Leaving page banner
 

ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม คนท้องกินชาเขียวได้หรือเปล่า

ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม คนท้องกินชาเขียวได้หรือเปล่า

 

Enfa สรุปให้

  • ปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แพทย์แนะนำว่าไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งชาแต่ละชนิดจะให้คาเฟอีนในปริมาณมาณ 25-50 มิลลิกรัมต่อแก้ว ดังนั้น การดื่มชาจึงถือว่าค่อนข้างที่จะปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

  • คาเฟอีนนั้นสามารถที่จะส่งผ่านไปยังรกได้ง่าย ซึ่งเมื่อทารกได้รับคาเฟอีนเข้าไปมาก ๆ เข้า ตับอ่อนของทารกก็มีปัญหาในการย่อย ด้วยเหตุนี้ทารกจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียงจากปริมาณคาเฟอีนได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ก็ตาม

  • จากผลการวิจัยยังพบอีกว่า ทารกที่ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ หรือมีความพิการแต่กำเนิด และยังเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือการตายคลอดอีกด้วย


เลือกอ่านตามหัวข้อ

• ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม?
• คาเฟอีนส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง
• แม่ตั้งท้องสามารถดื่มชาได้มากแค่ไหน
• ไขข้อข้องใจเรื่องการดื่มชาเขียวของคุณแม่ตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club

ชา อีกหนึ่งเครื่องดื่มยอดนิยมตลอดกาลของใครหลาย ๆ คน นอกจากจะมีกลิ่นหอมสดชื่นแล้ว เวลาดื่มชาก็ยังรู้สึกผ่อนคลาย แถมยังได้สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย จึงไม่แปลกที่ใคร ๆ ก็มักจะหลงใหลในการดื่มชา ไม่เว้นแม้แต่คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนที่ก็ชอบดื่มชาเหมือนกัน เพราะเชื่อว่าการดื่มชาจะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี แต่การดื่มชาตอนตั้งครรภ์จะปลอดภัยจริง ๆ ไหม และดื่มได้มากน้อยแค่ไหน Enfa มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการดื่มชาขณะตั้งครรภ์มาฝากค่ะ 

ชาเขียวมีคาเฟอีนไหม?


หากการดื่มกาแฟ ร่างกายจะได้รับปริมาณคาเฟอีน การดื่มชาก็ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากการดื่มกาแฟนัก เพราะในใบชาเองก็อัดแน่นไปด้วยสารเคเฟอีนเช่นเดียวกัน แต่ว่าในใบชาจะมีปริมาณสารคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ 

โดยในชาหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จากชาแต่ละชนิดจะได้คาเฟอีนในปริมาณดังต่อไปนี้ 

  • มัทฉะ มีคาเฟอีนประมาณ 60–80 มิลลิกรัม 

  • ชาอู่หลง มีคาเฟอีนประมาณ 38–58 มิลลิกรัม 

  • ชาดำ มีคาเฟอีนประมาณ 47–53 มิลลิกรัม 

  • ชาไช หรือชาไจของอินเดีย มีคาเฟอีนประมาณ 47–53 มิลลิกรัม 

  • ชาขาว มีคาเฟอีนประมาณ 25–50 มิลลิกรัม 

  • ชาเขียว มีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

คาเฟอีนในชาเขียวส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง


คาเฟอีนนั้นสามารถที่จะส่งผ่านไปยังรกได้ง่าย ซึ่งเมื่อทารกได้รับคาเฟอีนเข้าไปมาก ๆ เข้า ตับอ่อนของทารกก็มีปัญหาในการย่อย ด้วยเหตุนี้ทารกจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียงจากปริมาณคาเฟอีนได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ก็ตาม 

มากไปกว่านั้น จากผลการวิจัยยังพบอีกว่า ทารกที่ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ หรือมีความพิการแต่กำเนิด อีกทั้งการได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่สูงขณะตั้งครรภ์ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรหรือการตายคลอดอีกด้วย 

แม่ตั้งท้องสามารถดื่มชาได้มากแค่ไหน 


ปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แพทย์แนะนำว่าไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งชาแต่ละชนิดจะให้คาเฟอีนในปริมาณมาณ 25-50 มิลลิกรัมต่อแก้ว ดังนั้น การดื่มชาจึงถือว่าค่อนข้างที่จะปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ 

แต่สิ่งสำคัญก็คือ ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะเสี่ยงที่ร่างกายจะสะสมคาเฟอีนเอาไว้ในปริมาณสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดระดับของคาเฟอีนนั้นไม่สามารถจะมากะเกณฑ์กันโดยใช้ตาชั่งวัดตวงได้ การดื่มชาในปริมาณมาก มีแต่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูง 

อย่างไรก็ตาม มัทฉะ ชาดำ และชาไชของอินเดีย เป็นกลุ่มชาที่ให้ปริมาณคาเฟอีนสูง หากจะดื่มชาชนิดนี้ ควรดื่มในปริมาณน้อย เพราะชาเหล่านี้ให้ปริมาณคาเฟอีนต่อแก้วสูงกว่าชาชนิดอื่น ๆ 

คนท้องกินชาอะไรได้บ้าง? 

คนท้องสามารถเลือกดื่มชาได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมัทฉะ ชาเขียว ชาดำ ชาขาว ชาอู่หลง และชาไชหรือชาไจของอินเดีย 

ซึ่งชาที่ได้จากใบชาเหล่านี้ถือว่ามีความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ หากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม  

ส่วนชาที่ไม่แนะนำสำหรับการตั้งครรภ์คือกลุ่มชาที่เป็นชาสมุนไพร หรือชาที่ไม่ได้มาจากต้นของใบชา เช่น ชาขิง ชามะรุม ชาเจียวกู่หลาน ชาใบหม่อน ชาคาโมมายล์ เป็นต้น  

ทั้งนี้เพราะชาสมุนไพรหลาย ๆ อย่างนั้น ยังไม่มีผลการวิจัยและผลการศึกษาที่เพียงพอจะรองรับความปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร มากไปกว่านั้น สารบางอย่างในสมุนไพรยังอาจมีปฏิกิริยาหรือต่อยารักษาโรคบางอย่างที่คุณแม่กำลังใช้อยู่ด้วย 

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเลือกดื่มชาที่ทำมาจากใบชาจะปลอดภัยกว่า 

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม? 

ชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์  

ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 

ชาเขียวคืออะไร? ทำไมแม่ท้องจึงมักถูกเตือนให้ระวังการดื่มชาเขียว? 

ชาเขียว คือใบชาชนิดเดียวกับชาดำ ต่างกันที่กระบวนการในการนำมาทำเป็นใบชา และยังให้ปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันด้วย โดยชาเขียวจะให้ปริมาณคาเฟอีนที่น้อยกว่าชาดำ 

ชาเขียว อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างโพลีฟีนอลที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มโพลีฟีนอลนี้จะทำหน้าที่ต่อสู้กับอนุมูลอิสระในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ DNA ในเซลล์เสียหายหรือถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดื่มชาและกาแฟนั้นมักจะได้รับการแนะนำให้ลดปริมาณการดื่มลง เพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับปริมาณคาเฟอีนสะสมในร่างกายสูงเกินไป 

แต่...ชาเขียวนั้นถือว่ามีปริมาณคาเฟอีนที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่น ๆ ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงยังถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 

คนท้องกินชาเขียวทุกวัน ทำใจเลิกไม่ได้ ทำยังไงดี? 

สำหรับคุณแม่ที่ดื่มชาเขียวมาตลอด เป็นชาเขียวเลิฟเวอร์ แม้ตอนตั้งครรภ์แล้วก็ยังติดดื่มชาเขียววันละหลาย ๆ แก้ว ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลว่าจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ 

แต่จริง ๆ แล้วชาเขียวนั้นให้ปริมาณคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ต่อการดื่มชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ดังนั้น การดื่มชาเขียว 1 แก้วต่อวันจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 

ส่วนคุณแม่คนไหนที่ติดดื่มชาเขียววันละ 4-5 แก้ว ก็อาจจะต้องค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มชาเขียวลงมา จากวันละ 4-5 แก้ว ค่อย ๆ ลดลงวันละแก้ว จนกระทั่งเหลือแค่วันละ 1-2 แก้ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการได้รับคาเฟอีนเกินกำหนด 200 มิลลิกรัมต่อวัน 

ไขข้อข้องใจเรื่องการดื่มชาเขียวของคุณแม่ตั้งครรภ์กับ Enfa Smart Club


1. คนท้องกินชาเขียวอเมซอนได้ไหม? 

