ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
adenovirus

อะดีโนไวรัส ไวรัสตัวร้ายที่ระบาดบ่อยในเด็กเล็ก

Enfa สรุปให้

  • อะดีโนไวรัส (adenovirus) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อและระบาดถึงกันได้ตลอดทั้งปีแบบไม่จำเพาะฤดูกาล จึงเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่แข็งแรง
  • เชื้ออะดีโนไวรัส สามารถติดต่อผ่านการไอ จาม การสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อการใช้สิ่งของที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสร่วมกัน หรือการดื่มน้ำและกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส
  • เชื้ออะดีโนไวรัส จะทำให้มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งสามารถรักษาตามอาการให้ทุเลาและดีขึ้นตามลำดับได้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • อะดีโนไวรัส คืออะไร ทำไมเด็กเล็กถึงติดเชื้อกันถ้วนหน้า
     • การติดเชื้อ อะดีโนไวรัส เกิดจากอะไร
     • อะดีโนไวรัส อาการ เป็นอย่างไรเมื่อเด็กเล็กติดเชื้อ
     • ป้องกันการติดเชื้ออะดีโนไวรัสในเด็กเล็กยังไงดี

อะดีโนไวรัส คือ หนึ่งในไวรัสตัวร้ายที่ทำให้ลูกป่วยบ่อย ๆ หากคุณพ่อไม่ดูแลและป้องกันให้ลูกรักษาความสะอาด ก็จะยิ่งทำให้เด็ก ๆ ป่วยได้ตลอดทั้งปี เพราะไวรัสตัวนี้สามารถระบาดได้แบบไม่เลือกฤดูกาลเลยค่ะ

อะดีโนไวรัส คืออะไร ทำไมเด็กเล็กถึงติดเชื้อกันถ้วนหน้า


ไวรัสอะดีโน  (adenovirus) หรือ อะดีโนไวรัส คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี และก่อให้เกิดอาการทางสุขภาพที่รุนแรงได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต
  • การติดเชื้อที่ดวงตา เช่น ตาแดง ไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหาร ลําไส้อักเสบ ตับอักเสบ เลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะอาหารและลําไส้อักเสบ ลําไส้ใหญ่อักเสบ

การติดเชื้อ อะดีโนไวรัส เกิดจากอะไร


เชื้ออะดีโนไวรัส สามารถติดต่อกันได้หลายทาง ดังนี้

  • ติดต่อกันผ่านการไอและจาม
  • ติดต่อผ่านทางน้ำและอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส
  • ติดต่อผ่านการสัมผัสกับสิ่งของหรืออวัยวะที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส

ซึ่งเชื้อไวรัสอะดีโน สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ตามพื้นผิวสิ่งแวดล้อม ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้นานถึง 30 วัน

อะดีโนไวรัส อาการ เป็นอย่างไรเมื่อเด็กเล็กติดเชื้อ


หากเด็กเล็กติดเชื้อไวรัสอะดีโน จะมีอาการปรากฎขึ้น ดังนี้

  • มีไข้สูงนานประมาณ 5-6 วัน
  • ตาแดง
  • เจ็บตา
  • น้ำตาไหล
  • มีอาการไอ หรือไอแห้ง ๆ
  • คัดจมูก หายใจไม่ออก
  • น้ำมูกไหล
  • เจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน

อะดีโนไวรัสในเด็ก อันตรายไหม ส่งผลกระทบอะไรกับสุขภาพลูกบ้าง

หากเด็กมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไม่แข็งแรงและติดเชื้อไวรัสอะดีโน จะมีโอกาสที่จะป่วยหนักได้ และในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง อาจทำให้เด็ก ๆ ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายวันเลยทีเดียว

ซึ่งการติดเชื้อไวรัสอะดีโนนั้น สามารถนำไปสู่ปัญหาในระบบทางเดินหายใจอย่าง คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หรือต่อมน้ำเหลืองโตได้

ลูกติดเชื้อ อะดีโนไวรัส รักษาอย่างไร

เมื่อลูกเชื้อไวรัสอะดีโน จะไม่มีการรักษาเฉพาะทาง แต่จะทำการรักษาตามอาการที่ปรากฎ หากมีไข้ ก็ต้องเช็ดตัวบ่อย ๆ กินยาลดไข้ หากมีอาการไอ ก็กินยาแก้ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ก็ทำการล้างจมูก จนกระทั่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับและทรงตัวจนหายเป็นปกติ

ป้องกันการติดเชื้ออะดีโนไวรัสในเด็กเล็กยังไงดี


การป้องกันเชื้อไวรัสอะดีโน สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ โดยการปลูกฝังให้เด็ก ๆ หมั่นรักษาความสะอาด ดังนี้

  • ฝึกให้ลูกล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ และล้างมือให้ถูกวิธี
  • ให้ลูกพกสเปรย์แอลกอฮอล์ หรือเจลแอลกอฮอล์ติดตัว
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในพื้นที่แออัด
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกไปใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ไม่ให้ลูกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • สอนให้ลูกไอและจามให้ถูกวิธี ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม

แลคโตเฟอร์ริน สารอาหารในน้ำนมเหลือง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย

หลังคลอดลูก คุณแม่ควรเริ่มให้นมลูกภายใน 1-3 วัน หรือทันทีหลังคลอด เพราะในระยะนี้จะเป็นช่วงที่นมแม่อยู่ในระยะของน้ำนมเหลือง (Colostrum) ซึ่งอุดมไปด้วยสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin)

แลคโตเฟอร์ริน ที่จัดว่าเป็นสุดยอดสารอาหารในน้ำนมเหลือง เพราะมีภูมิคุ้มกันสูง เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติจากอกแม่ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดโอกาสการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ด้วยการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สุขภาพ และทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง ลดโอกาสการเกิดท้องเสีย

โดยระยะน้ำนมเหลืองนี้จะอยู่แค่เพียง 3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น หากพ้นระยะนี้ไปแล้วลูกน้อยก็จะพลาดแลคโตเฟอร์รินในระดับสูงสุดช่วงนี้ไปอย่างน่าเสียดายค่ะ 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

บทความที่แนะนำ

โรคหัด
ผื่นกุหลาบ
g6pd-deficiency
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner