Enfa สรุปให้

  • ทารกแรกเกิดแม้จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินนมและนอนหลับ แต่เด็กวัยนี้ก็พร้อมสำหรับของเล่นตามวัยแล้วเช่นกัน

  • ของเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดคือของเล่นที่มีสีสันสดใส มีน้ำหนักเบา เคลื่อนไหวได้ และมีเสียงเพลง

  • ของเล่นเด็กแรกเกิดจะช่วยกระตุ้นการมองเห็นจากสีสันต่าง ๆ กระตุ้นการได้ยินจากเสียงเพลงในของเล่น และยังกระตุ้นกล้ามเนื้อและประสาทการสัมผัสจากการหยิบจับของเล่นด้วย

    เลือกอ่านตามหัวข้อ

         • ลูกน้อยควรมีของเล่นตอนอายุเท่าไหร่
         • ของเล่นเสริมพัฒนาการ 0-3 เดือน มีอะไรบ้าง
         • ของเล่นเด็กเล็ก มีประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไร
         • จัดการของเล่นเด็กทารกอย่างไร เมื่อลูกน้อยถึงช่วงวัยเปลี่ยนผ่าน

    การเล่นของเล่น ถือเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้กับเด็ก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และการสื่อสาร

    แต่...เด็กควรจะเริ่มเล่นของเล่นเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดที่ยังเป็นเบบี๋ตัวน้อย ๆ ควรเล่นของเล่นหรือยัง ของเล่นเสริมพัฒนาการ 0-3 เดือนควรเลือกยังไง แล้วของเล่นแบบไหนบ้างนะที่เหมาะสำหรับทารก 

    ลูกน้อยควรมีของเล่นเด็กอ่อน ตั้งแต่ช่วงอายุเท่าไหร่


    ถ้าหากจะไล่เรียงกันตามพัฒนาการแล้ว เด็กจะเริ่มเล่นของเล่นได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้นก็เมื่ออายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป พออายุถึง 9 เดือนก็จะเริ่มมีของเล่นชิ้นโปรดเป็นของตัวเอง 

    สำหรับเด็กแรกเกิดที่อายุระหว่าง 0-3 เดือนนั้น แม้ว่าจะยังเล็กเกินกว่าจะเล่นของเล่นได้ แต่...ก็สามารถที่จะตอบสนองต่อของเล่นต่าง ๆ ได้บ้างแล้วค่ะ โดยเฉพาะกลุ่มของเล่นที่มีสีสันสดใส มีเสียง หรือเคลื่อนไหวไปมา เด็กสามารถที่จะมองเห็น ได้ยิน หรือสัมผัสกับของเล่นได้ 

    ของเล่นเด็กแรกเกิด ควรเลือกยังไงดี

    แม้ว่าเด็กแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการกินนมและการนอน แต่...เด็กวัยนี้ก็พร้อมที่จะเล่นด้วยเหมือนกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมของเล่นเอาไว้เล่นกับลูกได้เลย 

    ซึ่งของเล่นเด็กทารกนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพงอะไรเลยค่ะ เป็นของเล่นง่าย ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อน และมีน้ำหนักเบา ก็เป็นอันใช้ได้ เพราะเด็กวัยนี้ไม่ต้องการของเล่นที่มีความซับซ้อนในการเล่นอยู่แล้ว 

    ขอให้มีเสียง มีสีสันสดใส เคลื่อนไหวไปมาได้ ก็เพียงพอที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นและการได้ยินของลูกน้อยแล้วค่ะ และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือควรเลือกของเล่นที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก 

    ตัวอย่าง ของเล่นเสริมพัฒนาการ 0-3 เดือน ที่น่าสนใจ


    ของเล่นเสริมพัฒนาการแรกเกิด ที่เหมาะสมกับเจ้าเบบี๋ตัวน้อย เช่น 

    • ตุ๊กตาแขวน เลือกที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กจนเกินไป เลือกที่มีสีสันสดใส ยิ่งถ้ามีเสียงประกอบด้วยก็ยิ่งดีใหญ่เลยค่ะ สีสันที่สดใสจะช่วยกระตุ้นการมองเห็นของเด็ก เสียงของตุ๊กตาก็กระตุ้นการได้ยินของเด็กด้วย 

    • ของเล่นแนว Rattle หรือของเล่นที่เขย่าแล้วเกิดเสียง เลือกที่มีขนาดพอเหมาะ มีด้ามจับที่พอดีกับมือของเด็ก ของเล่นแบบนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นการได้ยินของเด็กแล้ว เด็กยังจะได้ฝึกการสัมผัส และเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ไปพร้อม ๆ กันด้วย 

    • เพลย์ยิม เป็นของเล่นที่มีหลายฟังก์ชันค่ะ เพราะมีทั้งโมบายสีสันสดใสด้านบน มีเบาะนิ่มรองรับลูกน้อย และยังมีแท่นดนตรีพร้อมเสียงเพลงเพราะ ๆ อีกด้วย ช่วยให้ลูกได้ทั้งความเพลิดเพลิน กระตุ้นการมองเห็น การสัมผัส และการได้ยินเป็นอย่างดี เป็นของเล่นชิ้นเดียวแต่ครบทุกมิติความสนุก 

    • หนังสือผ้า เป็นของเล่นที่มีสีสันสดใส และยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจ การพาลูกอ่านหนังสือผ้า แม้ว่าเด็กจะยังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างประสาทสัมผัสการมองเห็น รวมถึงช่วยกระตุ้นทักษะทางด้านภาษาและการสื่อสารได้ตั้งแต่ยังเล็กด้วย 

    • ของเล่นที่มีกระจก จริงอยู่ที่กระจกอาจจะดูอันตรายสำหรับทารก ดังนั้นควรเลือกของเล่นที่มีกระจกแบบที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยนะคะ สิ่งสำคัญก็คือเด็กจะได้รู้จักกับหน้าตาตัวเอง ทั้งยังมองเห็นอารมณ์ของตนเองผ่านกระจกด้วย ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะจดจ่อกับสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้า รวมถึงยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะแนะนำให้เจ้าตัวเล็กได้รู้จักกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายด้วยค่ะ 

    • ของเล่นจำพวก Tummy time หรือแผ่นรองคลาน เสื่อสีสันสดใสและนุ่มนิ่มนี้เเหมาะมากสำหรับเด็กทารก เพราะจะช่วยให้เด็กได้กลิ้งไปมา คว่ำตัว พลิกซ้ายขวา เป็นการเสริมความแข็งแรงของหน้าท้องและแขนขา ทั้งยังได้ฝึกการมองเห็นผ่านสีสันและลวดลายต่าง ๆ บนเสื่ออีกด้วย 

    สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

    ของเล่นเด็กเล็ก มีประโยชน์ต่อลูกน้อยวัยแรกเกิดอย่างไร


    แม้จะเป็นความจริงที่ว่าเด็กเล็ก ยังไม่จำเป็นจะต้องมีของเล่นอะไรมากมายหรอก เพราะเด็กยังเล็กมาก และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินนมและการนอน 

    แต่การมีของเล่นที่เหมาะสำหรับวัยของเด็กเข้ามาช่วยเสริมในบางเวลา ก็มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กเล็กได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น

    • กระตุ้นประสาทการสัมผัส สำหรับทารกแล้วทุกสิ่งรอบตัว ณ ขณะนี้ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด การที่ลูกได้สัมผัสกับของเล่นที่แตกต่างกันไป นุ่มบ้าง แข็งบ้าง ขรุขระบ้าง จะช่วยให้เด็กมีประสาทการสัมผัสที่ดีค่ะ 

    • กระตุ้นการมองเห็น ของเล่นที่มีสีสันสดใส มีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกัน จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเริ่มมีการจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ดี 

    • กระตุ้นการได้ยิน ของเล่นที่มีเสียงพูดหรือเสียงเพลงประกอบ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ยินของเด็ก และยังได้เรียนรู้ถึงเสียงที่แตกต่างกันไปด้วย 

    • กระตุ้นทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร แม้ว่าเด็กจะยังไม่สามารถพูดได้ และไม่สามารถเข้าใจความซับซ้อนใด ๆ ได้อย่างลึกซึ่ง แต่...การพาลูกอ่านนิทาน การพูดกับลูกบ่อย ๆ การเปิดเพลงให้ฟัง หรือเล่นของเล่นที่มีเสียง สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นทักษะด้านภาษาและการสื่อสารให้กับลูกได้ดีตั้งแต่ยังเล็ก และมีแนวโน้มที่จะเริ่มพูดและสื่อสารได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่ค่อยได้เสิรมทักษะด้านการอ่านและการฟัง 

    • กระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกาย การได้เด็กได้หยิบจับ ได้กลิ้ง หรือพลิกตัวไปมาเวลาที่เล่นของเล่น จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ทั้งยัง่ชวยให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง แขนและขาของทารกแข็งแรงขึ้นด้วย 

    จัดการของเล่นเด็กทารกอย่างไร เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยที่ควรเปลี่ยนของเล่นแล้ว


    เด็กเมื่อเริ่มโตขึ้น ความสนใจก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไป เริ่มสนใจสิ่งใหม่ ๆ ของเล่นชิ้นเดิมที่เคยชอบ ก็อาจจะไม่ชอบแล้ว ก็เลยถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องจัดการกับกองของเล่นอันมหาศาลเหล่านี้ โดยอาจจะใช้วิธีดังต่อไปนี้เพื่อจัดการของเล่นเด็กทารกอย่างเหมาะสม: 

    • เก็บเอาไว้ก่อนค่ะ อย่าเพิ่งนำไปทิ้งในทันที เพราะระยะแรกที่ลูกเล่นของเล่นใหม่ ๆ อาจจะยังเห่ออยู่ หากวันไหนคิดถึงของเล่นเก่าชิ้นโปรดขึ้นมาแล้วหาไม่เจอ อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ได้ ดังนั้น เก็บเอาไว้ก่อน เพื่อดูลาดเลาว่าลูกคงไม่ต้องการแล้วจริง ๆ จากนั้นอาจจะนำไปบริจาคให้คนอื่น หรือถ้าหากชำรุดเกินกว่าจะเล่นได้ ก็ควรนำไปทิ้งให้เรียบร้อย 

    • ให้ลูกช่วยตัดสินใจ หากเด็กถึงวัยที่สามารถพูดรู้เรื่องแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกมาร่วมตัดสินใจด้วยว่าของเล่นชิ้นไหนอยากเก็บไว้ ของเล่นชิ้นไหนจะไม่เอาแล้ว ให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะตัดสินใจ และเข้าใจในเหตุและผลว่าทำไมควรจะต้องโละของเล่นเก่า ๆ ออกไป 

    • เก็บให้เป็นระเบียบ หากคุณพ่อคุณแม่มีฐานะดีในระดับที่ไม่เป็นกังวลกับปริมาณของเล่นอันมากมาย แนะนำให้เก็บของเล่นเก่า ๆ ที่ลูกไม่ต้องการแล้วในห้องสำหรับเก็บของเล่นไปเลย วันไหนที่ลูกต้องการจะเล่นอีก ก็สามารถนำออกมาเล่นได้ทันใจ ขอเพียงเก็บให้เป็นระเบียบ หยิบออกมาเล่นได้สะดวกก็เพียงพอค่ะ 

    • จำกัดปริมาณของเล่น หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มีพื้นที่มากเพียงพอที่จะเก็บสะสมของเล่นจำนวนมหาศาลของลูกได้ ก็จะต้องมีการจำกัดปริมาณของเล่น ไม่ซื้อใหม่เรื่อย ๆ ซื้อเพียงปีละครั้งหรือสองครั้งก็พอ 

    • นำไปบริจาค ของเล่นบางชิ้นยังมีสภาพที่ดีอยู่เลย แต่ลูกอาจจะไม่ชอบหรือไม่อยากเล่นเลย ควรนำไปบริจาค หรือแบ่งให้กับเด็กคนอื่นที่ขาดแคลนจะดีกว่าการสร้างขยะ และถ้าจะให้ดี ควรให้ลูกเป็นคนช่วยเลือกของเล่นที่จะนำไปแบ่งปันผู้อื่นด้วย ก็จะเป็นการช่วยปลูกฝังให้เด็กรู้จักที่จะมีน้ำใจกับผู้อื่น และไม่ยึดติดกับสิ่งของ 

    โภชนาการที่ดีควบคู่กับการเล่นที่เหมาะสมช่วยให้ลูกน้อยมี IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำ

    การเล่น นอกจากจะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านร่างกาย จิตใจ สมอง การมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัสแล้ว การเล่นของเล่นร่วมกันกับเด็กคนอื่น ๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะผูกมิตรกับผู้อื่น รู้จักที่จะยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่น รวมถึงได้เรียนรู้ที่จะเข้าสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมด้วย 

    อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะเป็นรากฐานให้เด็กพร้อมสำหรับการมี IQ และ EQ ที่ดี ควรจะต้องเริ่มต้นมาจากพื้นฐานของโภชนาการที่ดีค่ะ เพราะถ้าเด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง และร่างกายที่แข็งแรงนี่แหละค่ะ ที่จะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เด็กพร้อมสำหรับทุกการเรียนรู้ สามารถที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัยได้อย่างเต็มที่ ไม่มีสะดุด 

    ซึ่งโภชนาการสำคัญขั้นแรกสุดสำหรับเด็กก็คือนมแม่ค่ะ เด็กควรจะได้กินนมแม่ต่เนื่องอย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญที่พบได้ในนมแม่เท่านั้น คือ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) และ MFGM (Milk Fat Globule Membrane) 

    • แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) คือโปรตีนในนมแม่ซึ่งทำหน้าที่สำคัญต่อระบบทางเดินอาหาร ออกฤทธิ์ในลำไส้เพื่อทำการต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่าง ๆ และมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในทารก ทั้งยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับทารกให้แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งแลคโตเฟอร์รินปริมาณสูงสุดจะอยู่ในช่วงน้ำนมเหลือง หรือก็คือช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น พ้นไปจากนี้ก็จะลดปริมาณและคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ 

    • นมแม่มี MFGM (Milk Fat Globule Membrane) หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในนมแม่ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบการป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย ช่วยให้ร่างกายเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อได้ 

    ดังนั้น หากต้องการให้มีทั้ง IQ และ EQ ที่เหมาะสมตามวัย คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมที่จะปูพื้นฐานความพร้อมให้ลูกน้อยตั้งแต่เนิ่น ๆ และเมื่อถึงวัยที่ลูกต้องกินอาหารตามวัย ก็จะต้องเน้นอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืช นมและผลิตภัณฑ์จากนม และยังสามารถที่จะให้นมแม่ควบคู่กันต่อเนื่องได้ 1-2 ปีด้วยค่ะ 



    บทความแนะนำสำหรับคุณแม่