Enfa สรุปให้

  • อาการเบื่ออาหารในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย มีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย เช่น มีไข้ เจ็บคอ ใจลอย ไม่ได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับมื้ออาหาร ไม่ชอบกินอาหารบางอย่าง หรือรู้สึกว่าเมนูนั้น ๆ ไม่อร่อย ไม่กล้ากินเมนูใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรือเด็กรู้สึกอิ่มจากมื้ออาหารก่อนหน้าจนไม่รู้สึกอยากอาหารในมื้อถัดมา

  • อาการเบื่ออาหารในเด็กนั้นสังเกตได้ไม่ยาก ถ้าเด็ก ๆ มีพฤติกรรมปฏิเสธอาหาร กินน้อยกว่าปกติแม้จะเป็นเมนูที่ชอบ สนใจสิ่งอื่นมากกว่าการกินอาหาร หรือร้องไห้ งอแง เมื่อถูกบังคับให้ต้องกินข้าว ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าเด็ก ๆ กำลังมีอาการเบื่ออาหาร

  • เด็กที่ไม่ยอมกินข้าว เบื่ออาหาร ปฏิเสธอาหาร หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการกินที่ไม่ปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อโรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia) และบูลิเมีย (Bulimia nervosa) หรือ “โรคล้วงคอ” น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยกว่าที่ควร และอ่อนเพลียระหว่างวัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • สาเหตุที่ลูกไม่กินข้าว
     • สัญญาณของเด็กเบื่ออาหาร
     • เด็กไม่ยอมกินข้าวมีผลเสียอย่างไร
     • สังเกตอย่างไรว่าลูกขาดสารอาหาร
     • 10 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว
     • ไขข้อข้องใจเรื่องลูกไม่กินข้าวกับ Enfa Smart Club

หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิกตลอดกาลนานของคุณพ่อคุณแม่ ก็คือปัญหาลูกเบื่ออาหาร ลูกไม่กินข้าว ที่ไม่ว่าจะพยายามหลอกล่อเท่าไหร่ก็รู้สึกว่าเหนื่อยเปล่า สุดท้ายลูกก็ยังไม่ยอมกินอยู่ดี บทความนี้จาก Enfa จะพามาไขข้องข้องใจกันว่าสาเหตุอะไรบ้างนะที่ทำให้ ลูกไม่ยอมกินข้าว แล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไร เมื่อเด็กไม่กินข้าวหรือเบื่ออาหาร ตามมาหาคำตอบกันได้เลยค่ะ

ลูกไม่กินข้าว ลูกเบื่ออาหาร เกิดจากอะไร


อาการเบื่ออาหารในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย

  • มีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย เช่น มีไข้ เจ็บคอ

  • ใจลอย ไม่ได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับมื้ออาหาร

  • ไม่ชอบกินอาหารบางอย่าง หรือรู้สึกว่าเมนูนั้น ๆ ไม่อร่อย

  • ไม่กล้ากินเมนูใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม

  • อิ่มจากมื้ออาหารก่อนหน้า

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเบื่ออาหาร เด็กไม่กินข้าว


จริง ๆ แล้วอาการเบื่ออาหารในเด็กนั้นสังเกตได้ไม่ยาก ถ้าเด็ก ๆ มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ในมื้ออาหาร ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าเด็ก ๆ กำลังมีอาการเบื่ออาหาร

  • ปฏิเสธอาหาร

  • กินน้อยกว่าปกติ แม้จะเป็นเมนูที่ชอบ

  • สนใจสิ่งอื่นมากกว่าการกินอาหาร

  • ร้องไห้ งอแง เมื่อถูกบังคับให้ต้องกิน

เด็กไม่ยอมกินข้าว มีผลเสียอย่างไร


เด็กที่ไม่ยอมกินข้าว เบื่ออาหาร ปฏิเสธอาหารบ่อย หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

  • อาจพัฒนาไปสู่พฤติกรรมการกินที่ไม่ปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อโรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia) และบูลิเมีย (Bulimia nervosa) หรือ “โรคล้วงคอ”

  • น้ำหนักตัวไม่เป็นไปตามเกณฑ์การเจริญเติบโต หรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

  • ได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยกว่าที่ควร

  • อ่อนเพลียระหว่างวัน

เด็กไม่ยอมกินข้าว บ่อย ๆ แบบนี้ลูกจะขาดสารอาหารหรือเปล่า


การที่เด็กไม่ยอมกินข้าว อาจจะไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดที่ว่าขาดสารอาหาร แต่ในกรณีที่ลูกเบื่ออาหารและไม่กินอาหารบ่อย ๆ ก็เป็นไปได้ว่าเด็กเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดสารอาหารได้

โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตได้จากสัญญาณต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ผมร่วง

  • มีอาการอ่อนเพลียโดยที่หาสาเหตุไม่ได้

  • มีกลุ่มอาการแสบร้อนในปาก เช่น แสบปากเรื้อรัง ปากแห้ง ปากชา

  • ผิวแห้ง

  • เล็บเว้าลงจนคล้ายรูปช้อน (Spoon nails)

  • มุมริมฝีปากแห้ง และระคายเคือง

  • ลิ้นบวม

  • ขี้หลงขี้ลืม

  • ร่างกายมีรอยฟกช้ำ

10 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว


หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มรู้สึกลูกมีอาการเบื่ออาหาร ไม่ค่อยกินข้าว กินข้าวน้อย ลองใช้เทคนิคดังต่อไปนี้เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากกินอาหารมากขึ้น

  1. ทำอาหารที่เขาชอบ อย่างแรกคุณแม่คุณพ่อต้องตอบให้ได้ก่อนว่าลูกเราชอบกินอะไร ถ้าไม่รู้ต้องคอยสังเกตไปเรื่อย ๆ ว่าเขาชอบกินอาหารแบบไหน ลองทำอาหารหลาย ๆ แบบดูค่ะ แล้วสักพักจะค่อย ๆ เข้าใจว่าสาเหตุหนึ่งที่ลูกไม่ยอมกินข้าวก็เพราะอาหารไม่ถูกปากเขานี่เอง

  2. ไม่ควรให้เขากินแต่สิ่งที่ชอบ แม้ลูกจะมีเมนูโปรด แต่คุณพ่อคุณแม่ควรจะยึดเอาสิ่งที่เขาชอบบางอย่างเป็นวัตถุดิบหลัก แล้วปรุงเมนูรูปแบบต่าง ๆ ออกมา รวมถึงควรจะหมุนเวียนวัตถุอื่น ๆ มาเพื่อให้เขากินอาหารที่หลากหลาย เพื่อโภชนาการที่ดีของลูก ในช่วงที่ลูกเบื่ออาหารที่โรงเรียนประมาณ 2-3 วันแรก คุณแม่อาจจะพูดคุยปรึกษากับคุณครูถึงปัญหาการเบื่ออาหารของลูก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันค่ะ

  3. ตกแต่งอาหาร เทคนิคอีกอย่างคือการตกแต่งหน้าตาอาหารให้น่ารับประทาน แค่ทำอาหารตามปกติ เสร็จแล้วก็ค่อยมาตกแต่งให้ดูน่าสนใจเช่น พยายามให้มีสีสัน 3-4 สี ซึ่งสีสันเหล่านี้ก็คือสีโดยธรรมชาติของผักผลไม้นั่นเองค่ะ เช่น แครอตจะให้สีส้ม มะเขือเทศจะให้สีแดง กะหล่ำปลีม่วงให้สีม่วง หรือจะถ้านึกสนุกอยากให้พิเศษมากขึ้น ก็อาจจะทำเป็นเรื่องราว เช่น ตัวการ์ตูนที่เขาชอบ หรือเป็นฉากในนิทานที่เขาเดาได้ รับรองว่าคุณลูกของเราจะทานเก่งขึ้นแน่นอนค่ะ คุณแม่อาจนำไปไอเดียนี้ไปเสนอกับคุณครูที่โรงเรียนนะคะ จัดเป็นหนึ่งกิจกรรมในห้องเรียน ได้ประโยชน์กับลูกน้อยและเด็ก ๆ ในห้องคนอื่น ๆ ด้วยค่ะ