คนท้องสามารถที่จะดื่มชาเขียวได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพราะชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์  

ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 

แต่ชาเขียวจากร้านต่าง ๆ บางครั้งอาจจะมีการเติมนม น้ำเชื่อม หรือสารให้ความหวานต่าง ๆ ส่วนนี้อาจจะต้องระวัง เพราะหากร่างกายรับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปอาจเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทางที่ดีควรเน้นดื่มชาเขียวที่ไม่มีการเติมสารให้ความหวาน หรือเติมแค่เพียงนิดหน่อยจะดีต่อสุขภาพมากกว่า 

2. คนท้องกินชาเขียวโออิชิได้ไหม? 

คนท้องสามารถที่จะดื่มชาเขียวได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพราะชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์  

ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 

แต่ผลิตภัณฑ์ชาเขียวต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบขวด หรือรูปแบบกล่อง บางครั้งอาจมีการเพิ่มสารให้ความหวานต่าง ๆ ส่วนนี้อาจจะต้องระวัง เพราะหากร่างกายรับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปอาจเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทางที่ดีควรเน้นดื่มชาเขียวที่ไม่มีการเติมสารให้ความหวาน หรือเติมแค่เพียงนิดหน่อยจะดีต่อสุขภาพมากกว่า 

3. คนท้องกินชานมไต้หวันได้ไหม? 

ชานมไต้หวัน คุณแม่สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ควรจะดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพียง 1-2 แก้วต่อวัน เพราะในกลุ่มของชานม หรือชานมไข่มุกนั้น นอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลในชานมไต้หวัน เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 

4. คนท้องกินชามะลิได้ไหม? 

ชามะลิ ถือเป็นกลุ่มชาสมุนไพร เพราะไม่ได้ทำมาจากใบชา ซึ่งชาสมุนไพรนั้นมักไม่ค่อยปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์ 

เนื่องจากชาสมุนไพรหลาย ๆ ชนิดนั้น ยังไม่มีผลการวิจัยและผลการศึกษาที่เพียงพอจะรองรับความปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร มากไปกว่านั้น สารบางอย่างในสมุนไพรยังอาจมีปฏิกิริยาหรือต่อยารักษาโรคบางอย่างที่คุณแม่กำลังใช้อยู่ด้วย 

ดังนั้น หากเลี่ยงการดื่มชามะลิได้ ก็จะปลอดภัยต่อสุขภาพการตั้งครรภ์มากกว่า 

5. คนท้องกินชานมไข่มุกได้ไหม? 

ชานมไข่มุก คุณแม่สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ควรจะดื่มในปริมาณที่เหมาะสม หรือไม่ควรเกิน 1 แก้วต่อวัน เพราะในกลุ่มของชานม หรือชานมไข่มุกนั้น นอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลในชานมไข่มุก เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 

6. คนท้องกินชามะนาวได้ไหม? 

ชามะนาว อีกหนึ่งเครื่องดื่มยอดนิยม คุณแม่ก็สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่จะใส่ลงในชามะนาว เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 

7. คนท้องกินชาเย็นได้ไหม? 

ชาเย็น หรือชานมเย็น คุณแม่ก็สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่จะมีการเติมลงในชาเย็น เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 

8. คนท้องกินชาไทยได้ไหม? 

ชาไทยหอมชื่นใจ อีกหนึ่งเครื่องดื่มสุดฮิตที่คนไทยนิยมดื่มกัน ก็เป็นเครื่องดื่มที่คุณแม่สามารถดื่มได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่ใส่เข้ามาในชาไทย เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น 

9. คนท้องกินชานมโกโก้ได้ไหม? 

ชานมโกโก้ คุณแม่สามารถดื่มได้ เพียงแต่ควรระวังไม่ดื่มมากเกิน 1 แก้วต่อวัน เพราะโกโก้นั้นมีสารคาเฟอีนในปริมาณสูง 

โดยผงโกโก้เพียง 1 ช้อนชา ให้คาเฟอีนสูงถึง 6.6 มิลลิกรัมเลยทีเดียว และผงโกโก้แค่เพียง 8 ออนซ์ (ประมาณ 100 กรัม) มีคาเฟอีนสูงถึง 230 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามากเกินกว่าปริมาณคาเฟอีนที่กำหนดไว้ 200 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับแม่ตั้งครรภ์ 

ดังนั้น แม่ตั้งท้องจึงไม่ควรดื่มโกโก้เยอะ และนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่ใส่เข้ามาในชานมโกโก้ เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    EFB Form

    EFB Form