ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน แผลผ่าคลอดปริ คุณแม่จะรับมือยังไงดี

Enfa สรุปให้

  • แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ แผลกระทบกระเทือน ดูแลแผลไม่สะอาด การมีเซ็กซ์หลังคลอด เป็นต้น
  • แผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบ มีอาการโดยทั่วไปคือ แผลมีรอยแดง บวม มีหนอง มีอาการปวดที่แผล แผลมีกลิ่นเหม็น และเนื้อผิวเริ่มเปลี่ยนสีหรือเนื้อเริ่มเน่า
  • หากแผลผ่าคลอดอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะถ้าปล่อยเอาไว้แผลจะค่อย ๆ แย่ลง ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง บาดทะยัก หรือโรคเนื้อเน่าได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดจากอะไร
     • แผลผ่าคลอดอักเสบ มีอาการอย่างไร
     • วิธีดูแลแผลผ่าคลอด
     • ไขข้อข้องใจเรื่องอาการแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบกับ Enfa Smart Club

หลังผ่าคลอด คุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเอาใจใส่กับแผลผ่าคลอดเป็นอย่างดี เพราะถ้าหากปล่อยปละละเลย หรือไม่ดูแลตนเองตามที่แพทย์แนะนำ อาจเสี่ยงทำให้ แผลผ่าคลอดปริ หรือ แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน ซึ่งจะเสี่ยงอันตรายมากขึ้น และทำให้คุณแม่ฟื้นตัวช้าลงด้วย

แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดจากอะไร


แผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  • ดูแลแผลไม่สะอาด หรือปล่อยให้เกิดการหมักหมม
  • เกิดการกระทบกระเทือน เช่น ออกแรงมาก ยกของหนัก ทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากเกินไป
  • แผลผ่าคลอดเกิดการติดเชื้อ
  • มีปัญหาสุขภาพเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว และส่งผลต่อการฟื้นตัวของแผลผ่าตัด
  • เกิดอุบัติเหตุและมีการกระทบกระเทือนที่แผล
  • มีเพศสัมพันธ์หลังคลอดโดยที่แผลยังไม่หายดี
  • แพทย์ทำแผลไม่เรียบร้อยดี
  • แพทย์ทำการผ่าคลอดแบบแนวตั้ง ซึ่งมีโอกาสที่แผลผ่าคลอดจะปริได้ง่ายกว่าแผลผ่าตัดแนวนอน

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

แผลผ่าคลอดอักเสบ มีลักษณะและอาการอย่างไร


หากแผลผ่าคลอดอักเสบ อาการจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าแผลผ่าคลอดอักเสบนั้น เกิดจากข้างใน หรือข้างนอก

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

กรณีที่แผลผ่าคลอดอักเสบจากข้างใน แน่นอนว่าคุณแม่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากปากแผล แต่จะสังเกตได้จากอาการโดยทั่วไป ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • มีไข้สูง
  • รู้สึกปวดเวลาปัสสาวะ
  • รู้สึกปวดท้องเวลาลำไส้เคลื่อนตัว
  • มีอาการท้องผูกอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถขับถ่ายได้
  • จับหรือคลำดูพบก้อนนูนที่บริเวณท้องส่วนล่าง

แผลผ่าคลอดอักเสบข้างนอก

กรณีที่แผลผ่าคลอดอักเสบจากข้างนอก แบบนี้คุณแม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของแผลและอาการต่าง ๆ โดยทั่วไปได้อย่างชัดเจน ดังนี้

  • แผลผ่าคลอดมีอาการบวม แดง
  • แผลผ่าคลอดมีเลือดหรือหนองไหลออกมา
  • สีเนื้อบริเวณแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เทา หรือสีดำ จากปกติจะเป็นสีชมพูหรือสีผิวปกติ
  • แผลผ่าคลอดมีกลิ่นเหม็น
  • มีอาการปวดแผลผ่าคลอด

ทำอย่างไรเมื่อแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบ

หากคุณแม่เริ่มแน่ใจว่ามีอาการแผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีนะคะ ถ้าหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อรุนแรง และบาดแผลจะเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ  อาจเสี่ยงบาดทะยัก หรืออาจลุกลามจนกลายเป็นโรคเนื้อเน่าได้ค่ะ

แผลผ่าคลอดอักเสบกินยาอะไร

แม่ให้นมลูกที่มีอาการแผลผ่าคลอดอักเสบ ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการซื้อยามากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากตัวยาบางชนิดสามารถขับออกทางน้ำนม และมีผลต่อทารกที่กินนมแม่ได้ค่ะ

ยาทั่วไปที่ปลอดภัยสำหรับแม่ให้นมบุตรและทารกที่กินนมแม่ เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน ยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน ยาคล็อกซาซิลิน (Cloxacillin) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ดูแลอย่างไรให้แผลผ่าคลอดไม่ปริหรืออักเสบซ้ำ


คุณแม่สามารถดูแลแผลผ่าคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลปริ แผลอักเสบซ้ำสองได้ ดังนี้

  • ล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสกับแผล
  • นอกจากอุ้มลูกแล้ว คุณแม่ไม่ควรยกของหนักหรือออกแรงมากไปกว่านี้
  • หลีกเลี่ยงการขับรถถ้าไม่จำเป็น การนั่งนาน ๆ ขณะขับรถอาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือน หรือแผลกดทับได้
  • ทำความสะอาดแผลเป็นประจำหรือตามแพทย์แนะนำ
  • ดูแลแผลให้แห้ง อย่าปล่อยให้อับชื้น
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป
  • เปลี่ยนอริยาบถบ่อย ๆ ป้องกันแผลกดทับในกรณีที่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ
  • หลีกเลี่ยงการมีเซ็กซ์จนกว่าแผลจะหายดี
  • ไม่ขัด ไม่กด ไม่เกา พยายามหลีกเลี่ยงการกดหรือสัมผัสที่บริเวณแผลผ่าคลอดโดยไม่จำเป็น 

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการแผลผ่าคลอดปริ แผลผ่าคลอดอักเสบกับ Enfa Smart Club


แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน อาการ เป็นยังไง

อาการแผลผ่าคลอดอักเสบจากข้างใน มีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ 

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง 
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • ความดันโลหิตต่ำ 
  • มีไข้สูง 
  • รู้สึกปวดเวลาปัสสาวะ 
  • รู้สึกปวดท้องเวลาลำไส้เคลื่อนตัว 
  • มีอาการท้องผูกอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถขับถ่ายได้ 
  • จับหรือคลำดูพบก้อนนูนที่บริเวณท้องส่วนล่าง 

แผลผ่าคลอดปริ รักษายังไง? 

แผลผ่าคลอดปริ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตัดชิ้นเนื้อส่วนที่เน่าหรือตายแล้วออก และทำการเย็บปิดแผลใหม่อีกครั้งหากจำเป็น โดยแพทย์อาจให้ยามากินด้วยในกรณีที่ต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ 

แผลผ่าคลอดปริข้างใน ปล่อยไว้จะติดเองไหม? 

หากแผลปริ แผลอักเสบ หากปล่อยให้แผลปริและอักเสบต่อไปเรื่อย ๆ  เสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อรุนแรง เสี่ยงต่อบาดทะยัก เนื้อตาย หรือโรคเนื้อเน่าได้ 

ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการแผลปริหรืออักเสบ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

บทความที่แนะนำ

Child-development/Breastfeeding/Techniques/Water-affect-breastfeeding
เลือดออกหลังคลอด
ทำหมันหลังคลอด อันตรายไหม พักฟื้นนานหรือเปล่า?
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner