
Enfa สรุปให้
- คนท้องกินยาแก้อักเสบได้ไหม? ส่วนใหญ่แล้วยาแก้อักเสบมักไม่แนะนำให้สตรีมีครรภ์และแม่ให้นมลูกกิน เนื่องจากสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
- ยาแก้อักเสบที่ปลอดภัยกับคนท้องและไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย คือ ยาพาราเซตามอล ใช้เพื่อรักษาอาการปวด ลดไข้ในขณะตั้งครรภ์ได้
- ยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่ ก็มีผลข้างเคียงที่อันตรายต่อการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ จึงควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะกินยาชนิดใด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ขณะตั้งครรภ์คุณแม่จำเป็นจะต้องระมัดระวังการกินยาต่าง ๆ ให้มาก ยาบางชนิดสามารถกินได้ และไม่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ขณะที่ยาบางชนิดไม่ควรกินตอนท้อง เพราะสามารถส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ หรืออาจนำไปสู่การแท้งได้ ส่วนยาแบบไหนที่คนท้องห้ามกิน คนท้องกินยาแก้อักเสบได้ไหม แล้วยาฆ่าเชื้อล่ะ? คนท้องกินยาฆ่าเชื้อได้ไหม บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบมาบอกค่ะ
คนท้องกินยาแก้อักเสบได้ไหม
ยาแก้อักเสบคนท้องกินได้ไหม? ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณแม่กินยาแก้อักเสบตอนท้องค่ะ
เนื่องจากตัวยาแก้อักเสบหลายชนิดมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น อาจทำให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบเนื่องจากการติดเชื้อรา คุณแม่มีตกขาวมากขึ้น หรือมีอาการคันในช่องคลอดมากผิดปกติ
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ จึงไม่ควรซื้อยาแก้อักเสบใด ๆ มากินเองโดยที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากแพทย์หรือเภสัชกรนะคะ
เข้าใจความแตกต่างระหว่างยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อ
การอักเสบของร่างกายนั้น อาจจะเกิดจากการติดเชื้อได้ แต่ยาแก้อักเสบ และยาฆ่าเชื้อ ไม่ใช่ยาชนิดเดียวกันแน่นอน และมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงค่ะ
- ยาแก้อักเสบ
คือ ยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบของร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก ซึ่งส่วนมากจะเป็นการอักเสบเนื่องจากการออกแรงมาก การยกของหนัก
- ยาฆ่าเชื้อ
คือ ยาที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อจะไม่ช่วยบรรเทาอาการปวด ไม่ช่วยลดการอักเสบ ไม่ช่วยฆ่าเชื้อไวรัส
ยาแก้อักเสบ กับ ยาฆ่าเชื้อ ทำหน้าที่ในการรักษาคนละส่วนกัน ไม่สามารถใช้ยาแก้อักเสบแทนยาฆ่าเชื้อ และไม่สามารถใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อลดการอักเสบได้ค่ะ
คนท้องกินยาฆ่าเชื้อได้ไหม
ยาปฏิชีวนะคนท้องกินได้ไหม? คุณแม่สามารถกินยาฆ่าเชื้อได้หรือเปล่า?
คุณแม่สามารถกินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ค่ะ แต่...ไม่สามารถกินยาฆ่าเชื้อได้ทุกชนิด เพราะยาปฏิชีวนะสามารถที่จะส่งผ่านรกไปยังทารก และอาจมีผลข้างเคียงกับทารกได้
การกินยาฆ่าเชื้อจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ทั้งตัวยา และขนาดการใช้ยา โดยคนท้องจะสามารถกินยาปฏีชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อได้เพียงบางชนิดที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์เท่านั้น เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxycillin), อะม็อกซีซิลลิน-คลาวูลาเนท (Amoxycillin- Clavulanate) เป็นต้น
ยาฆ่าเชื้อที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง และห้ามกิน เช่น
- ยาเตตราซัยคลิน (Tetracycline) เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียและการอักเสบต่าง ๆ ยาชนิดนี้มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกในครรภ์
- ยาซัลฟา หรือ ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากกินยานี้ในขณะที่ตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ทารกตัวเหลืองหลังคลอด
ยาแก้อักเสบที่คนท้องกินได้
ยาแก้อักเสบส่วนใหญ่เป็นอันตรายต่อคนท้อง แล้วถ้าคุณแม่มีอาการปวด มีอาการอักเสบขึ้นมา คนท้องกินยาแก้อักเสบตัวไหนได้บ้าง?
ยาแก้อักเสบที่คนท้องสามารถกินได้อย่างปลอดภัยที่สุด ได้แก่ ยาพาราเซตามอลค่ะ ส่วนยาแก้อักเสบชนิดอื่น ๆ จำเป็นจะต้องปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพราะยาแก้อักเสบส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยกับสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรค่ะ
คนท้องเจ็บคอกินยาแก้อักเสบได้ไหม กินอะไรจึงจะเหมาะสม
หากคนท้องมีอาการเจ็บคอขณะตั้งครรภ์ การกินยาแก้อักเสบควรจะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนเพื่อดูว่าตัวยาแก้อักเสบแบบไหนที่เหมาะสำหรับอาการเจ็บคอที่เป็นอยู่ เนื่องจากอาการเจ็บคอนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ อาจเป็นอาการเจ็บคอเพราะเป็นหวัด หรือเจ็บคอเพราะเป็นทอนซิลอักเสบ การรักษา หรือการให้ยาก็จะแตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการ
หากคุณแม่มีอาการเจ็บคอ สามารถใช้ยาอม ยาพ่นแก้เจ็บคอ คู่ไปกับการดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอ และพักผ่อนให้มาก ๆ ก็สามารถช่วยให้อาการเจ็บคอดีขึ้นได้ค่ะ
อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่
เด็กจะเติบโตมาแข็งแรง มีสุขภาพดี ฉลาด มีไอคิวที่สมวัยได้ พื้นฐานต้องเริ่มมาจากอาหารการกินของคุณแม่ค่ะ
โดยกลุ่มสารอาหารสำคัญที่คุณแม่จะต้องได้รับอย่างเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่
- ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง
- โปรตีน ดีต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้กับคุณแม่
- ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ
- กรดโฟลิก หรือโฟเลต มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้
- แคลเซียม มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกระดูกพรุนทั้งแม่และทารก
- ไอโอดีน ป้องกันภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์
- โคลีน มีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ ลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์
- โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดต่ำอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าโภชนาการสำหรับแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะถ้าหากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่อันตรายต่อทารกได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นประจำทุกมื้อ ก็จะเป็นการปูพื้นฐานการมีสุขภาพดี มีสมองที่ดี ส่งเสริมให้ลูกพร้อมที่จะเติบโตอย่างสมวัย และก้าวไกลไปสู่อนาคตที่ดีอย่างมีคุณภาพได้ค่ะ
- What to expect. Pregnancy Nutrition Chart: 32 Essential Nutrients for Pregnant Women. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/pregnancy/diet/pregnancy-nutrition-chart/. [9 July 2024]
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. เกร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/obgyn/th/article/05082014-1142-th. [9 กรกฎาคม 2024]
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. "ยาแก้อักเสบ = ยาฆ่าเชื้อจริงหรือ?". [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B1. [9 กรกฎาคม 2024]
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ระวัง กินยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ระหว่างตั้งครรภ์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1956. [9 กรกฎาคม 2024]
- โรงพยาบาลพญาไท. คุณแม่ตั้งครรภ์ กินยาอะไรได้บ้าง?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/the-use-of-medication-in-pregnancy. [9 กรกฎาคม 2024]
- ZeekDoc. คุณแม่ตั้งครรภ์ทานยาได้มั้ย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://zeekdoc.com/en/post/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1. [9 กรกฎาคม 2024]