  4. หาชุดจานชามของเขาเอง เราเพิ่มความสนุกสนานให้กับมื้ออาหารของลูกได้ด้วย จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ซึ่งมีลวดลายการ์ตูนที่เขาชอบ ก็น่าจะทำให้เขาตื่นเต้นกับการกินข้าวได้มากขึ้น ถ้าเป็นไปได้พาเขาไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง จะทำให้หนูน้อยอินกับอุปกรณ์การกินมากขึ้น และต้องระวังเรื่องสีที่เคลือบบนภาชนะทั้งหมดด้วยนะคะ ว่าไม่ละลายเมื่อถูกอาหารร้อนและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  5. เริ่มต้นด้วยมื้อเล็ก ๆ บางครั้งมื้ออาหารที่มากจนเกินไปก็อาจทำให้เด็กรู้สึกเหนื่อยที่จะกินต่อให้หมด ควรแบ่งอาหารมาทีละน้อย เมื่อหมดก็สามารถเติมได้ ก็จะช่วยให้เด็กไม่รู้สึกกดดันว่าจะต้องกินให้หมดในคราวเดียว

  6. สร้างความรู้สึกที่ดีกับมื้ออาหาร นั่นคือการปิดเสียงรบกวนอื่นที่จะทำให้เขาไม่สนใจอาหาร เช่น ทีวี หรือสมาร์ทโฟน และคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะกินอาหารพร้อมกับเขา ชวนเขาพูดคุย อย่าดุ อย่าต่อว่าให้เขาเกิดความทรงจำที่ไม่ดีระหว่างการกินอาหาร และคุณพ่อคุณแม่ก็ห้ามเล่นโทรศัพท์มือถือหรืออ่านหนังสือนะคะ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกค่ะ

  7. กินข้าวพร้อมกันกับลูก บางครั้งตัวอย่างที่ดีก็มีค่ามากกว่าคำสอน การที่คุณพ่อคุณแม่กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก เป็นตัวอย่าง และกินอย่างเอร็ดอร่อย ก็อาจจะช่วยให้ลูกเห็นแล้วรู้สึกว่าอยากกินตามบ้าง

  8. ไม่ทำอาหารซ้ำกัน การทำเมนูเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็รู้สึกเบื่อขึ้นมาได้เหมือนกัน หมั่นทำเมนูใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ หรือทำเมนูเดิมบ้าง แต่ก็มีเมนูใหม่ ๆ เข้ามาเสริมด้วย เพื่อสร้างความหลากหลายในมื้ออาหาร และทำให้เด็กได้รู้จักรสสัมผัสใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

  9. ทำอาหารร่วมกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจในมื้ออาหารมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะชวนให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหารด้วย เริ่มตั้งแต่การไปจับจ่ายซื้อวัตถุดิบ และลงมือทำในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ล้างผัก ล้างผลไม้ เตรียมจาน ชาม ช้อน และส้อม แต่ควรเลือกขั้นตอนที่ปลอดภัยและอยู่ในสายตาตลอดเวลา

  10. มีของรางวัล เด็กกับของรางวัลเป็นของคู่กัน คุณพ่อคุณแม่อาจลองสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ของรางวัลถ้าสัปดาห์นี้กินข้าวหมด หรือกินได้เยอะ ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะกินอาหารให้มากขึ้น เช่น ถ้าสัปดาห์นี้กินข้าวหมดจานทุกวัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ควรใช้บ่อย เพราะเด็กควรจะกินอาหารเพื่อการเจริญเติบโต ไม่ใช่เพื่อของรางวัลเพียงอย่างเดียว

ไขข้อข้องใจเรื่องลูกไม่กินข้าวกับ Enfa Smart Club


 ลูก 1 ขวบไม่ยอมกินข้าว ผิดปกติหรือเปล่า

เด็กเบื่ออาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะเด็กก็มีจังหวะที่ไม่อยากกิน ไม่ชอบกินเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามให้ลูกกินอาหารให้ครบทุกมื้อ แม้จะกินไม่ได้มากเหมือนเดิมก็ตาม

