Enfa สรุปให้

  • BLW ย่อมาจาก Baby-Led Weaning หรือก็คือ การฝึกให้ลูกได้หยิบจับอาหารกินด้วยตัวเอง โดยที่คุณแม่ไม่ต้องคอยตามประกบใกล้ชิดเพื่อป้อนอาหารให้ โดยอาหารที่ใช้ฝึกลูกกินข้าวเองตามแบบ BLW ก็คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพของทารกและเหมาะสมกับวัยของทารก เช่น ผักต้ม ผลไม้สุก เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไปจนถึงไข่ต้ม ค่อย ๆ เริ่มจากอาหารที่มีเนื้อนิ่มละเอียดก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็งขึ้น

  • การฝึกลูกให้กินอาหารเองด้วยวิธี BLW จะเริ่มฝึกเมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เพราะเริ่มที่จะมีฟันน้ำนมขึ้น เริ่มที่จะรู้จักการเคี้ยว การอม การกลืน และสามารถที่จะหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เข้าปากได้ สามารถที่จะนั่งตัวตรงอย่างมั่นคงโดยไม่ต้องคอยประคองได้

  • เมื่อทารกมีอายุย่างเข้า 10-12 เดือน คุณแม่สามารถเริ่มแนะนำให้เด็กได้รู้จักกับช้อนและส้อม ให้เด็กได้ลองจับ ทำท่าประกอบให้ดูว่าใช้ยังไง แต่ช้อนส้อมนั้น ควรเป็นช้อนส้อมสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเบา รูปทรงเหมาะกับขนาดมือของเด็ก

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • BLW คืออะไร
     • ฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW ยังไงดี
     • BLW เริ่มฝึกตอนไหน
     • เริ่มBLW มื้อแรกยังไงดี
     • อาหารต้องห้ามสำหรับฝึก BLW
     • อาหาร BLW มีอะไรบ้าง
     • ข้อดี-ข้อเสียของการฝึก BLW
     • ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยสำลักอาหาร
     • คำแนะนำสำหรับการฝึกลูก BLW ครั้งแรก
     • ไขข้อข้องใจเรื่องฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW กับ Enfa Smart Club

เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นถึงวัยที่ควรจะต้องฝึกให้ลูกกินอาหารเองโดยไม่ต้องป้อน คุณแม่หลายคนอาจรู้สึกเหนื่อย ท้อ ฝึกเท่าไหร่เจ้าตัวเล็กก็ยังกินข้าวเองไม่ได้สักที จนอาจจะเกิดความกังวลขึ้นมาว่า แล้วจะต้องฝึกนานแค่ไหนนะกว่าที่เด็กจะกินข้าวได้เองโดยไม่ต้องคอยป้อนให้

วันนี้ Enfa มีวิธีฝึกลูกกินข้าวเองตามหลัก BLW มาฝากค่ะ แต่ BLW คืออะไร ใช้วิธี BLW แล้วจะได้ผลจริงไหม เริ่ม BLW มื้อแรกยังไงดี มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

BLW คืออะไร


ก่อนที่เราจะไปเริ่มฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW คุณแม่ควรมาทำความรู้จักก่อนว่า BLW คืออะไร กินแบบ BLW คือกินแบบไหน เพื่อจะได้สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการฝึกลูกกินข้าวอย่างเหมาะสม

BLW ย่อมาจาก Baby-Led Weaning หรือก็คือ การฝึกให้ลูกได้หยิบจับอาหารกินด้วยตัวเอง โดยที่คุณแม่ไม่ต้องคอยตามประกบใกล้ชิดเพื่อป้อนอาหารให้ โดยอาหารที่ใช้ฝึกลูกกินข้าวเองตามแบบ BLW ก็คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพของทารกและเหมาะสมกับวัยของทารก เช่น ผักต้ม ผลไม้สุก เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไปจนถึงไข่ต้ม ค่อย ๆ เริ่มจากอาหารที่มีเนื้อนิ่มละเอียดก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็งขึ้น

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

ฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW ยังไงดี


เมื่อลูกน้อยถึงวัยที่สามารถฝึกให้กินอาหารด้วยตัวเองแล้ว คุณแม่สามารถเริ่มต้นฝึกวิธี BLW ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ฝึกจากการกินนมจากขวด แรกสุดของการฝึก BLW ก็คือการฝึกให้เด็กสามารถใช้มือหยิบ หรือจับสิ่งต่าง ๆ ไว้ได้อย่างมั่นคง ขวดนมถือเป็นด่านแรกที่คุณแม่สามารถจะเริ่มฝึกฝนทารกได้

  • ฝึกให้รู้จักช้อนส้อม เมื่อทารกเริ่มหยิบจับอะไรได้บ้างแล้ว และทารกมีอายุย่างเข้า 10-12 เดือน คุณแม่สามารถเริ่มแนะนำให้เด็กได้รู้จักกับช้อนและส้อม ให้เด็กได้ลองจับ ทำท่าประกอบให้ดูว่าใช้ยังไง แต่ช้อนส้อมนั้น ควรเป็นช้อนส้อมสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเบา รูปทรงเหมาะกับขนาดมือของเด็ก

  • ฝึกตามมื้ออาหาร ปกติแล้วคุณแม่จะต้องให้นมเป็นเวลา แต่ถ้าต้องการจะฝึกให้ลูกกินอาหารเอง คุณแม่สามารถเริ่มฝึกจากมื้ออาหารในแต่ละวันได้เลย โดยเตรียมอาหารสำหรับเด็กเอาไว้ แต่ยังไม่ต้องบังคับให้ลูกหยิบกินเอง ให้ลูกตัดสินใจว่าจะหยิบกินหรือไม่

  • เริ่มจากอาหารที่นุ่มอ่อน การฝึกให้ลูกกินอาหารเอง ไม่ได้หมายความว่าจะใช้อาหารชนิดใดก็ได้ ทารกยังเล็กเกินกว่าที่จะกินอาหารได้หลากหลายแบบผู้ใหญ่ ควรเริ่มจากอาหารที่มีสัมผัสนิ่ม อ่อน หรือเนื้อละเอียดเสียก่อน เช่น ผักบด เนื้อสัตว์บด ผลไม้สุก เพื่อฝึกให้เด็กชินกับการเคี้ยว การกลืน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเนื้อสัมผัสแข็ง เช่น แอปเปิ้ล แครอทดิบ แตงกวา

  • สลับ/เพิ่มอาหารเนื้อสัมผัสแข็ง เมื่อลูกอายุย่างเข้า 8-9 เดือน เด็กทารกสามารถที่จะกินอาหารที่แข็งขึ้นมาได้บ้างแล้ว คุณแม่สามารถที่จะกินผักต้ม ผลไม้สุก หรือเนื้อสัตว์ที่เป็นชิ้น ๆ ได้บ้างแล้ว คุณแม่ก็สามารถที่จะสลับอาหารที่มีความแข็งขึ้นมาอีกนิดหน่อยเพื่อให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลาย และคุ้นชินกับเนื้อสัมผัสใหม่ ๆ

  • กินอาหารร่วมกัน เมื่อลูกเริ่มชินกับการหยิบจับอาหารเข้าปากเองแล้ว คุณแม่ก็ไม่จำเป็นจะต้องแยกให้ทารกกินข้าวคนเดียวอีกแล้ว สามารถให้เจ้าตัวเล็กร่วมมื้ออาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับทุกคนได้ โดยอาจจะเลือกเป็นมื้อเย็นที่ทุกคนอยู่พร้อมกันก็ได้ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวินัยบนโต๊ะอาหาร มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว

  • เปลี่ยนเมนูอาหารอยู่เสมอ เมื่อเด็กเริ่มกินอาหารเองได้มากขึ้นแล้ว คุณแม่ควรให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลาย ไม่จำเจ เด็กจะได้รู้จักกับรสสัมผัสของอาหารที่มากขึ้น และได้รับสารอาหารที่หลากหลายและเหมาะสมตามวัย

BLW เริ่มกี่เดือน


การฝึกลูกให้กินอาหารเองด้วยวิธี BLW จะเริ่มฝึกเมื่อเด็กมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เพราะเริ่มที่จะมีฟันน้ำนมขึ้น เริ่มที่จะรู้จักการเคี้ยว การอม การกลืน และสามารถที่จะหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เข้าปากได้ สามารถที่จะนั่งตัวตรงอย่างมั่นคงโดยไม่ต้องคอยประคองได้

BLW มื้อแรก เริ่มด้วยอะไรดี


คุณแม่สามารถเริ่มต้นอาหารมื้อแรกของลูกด้วยเมนูใดก็ได้ ที่ไม่เสี่ยงต่อการสำลัก และข้อสำคัญคืออาหารนั้นควรจะมีเนื้อสัมผัสที่นิ่ม ละเอียด ไม่แข็ง สามารถกลืนได้ง่าย หรือเพียงแค่เอานิ้วจับก็ละเอียดแล้ว หากจะหั่น ก็ควรหั่นให้บาง ๆ เป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เด็กสามารถหยิบเข้าปากได้ง่าย เคี้ยวง่าย และกลืนง่าย

โดยคุณแม่อาจเริ่มต้นฝึกลูกกินอาหารเองมื้อแรกด้วยอาหารเหล่านี้ได้

  • ผลไม้ที่สุกจนนิ่ม เช่น กล้วยสุก หรือกล้วยบด กีวี่ อะโวคาโด ลูกแพร์ หรือมะม่วงสุก จะนำมาบดหรือจะหั่นให้บาง ๆ ก็ได้เช่นกัน

  • ผักต้มหรือนึ่งจนนิ่ม เช่น มันต้ม แครอทต้ม บร็อคโคลี่ต้ม

  • เนื้อสัตว์บดชนิดต่าง ๆ เช่น หมู ไก่ ปลา ตับ หรือไข่ต้มหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

  • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ตไขมันเต็มและผ่านการพาสเจอไรซ์ ชีสต่าง ๆ หั่นบาง หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

อาหารต้องห้ามสำหรับฝึก BLW


แม้โดยทั่วไปแล้วทารกจะสามารถเริ่มกินอาหารต่าง ๆ ได้หลายชนิด ตราบเท่าที่คุณแม่นำมาทำให้นิ่มละเอียด แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่ไม่เหมาะสำหรับการเริ่มฝึกให้ลูกกินอาหารเอง ได้แก่

  • ผลไม้ที่มีลักษณะกลมเล็ก เพราะเสี่ยงที่จะติดคอหรือทำให้เด็กสำลัก เช่น องุ่น เบอร์รี่ต่าง ๆ

  • อาหารแข็ง เช่น ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ป๊อปคอร์น แป้งตอร์ติญ่า

  • อาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น เนื้อสัตว์ดิบ ผักดิบ

  • อาหารที่มีลักษณะเหนียว เช่น เนยถั่ว

  • อาหารที่เป็นอันตรายต่อเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ได้แก่ ถั่ว องุ่น เชอร์รี่ มะเขือเทศราชินี แอปเปิ้ลดิบ ผลไม้แห้ง เนยถั่ว ฮอทดอก เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ ชีสชิ้นใหญ่ ปลาที่มีก้าง และของขบเคี้ยวกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอด ป๊อปคอร์น

อาหาร BLW สำหรับฝึกลูกกินเองมีอะไรบ้าง


คุณแม่อาจจะคิดหนักว่าจะให้ลูกฝึกกินเองด้วยอาหารอะไรดี ลองเลือกไอเดียจากรายการดังต่อไปนี้ แล้วนำมาประยุกต์เข้ากับมื้ออาหารของลูกได้

อาหารจำพวกผัก

ผักที่เหมาะสำหรับนำมาต้มและบดเพื่อเป็นอาหาร BLW แก่ลูกน้อย ได้แก่

  • บรอกโคลี
  • ผักกาด
  • กะหล่ำ
  • หัวสวีด
  • ผักโขม
  • ถั่วเขียวบด
  • ซูกินี่ หรือคอร์เกตต์
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • ผักคะน้า
  • แครอท
  • อาโวคาโด
  • บัตเตอร์นัตสควอช
  • กะหล่ำปลี

อาหารจำพวกผลไม้

ผลไม้สุก หรือผลไม้เนื้อนิ่มที่เหมาะสำหรับนำมาบดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อเป็นอาหาร BLW แก่ลูกน้อย ได้แก่

