Enfa สรุปให้

  • ผื่นตามผิวหนังของเด็กนั้น เป็นอาการทางสุขภาพที่สามารถพบได้โดยทั่วไป และส่วนมากมักจะหายได้เองด้วยการดูแลรักษาความสะอาด และการทายารักษาผดผื่นตามที่แพทย์แนะนำ

  • ผื่นในเด็กนั้นอาจเกิดจากอาการระคายเคือง สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว แมลงสัตว์กัดต่อย ไปจนถึงผื่นที่เกิดจากอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้ยา แพ้ฝุ่น แพ้ละอองเกสรดอกไม้ หรืออาการแพ้อาหาร เช่น ผื่นจากอาการแพ้นมวัว

  • ผื่นบางชนิดไม่มีอาการคัน รักษาไม่กี่วันก็หาย แต่ผื่นบางชนิดอาจมีอาการคันและมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาการร่วมเหล่านี้ อาจหมายถึงการติดเชื้อ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับวินิจฉัยและรับการรักษา

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • ลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัวหมายถึงอะไร
     • ผื่นขึ้นตามตัวอันตรายไหม
     • ผื่นคันแบบนี้ แพ้นมวัวหรือไม่?
     • ผื่นตามตัวเป็น ๆ หาย ๆ รักษาให้หายอย่างไร

ปัญหาผดผื่นขึ้นตามร่างกายของลูกน้อย เรียกได้ว่าเวียนมาบรรจบพบกันได้เกือบทุกเดือน เพราะผิวหนังของลูกนั้นมีความบอบบาง จึงเสี่ยงต่อการระคายเคือง การแพ้ หรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อยจนเกิดเป็นผดผื่นหรือตุ่มขึ้นตามร่างกายได้ง่าย ๆ

บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาตามติดเรื่องผื่น ๆ ของลูกน้อยกันค่ะ มาดูกันว่าลูกน้อยกำลังเป็นผื่นแบบไหนอยู่นะ

ลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัว อาการนี้บ่งบอกอะไรบ้าง ดูแลยังไงดี


ลูกเป็นตุ่มแดงตามตัว มีผื่นขึ้นเต็มไปหมด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ การระคายเคือง การติดเชื้อ แพ้สภาพอากาศ แพ้ต่อสารเคมี แพ้น้ำ ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย หรือเป็นโรคผิวหนังแบบเรื้อรัง เป็นต้น 

ซึ่งสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมรับมือเมื่อพบว่าลูกน้อยมีผื่นขึ้นตามตัวก็คือ การพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ เพื่อให้สามารถระบุได้ว่าผื่นเหล่านั้นเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่แพทย์จะได้สามารถให้คำแนะนำในการดูแลรักษาเมื่อลูกเป็นผื่นได้อย่างเหมาะสม 

โดยวิธีดูแลเมื่อลูกเป็นผื่นแบบง่าย ๆ ก็คือ 

          • รักษาความสะอาดแก่ลูกน้อย: ค่อย ๆ ทำความสะอาดบริเวณที่ลูกเป็นผดผื่นด้วยน้ำอุ่นและสบู่สำหรับเด็กอ่อนที่ปราศจากน้ำหอม หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีสารเคมีชนิดรุนแรง และไม่ควรถูสบู่แรงเกินไป เพราะจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองได้ หลังอาบน้ำควรซับผิวของลูกเบา ๆ ด้วยผ้าขนหนูที่สะอาด ไม่ควรซับหรือถูที่ผิวแรง ๆ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง หรือทำให้ผิวหนังอักเสบได้ค่ะ 

          • ทาครีมหรือมอยส์เจอไรเซอร์สำหรับเด็ก: ทาครีมสำหรับรักษาอาการผดผื่นตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรซื้อครีมทาหรือยาทามาใช้เอง เพราะอาจเสี่ยงต่อการระเคืองได้ง่ายหากมีตัวยาที่เป็นสารเคมีรุนแรง หรือใช้มอยส์เจอไรเซอ์สำหรับเด็ก เพื่อเสริมการปกป้องให้แก่ผิวของลูก เสริมความชุ่มชื้นให้กับผิว  

          • เลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม: สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ ให้ลูก เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ดี เลือกผ้าที่ทำจากผ้าเนื้อนุ่ม เช่น ผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงเสื้อผ้ารัดรูปหรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติกักความร้อนและความชื้น เพราะเสี่ยงที่จะทำให้ผื่นแย่ลงกว่าเดิม 

          • หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง: ผิวของเด็กเสี่ยงที่จะเกิดการระคายเคืองและกลายเป็นผื่นได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองที่อาจกระตุ้นให้ลูกเป็นผื่น ไม่ว่าจะเป็นสบู่ที่มีฤทธิ์รุนแรง น้ำหอม น้ำยาซักผ้า รวมถึงเวลาซักเสื้อผ้าของลูก ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้และปราศจากน้ำหอมเสมอ 

          • หมั่นสังเกตอาการของลูก: คอยสังเกตดูว่าลูกมีสัญญาณของการติดเชื้อหรือไม่ เช่น รอยแดง บวม หนอง หรือมีไข้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

ลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัว แต่ไม่มีอาการคัน

ลูกมีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไม่คัน ส่วนมากมักจะเป็น ผดร้อน ซึ่งเป็นผดเกิดขึ้นเมื่อท่อระบายเหงื่อเกิดการอุดตัน จึงเกิดเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ บนผิวหนัง หากลูกเป็นผื่นชนิดนี้ ให้คอยระวังเรื่องสภาพอากาศภายในห้องที่อาจจะร้อนเกินไป

หลีกเลี่ยงการพาลูกออกไปข้างนอกในช่วงที่อากาศร้อน ก็จะช่วยป้องกันผดผื่นร้อนได้ค่ะ แต่ถ้าผื่นแดงนั้นไม่มีท่าทีว่าจะลดลง หรือมีผื่นแดงติดต่อกันหลายวัน ควรหาเวลาพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยค่ะ 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ลูกมีตุ่มใสขึ้นตามตัวร่วมกับอาการคัน

ลูกมีตุ่มใสขึ้นตามตัว คันยุบยิบ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

          • โรคอีสุกอีใส เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย โดยจะมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส ๆ ที่เต็มไปด้วยของเหลว ขึ้นตามร่างกาย 

          • โรคมือเท้าปาก เป็นการติดเชื้อไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลพุพองขนาดเล็กที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามบริเวณมือ เท้า และภายในปาก   

          • โรคผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังของทารกมีปฏิกิริยาต่อสารระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ และเกิดเป็นตุ่มใส ๆ ขึ้นตามร่างกาย 

          • หากลูกมีตุ่มใสและมีอาการคันร่วมด้วย ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมทันทีค่ะ 

ลูกมีตุ่มขึ้นตามตัวเหมือนสิว

บางครั้งผื่นหรือตุ่มตามผิวหนังของลูกน้อย ก็อาจทำให้เกิดความสับสนได้ว่า ลูกกำลังเป็นสิวหรือเปล่า ซึ่งตุ่มที่อาจมีลักษณะคล้ายสิวนั้น อาจเป็นสิวข้าวสารในทารกแรกเกิด (Baby Milia) ซึ่งเป็นผื่นที่เกิดจากรูขุมขนอุดตัน

โดยสิวชนิดนี้ มักเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า รอบดวงตา และจมูก โดยสิวข้าวสารนี้มักจะหายไปเองในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลาเป็นเดือนค่ะ 

ลูกมีตุ่มขึ้นตามตัวเหมือนยุงกัด

ตุ่ม หรือผดผื่นที่ดูแล้วคล้ายกับยุงกัดนั้น แน่นอนว่าอาจจะหมายถึงตุ่มที่เกิดจากยุงกัดหรือแมลงสัตว์กัดต่อยจริง ๆ ก็ได้ค่ะ ซึ่งตุ่มเหล่านี้ทายา หรือดูแลรักษาความสะอาดก็สามารถดีขึ้นได้ 

แต่บางครั้งตุ่มที่ดูคล้ายกับยุงกัดก็อาจจะหมายถึงอาการแพ้ หรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดได้เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าหากลูกมีอาการคันร่วมด้วย ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ 

ลูกผื่นขึ้นตามตัว ถือเป็นอาการอันตรายไหม


ผื่นคันเด็ก ผื่นขึ้นตามตัวเด็ก โดยมากแล้วไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เอง ด้วยการทายาสำหรับรักษาผดผื่นตามที่แพทย์แนะนำ หรือการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ตาม ผื่นบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายที่น่าเป็นกังวลได้เช่นกัน โดยเฉพาะผื่นที่มาพร้อมกับไข้สูง และทำให้ลูกหายใจลำบาก มีอาการปวดรุนแรง หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย กรณีเช่นนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหม ผื่นคันในเด็ก เป็นหนึ่งในสัญญาณบ่งบอกอาการแพ้นมวัว


