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน ตั้งครรภ์หรือเปล่านะ?

Enfa สรุปให้

  • อาการแรกสุดของการตั้งครรภ์ คือการขาดประจำเดือน ซึ่งหมายความว่าหากประจําเดือนไม่มา 2 เดือน จึงมีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ได้
  • ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน ไม่ได้แปลว่าตั้งครรภ์อย่างเดียว แต่ยังหมายถึงมีภาวะเครียด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล อายุและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โรคในระบบสืบพันธุ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • หากประจําเดือนไม่มา 2 เดือน หากตรวจครรภ์แล้วไม่ได้ตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาความผิดปกติและรับการรักษาที่เหมาะสม

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ท้องไหมนะ
     • ทำไมประจำเดือนไม่มา 2 เดือน
     • เช็กอาการคนท้อง หากประจำเดือนไม่มา 2 เดือน
     • ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน แต่ไม่ท้อง
     • ประจำเดือนไม่มามีผลเสียไหม

หนึ่งในสัญญาณแรกสุดของการตั้งครรภ์ก็คือการขาดประจำเดือน ดังนั้น หากประจำเดือนขาดไปจากวันที่ประจำเดือนมาปกติ 1-2 วัน อาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ 

แล้วแบบนี้ถ้าประจำเดือนไม่มา 2 เดือน แปลว่าตั้งครรภ์แล้วหรือเปล่า ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่มีตกขาว นี่คือสัญญาณว่ากำลังจะตั้งท้องใช่ไหมนะ?

ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน ตั้งครรภ์หรือไม่ ประจําเดือนขาด 2 เดือน บอกอะไรบ้าง


ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน ท้องไหม เป็นไปได้หลายกรณี ดังนี้

  • ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน และตั้งครรภ์จริง
  • ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน อาจหมายถึงประจำเดือนมาไม่ปกติ อันเกิดจากโรคเครียด ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ หรือมีปัญหาในระบบสืบพันธุ์
  • ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ที่มีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิดซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนเคลื่อน

ดังนั้น หากประจำเดือนไม่มา 2 เดือน และสงสัยว่าอาจจะตั้งครรภ์ ให้ลองใช้ที่ตรวจครรภ์ทำการตรวจผลการตั้งครรภ์ หรือไปเข้ารับการตรวจครรภ์และตรวจร่างกายกับแพทย์ เพื่อยืนยันผลลัพธ์ที่แม่นยำ

ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่มีตกขาว ตั้งครรภ์หรือไม่

ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่มีตกขาว สามารถเป็นไปได้หลายกรณี ได้แก่

  • ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่มีตกขาว ที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์จริง ๆ  
  • ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่มีตกขาว ที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน ติดเชื้อราในช่องคลอด

หากพบว่าประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่มีตกขาว ให้สังเกตตกขาวดูก่อนว่ามีขาวปกติไหม หรือมีสีอื่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็นไหม หากตกขาวเปลี่ยนเป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาว และมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในภายช่องคลอดค่ะ

ทําไมประจําเดือนไม่มา 2 เดือน


การขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

  • ความเครียด ความวิตกกังวล
  • การใช้ยารักษาโรคบางชนิดที่มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • เกิดจากการตั้งครรภ์
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนไป
  • การกินอาหารบางอย่างที่มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • โรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ

ดังนั้น หากประจำเดือนไม่มา 2 เดือน ขอแนะนำให้หาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างเหมาะสมในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ

ถ้าประจําเดือน ไม่มา 2 เดือน แล้วตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีอาการคนท้องอย่างไรบ้าง


อาการคนท้องในระยะแรกที่สามารถพบได้ มีดังนี้

ทำความเข้าใจกรณีประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่ไม่ท้อง


ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน เป็นได้มากกว่าการตั้งครรภ์ ซึ่งหากประจำเดือนไม่มา 2 เดือน คุณผู้หญิงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายดูว่ากำลังตั้งครรภ์ไหม หรือเกิดความผิดปกติอะไรขึ้นหรือเปล่า เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที ไม่ต้องปล่อยรอจนเกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ประจําเดือนไม่มา 2 เดือน แต่ไม่ได้มีอะไรกับใคร ต้องทำยังไงให้ประจำเดือนมา

หากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานั้น ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับใคร แต่ประจำเดือนยังไม่ยอมมา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยร่างกายว่าเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้นหรือไม่ และรับการรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่อาจเป็นสัญญาณทางสุขภาพ

ประจําเดือน ขาด 2 เดือน แต่ไม่ท้อง ต้องไปพบแพทย์หรือไม่

ประจำเดือนไม่มา 2 เดือน แต่ตรวจแล้วพบว่าไม่ท้อง ก็ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายดูอีกครั้งอย่างละเอียดว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นไหม และรับการรักษาที่เหมาะสมในกรณีที่อาจเป็นสัญญาณทางสุขภาพ

ไม่เป็นประจําเดือน 2 เดือน ส่งผลเสียอะไรต่อร่างกายบ้าง


ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่ควรชะล่าใจนะคะ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายว่ามีความเสี่ยงอะไรหรือเปล่า หากปล่อยไว้นาน ๆ และมีปัญหาสุขภาพจริง อาจสายเกินจะรับมือ

เนื่องจากอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจหมายถึงโรคเครียด ปัญหาฮอร์โมนในร่างกาย ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือโรคในระบบสืบพันธ์ หรือมีภาวะรังไข่เสื่อม เป็นต้น

อนาคตที่ดีที่สุดของลูก เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่

เด็กจะเติบโตมาแข็งแรง มีสุขภาพดี ฉลาด มีไอคิวที่สมวัยได้ พื้นฐานต้องเริ่มมาจากอาหารการกินของคุณแม่ค่ะ โดยกลุ่มสารอาหารสำคัญที่คุณแม่จะต้องได้รับอย่างเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง  
  • โปรตีน ดีต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้กับคุณแม่
  • ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ
  • กรดโฟลิก หรือโฟเลต มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้  
  • แคลเซียม มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกระดูกพรุนทั้งแม่และทารก
  • ไอโอดีน ป้องกันภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์
  • โคลีน มีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ ลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์
  • โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดต่ำอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าโภชนาการสำหรับแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะถ้าหากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่อันตรายต่อทารกได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นประจำทุกมื้อ ก็จะเป็นการปูพื้นฐานการมีสุขภาพดี มีสมองที่ดี ส่งเสริมให้ลูกพร้อมที่จะเติบโตอย่างสมวัย และก้าวไกลไปสู่อนาคตที่ดีอย่างมีคุณภาพได้ค่ะ 

Enfamama TAP No. 1



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

     • เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มาแปลว่าท้องใช่ไหม
     • ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาตอนไหนกันแน่นะ?
     • ปล่อยในตอนเป็นเมนส์ ท้องไหม? เผลอฝ่าไฟแดงไป ทำยังไงดี
     • หลังมีเมนส์กี่วันถึงท้อง มีเซ็กซ์หลังเป็นเมนส์จะท้องไหม
     • อาการก่อนเมนส์มากับอาการคนท้อง เหมือนแค่ไหน ต่างอย่างไร

บทความที่แนะนำ

vaginal-discharge-during-pregnancy
implantation-bleeding
อาการก่อนเมนส์มากับท้อง
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner