1. พัฒนาการทารกวัย 1 เดือน ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้

พัฒนาการมองเห็น จุดเริ่มต้นของสติปัญญาและการเรียนรู้ของลูก 

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

การมองเห็นของทารกเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของพัฒนาการเด็ก 1 เดือนที่ดีในด้านการเรียนรู้และสติปัญญาของเด็ก  ในบรรดาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ประสาทตาของเด็กจะเป็นส่วนที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ที่สุด  เด็กวัยแรกเกิด- 3 เดือนนั้น  การมองเห็นของเขายังพัฒนาไม่เต็มที่ สามารถมองได้ในระยะ 1 ฟุตเท่านั้น   มีทักษะการเพ่งมองจำกัด จึงเรียนรู้โดยเปรียบเทียบสีตัดกันชัดเจน เช่น สีดำตัดกับสีขาว และชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหวมากกว่าวัตถุที่อยู่นิ่งๆ ซึ่งวัตถุลักษณะนี้ที่อยู่ใกล้เขาที่สุดก็คือ ใบหน้าแม่ที่มีผมสีดำล้อมอยู่รอบๆ คือดวงตาแม่ที่มีลักษณะกลม และสีตัดกันชัดเจนระหว่างตาขาวและตาดำ และที่สำคัญคือดวงตาสามารถกลอกไปมาได้  ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือนในด้านการมองเห็นของทารก คุณแม่จึงควรจ้องหน้าลูกใกล้ๆ พร้อมกลอกตาไปทางซ้ายที ขวาที ไม่นานลูกก็จะคอยมองตามลูกตาสีดำๆ ที่ตัดกับตาขาวของเรา  ซึ่งการใช้สายตาของทารกเช่นนี้จะมีผลโดยตรงต่อระดับสติปัญญาและพัฒนาการทารก 1 เดือน เพราะในระหว่างที่ทารกกำลังจ้องมองวัตถุนั้น เซลล์สมองจะเติบโต และสร้างเซลล์ประสาทเชื่อมต่อจุดต่างๆ เพื่อเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ ด้วย 

เคล็ดลับกระตุ้นการมองเห็นของทารก : นอกจากการจ้องมองหน้าลูกแล้ว การนำแผ่นกระตุ้นสายตาที่มีสีขาว-ดำ-แดง หรือโมบายล์มาห้อยให้ลูกดูเหนือเตียงนอนของลูกในระยะประมาณ 1 ฟุต ติดกระจกในมุมที่ลูกมองเห็น เพื่อกระตุ้นการมองของลูกและเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก 1 เดือนที่ดีเยี่ยม  

2. พัฒนาการทารกวัย 1 เดือน ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

ออกกำลังกล้ามเนื้อ เพื่อร่างกายและการเคลื่อนไหวที่ดี

แม้ลูกวัย 1 เดือน จะใช้เวลาส่วนใหญ่นอนหลับ แต่ก็มีช่วงที่เขาตื่นมากินนมและนอนเล่น ซึ่งคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนเฉยๆ ควรได้ใช้โอกาสนี้ ในการส่งเสริมพัฒนาการทารก 1 เดือนในด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวของลูก เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้

  • จับนอนคว่ำบ้าง  - เมื่อลูกตื่นตอนกลางวัน ให้คุณแม่ดูว่าเมื่อจับลูกนอนคว่ำช่วงสั้นๆ  (แต่คุณแม่ต้องอยู่ด้วยตลอดขณะให้ลูกนอนคว่ำ)  ลูกจะพยายามพลิกศีรษะตะแคงเพื่อหายใจ เมื่อเขาทำเช่นนี้กล้ามเนื้อคอของเขาก็ได้ทำงาน

  • จับข้อมือดึงให้ลุกนั่ง  -  เมื่อคุณแม่จับข้อมือดึงให้ลุกนั่ง ลูกจะยกศีรษะตั้งขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อคอและหลังของลูก

  • เรียนรู้ผ่านมือ  - ลูกวัย 1 เดือน ยังใช้มือ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กไม่ได้ แต่ลูกก็เริ่มเรียนรู้การเอากำปั้นเข้าปากและดูดทั้งกำปั้น  โดยหลับตาดูดได้ ซึ่งเป็นความสามารถตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ต่อเนื่องมาจนเป็นพัฒนาการเด็กทารก 1 เดือนที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ คุณแม่จึงไม่ควรใส่ถุงมือให้ลูกตลอดเวลา เพราะจะขัดขวางการเรียนรู้ผ่านมือของลูก

การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือน ควรเน้นความพอเหมาะพอควร ควรทำช่วงสั้นๆ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นลูกมากเกินไป  เพราะวัยนี้ลูกยังต้องการนอนหลับเต็มอิ่มวันละหลายชั่วโมงค่ะ

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.

3. พัฒนาการทารกวัย 1 เดือน ด้านภาษาและการสื่อสาร

เพลงรักจากแม่ ปูพื้นฐานทางภาษาของลูก

เราต่างก็รู้กันดีแล้วว่า การได้ยินของเด็กพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแล้ว ดังนั้นทันทีที่ลืมตาดูโลก ลูกก็พร้อมที่จะซึมซับทั้งเสียง ท่วงทำนอง คำ และประโยคจากพ่อแม่ เพื่อสร้างคำพูดของตนเองออกมาในอนาคต แม้ช่วงวัยขวบปีแรกนี้ ลูกจะยังไม่เข้าใจความหมายของคำที่พูด แต่ก็สามารถแปลความหมายจากการสังเกตอารมณ์พ่อแม่ขณะพูดได้

จากการวิจัยพบว่า เสียงเพลงที่แม่ร้องกล่อมให้ลูกนอน เสียงที่พ่อแม่พูดคุยกับลูกวัยทารกอย่างอ่อนโยน เสียงหัวเราะหยอกเย้าระหว่างพ่อแม่ลูกจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการสื่อสารของลูกและเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก 1 เดือนได้ โดยเสียงที่ลูกได้ยินจะไปกระตุ้นให้สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษาให้เกิดการทำงาน ซึ่งเป็นการเตรียมลูกให้มีความพร้อมสำหรับการพูดหรือการใช้ภาษาพูด รวมทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 1 เดือนในด้านอารมณ์และสังคมให้ลูกด้วย

ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามการร้องเพลงกล่อมลูกด้วยน้ำเสียงของคุณแม่เอง โดยอาจเป็นเพลงที่คุณแม่ชื่นชอบ หรือเพลงเด็กง่ายๆ  มาร้องให้ลูกฟังบ่อยๆ จะช่วยเสริมสร้างพื้นฐานด้านภาษาและการสื่อสาร  รวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกได้  

4. พัฒนาการทารกวัย 1 เดือน ด้านอารมณ์และสังคม

อุ้มลูกเดินเล่น  พัฒนาอารมณ์ลูก

แม้ลูกวัย 1 เดือน จะใช้เวลาส่วนใหญ่นอนหลับ แต่ก็ช่วงที่เขาตื่นมากินนมและยังไม่หลับนั้น  คุณแม่ลองถามตัวเองสิคะว่าปล่อยให้ลูกนอนเฉยๆ หรือเปล่า หากปล่อยให้ลูกนอนเฉยๆ ขอแนะนำให้คุณแม่ อุ้มลูกขึ้นมาจากเตียงนอนหรือเปลของเขา แล้วพาเขาเดินเล่นชมนกชมไม้

การที่คุณแม่อุ้มลูกไว้ในอ้อมแขนเดินเล่นไปรอบๆ บ้าน รับแสง รับแดด  เปลี่ยนบรรยากาศแทนการนอนอยู่แต่ในที่เดิมๆ พร้อมพูดคุยกับลูกไปด้วย   ยังช่วยให้ลูกรับรู้ถึงความรักความอบอุ่นที่แม่ส่งมาถึง รับรู้ถึงสัมผัสอันอ่อนโยนขณะที่แม่โอบกอดเขา ส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีของลูกค่ะ

เพราะฉะนั้นในแต่ละวัน คุณแม่จึงควรอุ้มลูกขึ้นมาเดินเล่นบ้างอย่างน้อย 1 ครั้ง  เพื่อลูกน้อยมีความฉลาดทางอารมณ์ค่ะ