ฉลาดเรียนรู้

พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้ลูก

       คุณแม่บางคนอาจเข้าใจว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถเฉพาะตัวหรือเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่ความจริงแล้วทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัวและสามารถพัฒนาได้ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่

       คุณแม่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกได้ ด้วยการตั้งคำถามปลายเปิดง่ายๆ เช่น “ถ้าพูดถึงสีเขียว ลูกจะนึกถึงอะไรบ้าง ซึ่งลูกอาจจะมีคำตอบที่หลากหลาย เช่น ใบไม้ ผัก ฝรั่ง มะม่วง องุ่น ต้นหญ้า ฯลฯ และถ้าลูกตอบได้รวดเร็วก็ย่อมแสดงถึงทักษะการคิดที่คล่องตัว ในขณะเดียวกัน เด็กบางคนที่มีทักษะในการคิดมากขึ้นก็ยืดหยุ่นสามารถเชื่อมโยงความรู้ที่มีเข้ากับคำถามและให้คำตอบที่ต่างออกไป เช่น นึกถึงทหาร ป้ายโรงพยาบาล เป็นต้น  
       เพราะฉะนั้นการตั้งคำถามให้ลูกตอบ แล้วช่วยชี้นำให้เขาฝึกคิดอย่างรอบด้านเป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้เป็นอย่างดี และช่วยพัฒนาสมองสู่พัฒนาการ 360ºอัจฉริยะรอบด้านได้ค่ะ

 

ฉลาดเคลื่อนไหว

เคลื่อนไหวตามจังหวะ เพิ่มทักษะให้ลูกน้อย

       การที่คุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายนั้นเป็นเรื่องดี  เด็กบางคนอาจไม่ชอบเล่นกีฬาอย่างจริงจัง  แต่สนุกกับการได้ออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งคุณแม่อย่ามองข้ามการส่งเสริมลูกในเรื่องนี้นะคะ
       การเริ่มต้นให้ลูกออกกำลังกายตามจังหวะเสียงเพลง อาจเป็นในช่วงเช้าของทุกวัน เมื่อตื่นขึ้นมา คุณแม่ลองหาเพลงที่มีจังหวะสนุกสนาน ฟังแล้วกระตุ้นให้คึกคัก แล้วอาจให้คุณพ่อเป็นคนนำคิดท่าการออกกำลังกายเป็นคนแรก  โดยทำท่าให้เข้ากับจังหวะเสียงดนตรีที่ได้ยิน คนที่เหลือก็ทำตาม จากนั้นก็สลับกันให้คุณแม่เป็นผู้นำท่าออกกำลังกายบ้าง และท้ายสุด ลองให้เจ้าตัวเล็กเป็นผู้คิดท่า แม้ว่าจะเป็นท่าตลกๆ ก็ควรทำตามนะคะ เขาจะได้ภูมิใจกับสิ่งที่เขานำเสนอ
       นอกจากความสนุกสนานในการคิดท่าทางต่างๆ แล้ว การออกกำลังกายแบบนี้ ยังเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ลูกรู้สึกรักในการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายตามมาอีกด้วย และการฟังเพลงก็ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กด้านอารมณ์และจิตใจ และยังช่วยพัฒนาความคิด พัฒนาสมาธิ ความจดจ่อ เพราะลูกต้องคิดท่าทางให้เข้ากับจังหวะของดนตรี เพราะหากไม่จดจ่อ เขาก็จะไม่สามารถทำท่าให้เข้ากับจังหวะได้
       เด็กส่วนใหญ่ที่คุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมให้ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาตั้งแต่เล็กๆ นั้น มักจะเป็นเด็กที่มีอารมณ์แจ่มใสร่าเริง มองโลกในแง่ดี รู้จักผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียด ไม่เก็บตัว สามารถเข้ากับคนรอบข้างได้ดี เรียกว่าสร้างพัฒนาการ 360ºอัจฉริยะรอบด้านให้ลูกได้ค่ะ  

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ฉลาดสื่อสาร

ฝึกภาษาลูกผ่านการร้องเพลง

       การร้องเพลงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในการเสริมทักษะให้กับเด็ก นอกจากจะทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกการออกเสียงการอ่านให้กับเด็กได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะแทรกหรือเสริมคำศัพท์ คำอธิบายเกี่ยวกับเนื้อเพลงที่เป็นประโยชน์ให้กับเด็ก อีกทั้งยังสามารถฝึกให้เด็กสามารถออกเสียง หรือสะกดคำให้ถูกต้อง ซึ่งการเสริมความรู้นี้เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัติ
       ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะเลือกเพลงที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก เช่น เพลงเกี่ยวกับตัวอักษร เพลงเกี่ยวกับคำศัพท์ไทยหรืออังกฤษ เพลงเกี่ยวกับตัวเลข สูตรคูณ เพลงเกี่ยวกับสี เพลงเกี่ยวกับวันในสัปดาห์ เพลงเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กทั้งในการออกเสียง และยังเป็นการเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ในชั้นเรียนอีกด้วย
       นอกจากนี้ การร้องเพลงยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จับบังคับให้ออกเสียงไปตามทำนองที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิของเด็กเองในทางอ้อม และยังสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออกให้กับเด็กอีกด้วยค่ะ

ฉลาดด้านอารมณ์

ลงโทษลูกด้วย Time out  

       เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  แทนที่จะลงโทษด้วยการตี ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของลูก คุณแม่อาจทำโทษด้วยวิธีกำหนดช่วงเวลา Time out กับลูก เพื่อให้ลูกได้รู้จักวิธีสงบสติอารมณ์ของตัวเอง  โดยการพาลูกออกจากสถานการณ์ หรือสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นออกมา เพื่อให้เขาได้คิดไตร่ตรองกับสิ่งที่ได้ทำลงไป
       ระยะเวลา Timeout ที่เหมาะสมกับลูก - ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านแนะนำว่า ให้ใช้สูตรสำเร็จ "1 นาทีต่อ 1 ขวบ"  เช่น อายุ 5 ปี   Timeout 5 นาที บางท่านแนะนำว่า จะกี่นาทีไม่ได้แต่ให้ Timeout จนกว่าเด็กจะสงบสติอารมณ์ได้เอง เพื่อเป็นการสอนให้ลูกรู้จักเรียนรู้ว่านี่เป็นการลงโทษ และทำให้ลูกรู้สึกนึกผิดด้วยตัวเอง
       การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว (Time out)  มีวิธีการดังนี้

  • เตือนบอกล่วงหน้าว่าจะให้เด็กทำอะไร เช่น “ลูกต้องหยุดขว้างของเล่นเดี๋ยวนี้ แล้วไปนั่งที่เก้าอี้นั่น” 

  • หากลูกไม่ยอมไปนั่งเอง ให้จูงมือหรืออุ้มลูกไปนั่งที่เก้าอี้หรือจุดสงบที่เตรียมไว้ และควรเอาสิ่งของอื่นๆ หรือของเล่นออกไปจากบริเวณนั้นด้วย และพ่อแม่ไม่พูดด้วยในช่วงของการทำ Timeout นั้น

  • กำหนดเวลาให้ลูกรู้ว่าต้องนั่งสงบนานเท่าไร ไม่ควรเกิน 10 นาที อาจหานาฬิกาใหญ่ๆ มาตั้งใกล้ๆ และชี้ให้เขาดูเข็มนาฬิกาแทนว่าต้องนั่งนานเท่าใด เพราะลูกวัยนี้อาจยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา

  • ระหว่างให้ลูกนั่งสงบ ไม่ควรให้ความสนใจหรือพูดโต้ตอบกับเขา และไม่ควรให้ลูกนั่งอยู่ในบริเวณที่มีของเล่น  โทรทัศน์  หรือสิ่งเพลิดเพลินอื่นๆ เพราะลูกจะไม่รู้สึกว่าถูกทำโทษ แต่ควรให้ลูกอยู่ในที่ที่ไม่มีสิ่งใดให้เขาได้เพลิดเพลิน และไม่ใช่การขังลูกในห้องน้ำหรือห้องมืดต่างๆ ด้วย

  • เมื่อหมดเวลาแล้ว ควรให้ความสนใจกับลูกทันที พูดคุยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สอนให้ลูกรู้ว่าคราวหน้าควรปฏิบัติอย่างไรแทน  

       ค่อยๆ ทำไปไม่นานลูกก็จะเรียนรู้ว่าหากไม่อยากถูกลงโทษ