ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

 

สิ่งที่จะบอกถึงการเจริญเติบโตทางร่างกายของลูกได้ดีอย่างหนึ่ง คือน้ำหนักลูก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญในการติดตาม ดูแล และสังเกตอย่างต่อเนื่องว่าลูกมีน้ำหนักตัวต่ำ ทำให้ตัวเล็ก หรือน้ำหนักเกินมาตรฐานจนอ้วนไปหรือไม่ และจะดูแลลูกอย่างไรให้มีน้ำหนักลูกอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

น้ำหนักตัวลูกแรกคลอดไม่ใช่เรื่องน่ากังวล

โดยปกติทารกแรกเกิดนั้นจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 - 3.2 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม ให้ถือว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เรื่องน้ำหนักของลูกนั้นเป็นเรื่องที่คุณแม่เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย กลัวน้ำหนักตัวจะน้อย ตัวเล็กเกินไปบ้าง หรืออาจจะกลัวว่าลูกจะมีน้ำหนักมากเกิน จนอ้วนเกินไปบ้าง ซึ่งการที่ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ อาจมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น มารดามีโรคประจำตัว การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ หรือ ภาวะรกเสื่อม ซึ่งแพทย์จะทำการหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยภาวะที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม การที่ทารกเกิดมาแล้วจะมีน้ำหนักเท่าไหร่นั้น อาจไม่สำคัญเท่ากับทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามวัย

น้ำหนักทารกแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ถ้าพ่อแม่ตัวเล็กลูกก็อาจมีแนวโน้มจะตัวเล็กน้ำหนักน้อย อาหารการกินที่ลูกได้รับซึ่งก็คือนมที่ลูกกินนั่นเอง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรกังวล เพราะแม้ลูกจะตัวเล็กน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อแรกคลอด แต่หากหลังจากนั้นน้ำหนักลูกขึ้นตามเกณฑ์แสดงว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่ดี สิ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ ไม่ใช่น้ำหนักเมื่อแรกคลอด

การเช็คน้ำหนักตัวลูก

เพื่อจะได้รู้ถึงน้ำหนักของลูกที่ช่วยบ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตของลูก ช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ขวบ คุณแม่ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ตามที่แพทย์นัด ซึ่งตามปกติ จะนัดดูน้ำหนักทารกช่วง 2-3 วันหลังคลอด เมื่อทารกอายุ 1 เดือน และทุกๆ 2 เดือน เพื่อติดตามน้ำหนัก ติดตามพัฒนาการ และให้วัคซีน หากทารกมีการเจริญเติมโตช้า แพทย์อาจนัดถี่กว่านั้น

สมัครสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับสิทธิ์! รถเข็นเด็กสุดพรีเมี่ยม ฟรี!

เกณฑ์การเพิ่มของน้ำหนักเด็ก

การดูว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมหรือไม่นั้น สามารถดูได้จากน้ำหนักตัวว่าเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะน้ำหนักตัวของทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน ซึ่งคุณแม่สามารถตรวจสอบเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของลูกแต่ละวัยได้ดังนี้

  • 0-3 เดือน   น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 600-900 กรัม ดังนั้นเมื่อครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณ 2- 2.5 กิโลกรัม

  • 4-6 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 450-600 กรัม ลูกวัยนี้เริ่มมีการกินนอนที่เป็นระบบมากขึ้น จึงกินนมได้มากขึ้น และน้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ลูกอาจมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด

  • 7-9 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 300-400 กรัม ที่น้ำหนักลดลงนั้นเนื่องจากร่างกายเด็กเริ่มมีการเผาผลาญมากกว่าเดิมนั่นเอง รวมทั้งลูกเริ่มคลานเคลื่อนไหวร่างกายได้

  • 10-12 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 300 กรัม ร่างกายเด็กมีการเผาผลาญมากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น ทั้งคลาน หัดเกาะยืนเกาะเดิน ฟันเริ่มขึ้น อาจเกิดอาการปวดฟัน ทำให้ไม่อยากดื่มนมหรือกินอาหาร

  • อายุ 1 ขวบขึ้นไป น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200 กรัม โดยน้ำหนักตัวของลูกอาจเพิ่มหรือลดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เคลื่อนไหวได้มากขึ้นเพราะเดินได้แล้ว

น้ำหนักทารกขณะแรกเกิด ไม่ใช่เรื่องที่แม่ต้องกังวลมากนัก แต่ควรดูการเจริญเติบโตตามวัยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ / หากน้ำหนักลูกต่ำกว่าเกณฑ์การเจริญเติบโต ควรดูแลเรื่องหาการและการพักผ่อนของลูกน้อย
 

น้ำหนักทารกขณะแรกเกิด ไม่ใช่เรื่องที่แม่ต้องกังวลมากนัก แต่ควรดูการเจริญเติบโตตามวัยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ / หากน้ำหนักลูกต่ำกว่าเกณฑ์การเจริญเติบโต ควรดูแลเรื่องหาการและการพักผ่อนของลูกน้อย

 

หากน้ำหนักลูกขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์

หากคุณแม่ตรวจดูแล้วพบว่าน้ำหนักลูกขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ ลองใช้วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกด้วยวิธีต่อไปนี้ดูค่ะ

  • ให้นมลูกบ่อยขึ้น

    หากลูกยังกินนมแม่ คุณแม่ต้องแน่ใจว่าได้ให้ลูกเพียงพอและให้ลูกดูดนมจนเขาอิ่ม พยายามอย่าดึงปากลูกออกเต้านมจนกว่าลูกจะอิ่ม และคายหัวนมออกมาเอง และให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น นอกจากจะทำให้ลูกได้กินนมมากขึ้นแล้วยังช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้คุณแม่ด้วย ส่วนเด็กที่กินนมผงก็ควรให้ลูกกินนมที่ชงตามปริมาณที่ผลิตภัณฑ์แนะนำให้หมดในแต่ละครั้ง

    อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ให้นมลูกบ่อยและนานแล้วพบว่าน้ำนมแม่ยังมีไม่พอจนน้ำหนักลูกไม่ขึ้นตามเกณฑ์ ควรปรึกษาแพทย์ หรือคลินิกนมแม่ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ หากยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็อาจเลือกนมผงเสริม เพื่อให้ลูกได้รับปริมาณนมที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ เช่น มี MFGM สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่ ดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง และมีใยอาหารสุขภาพอย่าง พีดีเอ็กซ์ และ กอส ที่ช่วยให้ลูกมีการขับถ่ายที่ดี

  • ให้ลูกกินอาหารบ่อยขึ้น

    หากลูกมีอายุเกินกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่รับอาหารเสริมได้แล้ว การให้ลูกกินอาหารบ่อยขึ้น จะช่วยให้ลูกได้พลังงานเพิ่ม และน้ำหนักจะค่อยๆ ขึ้นด้วย โดยคุณแม่อาจจัดให้ลูกกินอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อใน 1 วัน พร้อมทั้งอาหารว่างและนม

  • ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนเต็มที่

    การพักผ่อนนอนหลับของเด็กก็มีส่วนช่วยทำให้ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกได้กลางวันและนอนกลางคืนยาวนานขึ้น

สมัครสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับสิทธิ์! รถเข็นเด็กสุดพรีเมี่ยม ฟรี!

หากน้ำหนักลูกมากกว่าเกณฑ์

หากคุณแม่ตรวจดูแล้วพบว่าน้ำหนักลูกขึ้นมากกว่าเกณฑ์ ลองใช้วิธีลดน้ำหนักลูกด้วยวิธีต่อไปนี้ดูค่ะ

  • อย่าให้ลูกกินมากเกินไป

    การให้ลูกกินมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระเพาะขยายอาจส่งผลให้ลูกอ้วนได้ ควรให้ในปริมาณตามสูตรคำนวณจากน้ำหนักตัว หากลูกร้องไม่ได้หมายถึงว่าหิวเสมอไป เขาอาจเพียงแต่ต้องการให้แม่อุ้ม แทนที่จะให้ลูกกินนม คุณแม่อาจพาอุ้มเดิน เคลื่อนไหวไปมา หรือไกวเปลแทน อีกทั้งคุณแม่ไม่ควรให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ตื่นนอน เพราะจะทำให้ลูกได้รับนมถี่และมากเกินไปทั้งๆ ที่ลูกไม่หิว

  • เลือกอาหารเสริมที่มีคุณภาพ

    ส่วนลูกที่กินอาหารเสริมได้แล้ว ก็ควรเลือกอาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารหวานมัน อาหารทอด หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินน้ำหวานแทนนม เพราะไม่มีคุณค่าสารอาหารต่อร่างกายลูก และจะสร้างนิสัยการกินของหวานมันให้ลูก เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนในอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม หากน้ำหนักลูกน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ไม่มาก แต่ถ้าลูกยังกินนมได้ ร่าเริง ไม่มีอาการป่วย นอนหลับได้ตามปกติ คุณแม่ก็ไม่ควรกังวลมากไป และไม่ควรเอาน้ำหนักตัวลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน อีกทั้งควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ติดตามและทราบถึงการเจริญเติบโตของลูกได้ทุกช่วงวัยค่ะ

 

นมแม่ดีที่สุดต่อสมองเด็ก

เพราะมี MFGM เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในน้ำนม ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม MFGM ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น โปรตีนต่างๆ และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองเด็ก และมีดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองเด็กนั่นเอง

นมแม่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด พบข้อมูล เคล็ดลับที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ได้ที่นี่