  • กล้วย
  • กีวี่
  • ส้ม
  • แอปเปิ้ล
  • มะม่วง
  • เนคทารีน
  • ลูกแพร์
  • สตรอเบอร์รี่
  • สัปปะรด
  • มะละกอ
  • แตงโม
  • ลูกพีช
  • ลูกพลัม

อาหารจำพวกแป้ง

อาหารจำพวกแป้งที่เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นอาหาร BLW แก่ลูกน้อย ได้แก่

  • มันฝรั่ง
  • มันเทศ
  • ข้าว
  • ข้าวบดสำหรับทารก
  • พาสต้า
  • ข้าวต้ม
  • ข้าวโอ้ต
  • ข้าวโอ๊ตบด
  • ข้าวโพด
  • ข้าวโพดบดละเอียด
  • ข้าวฟ่าง
  • ควินัว
  • ขนมปัง

อาหารจำพวกเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ที่เหมาะสำหรับนำทำให้สุกและบดเพื่อเป็นอาหาร BLW แก่ลูกน้อย ได้แก่

  • ไก่
  • ไก่งวง
  • เนื้อวัว
  • เนื้อแกะ
  • เนื้อหมู
  • ปลา (ไม่มีก้าง)
  • ไข่
  • เต้าหู้

อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว

อาหารหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่เหมาะสำหรับนำมาทำเป็นอาหาร BLW แก่ลูกน้อย ได้แก่

  • โยเกิร์ตไขมันเต็ม และผ่านการพาสเจอไรซ์
  • ชีสต่าง ๆ

กินแบบ BLW มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง


การฝึกทารกด้วยวิธี BLW มีทั้งข้อดีข้อเสียที่ต้องพิจารณา ดังนี้

ข้อดีของการฝึก BLW

  • ฝึกทักษะการจดจำ การฝึก BLW เป็นการส่งเสริมให้ทารกคุ้นเคยกับพื้นผิวและรสชาติของอาหารที่หลากหลายมากขึ้น
  • ลดความเสี่ยงของโรคอ้วน เพราะการกินอาหารเป็นมื้อ ๆ คุณแม่สามารถกำหนดปริมาณต่อมื้อได้ เด็กจึงได้รับแคลอรี่ที่เหมาะสมตามวัย
  • เสริมทักษะตามวัย ตลอดการฝึกกินอาหารเอง เด็กจะได้หยิบ จับ มองเห็น รับรู้รส และเพิ่มทักษะการประสานของตาและมือ คือเห็นและหยิบจับอาหารได้ถูกต้อง

ข้อเสียของการฝึก BLW

  • ความเลอะเทอะ ไม่มีศึกใด ไร้ผู้บาดเจ็บ การฝึกลูกกินอาหารเองก็เช่นกัน ช่วงแรก ๆ คุณแม่อาจจะต้องพบกับความเลอะเทอะในการกินของลูก ทั้งอาหารหกใส่ตัว อาหารตกลงพื้น ถือเป็นเรื่องปกติของก้าวแรกในการเรียนรู้ที่จะกินอาหารด้วยตัวเอง
  • ปลีกตัวลำบาก แม้จะชื่อว่าการฝึกลูกกินอาหารด้วยตัวเอง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะเอาอาหารมาวางตรงหน้าแล้วให้ลูกกินเอง โดยที่คุณแม่หันไปทำภารกิจอื่น ๆ และไม่ต้องสนใจ ความจริงแล้วคุณแม่ยังจำเป็นที่จะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ว่าทารกเคี้ยวหรือไม่ อาหารติดคอหรือไม่ ต้องคอยดูแลจนกระทั่งทารกกินอาหารเสร็จ และจะเป็นเช่นนี้ไปจนกว่าทารกจะเริ่มโตจนคุณแม่สามารถวางใจได้
  • เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก เด็กที่กินนมแม่มาตลอด 4 เดือน จะได้รับธาตุเหล็กที่เหมาะสมและเพียงพอตามวัย แต่หลังจาก 4 เดือนไปแล้ว ธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่จะเริ่มลดลง คุณหมอจึงมักแนะนำแม่ให้นมบุตรหมั่นกินอาหารที่มีธาตุเหล็กอยู่เสมอ ในช่วงที่ลูกยังกินอาหารได้ไม่หลากหลายนัก คุณแม่จึงจำเป็นต้องเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เพื่อให้ทารได้รับอย่างเพียงพอ ซึ่งบ่อยครั้งคุณแม่ก็อาจจะลืมนึกถึงเรื่องนี้ไป และอาจทำให้ทารกได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอได้

ถ้าลูกน้อยสำลักอาหาร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร


เป็นเรื่องปกติที่ทารกจะเกิดการสำลักเมื่อกินอาหาร เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่เองทุกวันนี้ก็ยังสามารถสำลักอาหารได้อยู่บ่อยครั้งเหมือนกัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เจ้าตัวเล็กเกิดการสำลักอาหารขึ้นมาล่ะก็ คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติ และรับมือให้ถูกวิธี ดังนี้

  • ดูให้แน่ใจว่าทารกกำลังสำลักอาหารอยู่จริง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วหลายคนอาจจะเข้าใจว่า เวลาสำลักอาหารจะต้องมีเสียงโอ้กอ้ากดังเกิดขึ้น แต่สำหรับทารกแล้ว หากสำลักอาหาร ทารกจะไม่ร้องไห้ ไม่ไอ ไม่ส่งเสียง และไม่สามารถหายใจได้ แต่อาจจะมีอาการหอบ สีหน้าตื่นตระหนก หรือผิวหนังมีสีฟ้า หรือสามารถสัมผัสที่คอของทารกดูได้ว่ามีก้อนอาหารติดที่ลำคอหรือไม่

  • วางทารกคว่ำลงที่บริเวณหน้าขา มือหนึ่งประคองทารกไว้ จากนั้นใช้สันมืออีกข้างทุบลงที่บริเวณสะบักไหล่ด้วยความเร็วและแรง ประมาณ 5 ครั้ง แรงสั่นสะเทือนที่กดลงไปจะช่วยให้ทางเดินหายใจเกิดแรงกด และดันเอาอาหารที่ติดอยู่ออกมา ทำให้ทารกหายใจได้สะดวก

  • หรืออีกวิธีหนึ่งคือ วางทารกไว้บนต้นขาอยู่ในท่านอนหงายหน้าขึ้น ประคองให้ศีรษะของทารกอยู่ต่ำกว่าหน้าอก จากนั้นใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง เพื่อหากระดูกหน้าอกของทารกซึ่งจะอยู่ระหว่างและใต้หัวนม เมื่อพบแล้วให้กดลงไปแรง ๆ และเร็ว วิธีนี้จะช่วยดันอากาศจากปอดเข้าให้เข้าสู่ทางเดินหายใจเพื่อดันอาหารที่ติดอยู่ออกมา

  • หากลองทั้ง 2 วิธีแล้ว แต่อาหารยังคงติดคอทารกอยู่ ควรนำทารกส่งโรงพยาบาลทันที หรือติดต่อหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉินทันที ห้ามรอช้าเด็ดขาด

คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ที่ฝึกลูกให้กินแบบ BLW ครั้งแรก ฝึกลูกยังไงให้สำเร็จ


สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังจะฝึกให้ลูกกินอาหารเอง สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นดังต่อไปนี้ได้

  • เริ่มอย่างค่อยไปค่อยไป ไม่มีใครทำอะไรแล้วสำเร็จลุล่วงได้ตั้งแต่ครั้งแรก ทุกอย่างต้องใช้เวลาและฝึกฝน ทารกที่อยู่ในช่วงวัยกำลังเจริญเติบโตก็เช่นกัน อาจต้องใช้เวลากว่าที่จะเริ่มชินกับการหยิบอาหารเข้าปากตัวเอง เริ่มจากการวางอาหารแค่ชิ้นหรือสองชิ้นตรงหน้าก่อน จนกระทั่งลูกชินกับการหยิบอาหารตรงหน้าเข้าปาก จึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนอาหารให้มากขึ้น

  • อย่ามัวเสียเวลากังวล ว่ากลัวลูกจะโยนอาหาร จาน หรือช้อนลงพื้นจนไม่ยอมฝึกให้ลูกกินเอง แน่นอนว่าเจ้าตัวเล็กจะทำแบบนั้นแน่ ๆ คุณพ่อคุณแม่แค่ต้องคอยระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นก็พอ สิ่งสำคัญคือต้องพยายามเริ่มฝึกให้ลูกน้อยคุ้นชินกับการหยิบจับอาหารเข้าปาก

  • เตรียมอาหารที่นุ่ม ละเอียด หรือถ้าหากเป็นชิ้น ก็ควรหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ง่ายต่อการหยิบ และง่ายต่อการกลืน เพื่อให้ลูกสามารถหยิบเข้าปากได้ง่าย เคี้ยวง่าย กลืนง่าย

  • สร้างบรรยากาศในการกินให้สนุก ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เด็กจะได้ทำความรู้จักกับเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกัน รสชาติที่เปลี่ยนไป คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างบรรยากาศของอาหารแต่ละมื้อให้ลูกรู้สึกสนุกที่จะลองกิน ลองเคี้ยว

  • อย่าบังคับ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากในการเริ่มฝึกให้เด็กกินอาหารเอง และแม้แรก ๆ เจ้าตัวเล็กจะไม่สนใจและไม่ยอมหยิบอาหารเข้าปากเองเลยก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรบังคับ ค่อย ๆ ใช้เวลาให้เด็กได้ทำความรู้จักกับอาหาร ได้ลองหยิบ ลองจับ จนกว่าเด็กจะเริ่มสนใจและหยิบอาหารเข้าปาก

  • ยืดหยุ่นได้ ไม่ต้องเครียด การฝึกให้ลูกกินอาหารได้เอง ไม่จำเป็นที่จะต้องฝึกอย่างเคี่ยวเข็ญชนิดที่ห้ามดื่มนมเลย คุณพ่อคุณคุณแม่สามารถยืดหยุ่น สลับการดื่มนม และป้อนอาหารไปพร้อม ๆ กันได้ เพื่อให้เด็กได้เริ่มคุ้นชินกับอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแม่ การบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ช่วยให้ลูกสามารถกินอาหารเองได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด

ไขข้อข้องใจเรื่องฝึกลูกกินข้าวเองด้วยวิธี BLW กับ Enfa Smart Club


1. ฝึกลูกกินข้าวเองกี่ขวบ?

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกได้หยิบอาหารกินเองได้เมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

2. ฝึกลูกใช้ช้อน ได้ตอนไหน?

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกได้รู้จักกับช้อนส้อม ได้ลองหยิบช้อนส้อม เมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 10-12 เดือนขึ้นไป

3. ลูก 2 ขวบ ไม่ยอมกินข้าวเองทำไงดี?

การฝึกใด ๆ ก็ตาม จำเป็นต้องใช้ระยะเวลากว่าที่จะคุ้นชินและสามารถทำเองได้ การฝึกลูกกินข้าวเองก็เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรค่อย ๆ ฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป พยายามให้ลูกคุ้นชินกับการหยิบจับอาหารเอง พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมกินอาหารบนโต๊ะพร้อม ๆ กับทุกคน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ อยากลองที่จะหยิบจับอาหาร และเริ่มกินอาหารเอง

4. วิธีหั่นแบบ BLW ทำยังไง?

การหั่นอาหารเพื่อฝึกให้ลูกกินเอง นอกจากเนื้อสัมผัสของอาหารควรจะต้องนิ่มและละเอียดแล้ว ควรหั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ หยิบแล้วพอดีกับมือของเด็ก เด็กนำเข้าปากแล้วสามรถเคี้ยวง่าย กลืนง่าย

5. ฝึกลูกกินข้าวได้ตอนไหน?

เด็กสามารถเริ่มกินข้าวได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป แต่ช่วงแรก ๆ ในเดือนที่ 6-7 ควรเริ่มจากการให้เด็กกินข้าวสวยบดละเอียดก่อน เมื่ออายุย่างเข้าเดือนที่ 8-9 จึงเริ่มสลับให้เด็กได้กินข้าวสวยปกติ



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย