สังเกตอย่างไรว่าใกล้ถึงเวลาคลอด?

1. การเคลื่อนตัวลงของท้อง

  • คุณแม่จะสังเกตเห็นลูกเริ่มเคลื่อนตัวลงยังท้องส่วนล่าง

  • การหายใจทำได้สะดวกมากขึ้น

  • คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกถึงหัวของลูกบริเวณกระดูกเชิงกราน

2. เข้าห้องน้ำถี่มากขึ้น

  • เพราะลูกเริ่มเคลื่อนตัวลงมาที่ท้องด้านล่างซึ่งใกล้กับกระเพาะปัสสาวะคุณแม่จะรู้สึกปวดเข้าห้องน้ำถี่กว่าเดิม

3. การบีบตัวของมดลูกที่ถี่ขึ้น และรุนแรงกว่าเดิม

  • การบีบตัวจะรุนแรงขึ้น ความรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือน

  • ปากมดลูกบางลง

  • อาจเกิดขึ้น 1-2 อาทิตย์ก่อนคลอด

4. การขยายตัว

  • ปากมดลูกจะเริ่มบางลง อ่อนตัว และขยายกว้างขึ้น

5. อาจมีเลอะบ้าง

  • คุณแม่อาจพบว่ามีเมือกสีขาว ที่เรียกว่า Mucus Plug ออกมาจากช่องคลอด

(Mucus plug คือเนื้อเยื้อหรือเมือกที่ปิดปากมดลูกไว้ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอก)

  • อาจมี Mucus Plug ออกมาเพียง 1 วันหรืออาจใช้เวลาหลายวันถึงจะหมด

  • โดยทั่วไปแล้วจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ชมพู หรือแดง

6. เกิดอาการท้องเสีย

  • เกิดเนื่องจากฮอร์โมนช่วงใกล้การคลอด

  • อาจร่วมกับอาการเวียนหัว คลื่นไส้

หญิงตั้งครรภ์ที่ถือท้อง

การบีบตัวที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณเตือน จริงหรือเปล่า?
*การเจ็บเตือนกับการเจ็บคลอด จะแยกออกจากกันได้อย่างไร?

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air
  • การเจ็บเตือนหรือ Braxton Hicks contractions

    • โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบีบตัวที่ไม่เจ็บปวด

    • มักเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์

    • ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ

    • อาจเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น

    • โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบีบตัวบริเวณท้องส่วนหน้าหรือบริเวณกระดูกเชิงกราน

  • การเจ็บคลอด

    • เจ็บเป็นช่วงๆ สม่ำเสมอและแต่ละครั้งนานประมาณ 30-70 วินาที

    • เจ็บถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    • บริเวณที่เจ็บคลอดคือท้องทั้งหมด

    • อาจเริ่มจากการเจ็บบริเวณหลังและไล่ขึ้นมาที่ท้อง หรืออาจเป็นในทางกลับกัน

เมื่อไรควรเข้ารับการชักนำคลอด (Induction Labor)

  • หากผ่านกำหนดคลอดแล้วถึง 2 อาทิตย์แต่คุณแม่ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะคลอด การชักนำคลอดจึงเป็นทางออก

    ในปัจจุบันจะเริ่มการชักนำคลอดเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 41 งานวิจัยชี้ว่า การชักนำคลอดหลังจากผ่านครบสัปดาห์ที่ 41 แล้วนั้น มีผลดีมากกว่าผลเสีย

    • สัปดาห์ที่ 42 ควรเป็นสัปดาห์สุดท้ายในการตั้งครรภ์

  • เมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้วแต่คุณแม่ยังไม่รู้สึกถึงการบีบรัด ตัวของมดลูก

  • เมื่อเกิดการติดเชื้อบริเวณปากมดลูก

  • เด็กมีพัฒนาการที่ผิดปกติ

  • น้ำหล่อเลี้ยงเด็กมีน้อยกว่าปกติ

  • รกบางส่วนหรือทั้งหมดหลุดจากมดลูกก่อนเวลา

  • เมื่อการตั้งครรภ์ของคุณถูกจัดว่ามีความเสี่ยงสูง

หญิงตั้งครรภ์ที่มีนาฬิกา

อาการเหล่านี้จะถูกระบุได้เมื่อคุณแม่เข้าพบสูตินารีแพทย์ แต่คุณแม่ควรบอกเล่าอาการผิดปกติอื่นๆให้แพทย์ฟังด้วย เช่น เลยกำหนดคลอด

การชักนำคลอด ทำได้อย่างไร?

กระบวนการที่สูตินารีแพทย์จะแนะนำนั้นโดยทั่วไปแล้วคือ

  • เริ่มด้วยการทาน โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) หรือวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่าคือ การรับผ่านช่องคลอดโดยตรง

  • หากยังไม่เกิดผลการฉีด ปิโตซิน (Pitocin) หรือให้ยาจะเป็นทางเลือกถัดไป

    • ปิโตซิน คือสารอ๊อกซิโทซินที่มนุษย์สร้างขึ้น

  • จากนั้นการบีบตัวเจ็บคลอดจะเริ่มขึ้น พร้อมๆ กับหัวใจของทารกที่เต้นชัดเจนขึ้น และอาการอื่นๆตามมาเช่น ปากมดลูกที่บางตัวลงเพื่อรับการคลอด

ดาวน์โหลดฟรี! แอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์

หากคุณแม่ต้องการข้อมูล เคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับพัฒนาการของทารกตลอดช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์ คำแนะนำด้านโภชนาการ และรับสิทธิประโยชน์เพื่อลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึง 3 ปี คุณสามารถสมัครสมาชิก Enfa Smart Club ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อแม่ตั้งครรภ์ฟรี ที่นี่ Enfa A+ Genius Baby

References:

  1. 1 Glade B Curtis & Judith Schuler, Your Pregnancy week By Week. Philadelphia: Da Capo Press, 2016.

  2. 2 Inducing labor: When to wait, when to induce. (n.d.). Retrieved March 17, 2017, from http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/...

  3. 3 8 Signs That Labor is Near. (2015, February 02). Retrieved March 17, 2017, from http://www.askdrsears.com/topics/pregnancy-childbirth/ninth-month/8-sign...

  4. 4 Thorbiörnson, A. et al (2016). Oral versus vaginal prostaglandin for labor induction. The Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine, 30 (7), 789-792.