ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
foods-to-avoid-during-pregnancy

อาหารที่คนท้องห้ามกิน ต้องงด และต้องเลี่ยง มีอะไรบ้างนะ

Enfa สรุปให้

  • อาหารการกิน เป็นเรื่องสำคัญที่แม่ท้องจะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะอาหารนั้นนอกจากจะหล่อเลี้ยงร่างกายของคุณแม่แล้ว ทารกในครรภ์ก็จะได้รับด้วยเช่นกัน
  • หากแม่กินอาหารที่มีประโยชน์ ทารกในครรภ์ก็จะมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ มีพัฒนาการที่สมวัย และห่างไกลจากความเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร เป็นต้น
  • แต่ถ้าแม่กินอาหารที่คนท้องไม่ควรกิน และหากกินเข้าไปมาก ๆ ทารกในครรภ์ก็จะได้รับผลข้างเคียงจากอาหารเหล่านั้นด้วย อาจก่อให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ หรือมีผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อาหารที่คนท้องห้ามกิน พิจารณาจากอะไร
     • คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง
     • คนท้องควรกินอะไร ถึงจะดีต่อการตั้งครรภ์

เรื่องอาหารการกินของคนท้องนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่จะต้องคอยดูแลเป็นอย่างดี เพราะทุกอย่างที่คุณแม่กินเข้าไปไม่ได้มีผลต่อร่างกายของคุณแม่เพียงอย่างเดียว แต่เจ้าตัวเล็กในท้อง ก็พลอยจะได้รับทั้งข้อดีและข้อเสียของอาหารนั้น ๆ ตามไปด้วย

ถ้ากินอาหารดี มีประโยชน์ ลูกก็จะคลอดออกมาแข็งแรง แต่ถ้าคุณแม่กินอาหารต้องห้าม อาหารที่ควรเลี่ยง ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ หรืออาจนำไปสู่ความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ได้ วันนี้ Enfa จะพามาดูกันว่า อาหารแบบไหนที่คนท้องต้องเลี่ยง และคนท้องห้ามกินอะไร 

ทำความเข้าใจอาหารที่คนท้องห้ามกิน และที่กินได้แต่จำกัดปริมาณ 


หลัก ๆ แล้วคนท้องกินอาหารได้หลายอย่างมากค่ะ อาหารที่ต้องห้ามนั้นถือว่ามีน้อย และบางอย่างก็เป็นอาหารที่คุณแม่หลายคนไม่กินอยู่แล้ว ดังนั้น หากจะถามว่าคนท้องไม่ควรกินอะไร หรืออาหารที่คนท้องไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง ก็อาจจะต้องแยกเป็นกรณีไป ดังนี้ 

  • กินได้ แต่ต้องกินในปริมาณที่จำกัด 
  • ห้ามกินเด็ดขาด เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพรุนแรง 
  • ห้ามกินเฉพาะบางคน เนื่องจากคุณแม่หลายคนอาจมีปัญหาสุขภาพกับอาหารบางอย่างมาแต่เดิมแล้ว เช่น อาการแพ้อาหาร เป็นต้น แต่ถ้าคุณแม่ไม่มีประวัติการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ ก็สามารถกินได้ตามปกติ 

คนท้องห้ามกินอะไรเด็ดขาด 

สิ่งที่คนท้องห้ามกินเด็ดขาด บางอย่างอาจจะดูเป็นมื้ออาหารปกติ แต่อย่าลืมว่าสุขภาพคนท้องนั้นค่อนข้างมีความอ่อนไหว อาหารบางอย่างที่กินได้ปกติเมื่อตอนยังไม่ท้อง เมื่อท้องแล้วอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็น: 

  • อาหารที่ยังไม่ปรุงสุก หรือกึ่งดิบกึ่งสุกทุกชนิด 
  • อาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือพาสเจอไรซ์ 
  • ปลาทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารปรอทสูง เช่น ฉลาม ปลาทูน่า 
  • แอลกอฮอล์ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
  • สมุนไพรต่าง ๆ แม้ว่าใครจะแนะนำว่ามีสรรพคุณดีแค่ไหนก็ตาม ไม่ควรกินค่ะ เพราะสมุนไพรส่วนมากยังไม่มีผลการวิจัยที่รับรองต่อความปลอดภัยของสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 

คนท้องกินได้ แต่ควรจำกัดปริมาณ 

อาหารบางอย่างคุณแม่ท้องก็ยังสามารถที่จะกินได้ปกติ แต่...ควรจำกัดปริมาณ เพราะถ้าหากกินมากเกินไป จากที่ไม่อันตราย ก็เสี่ยงที่จะอันตรายต่อการตั้งครรภ์ 

  • อาหารที่มีคาเฟอีน ในที่นี้ไม่ได้หมายความเฉพาะชาและกาแฟ แต่ยังพูดถึงช็อกโกแลตกับโกโก้ที่มีคาเฟอีนสูงด้วย 
  • อาหารทะเล สามารถกินได้ค่ะ แต่ควรกินในปริมาณที่พอดี เพราะอาหารทะเลบางชนิดอาจมีการปนเปื้อนของปรอทสูง และควรกินเฉพาะอาหารทะเลที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น 
  • โซดา น้ำอัดลม อันนี้คุณแม่ก็ดื่มได้ค่ะ เพียงแต่ไม่ควรดื่มบ่อย เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีกรดและแก๊ส ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน อีกทั้งน้ำอัดลมบางชนิดยังมีน้ำตาลสูง เสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว 

อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน ทำไมมีเยอะเหลือเกิน? แม่ ๆ รู้ไหมว่าทำไมการกินในช่วงไตรมาสแรกถึงสำคัญมาก  

ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญมากค่ะ คุณแม่จำเป็นและควรที่จะกินอาหารที่มีประโยชน์ และให้สารอาหารที่จำเป็นสต่อการตั้งครรภ์ เพราะในไตรมาสแรกนี้ตัวอ่อนเริ่มที่จะสร้างเซลล์อวัยวะต่าง ๆ หากไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์ในอนาคตได้ค่ะ 

จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนที่ท้องในไตรมาสแรกจึงมักจะกังวลว่า อาหารคนท้องอ่อนห้ามกินมีอะไรบ้าง หรือ ท้องอ่อนห้ามกินอะไร 

ซึ่งอาหารที่คนท้องอ่อนห้ามกิน และควรระวัง ในช่วงไตรมาสแรกนี้ก็จะเป็นหลักปฏิบัติเดียวกันกับทุกช่วงอายุครรภ์เลยค่ะ นั่นก็คือไม่ควรกินอาหารจำพวก: 

  • อาหารที่ยังไม่ปรุงสุก หรือกึ่งดิบกึ่งสุกทุกชนิด 
  • อาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือพาสเจอไรซ์ 
  • ปลาทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารปรอท เช่น ฉลาม ปลาทูน่า 
  • แอลกอฮอล์ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
  • สมุนไพรต่าง ๆ เนื่องจากสมุนไพรส่วนมากยังไม่มีผลการวิจัยที่รับรองต่อความปลอดภัยของสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 

ไขข้อสงสัยที่ว่าคนท้องห้ามกินอะไร


คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง? หลัก ๆ แล้วในระยะเวลาการตั้งครรภ์ตลอดทั้ง 9 เดือนนั้น ก็จะเหมือนกันทั้งหมด กล่าวคือช่วงที่ตั้งครรภ์อยู่ ควรจะหลีกหนีจากอาหารเหล่านี้ให้ไกล ไม่แตะเลยอย่างเด็ดขาด เพื่อสุขภาพการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งแม่และเด็ก 

อาหารที่คนท้องห้ามกิน คือ อาหารจำพวก: 

  • อาหารที่ยังไม่ปรุงสุก หรือกึ่งดิบกึ่งสุกทุกชนิด 
  • อาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือพาสเจอไรซ์ 
  • ปลาทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารปรอท เช่น ฉลาม ปลาทูน่า 
  • แอลกอฮอล์ หรืออาหารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 
  • สมุนไพรต่าง ๆ เนื่องจากสมุนไพรส่วนมากยังไม่มีผลการวิจัยที่รับรองต่อความปลอดภัยของสตรีมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 

อย่างไรก็ตาม ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่คุณแม่อาจจะรู้สึกลังเลและก้ำกึ่งในใจว่า กินได้ หรือกินไม่ได้ ตัวอย่างเช่น: 

ข้อสงสัยเกี่ยวกับอาหารกินได้ กินไม่ได้ ต้องระวัง?

  • คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม ?

คนท้องสามารถกินหอยนางรมได้ค่ะ คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม นั้น จึงไม่ต้องกังวลไปค่ะ แต่...ควรกินในปริมาณที่พอดี และสำคัญที่สุดคือห้ามกินหอยนางรมดิบเด็ดขาด! เพราะอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกถือว่าเป็นอาหารต้องห้ามของคนท้องค่ะ เนื่องจากเสี่ยงที่จะได้รับพยาธิหรือเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย จึงควรกินแต่หอยนางรมที่ปรุงสุกเท่านั้น 

  • คนท้องกินปลาหมึกย่างได้ไหม?

อาหารทะเลมักจะมีการปนเปื้อนของสารปรอท คนท้องหลาย ๆ คนเลยเลี่ยงที่จะไม่กิน แต่จริง ๆ แล้วคนท้องสามารถกินอาหารทะเลได้นะคะ อย่างน้อยควรจะกินอาหารทะเล 8-10 ออนซ์ต่อสัปดาห์ เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน 

โดยอาหารทะเลที่เป็นที่นิยมมากอย่างปลาหมึกนั้น คุณแม่บางคนอาจจะกังวลว่า คนท้องกินปลาหมึกย่างได้ไหม ไม่ควรกินรึเปล่า แต่คนท้องสามารถกินปลาหมึกได้ค่ะ เพราะในปลาหมึกนั้นไม่ได้มีระดับของสารปรอทที่สูงจนเป็นอันตราย เพียงแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ปลาหมึกนั้นจะต้องผ่านการปรุงสุกแล้วเท่านั้น 

ข้อสงสัยเกี่ยวกับผลไม้ที่คนท้องห้ามกิน 

คนท้องกับการฟังความเชื่อที่ส่งต่อกันมานั้น เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ค่ะ แม้แต่ผลไม้บางอย่างยังถูกดิสเครดิตว่าเป็นผลไม้ที่คนท้องไม่ควรกิน แล้วในความเป็นจริงมันมีผลไม้ที่คนท้องไม่ควรกินหรือเปล่า คนท้องห้ามกินผลไม้อะไรบ้าง? 

บอกได้เลยว่า คนท้องกินผลไม้ได้ทุกชนิดเลยค่ะ ไม่มีผลไม้ชนิดใดที่จะส่งผลอันตรายต่อการตั้งครรภ์รุนแรงเลยค่ะ ยกเว้นว่าคุณแม่มีอาการแพ้ผลไม้ชนิดนั้น ๆ 

  • คนท้องกินทุเรียนได้ไหม? 

กับข้อสงสัยที่ว่า คนท้องกินทุเรียนได้ไหม? ทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่ถูกเข้าใจผิดมาตลอดว่าคนท้องห้ามกินทุเรียน ทั้งที่จริงแล้วคนท้องกินทุเรียนได้ค่ะ เพียงแต่ว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีพลังงานค่อนข้างสูง และก็มีน้ำตาลในปริมาณมาก  

ดังนั้น แม้ว่าคนท้องจะกินทุเรียนได้ ก็ควรจะกินแต่พอดี ไม่ควรกินเกิน2-3 พู หรือประมาณ 4-6 เม็ด เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ค่ะ 

  • คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม? 

คุณแม่มือใหม่หลายๆคนมักสงสัยว่า คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม ซึ่งมะพร้าวและน้ำมะพร้าวก็มักถูกเข้าใจผิดว่า ถ้ากินเข้าไปมาก ๆ จะทำให้แท้ง หรือทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วไม่มีไข ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงเลยค่ะ แม้ในน้ำมะพร้าวจะมีเอสโตรเจนสูง แต่ก็ไม่ได้มากพอที่จะทำให้เกิดอาการแท้งได้ ส่วนไขขาว ๆ ที่อยู่รอบตัวทารกนั้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นจนใกล้คลอด ไขเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเองตามธรรมชาติ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับน้ำมะพร้าวเลย 

ดังนั้น คุณแม่จึงสามารถกินทั้งมะพร้าวและน้ำมะพร้าวได้ตามปกติเลยค่ะ แต่อย่าลืมสลับกินอย่างอื่นบ้าง มื้ออาหารจะได้ไม่น่าเบื่อจนเกินไป 

  • คนท้องกินสับปะรดได้ไหม ?

คำตอบเดียวของคุณแม่ที่ไม่ควรกินสับปะรดก็คือคุณแม่ที่มีอาการแพ้สับปะรดค่ะ แต่ถ้าคุณแม่ไม่มีอาการแพ้ใด ๆ ต่อสับปะรด คนท้องกินสับปะรดได้ไหม นั้น สามารถที่จะกินได้ตามปกติเลยค่ะ สับปะรดไม่ได้ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์แต่อย่างใด กลับกันคือมีประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่เสียด้วยซ้ำ 

  • คนท้องกินแตงโมได้ไหม ?

มีความเชื่อที่บอกต่อ ๆ กันมาว่าถ้าคนท้องกินแตงโมมาก ๆ แล้วจะบวมน้ำ ซึ่งแม้ว่าแตงโมจะเป็นผลไม้ที่มีความฉ่ำน้ำสูงก็จริง แต่ก็ไม่มากพอจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมน้ำในคนท้องได้ 

และในความเป็นจริงแล้วอาการบวมน้ำเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนท้องค่ะ ดังนั้น จะกินหรือไม่กินแตงโม คุณแม่ก็อาจจะมีอาการบวมน้ำได้เช่นกัน ที่สำคัญก็คือถ้าคุณแม่ไม่ได้มีอาการแพ้แตงโม คำถามที่ว่าคนท้องกินแตงโมได้ไหม ? ก็คือ สามารถที่จะกินแตงโมได้อย่างปกติ และสบายใจเลยค่ะ 

  • คนท้องกินเงาะได้ไหม 

สิ่งที่น่ากังวลหลัก ๆ ของเงาะก็คือ เป็นผลไม้ที่ค่อนข้างมีน้ำตาลสูง ดังนั้น คุณแม่ที่เป็นเบาหวาน หรือมีอาการทางสุขภาพที่จำเป็นจะต้องควบคุมปริมาณน้ำตาล เช่นนั้นเงาะก็อาจจะเป็นผลไม้ที่คุณแม่ต้องเลี่ยงค่ะ 

แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้มีปัญหากับสุขภาพในเรื่องของระดับน้ำตาล ก็สามารถกินเงาะได้ตามปกติเลย แต่ทางที่ดีก็อย่ากินมากเกินไป และไม่กินบ่อยจนเกินไป เพราะอาจจะกลายเป็นว่าไปทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ 

เกี่ยวกับผักที่คนท้องห้ามกิน 

โดยมากแล้วคุณแม่ก็สามารถที่จะกินผักได้ทุกชนิดเลยค่ะ เพราะเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดีต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ เว้นแต่คุณแม่อาจจะมีอาการแพ้ต่อผักบางชนิด ก็อาจจะต้องหลีกเลี่ยงให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ค่ะ 

  • คนท้องกินถั่วงอกได้ไหม ?

ถั่วงอกนี้มักจะกินกันสด ๆ ซึ่งถั่วงอกที่ไม่ผ่านการลวกหรือปรุงให้สุกก่อนนั้นมักจะมีเชื้อแบคทีเรียเชื้อซัลโมเนลลา หรืออีโคไล อยู่ด้วย ดังนั้นหากถามว่า คนท้องกินถั่วงอกได้ไหม? นั้น ทางที่ดีควรกินแต่ถั่วงอกสุกเท่านั้น และหลีกเลี่ยงถั่วงอกสด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ค่ะ 

  • คนท้องกินเฉาก๊วยได้ไหม ?

จริง ๆ แล้วผลเสียของการกินเฉาก๊วยนั้นในปัจจุบันยังถือว่ามีผลการศึกษาและผลการวิจัยที่ค่อนข้างน้อย แต่ก็ไม่พบว่าเฉาก๊วยส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์นะคะ  ตอบคำถามที่ว่า คนท้องกินเฉาก๊วยได้ไหม?

คือ คนท้องสามารถกินเฉาก๊วยได้ค่ะ เพียงแต่สิ่งที่น่ากังวลมากว่าเฉาก๊วยก็คือ พวกน้ำเชื่อม น้ำตาลที่เติมมากับเฉาก๊วยนั่นต่างหากที่น่ากังวลยิ่งกว่า เพราะถ้าหากกินบ่อย ๆ ร่างกายก็จะสะสมทั้งน้ำตาลและไขมันเอาไว้มาก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคอ้วน เบาหวาน จึงควรกินแต่พอดีค่ะ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด ยิ่งไม่ควรจะกินเยอะ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้อาการทางสุขภาพแย่ลงได้ 

เครื่องดื่มคนท้องห้ามกิน และต้องระวัง

เครื่องดื่มที่คนท้องห้ามกินและดื่มอย่างเด็ดขาดเลยก็คือ แอลกอฮอล์ เพราะเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงต่อการตั้งครรภ์ หรืออาจนำไปสู่การแท้งลูก หรือคลอดก่อนกำหนดได้ 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ยังสามารถดื่มเครื่องดื่มอื่น ๆ ได้ตามปกติ เพียงแต่เครื่องดื่มบางอย่างก็อาจจะต้องมีการจำกัดปริมาณการดื่มในแต่ละวัน ได้แก่: 

  • คนท้องกินกาแฟได้ไหม ? 

จริงๆแล้วคนท้องกินกาแฟได้ไหมนั้น คือ คนท้องสามารถดื่มกาแฟได้ค่ะ แค่ควรควบคุมปริมาณ ได้ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1-2 แก้ว หรือควรดื่มเพียงวันละแก้วก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากในกาแฟนั้นมีคาเฟอีนสูง ยิ่งดื่มมาก ยิ่งได้รับคาเฟอีนมาก 

หากร่างกายของคุณแม่สะสมคาเฟอีนเข้าไปจำนวนมากและสะสมเอาไว้เรื่อย ๆ คาเฟอีนสามารถส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ได้ เช่น รบกวนการนอนหลับของทารกในครรภ์ เสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะคลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ 

  • คนท้องกินชาเขียวได้ไหม ?

คนท้องกินชาเขียวได้ไหม เป็นอีกคำถามสุดฮอต เจ้าชาเขียวรสชาติกลมกล่อม ใครบ้างจะไม่ชอบดื่ม แต่คุณแม่ท้องก็ไม่ควรดื่มชาเขียวมากเกินไปอยู่ดีนะคะ ควรดื่มแค่วันละ 1-2 แก้ว หรือควรดื่มเพียงวันละแก้วก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากใบชาที่นำมาทำเป็นชาเขียวนั้นมีคาเฟอีนสูง ยิ่งดื่มมาก ยิ่งได้รับคาเฟอีนมาก 

หากร่างกายของคุณแม่สะสมคาเฟอีนเข้าไปจำนวนมากและสะสมเอาไว้เรื่อย ๆ คาเฟอีนสามารถส่งผลเสียต่อครรภ์ได้ เช่น รบกวนการนอนหลับของทารกในครรภ์ เสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะคลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ 

  • คงนท้อกินโกโก้ได้ไหม ? 

โกโก้เองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง ไม่ว่าจะเป็นผงโกโก้สำหรับนำมาชงเป็นเครื่องดื่ม หรือสำหรับทำอาหาร หรือแม้แต่ช็อกโกแลตก็มีส่วนผสมของโกโก้ด้วย 

ดังนั้น  คนท้องกินโกโก้ได้ไหม  เช่นเดียวกับชาเขียว และกาแฟเลยค่ะ คุณแม่ควรจะมีการจำกัดปริมาณโกโก้ต่อวันเอาไว้ด้วย นาน ๆ กินที และกินครั้งละพอประมาณ ไม่มากจนเกินไป ก็จะได้รับทั้งความอร่อย คุณค่าทางสารอาหารจากโกโก้ และลดความเสี่ยงของการสะสมคาเฟอีนด้วย 

หากร่างกายของคุณแม่สะสมคาเฟอีนเข้าไปจำนวนมากและสะสมเอาไว้เรื่อย ๆ คาเฟอีนสามารถส่งผลเสียต่อครรภ์ได้ เช่น รบกวนการนอนหลับของทารกในครรภ์ เสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะคลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์  

  • คนท้องกินโซดาได้ไหม ?

จริง ๆ แล้ว คนท้องกินโซดาได้ไหม คือ แม่ท้องอยู่สามารถดื่มโซดาได้นะคะ เพียงแต่ว่าโซดาไม่ได้ให้สารอาหารที่จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากอะไรนัก ทางทีดีดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ ก็จะดีต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่า 

มากไปกว่านั้น โซดายังมีแก๊สและกรดต่าง ๆ ผสมอยู่ การบริโภคบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของฟัน หรือส่งผลต่ออาการกรดไหลย้อนได้ 

  • คนท้องกินชาเย็นได้ไหม ?

ชาเย็น อีกเครื่องดื่มยอดนิมยมของคุณแม่หลายคน แต่คุณแม่ท้องไม่ควรจะดื่มมากเกินวันละแก้ว และไม่ควรดื่มทุกวัน  คนท้องกินชาเย็นได้ไหม ก็เหตุผลคล้ายๆกับ ชา กาแฟ และโกโก้ ค่ะ

เพราะนอกจากปริมาณคาเฟอีนที่จะสะสมเข้าสู่ร่างกายทุกวันแล้ว ยังเสี่ยงที่จะสะสมทั้งน้ำตาลและไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันอุดตันเส้นเลือด และปัญหาเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องมาจากว่าชาเย็นนั้นมักจะมีการเติมน้ำตาล นมข้นหวาน นมข้นจืด เพื่อเพิ่มรสชาติหวานให้กับชาเย็น ดังนั้น บริโภคแต่น้อย ดีต่อสุขภาพมากกว่าค่ะ 

ยาและอาหารเสริมที่คนท้องห้ามกิน และที่ต้องระวัง

ยาและอาหารเสริมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณแม่หลายคนมักจะเกิดความกังวลและสงสัยว่า ยาพวกนี้ วิตามินเหล่านี้ ก่อนท้องกินได้ปกติ แล้วถ้ากินตอนท้องจะอันตรายต่อการตั้งครรภ์ไหมนะ? ในส่วนนี้ก็ต้องถือว่าดีแล้วค่ะที่คุณแม่มีความกังวลขึ้นมาก่อน เพราะยาและวิตามินเสริมบางอย่างก็จำเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ก่อนว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ จึงสามารถกินได้ 

  • คนท้องกินยาพาราได้ไหม ?

แม่ท้อง คนท้องกินยาพาราได้ไหม สามารถกินยาพาราเซตามอลได้ค่ะ แต่ยาพาราเซตามอลในคนท้องนั้นจะต้องอิงจากน้ำหนักตัวเป็นสำคัญ โดยจะต้องกินยาพาราเซตามอล 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือตัวอย่างเช่น   

  • คุณแม่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็สามารถที่จะกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ดได้เลย  
  • แต่ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัว 75 กิโลกรัม จะต้องกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม จำนวน 2 เม็ด หรือจะหักกินแค่ 1 เม็ดครึ่งก็ได้เช่นกัน  

และควรจะกินยาพาราเซตามอลทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง แต่ว่าไม่ควรกินยาพาราเซตามอลเกิน 4,000 มิลลิกรัม ต่อวัน  หรือไม่ควรเกิน 8 เม็ดต่อวัน   

วิตามินซี เป็นหนึ่งในวิตามินสำคัญที่คุณแม่ท้องควรจะได้รับอย่างเหมาะสมในทุก ๆ วัน คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม  จริงๆกินเสริมได้ค่ะ ถ้าทานผักผลไม้ไม่เพียงพอจริงๆ โดยปริมาณวิตามินซีสำหรับคนท้องคือ 85 มิลลิกรัมต่อวัน 

ซึ่งวิตามินซีนี้ ถ้าคุณแม่ทานผักผลไม้เป็นประจำอยู่แล้วไม่จำเป็นจะต้องเป็นวิตามินซีเสริมแบบเม็ดเลยค่ะ เพราะคุณแม่จะได้รับวิตามินซีจากผักและผลไม้ที่กินในแต่ละมื้ออยู่แล้ว 

  • คนท้องกินคอลลาเจนได้ไหม ?

คอลลาเจน เป็นอีกหนึ่งวิตามินเสริมที่หลายคนมักจะกินเป็นประจำ เพื่อส่วนช่วยเสริมสุขภาพผม เล็บ ผิวหนัง มากไปกว่านั้น คนท้องกินคอลลาเจนได้ไหม? ก็มีคุณแม่ที่ท้องอยู่หลายคนเลือกกินคอลลาเจนเพื่อป้องกันความเสี่ยงการแตกลายที่หน้าท้องด้วย 

อย่างไรก็ตาม คอลลาเจนถือว่าเป็นวิตามินเสริมที่ปลอดภัยค่ะ กินเข้าไปแล้วไม่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ แต่ในทางการแพทย์แล้วคอลลาเจนก็คือโปรตีนที่เราได้จากการกินอาหารในแต่ละมื้ออยู่แล้ว ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นจะต้องกินคอลลาเจนเป็นวิตามินเสริมเลยค่ะ หรือถ้าหากต้องการจะกินจริง ๆ แนะนำว่าควรปรึกษากับแพทย์ก่อน ทั้งยังต้องเลือกคอลลาเจนยี่ห้อที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยด้วย 

คนท้องเลือดจางห้ามกินอะไร ควรระวังอาหารประเภทไหนเป็นพิเศษ

ภาวะเลือดจาง หรือโลหิตจาง เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ คือ 

  • ได้รับธาตุเหล็กและโฟเลตไม่เพียงพอ 
  • ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง 

ซึ่งสิ่งที่จะมีส่วนช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงผลิตเพิ่มขึ้นนั้นก็คือธาตุเหล็ก หากร่างกายขาดธาตุเหล็ก หรือดูดซึมธาตุเหล็กได้ไม่ดี ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง และเซลล์เม็ดเลือดแดงลดลง 

ดังนั้น อาหารสำคัญของแม่ที่มีภาวะเลือดจางคือ 

  • อาหารกลุ่มที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เนื้อสัตว์ปีก ไข่  ธัญพืชต่าง ๆ 
  • อาหารกลุ่มที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ส้มโอ ซิตรัส เพราะวิตามินซีจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี 
  • กินวิตามินเสริมตามที่แพทย์แนะนำ โดยอาจจะเป็นธาตุเหล็กเสริม หรือวิตามินรวมสำหรับคนท้อง 

อย่างไรก็ตาม คนท้องเลือดจาง ก็ยังจำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด ไม่ว่าจะเป็น 

  • ชาและกาแฟ 
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด 
  • อาหารที่มีแทนนิน เช่น องุ่น ข้าวโพด และข้าวฟ่าง 
  • อาหารที่มีไฟเตตหรือกรดไฟติก เช่น ข้าวกล้องและผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีทั้งเมล็ด 
  • อาหารที่มีกรดออกซาลิก เช่น ถั่วลิสง ผักชีฝรั่ง และช็อกโกแลต 

เนื่องจากอาหารกลุ่มดังกล่าว อาจจะไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก และทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง 

แล้วคนท้องควรกินอะไรดี อาหาร ผัก ผลไม้ อะไรที่จำเป็นต่อคนท้อง

แม่ท้องควรจะกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากต้องคอยระวังและทราบไปแล้วว่าคนท้องห้ามกินอะไรบ้างนั้น สิ่งที่ต้องทราบต่อมา คือ สารอาหารสำคัญที่คุณแม่ควรจะได้รับในแต่ละมื้อ ได้แก่: 

1. อาหารที่มี DHA สูง

ดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid) คือ กรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้อีกด้วย อาหารที่มีดีเอชเอสูง เช่น ปลาทะเล อโวคาโด ไข่แดง เป็นต้น คุณแม่ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง หรือดื่มนมสูตรเสริมดีเอชเอก็ดีเช่นกันค่ะ

2. อาหารที่มีโปรตีนสูง

โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้กับคุณแม่ ตัวอย่างอาหารที่มีโปรตีนสูง เหมาะสำหรับคนท้อง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ หรือถั่วต่าง ๆ ประมาณ 75 – 110 กรัม/วัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของคุณแม่ และไตรมาสของการตั้งครรภ์ โดยคำนวณง่าย ๆ คือในหนึ่งมื้ออาหาร ควรมีโปรตีนประมาณ 30 - 40% ของอาหารที่กินนั่นเอง

3. อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

อาหารที่มีธาตุเหล็ก ถือเป็น อาหารคนท้องที่สำคัญอีกหนึ่งชนิด เพราะสามารถช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ดังนั้น คุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กไม่ต่ำกว่า 27 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งสามารถหาได้จากการกินอาหารประเภท เนื้อแดง ไข่แดง ตับ งา และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น

4. อาหารที่มีโฟเลตสูง

กรดโฟลิก หรือโฟเลต ก็เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม เพราะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรได้รับโฟเลตอย่างน้อย 600-800 มิลลิกรัม/วัน จากการกินอาหารประเภท ตับ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

5. อาหารที่มีแคลเซียมสูง

อย่างที่รู้กันว่า แคลเซียมนั้นมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง โดยเฉพาะในช่วงเวลาการเจริญเติบโตของลูกน้อย ยิ่งทำให้คุณแม่ต้องบำรุงร่างกายเพิ่มเติมพร้อมเสริมแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน โดยปกติ ผู้หญิงตั้งครรภ์มักจะต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งหาได้จากการกินอาหารจำพวกนม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส เนย หรือโยเกิร์ต เป็นต้น

6. อาหารที่มีไอโอดีนสูง

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ อาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรควรได้รับไอโอดีนจำนวน 250 ไมโครกรัม/วัน ไอโอดีนอยู่ในจำพวกอาหารทะเลทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กระเทียม หรืองา

7. อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต

การกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม อาจช่วยลดอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ย่อยง่าย และให้พลังงานสูง ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อย่างไรก็ตาม คนท้องไม่ควรกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนระหว่างตั้งครรภ์ได้

8. อาหารที่มีโคลีนอย่างเพียงพอ

โคลีน พบมากในอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน แซลมอน ไก่ บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก เป็นต้น จัดว่าเป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่คุณแม่ควรได้รับจากการกินอาหารในแต่ละวัน เพราะโคลีนมีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ การกินอาหารที่ให้สารโคลีนอย่างเพียงพอ หรือประมาณ 450 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับแม่ตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ได้

9. อาหารที่มีไฟเบอร์สูง

ไฟเบอร์ เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นแม่ก่อนคลอด แม่อุ้มท้อง แม่หลังคลอด หรือแม่ให้นมลูกก็ควรได้รับอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างตั้งครรภ์ ควรกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจำ เพราะไฟเบอร์จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ไฟเบอร์ยังช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงและอาจช่วยป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้อีกด้วย ซึ่งแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับไฟเบอร์ประมาณ 25-35 กรัมในแต่ละวัน โดยสามารถได้ไฟเบอร์จากอาหารจำพวกผักและผลไม้ต่าง ๆ

10. อาหารที่มีโอเมก้า 3

โอเมก้า 3 เป็นสารอาหารสำคัญที่ควรได้รับอย่างเพียงพอ อย่างน้อย 200-300 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับแม่ตั้งครรภ์ เพราะโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของทารกมีการพัฒนาและเจริญเติบโตสูงสุด มากไปกว่านั้น การได้รับโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอขณะตั้งครรภ์ ยังอาจช่วยต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ควบคุมอารมณ์แปรปรวนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ และลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดต่ำอีกด้วย

แม่ท้องควรกินนมเสริมด้วยหรือเปล่า? 

นอกจากอาหารการกินแล้ว การดื่มนมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ โดยนมสำหรับคุณแม่นั้นมีด้วยกันหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น: 

  • นมวัว 
  • นมแพะ 
  • นมถั่วเหลือง 
  • นมจากพืชต่าง ๆ เช่น นมข้าวโอ๊ต นมอัลมอนด์ 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพื้นฐานสุขภาพของคุณแม่แต่ละคนนั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างกัน คุณแม่บางคนแพ้ทั้งนมวัว และแพ้นมที่ทำมาจากธัญพืชอย่างเช่น นมถั่วเหลือง นมข้าวโอ๊ต นมอัลมอนด์ ทำให้ดื่มนมไม่ได้ ดังนั้น นมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง เพราะนอกจากจะปลอดภัยจากอาการแพ้ต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีส่วนผสมที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์ ดังนี้ 

  • DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการกินอาหาร โดย DHA มีสำคัญต่อกระบวนการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ เช่น สมอง ผิวหนัง ดวงตา ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การคลอดก่อนกำหนด หรือโรคซึมเศร้าหลังคลอด
  • โฟเลต ซึ่งเป็นกลุ่มวิตามินบีที่สำคัญมาก หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้ เพราะโฟเลตทำหน้าที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง คุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกจำเป็นต้องได้รับโฟเลตเพื่อช่วยในการสร้างหลอดประสาท และสมองที่สมบูรณ์ของทารก
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส  มีส่วนช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก ทำให้กระดูและฟันแข็งแรง หากแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะขับเอาแคลเซียมในกระดูกของคุณแม่เพื่อไปสร้างมวลกระดูกให้ทารกแทน ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน จึงเป็นสาเหตุสำคัญว่า ทำไมแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ
  • โคลีน ทำหน้าที่สำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ หากคุณแม่ได้รับโคลีนน้อยเกินไปจะเสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์ได้
  • ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกายและสมอง ซุึ่งไอโอดีนถือว่าเป็นหนึ่งสารอาหารที่คุณแม่จำเป็นจะต้องได้รับอย่างเพียงพอ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ อาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์
  • โปรตีน ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ ในร่างกายและมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ มากไปกว่านั้น โปรตีนช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้กับคุณแม่ เพื่อเป็นการเตรียมน้ำนมของแม่ให้พร้อมต่อการคลอดที่กำลังมาถึง
  • ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และธาตุเหล็กมีส่วนช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ และลดความเสี่ยงของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติด้วย

References


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

แม่ตั้งครรภ์ต้องรู้/อาหารคนท้องต้องทาน
milk-and-dairy-pregnancy
fruits-during-pregnancy
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner