เตรียมตัวเอง

  1. ออกกำลังกายเบาๆ (ยืดเนื้อยืดตัว ออกไปเดินเล่น หมั่นกระชับช่องคลอดเตรียมความพร้อม)

  2. ทำผมหรือแวกซ์น้องสาว

  3. เข้าคลาสเรียนเพื่อเตรียมตัวคลอด ณ โรงพยาบาลต่างๆ ที่เปิดสอน

  4. หาข้อมูลขั้นตอนและวิธีการคลอด ปรึกษาสูติแพทย์หรือดูยูทูปเพื่อศึกษาก็ได้ จะสามารถลดความความกังวลได้นะ

แม่ท้องกำลังเตรียมกระเป๋า

เตรียมเพื่อวางแผนการคลอด

  1. ใครที่คุณอยากให้อยู่ด้วยในห้องคลอด?

  2. ในตอนคลอด อยากให้มีสภาพแวดล้อมเป็นแบบไหน แจ้งกับคุณหมอไว้ได้เลย เช่น การเปิดเพลงที่ชอบ

  3. อยากให้บันทึกภาพในขณะกำลังคลอดด้วยไหม เป็นภาพถ่ายหรือวีดิโอ

  4. จะฉีดยาชาหรือบล็อกหลังหรือเปล่า?

  5. จะคลอดแบบไหนดีกว่ากัน?

  6. ถ้าต้องผ่าคลอด อยากให้สามีมาอยู่ด้วยหรือไม่?

  7. จะให้นมลูกได้อย่างไร กระตุ้นตอนไหน?

  8. อยากให้หมอขลิบหนังหุ้มปลายของทารกออกเลยไหม?

เตรียมบ้านให้พร้อม

  1. ให้พี่เลี้ยงเตรียมตัวให้พร้อม

  2. ซื้อของใช้จำเป็นสำหรับสมาชิกคนใหม่ไว้ให้พร้อม สำรองไว้ทั้งเดือนก็จะอุ่นใจกว่า

  3. เก็บข้าวของใส่กระเป๋าเตรียมไปคลอด

  4. ทำอาหารมื้อพิเศษ และแช่ฟรีซเก็บเอาไว้กินภายหลัง หรือจะเก็บพวกเมนูร้านเดลิเวอรี่ต่างๆ เอาไว้โทรสั่งทีหลังก็ได้

  5. เคลียร์ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้านเอาไว้ล่วงหน้า เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ บัตรเครดิต จะได้ไม่ติดขัดกะทันหัน

  6. ลูกคนอื่นๆ ให้ฝากฝังพวกเค้าไว้กับพี่เลี้ยงหรือญาติๆ ช่วยดูแลเป็นพิเศษ

  7. เติมน้ำมันรถไว้ให้เต็มถังด้วยนะ

  8. ต้องรู้จักสัญญาณที่เตือนว่าถึงเวลาต้องไปโรงพยาบาลแล้ว สอบถามจากคุณหมอไว้ก่อน เช่น เจ็บท้องถี่ๆ หรือน้ำเดิน

  9. มีแผนสำรองเผื่อเอาไว้ ในกรณีที่คุณสามีติดงานในขณะที่คุณแม่จะต้องเข้าห้องคลอด หรือคุณแม่เกิดเจ็บท้องขึ้นมาตอนกลางดึก เพื่อนและญาติมิตรต้องสามารถสแตนบายได้

  10. เตรียมเบอร์โทรเอาไว้ให้พร้อม เผื่อต้องโทรแจ้งตอนเจ็บท้อง

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

เตรียมตัวที่โรงพยาบาล

  1. สำรวจเส้นทางภายในโรงพยาบาล

    • ห้องคลอด

    • หอผู้ป่วย

    • ห้องพักพยาบาล

    • คลินิกนมแม่

    • ห้องธุรการสำหรับเดินเรื่องและชำระเงิน

  2. ลงทะเบียนล่วงหน้ากับทางโรงพยาบาลหากว่าสามารถทำได้

  1. สอบถามระเบียบของทางโรงพยาบาล

    • ช่วงเวลาเข้าเยี่ยม เพื่อที่คุณพ่อหรือสมาชิกในครอบครัวจะวางแผนจัดเวลามาเฝ้า

    • อุปกรณ์ที่จัดเตรียมเอาไว้ให้ (เช่น ผ้าอ้อม ผ้าอนามัยให้คุณแม่ ชุดเครื่องอาบน้ำ)

    • อะไรที่สามารถเอาไปได้ และเอาไปไม่ได้ ( เช่น ไมโครเวฟอุ่นอาหาร เครื่องเสียง )

    • ใครที่สามารถเข้าไปอยู่ในห้องคลอดกับคุณได้บ้าง

    • หลังคลอดแล้วจะอยู่พักที่โรงพยาบาลได้อีกนานแค่ไหน

    • การตรวจกรองเด็กแรกเกิดมีอะไรบ้าง

รู้ได้อย่างไรว่ากำลังจะคลอดแล้วนะ

  1. มดลูกหดรัดตัวแรงและถี่ขึ้น (ถามหมอสูตินรีแพทย์ว่าลูกน้อยจะคลอดเมื่อไร ประเมินจากความถี่ในการเจ็บท้อง ก่อนที่คุณจะออกจากบ้านตรงดิ่งไปโรงพยาบาล)

  2. มีมูกเลือดไหลจากช่องคลอด หรือน้ำเดิน

  3. ปวดเมื่อยหลังรุนแรง

  4. รู้สึกอึดอัดช่วงเชิงกรานมาก

  5. ท้องเสีย

*ถ้าไม่มั่นใจให้โทรสอบถามคุณหมอก่อน หรือหากเกิดเจ็บท้องในระหว่างทำงาน ให้ตรงไปที่โรงพยาบาลเลย แม้ที่ทำงานจะอยากไปส่งคุณที่บ้านก่อนก็ตาม เพราะเชื่อเถอะว่าไปโรงพยาบาลปลอดภัยที่สุดแล้วค่ะ

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby