ตรวจสอบโดย ผศ.พญ. ดิษจี ลุมพิกานนท์
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

ทำไมการให้นมแม่กับลูกน้อยในสัปดาห์แรก ถึงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณแม่มือใหม่?


สำหรับคุณแม่มือใหม่บางท่านการให้นมบุตรถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกที่คุณแม่และลูกน้อยยังไม่คุ้นชินกันมากนัก รวมทั้งอาจจะมีความกังวลว่าเราจะสามารถให้นมกับลูกน้อยได้สำเร็จหรือไม่ เรามีคำแนะนำดี ๆ จากเหล่าคุณแม่ผู้มากประสบการณ์ มาแบ่งปันเคล็ดลับให้คุณแม่มือใหม่สามารถนำไปปรับใช้กันได้ค่ะ

เริ่มอาทิตย์แรกไปด้วยกัน


ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เวลาเพื่อน ๆ ที่มีลูกไปแล้วเตือนมาว่า “ความยากลำบากอย่างหนึ่งในชีวิตเลย คือตอนให้นมลูกช่วงแรก ๆ นี่ล่ะ” สิ่งนั้นได้เกิดขึ้นจริง เมื่อแม่ทุกคนที่คลอดลูกแล้วต้องให้นม บางคนเกิดอาการทางกาย และบางคนเกิดอาการภายในใจ ทำไมการให้นมสัปดาห์แรกที่แม่เพิ่งคลอดลูก ถึงเป็นเรื่องที่แม่ ๆ ทุกคนลงความเห็นกันว่ายากลำบากแบบนี้นะ?

สิ่งที่อยากบอกเหล่าคุณแม่ “ให้นมอาทิตย์แรก จะทั้งเจ็บ เหนื่อย ท้อมาก ๆ” คุณแม่ต้องอดทน กัดฟันกันหน่อยนะคะ พอผ่านเดือนแรกไป ก็จะค่อย ๆ สบายขึ้นได้เอง

คนที่จะสามารถช่วยเหลือคุณแม่ได้มากที่สุด ก็คือนางพยาบาลที่อุ้มลูกเราไปหลังเพิ่งคลอด นางพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเรื่องให้นมโดยเฉพาะ ท่าน ๆ เหล่านี้จะมาประกบข้างกายเราทันที และสอนทุกสิ่งให้เรารู้ เปิดใจ แล้วเชื่อเธอเลยนะ

ในช่วงสัปดาห์แรก น้ำนมแม่จะเปลี่ยนรูปร่างจากที่เป็นโคลอสตรัม เป็นน้ำนมเหลือง หรือหัวน้ำนม เพราะอุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณค่ามากมาย จากที่มีความข้น ก็จะเปลี่ยนเป็นน้ำนมที่มีความใสขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน

คุณแม่อาจจะมีความรู้สึกว่า การเข้าเต้าให้ลูกน้อยได้กินนมแม่เป็นสิ่งที่ยากในช่วงแรก ไหนจะอุ้มลูก ไหนจะจับเข้าเต้าไปพร้อม ๆ กัน บางครั้งก็เปลี่ยนสลับมาเข้าเต้าอีกข้างที่เราอาจจะไม่ถนัดอีกด้วย ยิ่งลูกน้อยบางคนดูดนมแรง หัวนมคุณแม่จะเจ็บตั้งแต่วันแรก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็มีวิธีแก้ไข ดังนี้

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

1. ทำความคุ้นเคยที่จะให้นมลูกให้เร็วที่สุด
หลังจากกการคลอดลูก ควรเอาลูกเข้าเต้าให้เร็วที่สุด แม้ว่าน้ำนมแม่อาจจะยังไม่มา แต่ให้ลูกน้อยได้ลองฝึกดูดเต้าไปก่อน พยายามให้ลูกได้อยู่กับเราระหว่างการพักฟื้นที่โรงพยาบาลให้ได้มากที่สุด การทำแบบนี้ จะช่วยให้ลูกน้อยของเราคุ้นเคยกับการเข้าเต้า และสามารถปรับตัวกับการดื่มนมแม่ได้ง่าย

2. กระตุ้นน้ำนม
การใช้เครื่องปั๊มนมคอยกระตุ้นให้ผลิตน้ำนมออกมา โดยสามารถปั๊มนมแม่ได้ในทุก ๆ 3 ชั่วโมง รวมทั้งการให้ลูกน้อยเข้าเต้าก็ช่วยในการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมแม่ออกมาได้มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉลี่ยควรให้ลูกน้อยเข้าเต้า 12 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ การพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็มีผลต่อการผลิตน้ำนมแม่ด้วยเช่นกัน

3. เข้าเต้าให้ถูกวิธี
วิธีที่จะช่วยให้ไม่เจ็บเต้า คือการเข้าเต้าให้ถูกวิธี คุณแม่ควรฝึกเข้าเต้าตั้งแต่วันแรก ๆ หลังการคลอด การนำลูกเข้าเต้าให้ถูกองศากับเต้านมของคุณแม่ จะช่วยลดการเจ็บเต้าได้เป็นอย่างดี และการให้นมจะกลายเป็นเรื่องที่ผ่อนคลายสำหรับคุณแม่

เทคนิคการเข้าเต้าถูกวิธี

          • ปากลูกเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนมิดลานนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางแนบเต้า ปลายจมูกชิดหรือแตะเต้านม และริมฝีปากบน – ล่าง บานออก
          • ลูกดูดแรงโดยใช้ลิ้นรีดน้ำนมเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ได้ยินเสียงกลืนนมเป็นจังหวะถ้าลูกไม่ค่อยดูดหรือดูดช้าลง ให้บีบเต้ากระตุ้นลูก

เริ่มให้นมแม่สำหรับคุณแม่มือใหม่


คุณแม่มือใหม่ทุกคนจะรู้สึกเก้ ๆ กัง ๆ เวลาให้นมลูก เพราะเป็นประสบการณ์ใหม่ หากคุณแม่เริ่มต้นดี ก็จะทำให้การให้นมแม่ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น ด้วยการเริ่มให้ลูกดูดนมอย่างถูกต้องถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้กินนมแม่ได้สำเร็จ การให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธี จะทำให้น้ำนมแม่ไหลดี ป้องกันการเจ็บหัวนม เต้านมคัด หรือน้ำนมไม่ไหล ซึ่งการให้นมลูกสามารถเริ่มได้โดย

          • หาที่เหมาะ ๆ เลือกเก้าอี้ที่นั่งสบาย: ท่านั่งมักจะสบายกว่าท่านอน ใช้หมอนหนุนหลังแม่ ส่วนหมอนอีกใบวางที่ตักเพื่อหนุนให้ลูกอยู่ในระดับพอเหมาะกับทรวงอก
          • อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัวแม่: ให้ปากลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนมแม่ แม่จะได้ไม่เกร็งจนปวดเมื่อยร่างกาย ซึ่งเป็นอุปสรรคในระยะยาวได้
          • ใช้น้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดหัวนม: ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์เพราะจะทำให้แห้งแตก ใช้น้ำอุ่น หรือน้ำนมแม่เช็ดหัวนมเบา ๆ
          • ปล่อยใจให้สบาย: ปล่อยร่างกายให้สบาย และผ่อนคลาย เมื่อให้นมลูกน้อย

สัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เราจะได้เรียนรู้วิธีต่าง ๆ ไปพร้อมกับลูกน้อย สร้างความตื่นเต้นกับคุณแม่ได้เสมอ และจะเป็นช่วงเวลาที่เรามองย้อนกลับไปแล้วรู้สึกมีความสุข และภูมิใจในตัวเองมากที่สุด

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน


เพราะในน้ำนมเหลืองมี แลคโตเฟอร์ริน โปรตีนในนมแม่ที่จะพบได้มากที่สุดในน้ำนมเหลือง หรือน้ำนมระยะแรกที่จะไหลออกมาใน 1-3 วันแรกหลังคลอด ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จึงช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

นมแม่ดีที่สุดโดยเฉพาะน้ำนมเหลืองที่มีแลคโตเฟอร์ริน

นมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพัฒนาการสมองของลูกน้อย


เพราะในนมแม่มี MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม ซึ่งเยื่อหุ้มนี้ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม ประกอบด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองของลูกน้อย นอกจากนี้ นมแม่ยังมี DHA ซึ่งเป็นกรดไขมัน ที่ช่วยในด้านการพัฒนาสมองของลูกน้อยอีกด้วย

MFGM is an essential nutrient found in breast milk and MFGM fortified milk.