 ลูกเบื่ออาหาร 1 ขวบ ทำยังไงดี

หากลูกเบื่ออาหาร คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้กลยุทธ์เพื่อรับมือได้หลากหลาย เช่น

  • ทำอาหารที่เขาชอบ บางครั้งการที่เด็กกินได้เยอะขึ้น ก็เพราะได้กินในสิ่งที่ชอบ

  • ไม่ควรให้เขากินแต่สิ่งที่ชอบ แม้ลูกจะมีเมนูโปรด แต่ก็ควรจะควบคู่ไปกับอาหารแบบอื่น ๆ บ้าง เพื่อให้เด็กได้กินอาหารที่หลากหลาย เพื่อโภชนาการที่ดีของลูก

  • ตกแต่งอาหาร การตกแต่งหน้าตาอาหารให้น่ารับประทาน แค่ทำอาหารตามปกติ เสร็จแล้วก็ค่อยมาตกแต่งให้ดูน่าสนใจ ก็จะช่วยทำให้เด็กรู้สึกเป็นมิตรกับมื้ออาหารมากขึ้น

  • หาชุดจานชามของเขาเอง เพิ่มความสนุกสนานให้กับมื้ออาหารของลูกได้ด้วย จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ซึ่งมีลวดลายการ์ตูนที่เขาชอบ ก็น่าจะทำให้เขาตื่นเต้นกับการกินข้าวได้มากขึ้น

  • เริ่มต้นแบบมื้อเล็ก ๆ การแบ่งอาหารมาทีละน้อย เมื่อหมดก็สามารถเติมได้ ก็จะช่วยให้เด็กไม่รู้สึกกดดันว่าจะต้องกินให้หมดในคราวเดียว

  • สร้างความรู้สึกที่ดีกับมื้ออาหาร หลีกเลี่ยงการกินข้าวไปดูทีวีไป พยายามสร้างบรรยาการให้เป็นมื้ออาหารโดยไม่มีสิ่งอื่นมาแย่งความสนใจไปจากจานอาหาร

  • กินข้าวพร้อมกันกับลูก เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกได้เห็นว่าถ้าอยากเติบโตแข็งแรงก็ต้องกินอาหาร

  • ไม่ทำอาหารซ้ำกัน การทำแต่เมนูเดิม ๆ ขนาดผู้ใหญ่ยังเบื่อ เด็กก็เช่นกัน

  • ทำอาหารร่วมกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากมีส่วนร่วม และอยากกินอาหารฝีมือที่ตัวเองช่วยทำ

  • ให้มื้ออาหารห่างจากมื้อนมอย่างน้อย 1 ชม. เพราะเมื่อลูกอิ่มจะไม่ยอมกินอาหารมื้อนั้น

 ลูก 2 ขวบไม่กินข้าว จะให้ลูกกินอะไรดี

ข้าวยังคงเป็นมื้ออาหารที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ หากลูกไม่ยอมกินข้าว คุณพ่อคุณแม่อาจลองควบคู่ไปกับผลไม้ และแปลงร่างผักให้กลายเป็นผักชุบแป้งทอด พยายามเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของอาหารให้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากกินข้าวมากขึ้น

 ลูกกินข้าวยาก เปลี่ยนมาให้กินผลไม้แทนได้ไหม

ข้าวเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงานที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และยังเป็นอาหารหลักที่ขาดไม่ได้ แต่ในกรณีที่ลูกเบื่ออาหาร อาจจะไม่ต้องถึงกับเปลี่ยนมาเป็นการกินผลไม้แทน แต่เสริมผลไม้ควบคู่ไปด้วย หรือพยายามนำผลไม้มาปรุงเป็นเมนูอร่อย ๆ ก็ได้เช่นกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากกินข้าวมากขึ้น

 ลูกเบื่ออาหาร 2 ขวบ กินยาอะไรดี

อาการเบื่ออาหารเกิดขึ้นได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องมีการกินยาเพื่อรักษาอาการดังกล่าวแต่อย่างใด เพียงแค่พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของลูก หรือพยายามหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการสร้างแรงจูงใจ ก็สามารถช่วยให้ลูกอยากกินอาหารตามปกติได้


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่