Enfa สรุปให้

  • ระยะแรกหลังคลอด คุณแม่ควรกินอาหารอ่อน ๆ หรืออาหารที่ย่อยได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย

  • หลังผ่าคลอดสามารถกินข้าวเหนียวได้ ข้าวเหนียวไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพหลังคลอด และไม่ส่งผลเสียต่อแผลผ่าคลอดด้วย

  • ข้าวเหนียวมีคาร์โบไฮเดรตสูง และคาร์โบไฮเดรตก็สร้างพลังงานแก่ร่างกาย การกินข้าวเหนียวจึงช่วยให้แม่มีแรง ไม่หิวบ่อย และช่วยให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้ดี

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม
         • ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ตอนไหน
         • ทำไมจึงมีความเชื่อว่าห้ามกินข้าวเหนียวหลังผ่าคลอด

    หลังคลอด คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวหลังการผ่าคลอดได้ดีขึ้น แต่ถ้าคุณแม่ชอบกินข้าวเหนียวมาก กินเป็นชีวิตจิตใจ หลังผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม? ถ้ากินข้าวเหนียวหลังผ่าคลอด จะทำให้แผลหายช้าหรือเปล่า? 

    ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม


    ข้าวเหนียว เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตสูง และคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน ช่วยให้คุณแม่มีแรง ไม่หิวโหย และยังช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวหลังคลอดได้ดีอีกด้วย 

    แล้วแบบนี้จะมีเหตุผลอะไรที่จะต้องห้ามไม่ให้กินข้าวเหนียวหลังผ่าคลอดล่ะคะ? แน่นอนว่าคุณแม่สามารถกินข้าวเหนียวได้อย่างปลอดภัย และข้าวเหนียวไม่ได้ส่งผลเสียทำให้แผลหายช้า ไม่ได้กระตุ้นให้แผลปริ แผลอักเสบแต่อย่างใดค่ะ 

    ระหว่าง กินข้าวเหนียว กับ ดูแลแผลไม่สะอาด ออกแรงยกของหนักทั้งที่แผลยังไม่หายดี ก็ชัดเจนว่าข้าวเหนียวไม่สามารถทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบขึ้นมาได้แน่ ๆ ดังนั้น คุณแม่สามารถกินข้าวเหนียวได้ค่ะ 

    อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมีข้อควรระวังเกี่ยวกับข้าวเหนียวจริง ๆ ก็อาจจะต้องลดหรือเลี่ยงข้าวเหนียวที่ผ่านการขัดสีมาแล้ว เพราะมีเส้นใยน้อย ทำให้ย่อยง่าย ย่อยเร็ว และทำให้หิวง่าย และเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูงด้วย ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นผลดีกับคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องของน้ำตาลในเลือดสูง หรือแม่ที่เป็นเบาหวาน 

    เสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กผ่าคลอดอย่างไร เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดีต้องมีครบ 3

    คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าคลอด (C-Section) คือ การผ่าตัดโดยนำทารกออกมาผ่าทางหน้าท้อง จึงทำให้ทารกไม่ได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Gut Microbiome) จากบริเวณช่องคลอดของแม่ ซึ่งทำให้เด็กผ่าคลอดอาจมีพัฒนาการภูมิคุ้มกันแรกเกิด และสุขภาพลำไส้ช้ากว่าเด็กที่คลอดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

    Cs-Biome หรือ Commensal Microbiome​

    คือ ดีเอ็นเอของกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่อยู่รวมกัน เช่นบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่พบในน้ำนมแม่ มีส่วนช่วยทำให้ผนังลำไส้แข็งแรง พัฒนาระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลูกขับถ่ายดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้ MFGM และ DHA ในนมแม่ยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองในช่วงเริ่มต้นของชีวิต​

    อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่

    ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ตอนไหน


    ช่วงระยะแรกหลังผ่าคลอดเสร็จใหม่ ๆ ควรเน้นกินแต่อาหารอ่อน ๆ ไปก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีปัญหาในระบบขับถ่าย ซึ่งอาจทำให้ไม่สบายตัว หรือรู้สึกเจ็บแผลผ่าคลอดได้ 

    เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้าน และร่างกายเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น เริ่มขับถ่ายเป็นปกติ คุณแม่จึงค่อย ๆ สลับมาเป็นอาหารตามปกติ เช่น ข้าวเหนียว หรืออาหารมื้อหนัก ๆ ที่มีกากใยมากขึ้นได้ค่ะ 

    ทำไมจึงมีความเชื่อว่าห้ามกินข้าวเหนียวหลังผ่าคลอด


    เป็นความเชื่อที่พูดส่งต่อ ๆ กันมาว่า ถ้ากินข้าวเหนียวหลังผ่าคลอดจะทำให้แผลหายช้า หรือแผลอักเสบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ข้าวเหนียวไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการที่แผลผ่าคลอดปริหรืออักเสบ หรือหายช้าเลยค่ะ การดูแลแผลไม่ดี ล้างแผลไม่สะอาดต่างหากที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจนแผลอักเสบได้ 

    อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนี้อาจจะเป็นกุศโลบายว่าไม่อยากให้แม่หลังคลอดกินอาหารที่ย่อยยากอย่างข้าวเหนียว เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง จนทำให้ไม่สบายท้อง จึงห้ามไม่ให้กินข้าวเหนียว ถ้ามองแบบนี้ก็อาจเป็นไปได้เหมือนกันค่ะ 

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม

    หลังผ่าคลอดคุณแม่สามารถกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ค่ะ นอกจากจะได้สารอาหารจากข้าวเหนียวแล้ว ก็ยังจะได้วิตามินและแร่ธาตุจากมะม่วงอีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม ควรกินแค่พอหายอยากนะคะ เพราะหากบริโภคมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาจทำให้ท้องอืด แน่นท้อง ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน และน้ำตาลในเลือดสูงได้อีกด้วย

    มากไปกว่านั้น ควรรอให้พักฟื้นดีขึ้นสักระยะก่อนแล้วค่อยกินนะคะ ในช่วงที่ยังพักฟื้นที่โรงพยาบาล หรือเพิ่งกลับมาบ้าน แนะนำให้กินอาหารอ่อน ๆ ก่อน เพื่อป้องกันอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย อาจทำให้ไม่สบายตัวได้ค่ะ



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด