ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานแค่ไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ต้องพักฟื้นนานแค่ไหน

Enfa สรุปให้

  • หลังผ่าคลอดคุณแม่จะต้องงดออกแรงยกของหนักหรือทำงานหนักอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ เพื่อรอให้แผลผ่าคลอดเริ่มปิดสนิท และไม่มีเลือดไหล
  • การออกแรงยกของหนักเร็วเกินไป โดยที่แผลผ่าคลอดยังไม่หายดี จะเพิ่มแรงกดไปที่แผลผ่าคลอด ทำให้เกิดแผลปริ แผลแยก หรือแผลอักเสบได้
  • หลังผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรยกของสิ่งใดที่หนักเกินกว่าการอุ้มทารกเพื่อให้นมลูก ของที่หนักเกินกว่านั้นถือว่าเสี่ยงอันตรายต่อการฟื้นตัวหลังผ่าคลอด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • หลังผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน
     • ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนัก
     • ผ่าคลอดแล้วยกของหนัก มีผลกระทบอะไรบ้าง

หลังผ่าคลอดคุณแม่จำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงและงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อแผลผ่าคลอด เพราะถ้าหากคุณแม่เกิดฝืนแสดงพลังหลังผ่าคลอด ยกของหนักแบบไม่เกรงใจใคร อาจจะทำให้แผลปริ แผลอักเสบได้ค่ะ แต่แม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน และจะต้องงดออกแรงไปอีกนานแค่ไหนนั้น บทความนี้จาก Enfa คนดีคนเดิม มีคำตอบมารออยู่แล้วค่ะ

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน


ถึงแม้จะยังเจ็บแผลผ่าคลอดอยู่ แต่ภารกิจในชีวิตของคุณแม่หลังผ่าคลอดก็เยอะเหลือเกิน เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลุกขึ้นมาออกแรงยกนั่น ยกนี่ด้วยตัวเอง ให้คนอื่นมาทำแทนก็ไม่ถูกใจ แต่แพทย์ก็สั่งเอาไว้ว่าอย่าเพิ่งออกแรงทำงานหนัก

แล้วแบบนี้หลังผ่าคลอดกี่เดือนยกของหนักได้? ต้องรอนานเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย? โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะสามารถกลับมาออกกำลังกาย เริ่มทำงานหนัก หรือยกของหนักต่าง ๆ ที่หนักมากกว่าทารกตัวน้อย ๆ ได้นั้น จำเป็นจะต้องรออย่างน้อย 4-6 สัปดาห์หลังคลอดค่ะ

ระยะนี้แผลจะเริ่มสมานตัวดีขึ้น เลือดไหลน้อยลง หรือหยุดไหล มดลูกก็เริ่มกลับเข้าอู่แล้ว คุณแม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น กระฉับกระเฉงขึ้น และออกแรงได้มากขึ้นด้วยค่ะ

เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนัก


คุณแม่หลังคลอด ในช่วง 1-4 สัปดาห์แรกนั้น ควรจะต้องงดเว้นจากภารกิจชีวิตทั้งหลายทั้งปวง แม้ว่าจะอดใจไม่ไหวอยากลุกขึ้นมาทำเองทั้งงานบ้าน งานประจำ ทำกับข้าว ทำความสะอาดนั่นนี่

แต่คุณแม่ไม่ควรลุกขึ้นมาทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องออกแรงมากเกินกว่าการอุ้มลูกหรือให้นมลูกเลยค่ะ เพราะแผลผ่าคลอดยังปิดไม่สนิท การเคลื่อนไหวมาก ๆ  ออกแรงยกของหนัก เสี่ยงที่จะทำให้แผลผ่าคลอดเกิดการกระทบกระเทือน ทำให้แผลปริ แผลผิดไม่สนิท เสี่ยงที่จะเกิดการอักเสบ และทำให้แผลหายช้า จนอาจจะต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้นกว่าเดิม

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่โล 

คุณแม่หลังผ่าคลอดไม่ควรยกของอะไรที่หนักเกินกว่าทารกตัวน้อย ๆ ค่ะ งานหนักเดียวที่คุณแม่ทำได้อย่างปลอดภัยก็คือการอุ้มลูกและให้นมลูก กิจกรรมและงานอื่น ๆ  ควรให้คนอื่นทำแทนจนกว่าแผลผ่าคลอดจะเริ่มหายดี เลือดหยุดไหล และอาการเจ็บแผลลดลง เพราะถ้าฝืนออกแรงยกของหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก จะส่งผลเสียต่อแผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบได้ค่ะ

ผ่าคลอดแล้วยกของหนัก มีผลกระทบอะไรบ้าง


หากคุณแม่ออกแรงยกของหนัก หรือทำงานหนักเร็วจนเกินไป โดยที่ร่างกายยังพักฟื้นหลังผ่าคลอดไม่เต็มที่ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น

  • เสี่ยงต่ออาการปวดหลัง เกิดการเคล็ด ตึง บริเวณหลังส่วนล่าง รวมถึงอาจทำให้เอ็นอักเสบได้ด้วย
  • เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากยังอ่อนแรง และพักฟื้นไม่เต็มที่ เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บได้
  • การออกแรงมากเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดทับไปที่แผลผ่าคลอด ทำให้แผลเปิด แผลปริ หรือเสี่ยงที่แผลผ่าคลอดจะอักเสบได้ค่ะ

ผ่าคลอด เผลอยกของหนัก แล้วแผลปริ ควรทำอย่างไร

หากคุณแม่เผลอออกแรงยกของหนัก หรือทำกิจกรรมหนักจนแผลผ่าคลอดเปิด คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะถ้าหากแผลเปิดเยอะ หรือมีการอักเสบเกิดขึ้น อาจจำเป็นจะต้องเย็บปิดแผลใหม่



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

บทความที่แนะนำ

แผลผ่าคลอดสวย
แผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน
เจ็บแผลผ่าคลอด
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Brain Campaign banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner