นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

เสริมสร้าง EF ให้ลูกน้อยด้วย MFGM ในน้ำนมแม่

Enfa สรุปให้:

  • ทักษะ EF คือ ทักษะของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุม ความคิด อารมณ์ และการกระทำ กล่าวสั้น ๆ คือ ทักษะเพื่อประสบความสำเร็จ และจะสามารถประเมินทักษะดังกล่าวได้ตั้งแต่ยังเล็ก เช่น อายุ 2 ขวบ ขึ้นไป

  • มีหลักฐานจากงานวิจัยว่า ทักษะ EF ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กอย่างเรื่องการเรียน จนไปถึงวัยผู้ใหญ่ในการจัดการสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

  • นมแม่ ที่มีสุดยอดสารอาหารอย่าง MFGM ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) ส่งเสริมการสร้างเซลล์สมอง ช่วยพัฒนาสติปัญญาและพฤติกรรม และยังมีงานวิจัยรองรับว่า MFGM ในนมแม่จะช่วยเพิ่ม IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

เลือกอ่านตามหัวข้อ

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า ทักษะ EF กันมาบ้าง แต่สงสัยมั้ยว่า จริง ๆ แล้วทักษะ EF คืออะไร ทักษะนี้สามารถแสดงถึงความฉลาดด้านใดกันแน่ และจะทำอย่างไรเพื่อเสริมสร้าง EF ที่ดีให้กับเด็ก ๆ วันนี้เอนฟารวบรวมคำตอบไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ

Executive Function หรือ EF คือ ทักษะของสมองส่วนหน้าที่สามารถควบคุม ความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งในการที่เด็กจะเติบโต พัฒนาความสามารถ พัฒนากระบวนการคิด การตัดสินใจ วางแผน จนไปถึงการตั้งเป้าหมายด้วยตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีทักษะ EF

หากกล่าวสั้น ๆ EF คือ ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จนั่นเอง โดยทักษะนี้จะเริ่มพัฒนาตั้งแต่แรกเกิด และสามารถประเมินได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไป

EF ประกอบด้วยอะไรบ้าง


จากการศึกษาทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับทักษะ EF กล่าวว่า มีอยู่ 3 องค์ประกอบหลัก คือ

          1. สมองจำดี (Working Memory) เป็นความสามารถที่จะจดจำข้อมูลต่าง ๆ และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ออกมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น จดจำคำสั่งที่คุณแม่ให้ไปหยิบของในครัวได้

          2. ความคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) คือ การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ในหลายมุมมอง อย่างการปรับเปลี่ยนเป้าหมาย เปลี่ยนวิธีแก้โจทย์คณิตศาสตร์ซึ่งสามารถใช้ได้หลายวิธี

          3. ยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) รู้จักรอ ยับยั้งชั่งใจ อดทนต่อสิ่งยั่วยุทางอารมณ์ได้ ไม่วอกแวก เช่น ระหว่างที่เดินไปห้องครัวเพื่อไปหยิบของให้คุณแม่ ก็ไม่หยุดระหว่างทางเพื่อเล่นกับแมวเพลินจนลืมสิ่งที่จะไปหยิบให้กับคุณแม่

EF สำคัญอย่างไร


หลักฐานจากงานวิจัยยืนยันว่า EF มีส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในทุกช่วงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหา การเรียนรู้ การวางแผน การจัดการ การตัดสินใจ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็ก เพราะยิ่งเราเสริมสร้างได้เร็วเท่าไหร่ ทักษะเหล่านี้ก็จะส่งผลไปจนถึงความสำเร็จในวัยผู้ใหญ่ด้วย

โดยจะเห็นได้ชัดจากการที่เด็กต้องใช้ทักษะเป็นประจำอยู่แล้วกับการเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน กล้าตัดสินใจ ปรับตัวได้ดี ซึ่งเราสามารถให้เด็ก ๆ มีทักษะได้ด้วยการทำกิจวัตรทั่วไป เช่น การอ่านหนังสือนิทานก่อนนอน เล่นปีนป่าย ต่อบล็อกไม้ เล่นดนตรี แต่นอกจากการทำกิจกรรมเหล่านี้แล้ว การเสริมสร้างโภชนาการที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมทางร่างกาย และจิตใจต่อการเรียนรู้ให้ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี


เสริมสร้าง EF ด้วย MFGM ที่พบในนมแม่


ในวันทารกโภชนาการที่สำคัญที่สุดก็คือ นมแม่ ที่มีสุดยอดสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนมากกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด และแกงกลิโอไซด์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) ส่งเสริมการสร้างเซลล์สมอง ช่วยพัฒนาสติปัญญาและพฤติกรรม และยังมีงานวิจัยรองรับว่า MFGM ในนมแม่จะช่วยเพิ่ม IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

 


  • Center on the Developing Child at Harvard University. “Inbrief: Executive Function.” Center on the Developing Child at Harvard University, 29 Oct. 2020, https://developingchild.harvard.edu/resources/inbrief-executive-function/
  • Logsdon, Ann. “How to Help Children Who Have Problems with Executive Functioning.” Verywell Family, 17 Sept. 2020, www.verywellfamily.com/executive-functioning-2162084.
  • Center on the Developing Child at Harvard University. “Executive Function & Self-Regulation.” Center on the Developing Child at Harvard University, 24 Mar. 2020, www.developingchild.harvard.edu/science/key-concepts/executive-function/.
  • ผลิตผลการพิมพ์, นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. “อะไรคือ EF และอะไรมิใช่ .” Vmagazine, edited by Vmagazine, April-June ed., vol. 30, Vmagazine, Thailand, Bangkok, 2019, pp. 40–41. รักลูกให้ดี.
  • เชาว์กุลจรัสศิริ, แพทย์หญิงอรรัตน์. “EF คืออะไร? EF สำคัญอย่างไร?” Manarom Hospital, www.manarom.com/blog/EF_Executive_Function.html. Accessed 22 May 2023.

บทความแนะนำสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama