อาหารคนท้องที่คุณแม่ควรทาน คือ อาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารและวิตามินที่ครบถ้วน เพื่อเพียงพอต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการในทุกด้านของทารกระหว่างที่อยู่ในครรถ์ เพราะฉะนั้นอาหารการกินจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องต้องใส่ใจ มาดูกันว่าในตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่และลูกในครรภ์นั้นควรทานอาหารอะไรบ้าง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย
คุณต้องการทำอะไรมากกว่านี้เพื่อสนับสนุนการตั้งครรภ์ของคุณผ่านอาหารหรือไม่? เข้าร่วม Enfa A + Smart Club เพื่อรับคำแนะนำและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารระหว่างตั้งครรภ์
อาหารคนท้อง 7 ชนิด ที่คนตั้งครรภ์ควรทาน
1. ปลาทะเลหรือนมที่มี DHA สูง
ดีเอชเอ เป็นอาหารคนท้องที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณแม่ท้องควรได้รับดีเอชเอที่เพียงพอต่อร่างกายและพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ โดยรับประทานปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง หรือดื่มนมสูตรเสริมดีเอชเอก็ได้ประโยชน์เช่นกัน
2. โปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือถั่ว
เป็นสารอาหารสำหรับคนท้องที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของสมองทารก แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุกชนิด ปลา นมถั่วเหลือง ไข่ เป็นต้น
3. อาหารที่มีธาตุเหล็ก
เป็นอาหารคนท้องที่ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง พบมากในเนื้อแดง ไข่แดง ถั่วแดง ขนมปังโฮลวีท ผักโขม สาหร่ายทะเล เป็นต้น
4. ผักผลไม้ที่อุดมด้วยโฟเลต
สำคัญต่อการสร้างเซลล์สมองระบบประสาท และไขสันหลังให้ทารกในครรภ์ คุณแม่ท้องควรรับประทานอาหารคนท้องที่มีโฟเลตอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันความผิดปกติของสมองและไขสันหลังของทารก แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี่ คะน้า แคนตาลูป เป็นต้น ซึ่งผัก ผลไม้เหล่านี้ สามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารคนท้องสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้หลากหลายเมนูเลยค่ะ
5. อาหารที่มีแคลเซียมสูง
สำคัญต่อการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ รวมทั้งยังมีความสำคัญต่อคุณแม่ท้องที่ต้องมีการสะสมแคลเซียมให้ร่างกาย เพราะหากขาดแคลเซียมอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนขึ้นได้ในอนาคต แหล่งอาหารคนท้องที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ ปลาตัวเล็กๆ ผักคะน้า นม เป็นต้น
6. ไอโอดีน จากอาหารทะเล
สำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทของทารก การขาดไอโอดีนเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมและสติปัญญาไม่สมบูรณ์ แหล่งอาหารคนท้องที่อุดมไปด้วยไอโอดีน ได้แก่ อาหารทะเล เช่น สาหร่ายทะเล ปลาทะเล กุ้ง หอย ปลาหมึก เป็นต้น
7. อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
สำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาทของทารก การขาดไอโอดีนเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมและสติปัญญาไม่สมบูรณ์ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไอโอดีน ได้แก่ อาหารทะเล เช่น สาหร่ายทะเล ปลาทะเล กุ้ง หอย ปลาหมึก เป็นต้น
6 อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง
1. อาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ
เป็นอาหารคนท้องที่ควรเลี่ยง ในอาหารเหล่านี้จะมีผงชูรส และสารกันบูด หากลองคิดดูว่า แค่ทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปมื้อเดียวก็จะได้รับโซเดียมที่สูงมากเกินพอต่อวันแล้ว หากทานมากๆ จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และคุณแม่เองด้วย
2. ไข่ดิบ
ไม่ควรกินไข่ดิบเพราะย่อยยากกระเพาะอาหารทำงานหนัก และอาจติดเชื้อซัลโมเนลลาที่สามารถส่งผลให้เป็นไข้ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ทำให้ส่งผลไม่ดีต่อทารกในครรถ์เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเมนูอาหารคนท้องที่ทำจากไข่ควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
3. ปลาหรือเนื้อดิบ
เช่น ซูชิ สเต็กเนื้อสุกไม่ทั่ว แซลมอนรมควันและหอยนางรมสด ไม่เหมาะต่อการนำมาปรุงเป็นอาหารแม่ตั้งครรภ์
4. นมสด ชีสและโยเกิร์ต
ที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ไม่เหมาะต่อการนำมาเป็นเมนูอาหารคนท้อง
5. ถั่วลิสง
คุณแม่ท้องที่จะให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงการทานถั่วลิสงมากๆ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ต่างๆ เช่น หอบหืด แพ้ผื่นคันหรือแพ้ละอองเกสร
6. แอลกอฮอล์
ในขณะตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการของทารก
คุณแม่จำเป็นต้องเลือกทานอาหารสำหรับคนท้องที่เหมาะสม เพราะไม่ใช่แค่คุณแม่เท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากสารอาหารเหล่านี้ ทารกในครรภ์ก็ยังจะได้รับประโยชน์จากอาหารที่คุณแม่กินด้วย เพื่อนำไปใช้สร้างระบบร่างกายต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ฉะนั้นในช่วงการตั้งครรภ์ทั้ง 9 เดือนนี้ คุณแม่ท้องควรได้รับอาหารสำหรับคนท้องที่มีประโยชน์นะคะ
ถึงเวลาที่คุณแม่ต้องคิดถึงการบำรุงและดูแลครรภ์ สิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจก็คือการได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพนั้นไม่ได้สำคัญเฉพาะกับพัฒนาการลูกในครรภ์เท่านั้น หากยังส่งผลต่อสุขภาพและช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย
โภชนาการที่ดีหมายถึงการที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่และวิตามิน) และยังช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือสารอาหารอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินดี ออกกำลังกายบ่อยๆ และไม่เครียด สุขภาพกายและใจที่ดีของคุณแม่จะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
