ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
baby-growth-chart

น้ำหนักทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์เป็นอย่างไรบ้างนะ

 

Enfa สรุปให้

  • น้ำหนักของทารกในครรภ์ เป็นมากกว่าการบอกให้ทราบว่าขณะนี้ลูกหนักเท่าไหร่ แต่น้ำหนักยังสามารถบอกได้อีกด้วยว่าลูกมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพใด ๆ หรือไม่

  • หากทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ หรือมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ทารกอาจเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือโรคอ้วนในเด็กตั้งแต่แรกคลอด และคุณแม่มีแนวโน้มที่จะต้องมีการผ่าคลอด เนื่องจากทารกอาจมีขนาดตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดธรรมชาติได้ ซึ่งการผ่าคลอดก็อาจจะมีผลข้างเคียงในเรื่องของการพักฟื้น หรือสุขภาพหลังการผ่าตัดที่อาจจะไม่เหมือนเดิม

  • หากทารกในครรภ์มีขนาดตัวเล็กกว่าปกติ หรือมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ทารกอาจเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) หรือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น กรดไหลย้อน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

น้ำหนักทารกในครรภ์บอกอะไร
เช็กน้ำหนักทารกในครรภ์
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์
น้ำหนักเด็กแรกเกิด
น้ำหนักทารกในแต่ละเดือน
ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำหนักทารกกับ Enfa Smart Club

เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น น้ำหนักของทารกในครรภ์ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งน้ำหนักของทารกในครรภ์นั้นก็ไม่เพียงแต่บอกว่าทารกมีน้ำหนักเท่าไหร่ แต่ยังหมายรวมถึงทารกมีขนาดตัวที่เติบโตสมวัยหรือไม่ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดอันตรายก่อนที่จะถึงกำหนดคลอดหรือไม่ แต่น้ำหนักทารกสำคัญเช่นนั้นได้อย่างไร มาหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้จาก Enfa ค่ะ

น้ำหนักของลูกน้อยบ่งบอกอะไร


น้ำหนักของลูก เป็นมากกว่าการบอกให้ทราบว่าขณะนี้ลูกหนักเท่าไหร่ แต่น้ำหนักยังบอกอีกด้วยว่าลูกมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพใด ๆ หรือไม่ เพราะหากน้ำหนักน้อยเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณของ:

  • เกิดการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์

  • มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)

  • โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น กรดไหลย้อน โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

แต่ถ้าน้ำหนักมากเกินไปก็อาจเป็นสัญญาณของ:

  • เบาหวานในเด็ก

  • โรคอ้วนในเด็ก

ซึ่งน้ำหนักของเด็กนั้นควรจะเป็นไปตามวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทารกในครรภ์ควรจะมีน้ำหนักเป็นไปตามลำดับของอายุครรภ์ จนกระทั่งคลอดออกมาก็ควรจะมีน้ำหนักแรกเกิดตามเกณฑ์ และแม้ว่าเด็กจะเจริญวัยขึ้นเรื่อย ๆ แต่น้ำหนักก็ไม่ควรจะต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์

น้ำหนักทารกในครรภ์เช็กได้อย่างไร


วิธีดูน้ำหนักลูกในครรภ์ สามารถคำนวณได้จากหลากหลายวิธี ดังนี้

เช็กจากน้ำหนักคุณแม่

การเช็กน้ำหนักแม่ตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นำมาใช้คำนวณน้ำหนักของทารกในครรภ์

  • หากคุณแม่มีน้ำหนักมาก ทารกในครรภ์ก็อาจจะมีขนาดตัวใหญ่ มีน้ำหนักมาก

  • แต่ถ้าหากคุณแม่มีน้ำหนักน้อย ทารกในครรภ์ก็มีแนวโน้มที่จะมีขนาดตัวเล็ก หรือมีน้ำหนักตัวน้อย

อย่างไรก็ตาม วิธีการคำนวณจากน้ำหนักของมารดานั้น อาจจะคำนวณได้ดีกับขนาดตัวของทารก แต่ไม่สามารถคาดคะเนหรือคำนวณหาน้ำหนักที่แม่นยำของทารกในครรภ์ได้

วัดความสูงของยอดมดลูก

การวัดความสูงของยอดมดลูก พบว่ามีความเชื่อมโยงกับน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้ ถ้าหาก:

  • ยอดมดลูกสูง 25 – 30 เซนติเมตร คาดคะเนทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักระหว่าง 1,860 - 2,790 กรัม

  • ยอดมดลูกสูง 31 – 35 เซนติเมตร คาดคะเนทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักระหว่าง 2,790 – 3,410 กรัม

  • ยอดมดลูกสูง 36 – 40 เซนติเมตร คาดคะเนทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักระหว่าง 3,565- 4,185 กรัม

  • ยอดมดลูกสูง 41 เซนติเมตรขึ้นไป คาดคะเนทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักราว ๆ 4,340 กรัมขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงน้ำหนักที่ได้จากการคาดคะเนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำหนักของทารกแรกเกิดจริง ๆ แล้ว ถือว่ามีความคลาดเคลื่อนไปจากน้ำหนักจริงของทารกแรกเกิดอยู่พอสมควร

มากไปกว่านั้น การคาดคะเนน้ำหนักทารกนั้นยังทำได้แค่เพียงช่วงใกล้คลอดเท่านั้น ไม่สามารถจะนำมาคาดคะเนน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้ รวมถึงยังไม่ได้มีความแม่นยำสูงสุดในการคำนวณน้ำหนักของทารกแรกเกิดด้วย แต่เป็นวิธีที่ช่วยให้พอจะคาดคะเนน้ำหนักของทารกได้เบื้องต้นเท่านั้น

อัลตร้าซาวด์

การอัลตร้าซาวด์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการคำนวณน้ำหนักของทารกในครรภ์ ทั้งยังสามารถเห็นขนาดของทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจน รวมถึงสามารถมองเห็นเพศของทารกได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การอัลตร้าซาวด์ก็ไม่ได้ให้ผลอย่างแม่นยำในเรื่องของน้ำหนักทารก ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนจากน้ำหนักจริงของทารกมากกว่า หรือน้อยกว่าน้ำหนักจริง 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม หรือ 453.5 กรัม ) แต่ก็ไม่ใช่ว่าการอัลตร้าซาวด์หาน้ำหนักลูกจะไม่แม่นยำเสียทีเดียว

เพียงแต่ว่าความแม่นยำนั้นจะอยู่ในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ เพราะทารกยังมีขนาดตัวที่เล็ก สามารถวัดหรือคำนวณได้ง่าย แต่ในช่วงไตรมาสสุดท้าย โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอด การหาน้ำหนักทารกในครรภ์จากการอัลตร้าซาวด์จะมีความคลาดเคลื่อนสูง

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์


น้ำหนักของทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์จะมีการขึ้น-ลง หรือคงที่ที่ไม่เท่ากัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่ที่หลายปัจจัย ทั้งน้ำหนักตัวของคุณแม่ สุขภาพของคุณแม่ อาหารการกินของคุณแม่ ไปจนถึงโรคภัยไข้เจ็บ หรือกรรมพันธุ์ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อน้ำหนักทารกในครรภ์ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักของทารกในครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์แรก ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 40 ควรจะเป็นดังนี้

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 1 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ ยังไม่มีน้ำหนัก

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 2 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 2 สัปดาห์ ยังไม่มีน้ำหนัก

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 3 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 3 สัปดาห์ ยังไม่มีน้ำหนัก

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 4 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 5 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 6 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 7 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 8 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 9 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 9 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 2 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 10 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 4 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 11 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 11 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 7 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 12 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 14 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 13 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 13 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 23 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 14 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 43 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 15 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 70 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 16 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 100 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 17 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 140 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 18 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 190 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 19 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 19 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 240 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 20 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 300 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 21 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 360 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 22 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 430 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 23 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 500 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 24 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 600 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 25 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 660 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 26 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 760 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 27 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 875 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 28 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1,000 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1,200 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 30 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1,300 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 31 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 31 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1,500 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 32 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1,700 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 1,900 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 34 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 2,000 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 35 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 35 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 2,400 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 36 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 2,600 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 37 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 2,900 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 38 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 3,100 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 39 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 3,300 กรัม

  • น้ำหนักทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 40 น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 3,500 กรัม

น้ำหนักลูกในครรภ์มากกว่าเกณฑ์จะมีผลอะไรไหม คุณแม่ควรระวังอะไรบ้าง

หากทารกในครรภ์มีท่าทีที่จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ หรือมีน้ำหนักมากกว่าที่ควรจะเป็นนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น 

  • พันธุกรรม 

  • แม่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน 

  • แม่มีประวัติเคยตั้งท้องลูกที่มีขนาดตัวใหญ่และน้ำหนักตัวมากมาก่อน 

  • น้ำหนักแม่ตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น 

  • ทารกเป็นเพศชาย 

  • ตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือตั้งครรภ์มากกว่า 40 สัปดาห์ 

  • ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ขึ้นไป

ซึ่งการที่ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ หรือมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ทารกอาจเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือโรคอ้วนในเด็กตั้งแต่แรกคลอด และคุณแม่มีแนวโน้มที่จะต้องมีการผ่าคลอด เนื่องจากทารกอาจมีขนาดตัวใหญ่เกินกว่าที่จะคลอดธรรมชาติได้ ซึ่งการผ่าคลอดก็อาจจะมีผลข้างเคียงในเรื่องของการพักฟื้น หรือสุขภาพหลังการผ่าตัดที่อาจจะไม่เหมือนเดิม 

น้ำหนักลูกในครรภ์น้อยกว่าเกณฑ์จะมีผลอะไรไหม คุณแม่จะเพิ่มน้ำหนักให้ลูกน้อยยังไงดี

ทารกในครรภ์ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ หรือมีขนาดตัวที่เล็กกว่าที่ควรจะเป็น มักจะมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ 

ในส่วนของออกซิเจนไม่เพียงพอนั้น มักมีปัญหามาจากการที่มีปริมาณเลือดไปหล่อเลี้ยงรกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเลือดไปถึงรกน้อยลง ก็ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนน้อยลงไปด้วย 

กรณีที่ทารกตัวเล็กหรือมีน้ำหนักน้อย ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น 

  • ตั้งครรภ์แฝด  

  • เกิดการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์  

  • เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซม 

  • ความดันโลหิตสูง 

  • แม่เป็นโรคไตเรื้อรัง 

  • แม่เป็นโรคเบาหวาน 

  • แม่เป็นโรคหัวใจหรือโรคในระบบทางเดินหายใจ 

  • แม่มีภาวะทุพโภชนาการ 

  • แม่เป็นโรคโลหิตจาง 

  • แม่มีน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

ซึ่งเมื่อคุณแม่ได้รับการวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวหรือมีขนาดตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ควรจะไปพบแพทย์ในทันที เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม และรับการรักษา ตลอดจนปรึกษาความเสี่ยงต่อสุขภาพแม่และทารกในครรภ์ 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดโดยเฉลี่ยคือเท่าไหร่


โดยปกติทารกแรกเกิดนั้นจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 - 3.5 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม ให้ถือว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

น้ำหนักทารกแรกเกิด มากหรือน้อยกว่าเกณฑ์ คุณแม่ควรกังวลไหมนะ

เรื่องน้ำหนักของลูกนั้นเป็นเรื่องที่คุณแม่เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย กลัวน้ำหนักตัวจะน้อย ตัวเล็กเกินไปบ้าง หรืออาจจะกลัวว่าลูกจะมีน้ำหนักมากเกิน จนอ้วนเกินไปบ้าง ซึ่งการที่ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ อาจมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย เช่น มารดามีโรคประจำตัว การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ หรือ ภาวะรกเสื่อม ซึ่งแพทย์จะทำการหาสาเหตุเพื่อวินิจฉัยภาวะที่ทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์

อย่างไรก็ตาม การที่ทารกเกิดมาแล้วจะมีน้ำหนักเท่าไหร่นั้น อาจไม่สำคัญเท่ากับทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามวัย น้ำหนักทารกแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ ถ้าพ่อแม่ตัวเล็กลูกก็อาจมีแนวโน้มจะตัวเล็กน้ำหนักน้อย อาหารการกินที่ลูกได้รับซึ่งก็คือนมที่ลูกกินนั่นเอง

มากไปกว่านั้น คุณแม่ไม่ควรกังวล เพราะแม้ลูกจะตัวเล็กน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อแรกคลอด แต่หากหลังจากนั้นน้ำหนักลูกขึ้นตามเกณฑ์แสดงว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่ดี สิ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ ไม่ใช่น้ำหนักเมื่อแรกคลอด

เช็กน้ำหนักทารกหลังคลอดอย่างไร

เพื่อจะได้รู้ถึงน้ำหนักของลูกที่ช่วยบ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตของลูก ช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 1 ขวบ คุณแม่ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ตามที่แพทย์นัด ซึ่งตามปกติ จะนัดดูน้ำหนักทารกช่วง 2-3 วันหลังคลอด เมื่อทารกอายุ 1 เดือน และทุกๆ 2 เดือน เพื่อติดตามน้ำหนัก ติดตามพัฒนาการ และให้วัคซีน หากทารกมีการเจริญเติมโตช้า แพทย์อาจนัดถี่กว่านั้น

ว่าด้วยเกณฑ์น้ำหนักทารก: ลูกน้อยของคุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วแค่ไหน

การดูว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมหรือไม่นั้น สามารถดูได้จากน้ำหนักตัวว่าเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะน้ำหนักตัวของทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน ซึ่งคุณแม่สามารถตรวจสอบเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของลูกแต่ละวัยได้ดังนี้

  • ลูกอายุ 0-3 เดือน   น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 600-900 กรัม ดังนั้นเมื่อครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณ 2- 2.5 กิโลกรัม 

  • ลูกอายุ 4-6 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 450-600 กรัม ลูกวัยนี้เริ่มมีการกินนอนที่เป็นระบบมากขึ้น จึงกินนมได้มากขึ้น และน้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ลูกอาจมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด 

  • ลูกอายุ 7-9 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 300-400 กรัม ที่น้ำหนักลดลงนั้นเนื่องจากร่างกายเด็กเริ่มมีการเผาผลาญมากกว่าเดิมนั่นเอง รวมทั้งลูกเริ่มคลานเคลื่อนไหวร่างกายได้ 

  • ลูกอายุ 10-12 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 300 กรัม ร่างกายเด็กมีการเผาผลาญมากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น ทั้งคลาน หัดเกาะยืนเกาะเดิน ฟันเริ่มขึ้น อาจเกิดอาการปวดฟัน ทำให้ไม่อยากดื่มนมหรือกินอาหาร 

  • ลูกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200 กรัม โดยน้ำหนักตัวของลูกอาจเพิ่มหรือลดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เคลื่อนไหวได้มากขึ้นเพราะเดินได้แล้ว 

น้ำหนักทารกในแต่ละเดือนควรเป็นอย่างไร มาเช็กตารางน้ำหนักทารก วัย 0-12 เดือนกัน


เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่คุณแม่จะต้องคอยดูแลควบคู่ไปกับพัฒนาการที่สมวัยก็คือ น้ำหนักตัวของลูก เพื่อให้ลูกได้เติบโตสมวัย พร้อมทั้งร่างกายและพร้อมต่อการเรียนรู้ในอนาคต 

ซึ่งน้ำหนักของทารกวัยแรกเกิด - 12 เดือน ควรจะเป็นดังนี้ 

  • น้ำหนักทารก 1 เดือน น้ำหนักเด็ก 1 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 4.9 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 4.5 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 2 เดือน น้ำหนักเด็ก 2 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 5.7 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 5.2 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 3 เดือน น้ำหนักเด็ก 3 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 6.4 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 5.9 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 4 เดือน น้ำหนักเด็ก 4 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 7.0 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 6.4 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 5 เดือน น้ำหนักเด็ก 5 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 7.6 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 7.0 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 6 เดือน น้ำหนักเด็ก 6 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 8.2 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 7.5 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 7 เดือน น้ำหนักเด็ก 7 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 8.6 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 7.9 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 8 เดือน น้ำหนักเด็ก 8 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 9.1 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 8.3 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 9 เดือน น้ำหนักเด็ก 9 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 9.5 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 8.7 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 10 เดือน น้ำหนักเด็ก 10 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 9.8 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 9.0 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 11 เดือน น้ำหนักเด็ก 11 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 10.2 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 9.4 กิโลกรัม 

  • น้ำหนักทารก 12 เดือน น้ำหนักเด็ก 12 เดือน น้ำหนักเด็กผู้ชายควรจะอยู่ที่ราว ๆ 10.5 กิโลกรัม น้ำหนักเด็กผู้หญิงควรจะอยู่ที่ราว ๆ 9.7 กิโลกรัม 

ลูกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ลูกน้ำหนักไม่ขึ้น คุณแม่จะรับมือยังไงดี

หากคุณแม่ตรวจดูแล้วพบว่าน้ำหนักลูกขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ ลองใช้วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกด้วยวิธีต่อไปนี้ดูค่ะ 

  • ให้นมลูกบ่อยขึ้น

หากลูกยังกินนมแม่ คุณแม่ต้องแน่ใจว่าได้ให้ลูกเพียงพอและให้ลูกดูดนมจนเขาอิ่ม พยายามอย่าดึงปากลูกออกเต้านมจนกว่าลูกจะอิ่ม และคายหัวนมออกมาเอง และให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น นอกจากจะทำให้ลูกได้กินนมมากขึ้นแล้วยังช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้คุณแม่ด้วย ส่วนเด็กที่กินนมผงก็ควรให้ลูกกินนมที่ชงตามปริมาณที่ผลิตภัณฑ์แนะนำให้หมดในแต่ละครั้ง 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ให้นมลูกบ่อยและนานแล้วพบว่าน้ำนมแม่ยังมีไม่พอจนน้ำหนักลูกไม่ขึ้นตามเกณฑ์ ควรปรึกษาแพทย์ หรือคลินิกนมแม่ ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้ หากยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก็อาจเลือกนมผงเสริม เพื่อให้ลูกได้รับปริมาณนมที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยควรเลือกนมผงที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ เช่น มี MFGM สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำนมแม่ ดีเอชเอ กรดไขมันที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง และมีใยอาหารสุขภาพอย่าง พีดีเอ็กซ์ และ กอส ที่ช่วยให้ลูกมีการขับถ่ายที่ดี 

  • ให้ลูกกินอาหารบ่อยขึ้น

หากลูกมีอายุเกินกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่รับอาหารเสริมได้แล้ว การให้ลูกกินอาหารบ่อยขึ้น จะช่วยให้ลูกได้พลังงานเพิ่ม และน้ำหนักจะค่อยๆ ขึ้นด้วย โดยคุณแม่อาจจัดให้ลูกกินอาหารมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อใน 1 วัน พร้อมทั้งอาหารว่างและนม 

  • ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนเต็มที่

การพักผ่อนนอนหลับของเด็กก็มีส่วนช่วยทำให้ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกได้กลางวันและนอนกลางคืนยาวนานขึ้น 

ลูกน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ไม่ควรวางใจ อาจกลายเป็นโรคอ้วนในเด็ก

เด็กที่มีน้ำหนักตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีแรก ถือว่ามีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งมีแนวโน้มของความเสี่ยงต่อสุขภาพสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่น้ำหนักไม่ได้พุ่งสูงจนมากกว่าเกณฑ์ปกติ 

เด็กที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ตั้งแต่ 2 ปีแรก มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนในเด็กสูงมาก ซึ่งการเป็นโรคอ้วนก็จะพ่วงเอาโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้หากตรวจพบได้ตั้งแต่เด็ก ก็มีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะร่างกายไม่แข็งแรง เติบโตไม่สมวัย 

ดังนั้น หากน้ำหนักของลูกมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากกว่าเกณฑ์ ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และแนวทางการรักษา เพื่อให้เด็กมีน้ำหนักตัวที่สมเกณฑ์ พร้อมต่อการเรียนรู้ในอนาคต 

ไขข้อข้องใจเรื่องน้ำหนักทารกกับ Enfa Smart Club


 น้ำหนักทารกขึ้นวันละกี่กรัม

น้ำหนักของทารกในแต่ละช่วงวัยนั้นจะมีการเพิ่มขึ้นแตกต่างกัน ดังนี้ 

  • ลูกอายุ 0-3 เดือน   น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 600-900 กรัม และเมื่อครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณ 2- 2.5 กิโลกรัม 

  • ลูกอายุ 4-6 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 450-600 กรัม ลูกวัยนี้เริ่มมีการกินนอนที่เป็นระบบมากขึ้น จึงกินนมได้มากขึ้น ทำให้น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ลูกอาจมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด 

  • ลูกอายุ 7-9 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 300-400 กรัม ช่วงนี้น้ำหนักลูกจะลดลง เนื่องจากร่างกายเด็กเริ่มมีการเผาผลาญมากกว่าเดิมนั่นเอง รวมทั้งลูกเริ่มคลานเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น 

  • ลูกอายุ 10-12 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 300 กรัม ร่างกายเด็กมีการเผาผลาญมากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น ทั้งคลาน หัดเกาะยืนเกาะเดิน ฟันเริ่มขึ้น อาจเกิดอาการปวดฟัน ทำให้ไม่อยากดื่มนมหรือกินอาหาร 

  • ลูกอายุตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200 กรัม โดยน้ำหนักตัวของลูกอาจเพิ่มหรือลดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เคลื่อนไหวได้มากขึ้นเพราะเดินได้แล้ว 

 ตารางน้ำหนักทารกแฝด เหมือนตารางเกณฑ์น้ำหนักเด็กทั่วไปไหม

น้ำหนักของเด็กแฝดกับเด็กปกตินั้นค่อนข้างจะแตกต่างกัน โดยน้ำหนักของทารกแฝดนั้นจะน้อยกว่าน้ำหนักของทารกทั่วไป ยิ่งทารกแฝดในท้องมีจำนวนมาก น้ำหนักตัวของทารกแต่ละคนก็จะน้อยลงมากเท่านั้น ในขณะที่ทารกแรกเกิดโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2.5 - 3.5 กิโลกรัม แต่ทารกแฝดจะมีน้ำหนักอยู่ที่ราว ๆ 2-2.5 กิโลกรัม 

 ท้อง 35 สัปดาห์ น้ำหนักลูกควรอยู่ที่เท่าไหร่

น้ำหนักทารก อายุครรภ์ 35 สัปดาห์ ควรจะมีน้ำหนักราว ๆ 2,400 กรัม 

 เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิดปกติ คือเท่าไหร่

ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5 - 3.5 กิโลกรัม หากน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม ให้ถือว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 

 ทารกในครรภ์น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละกี่กรัม

น้ำหนักของทารกในครรภ์จะเพิ่มขึ้นในแต่ละสัปดาห์ไม่เท่ากัน โดยในช่วง: 

  • สัปดาห์ที่ 8-12 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 1-5 กรัม 

  • สัปดาห์ที่ 12-15 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 10-30 กรัม 

  • สัปดาห์ที่ 15-20 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 30 กรัม 

  • สัปดาห์ที่ 20-27 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 60-100 กรัม 

  • สัปดาห์ที่ 27-40 จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราว ๆ 100-200 กรัม 

 น้ำหนักทารก 1 เดือนควรขึ้นเท่าไหร่

ทารกแรกเกิดช่วงอายุ 0-3 เดือน   น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเดือนละ 600-900 กรัม และเมื่อครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้นประมาณ 2- 2.5 กิโลกรัม 

 สูตรการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์คืออะไร

การคาดคะเนน้ำหนักของทารกในครรภ์ คือ การประเมินว่าน้ำหนักของทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์นั้นเป็นเท่าไหร่ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ และหาแนวทางในการดูแลครรภ์ให้อยู่รอดปลอดภัยไปจนกระทั่งคลอด 

ซึ่งการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์นี้ต้องใช้ข้อมูลหลายอย่างประกอบกัน ตั้งแต่ ขนาดตัวทารก การประเมินน้ำหนักครรภ์มารดา และการอัลตร้าซาวด์เพื่อหาสัดส่วนทารกในครรภ์ โดยการวัดความยาวของทารก (CRL), การวัดความกว้างของศีรษะทารก (BPD), การวัดเส้นรอบวงศีรษะ (HC), การวัดเส้นรอบท้อง (AC), การวัดความยาวกระดูกต้นขา (FL) 

 เพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์แบบเร่งด่วนและปลอดภัย คุณแม่ควรทำอย่างไร

อาหารการกิน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ทารกได้รับลสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ควบคู่ไปกับการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของคุณแม่ ก็จะช่วยให้ทารกมีสุขภาพที่ดีได้  

แต่ในกรณีที่ทารกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อยแล้วต้องการจะเพิ่มน้ำหนักลูกอย่างเร่งด่วนนั้น ก็ต้องบอกว่าไม่มีการเพิ่มน้ำหนักลูกในครรภ์แบบเร่งด่วน สิ่งสำคัญคือหากรู้ว่าลูกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือแม่มีน้ำหนักตัวก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ที่น้อยมาก และแม้อายุครรภ์จะมากขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถเพิ่มน้ำหนักขึ้นได้ ควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับแนวทางในการดูแลตัวเองและทารกในครรภ์


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความที่แนะนำ

sex-during-pregnancy
implantation-bleeding
baby-movements-during-pregnancy
EFB banner
Mobile efb banner
EFB banner

Leaving page banner

 

Leaving page banner