ผื่นขึ้นตามตัวเด็ก ผื่นแดงในเด็ก บางครั้งผื่นที่ขึ้นตามตัวลูกเหล่านี้ ก็เป็นสัญญาณของอาการแพ้นมวัวค่ะ ซึ่งอาการแพ้นมวัวนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจาการดื่มนมวัว และการกินอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์นมวัวต่าง ๆ เช่น ชีส โยเกิร์ต เนย เป็นต้น โดยอาการแพ้นั้นอาจมีทั้งผดผื่นขึ้นตามร่างกาย ไปจนถึงอาการท้องเสียขั้นรุนแรง

อาการแพ้นมวัว ถือเป็นอาการแพ้อาหารที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามและคิดว่าแค่เลี่ยงนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวก็จบกันไป เพราะจริง ๆ แล้วอาการแพ้นมวัวนั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่ยังเด็กค่ะ แต่ถ้าหากปล่อยไว้อาการแพ้นมวัวอาจรุนแรงขึ้น และเสี่ยงต่อลูกโซ่ภูมิแพ้ที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ชนิดอื่น ๆ ตามมาด้วย

สำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นมวัวนั้น โภชนาการถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการกินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้ได้รับสารอาหารและสารภูมิคุ้มที่มีประโยชน์แล้ว คุณแม่ยังควรงดนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวด้วยเช่นกัน เพราะเด็กบางคนสามารถแพ้นมวัวผ่านนมแม่ได้

ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่พอ หรือไม่สามารถให้นมแม่ไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เด็ก

*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หน้า 33

ลูกเป็นผื่นตามตัว เป็น ๆ หาย ๆ รักษายังไงให้ผื่นหายถาวร


ผื่นที่ขึ้นตามร่างกายนั้น เมื่อเป็นแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ โดยเฉพาะผื่นจำพวกผดผื่นร้อน ผื่นลมพิษ ผื่นจาการระคายเคือง ผื่นจากการแพ้สารเคมี หรือผื่นจากการแพ้อาหาร เพราะตราบเท่าที่ยังต้องพบเจอกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือสารก่อภูมิแพ้ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ผดผื่นเหล่านี้ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีกเรื่อย ๆ ค่ะ

ซึ่งการดูแลรักษาผื่นไม่ให้กลับมาเป็นอีก ก็จำเป็นจะต้องอาศัยการดูแลสุขลักษณะอนามัยร่วมด้วย ดังนี้

          • หมั่นรักษาสุขอนามัยของลูกอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ผิวหนังของลูกเกิดการอับชื้น หรือเกิดการหมักหมมเป็นเวลานาน

          • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนเหมาะสำหรับผิวอันบอบบางของลูก

          • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นหรือสารระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็นผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม แอลกอฮอล์ หรือน้ำหอม สารเคมีเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองในเด็กได้ง่าย

          • คอยดูแลให้ผิวของลูกมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้ผิวแห้ง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคผิวหนังได้ง่าย การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรืออาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดผื่นอาการแพ้

ในกรณีที่ผื่นเกิดจากอาการแพ้อาหาร หรืออาการแพ้นมวัว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องของโภชนาการควบคู่ไปด้วย โดยลูกน้อยควรได้รับโภชนาการอย่างนมแม่ต่อเนื่อง 6 เดือนแรกเป็นอย่างน้อย

เนื่องจากนมแม่ มีสารอาหารสำคัญหลายชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อยให้แข็งแรง นอกจากนี้ คุณแม่ที่ให้นมแม่ ยังควรหลีกเลี่ยงการรับประทานนมวัว รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนมวัวด้วยเช่นกัน เนื่องจากเด็กบางคนสามารถมีอาการแพ้นมวัวผ่านจากการรับนมแม่ได้

ทั้งนี้ หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และมีความจำเป็นที่ต้องให้นมผงทดแทนนมแม่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต

โทรปรึกษาฟรี

*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หน้า 33



บทความแนะนำสำหรับอาการภูมิแพ้ในเด็ก